สาวกจิบลิเตรียมขึ้นรถบัสแมวกับ Uniqlo นิทรรศการ #My style, My ghibli เริ่ม 11 ก.พ. 65 เข้าชมฟรีที่เซ็นทรัลเวิลด์

โทโทโร่ในป่า, เจ้ารถบัสแมวสุดว่องไว หรือโปเนียวแสนซน คุณหลงรักคาแรกเตอร์หรือชอบฉากไหนของสตูดิโอ Ghibli หลังจากโควิด-19 ทำเอาเราเดินทางข้ามประเทศไม่ได้พักใหญ่ ใครที่เป็นสาวกจิบลิหรือคิดถึงประเทศญี่ปุ่น เดือนกุมภาพันธ์นี้จะมีนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกของสตูดิโอจิบลิในไทย ที่ยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมกับ สตูดิโอจิบลิ สตูดิโอแอนิเมชันระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น ให้สาวกจิบลิชาวไทยได้คลายความคิดถึงญี่ปุ่นและได้ท่องโลกจินตนาการอย่างสมจริงมากขึ้น  นิทรรศการนี้มีชื่อว่า My style, My ghibli คอนเซปต์คือการหลงไปในโลกของจิบลิด้วยกัน โดยไฮไลต์ของงานอยู่ที่จุดถ่ายภาพกับคาแรกเตอร์โทโทโร่และรถบัสแมวขนาดเท่าตัวจริงจากแอนิเมชันเรื่องโปรดของใครหลายคนอย่าง ‘My Neighbor Totoro’  นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซนอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ นิทรรศการภาพแขวนขนาดใหญ่จากฉากประทับใจของ 7 แอนิเมชัน เช่น My Neighbor Totoro, Princess Mononoke และ Spirited Away เป็นต้น รวมถึงการถ่ายทอดถ้อยคำประทับใจของ โทชิโอะ ซูซูกิ โปรดิวเซอร์ของสตูดิโอจิบลิ ผ่านปลายพู่กัน พร้อมดึงดูดทุกคนเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของจิบลิ และ นิทรรศการภาพถ่าย ‘Ghibli Museum and the Landscape of […]

‘ฃุนน้อย’ เจ้าชายน้อยฉบับพ่อขุนรามคำแหง ถ่ายถอดคำแปลด้วยอักษรลายสือไทย

“ถ้าเธอเคยมาตอนบ่ายสี่โมง ประมาณสักบ่ายสามโมง ฉันก็เริ่มเป็นสุขแล้ว…” ต่อให้ไม่ใช่นักอ่านตัวยง หลายคนคงน่าจะเคยได้ยินชื่อวรรณกรรม ‘เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince)’ มาบ้างเพราะนอกจากความโด่งดังในรูปแบบหนังสือแล้ว เจ้าชายน้อยยังปรากฏตัวในหนังสือภาพ การ์ตูน ภาพยนตร์ โปรดักต์ต่างๆ รวมไปถึง Pop Culture มากมาย เรียกได้ว่า ‘เจ้าชายน้อย’ เป็นผลงานเขียนชิ้นสำคัญที่ประสบความสำเร็จมากของโลก  ปัจจุบันหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ ยังได้รับการนำมาพูดถึงอยู่เสมอๆ ทั้งที่ผ่านเวลามาเกือบ 80 ปี มียอดขายกว่า 145 ล้านเล่มทั่วโลก ทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ เกือบ 400 ภาษา โดยไม่ใช่แค่ภาษาที่คนกลุ่มใหญ่ในโลกใช้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาษาที่เหลือคนพูดแค่หลักพันหรือภาษาที่ไม่มีคนใช้แล้วก็ตาม ในไทยเองนอกเหนือจากสำนวนภาษาไทยกลางที่เราอ่านกันแล้ว ยังมี ‘เจ้าชายน้อย’ สำนวนภาษาถิ่นอื่นๆ เช่น สำนวนภาษามลายู อักษรยาวี สำนวนภาษาคำเมือง-ล้านนา สำนวนภาษาลาว เป็นต้น ล่าสุด ‘เจ้าชายน้อย’ ได้รับการหยิบยกมาแปลขึ้นใหม่ในชื่อ ‘ฃุนน้อย’ เป็นภาษาท้องถิ่นสุโขทัยและถ่ายถอดคำแปลด้วยอักษรลายสือไทย สมัยสุโขทัย ซึ่งในการแปลอาศัยต้นฉบับ ‘เจ้าชายน้อย’ ของ […]

