สำรวจแสงสีกรุงเทพฯ ยามราตรี กับงาน Awakening Bangkok 2022 ที่ย่านเจริญกรุง วันนี้ – 25 ธ.ค. 65

อากาศเย็นมีน้อยต้องใช้สอยอย่างประหยัด บรรยากาศดีๆ แบบนี้ ไม่มีอะไรเพลิดเพลินไปกว่าการออกไปเดินเล่นถ่ายรูปชมแสงไฟที่งาน ‘Awakening Bangkok 2022’ อีกแล้ว ปีนี้ทุกคนจะได้พบกับงานศิลปกรรมไฟกว่า 40 ชิ้น จัดแสดงใน 22 โลเคชันทั่วย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ภายใต้ธีม ‘Endless Tomorrow : เพื่อพรุ่งนี้ และตลอดไป’ เพื่อชวนทุกคนออกไปค้นหาคำตอบของ ‘ชีวิตในวันพรุ่งนี้’ ว่าเราจะใช้ชีวิตและปรับตัวอย่างไรถึงจะทนต่อความเปลี่ยนแปลง และทำให้โลกตลอดจนสิ่งรอบข้างอยู่ยืนยาวไปกับเรา อีกความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ทางงานได้เพิ่ม 2 โลเคชันใหม่ ได้แก่ อาคาร East Asiatic ตึกเก่าอายุกว่าร้อยยี่สิบปีในซอยเจริญกรุง 40 และ Swan Hotel โรงแรมวินเทจในซอยเจริญกรุง 36 ให้ได้เพลิดเพลินกับแสงไฟในบรรยากาศแบบย้อนยุค ใส่ความเซอร์ไพรส์เข้าไปอีกด้วยผลงาน Projection Mapping ที่อิมพอร์ตมาจากเทศกาล i Light Singapore พิกัดที่ Warehouse 30 นอกจากนี้ยังมีบ้านสีเหลืองแห่งใหม่ข้างๆ อาคารไปรษณีย์กลาง ที่มีบาร์ให้แวะพักจิบเครื่องดื่มและนิทรรศการศิลปะบริเวณด้านบนชั้น 3 ให้ชมอีกด้วย […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป  สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น  ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]

ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]

Urban Eyes 16/50 เขตจตุจักร

สารภาพว่าเราแอบช็อกหน่อยๆ ตอนหาข้อมูลเขตจตุจักร เพราะก่อนหน้านี้เราหาข้อมูลว่าเขตนี้ใหญ่ขนาดไหน ก็พบว่าไม่เท่าไหร่ แต่พอใกล้วันที่จะลงพื้นที่ ก็ลองมาหาข้อมูลเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้ว Google โชว์แค่แขวงจตุจักรเท่านั้น ทั้งที่ทั้งเขตมันกว้างใหญ่มาก ตั้งแต่ตลาดนัดจตุจักรและสวนรถไฟ ยาวไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เราเลยต้องมาวางแผนการเดินใหม่  เขตจตุจักรเป็นหนึ่งในเขตของกรุงเทพฯ ชั้นในที่มีสวนสาธารณะที่ใหญ่สุดๆ ทั้งสวนจตุจักรที่ติดกับถนนกำแพงเพชร และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ที่อยู่ข้างๆ กัน พื้นที่กว้างมาก อุปกรณ์ออกกำลังกายเพียบพร้อม มีถนนสำหรับจักรยานรอบสวน เส้นทางให้คนวิ่งสบายๆ รวมถึงเลนสำหรับเด็ก ยังไม่นับอุทยานผีเสื้อและแมลงที่ดึงดูดให้เด็กๆ ไปพักผ่อนที่สวน ใกล้ๆ กันก็มีพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ ที่นี่ไม่ได้สตัฟฟ์เด็กไว้หรอกนะ แต่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก  ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดนัดสวนจตุจักรที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย ตั้งแต่ขายอาหาร เสื้อผ้า ของมือหนึ่ง-มือสอง เฟอร์นิเจอร์ ของฝาก ฯลฯ แต่ถ้าไปวันพุธจะเป็นตลาดต้นไม้ ส่วนวันธรรมดาก็มีตึกแดงที่เป็นแหล่งรวมวัยรุ่น และ เจ.เจ.มอลล์ ช่วงห้าแยกลาดพร้าวก็มีทั้งเซ็นทรัล ลาดพร้าว และตึก Union Mall ที่รอบๆ มีตึกสีสดใส บวกกับรถแท็กซี่หลากสี พอหาซีนดีๆ ถ่ายรูปได้อยู่ มีอีกที่หนึ่งที่เราอยากชวนให้ทุกคนไปกัน […]

