EAT

‘พาสต้าเส้นจิ้งหรีด’ จาก Bugsolutely สตาร์ทอัปที่จับจิ้งหรีดในฟาร์มไทยแปลงร่างเป็นแหล่งโปรตีนโลก

‘ปี๊บๆ’ เสียงบีบแตรจากรถเข็นขายแมลงทอดที่จอดอยู่ข้างถนนเรียกคนเข้าไปมุงดู ในถาดมีแมลงทอดกรุบกรอบอยู่ 4-5 ชนิดโชยกลิ่นหอมเตะจมูก หนึ่งในนั้นคือจิ้งหรีดที่เราโปรดปราน แมลงทอดถุงละ 20 บาทที่เป็นเหมือน ‘ของแปลก’ ในสายตาชาวเมือง แต่แถวบ้านนอกนั้นเรียกว่าเป็นอาหารสุดโอชะ

‘รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์’ ต้นแบบเชื่อมระบบการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้

คาร์ลส์รูห์ คือเมืองในประเทศเยอรมนีที่สถานีรถไฟหลักไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง  ทำให้คนใช้งานน้อยจนเกือบเจ๊ง เกือบเจ๊ง แต่ไม่เจ๊งจริง เพราะคาร์ลส์รูห์คิดแผนพัฒนากู้รถไฟให้ใช้รางร่วมกับรถรางในเมืองได้ในชื่อ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ (Karlsruhe Model) นอกจากเชื่อมการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้ การเกิดขึ้นของ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ ยังลดภาวะรถติด เพิ่มมูลค่าที่ดิน และเพิ่มการจ้างงาน คาร์ลส์รูห์ เป็นเมืองขนาดกลางทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนประเทศฝรั่งเศสมากนัก เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม เพราะเป็นที่ตั้งของหนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และยังมีบริษัทมากมายตั้งอยู่ในเมืองนี้ แต่ที่เราจะเล่าให้ฟังคือ รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์ (Tram-train Karlsuhe) ที่เป็นความสำเร็จของเมืองในการแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะ จนกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายเมืองในยุโรปในชื่อ คาร์ลส์รูห์โมเดล (Karlsruhe Model) ปรับให้รถไฟวิ่งบนทางรถราง เรื่องราวเริ่มต้นราวๆ ปี ค.ศ. 1950 ผู้ให้บริการรถไฟรายหนึ่งในเมืองประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับ โดยสาเหตุหนึ่งคือสถานีรถไฟหลักของเมืองไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง แต่อยู่ห่างออกไปถึง 2 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารน้อย เพราะผู้คนที่เดินทางมาจากนอกเมืองต้องไปเปลี่ยนเป็นรถรางและบัสที่วิ่งในเมืองเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง บริษัทเห็นว่าการวิ่งต่อตามทางรถรางเข้าเมืองเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น จึงปรับทั้งระบบไฟฟ้าและความกว้างของรางรถไฟตามทางรถรางเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมรถรางและรถไฟ หลังจากนั้นไม่นานบริษัทที่ดูแลรถรางและรถไฟก็ทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ‘KVV’ (Karlsruhe Transport Association) เพื่อความสะดวกในการต่อรถของประชาชน แต่ก็ยังขยายเส้นทางของทั้งรถไฟและรถรางแยกกันเรื่อยมา จนในปี ค.ศ. 1992 […]

เลือกสีที่ใช่ ห่วงใยคนอยู่

‘สีทาบ้าน’ ตอนนี้มีนวัตกรรมสุดทันสมัย ที่ทำให้สีทาบ้านทำหน้าที่เสมือนโล่กำบังปะทะกับเหล่าเชื้อโรคร้าย แถมยังช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ ชวนกันตามหาว่า สีที่ใช่กับบ้าน และห่วงใยคนอยู่หน้าตาเป็นแบบไหนกัน

กว่าจะเป็นโปรเจกเตอร์ฉายจินตนาการ

Epson Projector แหล่งกำเนิดมาจากแสงเลเซอร์ ใช้งานได้ถึง 20,000 ชั่วโมง ช่วยประหยัดค่าไฟ มีขั้นตอนการผลิตโปรเจกเตอร์ที่ปราศจากการก่อสารปรอทที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในผิวหนัง และระบบหายใจ

ปะการัง 3 มิติ ขึ้นรูปจากหินปูน

‘Coral Carbonate’ ปะการัง 3 มิติจึงเกิดขึ้น จากแนวคิดของทีม ‘Objects and Ideograms’ โดยเป้าหมายคือหลังจากที่วางลงไปในทะเลแล้ว สัตว์น้ำต่างๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนกับบ้านเดิมหรือปะการังจริงได้อย่างปกติ

‘ThaiWater’ แอปฯ รวมข้อมูลน้ำไทย ที่อยากให้ทุกคนนำพยากรณ์น้ำมาใช้ประโยชน์

เปิดแอปฯ ‘ThaiWater’ คลังข้อมูล ‘น้ำ’ ทั้งหมดของไทยที่รวบรวมข้อมูลกว่า 45 หน่วยงาน ผ่านการพูดคุยกับ ‘ผศ.ดร.สุทัศน์ วีสกุล’ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ที่จะมาเล่าการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำเเละทำนายสถานการณ์น้ำของไทยว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?

‘eBussy’ รถยนต์ไฟฟ้าที่แปลงร่างได้เหมือนเลโก้

eBussy คือรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดจากแนวคิด ‘LEGO’ ที่มีโครงของรถยนต์ให้เลือกทั้งแบบมาตรฐานและแบบออฟโรด จากนั้นค่อยเลือกดีไซน์ตัวถังที่มีถึง 10 แบบ ที่ตอบโจทย์การใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่แบบรถตู้ รถบัส รถบรรทุก ปิคอัปไปจนถึงรถแคมปิ้งก็มี

‘Proteus’ โปรเจกต์ที่อยู่อาศัยใต้น้ำแห่งแรกของโลก

‘Proteus’ สถานีวิจัยและที่อยู่อาศัยใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังจะเกิดขึ้น บนพื้นที่ขนาดกว่า 4,000 ตารางฟุต เพื่อวางแผนการอยู่อาศัยในโลกอนาคต

ดักจับ CO2 ชนวนโลกร้อน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นวอดก้าและเพชร

วอดก้าและเพชรเป็นแหล่งกักเก็บชั้นดีของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ นั่นหมายความว่ากระบวนการผลิตของพวกมันจะช่วยลดโลกร้อนได้

ปิ่นโตจากเปลือกโกโก้และใยธรรมชาติ จากฝีมือนักออกแบบชาวลอนดอนที่อยากให้ขยะพลาสติกให้หมดไป

สตูดิโอดีไซน์จากลอนดอน PriestmanGoode หยิบเปลือกโกโก้มาแปลงร่างเป็น ‘ปิ่นโต’ ที่ช่วยลดขยะภาชนะจากฟู้ดเดลิเวอรี

‘Orkney’ หมู่เกาะในสกอตแลนด์ ต้นแบบเมืองพลังงานไฮโดรเจน

สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กลายเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตและการขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้า อย่างหนึ่งคือ ‘ไฟฟ้า’ ในอดีตไฟฟ้าคือตัววัดความเจริญที่บ้านไหนเมืองไหนไฟฟ้าเข้าถึงถือว่าพัฒนาแล้ว ทุกวันนี้ความต้องการใช้พลังงานของคนทั้งโลกมากขึ้นทุกปี แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

1 12 13 14 15 16 20

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.