The Globe ตัวต่อเลโก้ลูกโลกที่ให้คุณสร้างโลกได้ด้วยตัวเอง

โอกาสเดียวที่แฟนๆ เลโก้จะได้ (ครอบ) ครองโลกมาถึงแล้ว!LEGO Ideas เปิดตัว The Globe ตัวต่อลูกโลกดีไซน์วินเทจสำหรับผู้ใหญ่ ที่สานฝันให้เราได้เป็นเจ้าของโลกทั้งใบ และสร้างโลกด้วยสองมือของตัวเอง The Globe เปิดตัวมาด้วยราคา 199.99 ดอลลาร์สหรัฐ และจะวางขายบนเว็บไซต์เลโก้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นต้นไป  ตัวต่อ 3 มิติชุดลูกโลกวินเทจจากเลโก้ชุดนี้ มีจำนวนทั้งหมด 2,585 ชิ้น เหมาะสำหรับอายุ 18 ปีเป็นต้นไป ลูกโลกทรงกลมมีขนาด 10 นิ้ว รวมขาตั้งแล้วมีความสูง 16 นิ้ว ภายในกลวงแต่สามารถยึดติดกันด้วยเทคนิคพิเศษ และเมื่อต่อเข้ากับขาตั้งแล้วมีฟังก์ชันหมุนได้เสมือนลูกโลกจริง ให้เราได้ย้อนวัยกลับไปท่องโลกบนแผนที่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีดีเทลน่ารักๆ ที่สามารถปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง เช่น เข็มทิศ เรือ และสัตว์ทะเล ที่เราสามารถย้ายไปต่อตรงไหนก็ได้ตามใจชอบ ที่สำคัญลูกโลกใบนี้ยังเรืองแสงในที่มืดได้ด้วยนะ จะตั้งโชว์หรือแต่งบ้านก็สวยและน่าสะสมจริงๆ  โมเดล The Globe ออกแบบโดย Guillaume Roussel แฟนคลับเลโก้ชาวฝรั่งเศสวัย […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

ชมผลงานกลุ่มนักวาดภาพประกอบแห่งยุคนิทรรศการ wrap ที่ SAC Gallery

ถ้าได้เห็นกระแสศิลปะร่วมสมัยในช่วง 2 – 3 ปีนี้ หลายคนคงได้เห็นว่างานศิลปะ ‘ภาพประกอบ’ มาแรงมาก ทั้งความนิยมบนหน้าสื่อ แบรนด์สินค้า หรือแม้แต่ในโลก NFT โดยมีเหตุผลง่ายๆ คือคนทั่วไปเข้าถึงได้ สวยงาม มีคาแรกเตอร์ แถมยังสื่อสารได้สนุก เพราะเห็นถึงความสำคัญของศิลปะแนวนี้ SAC Gallery จึงเริ่มต้นปีด้วยการจัดนิทรรศการ wrap exhibition โดยชักชวน 6 ศิลปินนักวาดภาพประกอบแห่งยุคมาร่วมงานด้วย ได้แก่  – 2CHOEY นักวาดภาพประกอบเจ้าของคาแรกเตอร์ ‘Fingies’ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Pop Culture – Brightside ศิลปินที่เน้นการหยิบเรื่องราวความเคลื่อนไหวในสังคมร่วมสมัยมาสร้างเป็นงานคาแรกเตอร์ดีไซน์  – Pomme Chan กราฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบ และนักวาดภาพประกอบ ที่มีงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตประจำวัน – TUNA Dunn ศิลปินผู้มีผลงานวาดภาพประกอบ การ์ตูนคอมิก แอนิเมชัน และงานออกแบบภาพสื่อสารผ่านลายเส้นที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง – Double O Seth […]