สหราชอาณาจักรผุดไอเดียรักษ์โลก ‘Reuser’ แก้วกาแฟจากน้ำมันพืชที่สามารถยืมใช้และส่งคืนได้ตามจุด

ในแต่ละวัน สหราชอาณาจักรมีแก้วกาแฟใช้แล้วกว่า 500,000 แก้วถูกทิ้งไว้ในถังขยะ เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ‘Reuser’ บริษัทในกรุงลอนดอนที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุแบบหมุนเวียน จึงจับมือกับ ‘IDC (Industrial Design Consultancy)’ บริษัทออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชั้นนำ และ ‘Naiad Plastics’ บริษัทขึ้นรูปพลาสติก เพื่อสร้างแก้วกาแฟจากวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นมา ภายใต้ชื่อเดียวกับบริษัท Reuser เพื่อการใช้แบบหมุนเวียนภายในเมือง โดยมีเป้าหมายหลักคือลดปริมาณขยะในเมือง ส่งให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นรายแรกที่ใช้พลาสติกชีวภาพชนิดใหม่นี้ในการแก้ปัญหาขยะจากแก้วกาแฟล้นโลก วัสดุที่ใช้ทำแก้ว Reuser คือ Bio-PP ‘Bornewables’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพขึ้นจากพืช สาหร่าย หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว จากนั้นจะนำไปกลั่นจนเป็นเม็ดพลาสติก ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการฉีดขึ้นรูปเป็นแก้วกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้ซ้ำได้  สหราชอาณาจักรมีน้ำมันพืชเหลือใช้ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ทางบริษัทผลิตแก้ว Reuser ได้จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต้นทุนต่อหน่วยไม่ต่างกับการผลิตแก้วกระดาษในปัจจุบัน ซ้ำยังตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงจุดกำเนิด รวมถึงได้รับการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ จาก ISCC PLUS โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) อย่างครบถ้วน เมื่อได้รับแก้วชนิดนี้จากร้านกาแฟ […]

BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก

ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่  อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]

บ้านจากวัสดุชีวภาพหลังแรกของโลก BioHome3D ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หวังแก้วิกฤตที่อยู่อาศัย

วิธีการสร้างบ้านหลังหนึ่งนั้นมีหลายแบบ อย่างปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมการสร้างบ้านจากการพิมพ์ 3 มิติ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการสร้างบ้านที่สะดวกรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น นักวิจัยจาก University of Maine Advanced Structures and Composites Center (ASCC) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในประเทศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปสู่นวัตกรรมขั้นต่อไปด้วยการเปิดตัว ‘BioHome3D’ บ้านพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลกที่ทำจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด  บ้านต้นแบบหลังนี้มีขนาด 600 ตารางฟุต ประกอบด้วยพื้น ผนัง และโครงสร้างที่สร้างจากวัสดุหาได้ในท้องถิ่นอย่างเส้นใยไม้และเรซินชีวภาพ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนประกอบหลักที่เป็นฉนวนไม้ทั้งหลัง และมีระบบถ่ายเทความร้อนที่ปรับแต่งได้ นอกจากนี้ กระบวนการ 3D Printed ยังช่วยกำจัดขยะไม่ให้หลงเหลือระหว่างการก่อสร้างบ้านอีกด้วย BioHome3D จะได้รับการพิมพ์ขึ้นเป็นโมดูลจำนวน 4 ชิ้น และนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นบ้านหนึ่งหลัง เสร็จสิ้นได้ภายในครึ่งวันเท่านั้น แถมใช้ไฟฟ้าในการทำงานเพียงสองชั่วโมง โดยมีช่างไฟฟ้าเพียงคนเดียวคอยดูแลกระบวนการนี้ ด้วยคุณสมบัติของบ้านต้นแบบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่มีความต้องการสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งยังลดการใช้วัสดุประเภทคอนกรีต การปล่อยคาร์บอน และการใช้แรงงาน นับเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาอุตสาหกรรมป่าไม้และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คนในประเทศยังเป็นเจ้าของบ้านในราคาที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และด้วยความที่ BioHome3D ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด จึงทำให้รีไซเคิลได้ […]

DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ช่วยประหยัดไฟ และทำให้สังคม สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดไฟ แต่ยังทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ในยุคที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนก็หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานมากขึ้น ผ่านแนวคิดการคิดค้นนวัตกรรมที่ส่งเสริมเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชนและภาพรวมของเมือง นวัตกรรม Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ คือโครงการของ กฟผ. ที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบ้านและอาคาร โดยพัฒนาการออกแบบบ้านและอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินมาตรการการใช้พลังงานในอาคารตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ  ขอบเขตของโครงการ Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ เริ่มตั้งแต่บ้านทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว และอาคารธุรกิจที่ใช้พลังงาน ครอบคลุมอาคารก่อสร้างใหม่ และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ได้แก่ สำนักงาน สถานศึกษา โรงมหรสพ สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า อาคารชุมนุมคน โรงแรม โรงพยาบาล อาคารชุด และหอพักหรืออะพาร์ตเมนต์ โครงการนี้ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดพลังงานและลดภาระค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านหลักการ […]

Cholets in El Alto เปลี่ยนเมืองโตเร็วในโบลิเวียให้มีชีวิตชีวา ด้วยสถาปัตยกรรมสีสันสะดุดตา โดยศิลปะแบบชาวพื้นเมือง

หลายปีก่อน ช่างภาพชาวอิตาลีชื่อว่า ‘Yuri Segalerba’ ผู้เฝ้ามองหาสภาพแวดล้อมที่มีชีวิตชีวาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ได้เดินทางไปยัง ‘เอล อัลโต (El Alto)’ สถานที่ซึ่งเป็นเมืองบริวารของลาปาซเมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย ตั้งอยู่ในที่ราบสูงแอนเดียน ซึ่งสูงกว่า 4,000 เมตร  ช่างภาพชาวอิตาลีได้พบเจอสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ที่เกิดจากวัฒนธรรมพื้นเมืองตั้งกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งดูหรูหราและมีสีสันโดดเด่นสะดุดตาในสไตล์แบบ ‘นีโอแอนเดียน (Neo-Andean)’ เรียกกันว่า ‘Cholet’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า ‘Chalet’ และ ‘Cholo’ หมายถึงคำเยาะเย้ยทางเชื้อชาติที่ใช้ในประเทศลาตินอเมริกา โดยในบริบทนี้ Cholet มีความหมายว่า คฤหาสน์ขนาดเล็กหรือห้องโถงที่ทำให้เมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  Cholets ในเอล อัลโต สร้างขึ้นโดยช่างก่ออิฐในท้องถิ่นที่กลายเป็นสถาปนิกดาวรุ่งชื่อ ‘Freddy Mamani Silvestre’ สถาปนิกผู้นี้ได้เปลี่ยนโฉมเมืองไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่มีอาคารต่างๆ เกิดขึ้นในปี 2005  รูปแบบของอาคารที่เกิดขึ้นได้แรงบันดาลใจมาจากสีสัน รูปร่าง และรูปทรงของศิลปะชาวบ้านพื้นเมือง รวมถึงภูมิปัญญาการก่อสร้างที่ใช้อิฐเปลือยของชาวไอมารา (Aymara) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของโบลิเวีย พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่อาศัยในเมือง โดยมีสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่เหล่านี้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของพวกเขา  อาคารหลายหลังมีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง แต่ละชั้นจะมีการใช้งานแตกต่างกันไป ชั้นหนึ่งสำหรับค้าขาย เช่น ร้านขายเนื้อ ร้านขายเหล็ก […]

1 106 107 108 109 110 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.