My first sunset in Melbourne พระอาทิตย์ตกครั้งแรกกับชีวิตใหม่ในต่างประเทศ

เดินเล่นในช่วงเย็นครั้งแรกหลังจากมาถึงเมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย แสงพระอาทิตย์ตกวันนั้นทำให้ผมที่กำลังสับสนตอบตัวเองได้ว่า ความจริงแล้วผมแค่อยากใช้ชีวิตให้เหมือนกับแสงตอนเย็นที่ผมชอบ

LOEWE x Spirited Away เปิดตัวคอลเลกชัน 2022 พร้อมป็อปอัปสโตร์

ปีนี้ LOEWE กลับมาคอลแลบกับสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) อีกครั้ง หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดตัวคอลเลกชันสุดคิวต์ My Neighbor Totoro ไปเมื่อมกราคมปี 2021 ปีนี้กลับมาพร้อมกับคอลเลกชัน LOEWE x Spirited Away เพิ่งเปิดตัวในเว็บไซต์ไปเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2022 Spirited Away หรือมิติวิญญาณมหัศจรรย์ ที่ฉายครั้งแรกในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2001 เป็นแอนิเมชันชื่อดังดีกรีรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมครั้งที่ 75 และกวาดมาแล้วหลายรางวัลทั่วโลก เป็นผลงานการเขียนบทและกำกับโดยฮายาโอะ มิยาซากิ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อที่ครองใจแฟนๆ ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน  LOEWE x Spirited Away กลับมาพร้อมกับการนำเอาตัวละครหลักของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ‘จิฮิโระ โอะงิโนะ’ เด็กหญิงชุดแดงที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง ‘ฮากุ’ เทพารักษ์ประจำแม่น้ำโคฮากุ ‘ผีไร้หน้า’ สัมภเวสีขี้อายที่ต้องมีผ้าคลุมสีดำตลอดเวลา ‘ภูตไรฝุ่น’ ไรฝุ่นขนปุยสีดำที่จับตัวกันเป็นก้อนกลมๆ ‘ยูบาบา’ หญิงสูงวัยที่เป็นแม่มดมาโลดแล่นในโลกแฟชั่น  ตัวละครเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนสินค้าขายดีของ LOEWE ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสะพาย Mini Heel […]

Beijing’s Sub-Center Library ห้องสมุดใหม่ในปักกิ่งที่ร่มรื่น เหมือนได้อ่านหนังสือในป่าแปะก๊วย

ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนวงการหนังสือ ร้านหนังสือ และห้องสมุดกัน ตัดภาพไปที่ประเทศอื่นๆ ที่นอกจากส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างห้องสมุดใหม่ๆ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนกันมากขึ้น แค่มีห้องสมุดเกิดขึ้นไม่พอ ถ้าติดตามข่าวสารแวดวงนี้บ่อยๆ จะพบว่าเหล่าห้องสมุดเกิดใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนได้รับการออกแบบอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานของผู้คน ในระดับที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศได้เลย ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีห้องสมุดขนาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ  ล่าสุดที่กรุงปักกิ่งเพิ่งจะเปิดตัวแบบของห้องสมุดชุมชนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเขตชานเมือง ในชื่อ Beijing’s Sub-Center Library ซึ่งออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกระดับโลกจากนอร์เวย์ ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบเป็นโครงสร้างปิดด้วยกระจกสูง 16 เมตร และยังเป็นอาคารกระจกหลังแรกในประเทศจีนที่รองรับน้ำหนักของตัวเองได้ ภายในอาคารมีเสาคล้ายต้นไม้รองรับหลังคาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นต้นไม้อายุกว่าสามร้อยล้านปีที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ทั่วไปทั้งริมถนนและสวนสาธารณะในประเทศจีน  สตูดิโอ Snøhetta เล่าว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นขั้นบันได เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนต้นไม้ที่เชิญชวนให้ผู้คนนั่งลงและหยุดพักระหว่างเดินผ่าน เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายๆ ในการอ่าน และใส่แนวคิดที่ทำให้รู้สึกเหมือนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดใต้ต้นไม้เข้าไป เสาของอาคารแต่ละต้นยังติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ประสิทธิภาพด้านเสียง และการกำจัดน้ำฝนของห้องสมุด ส่วนแถวของคอลเลกชันหนังสือ พื้นที่อ่านหนังสือ และอัฒจันทร์ขนาดใหญ่จะสร้างขึ้นด้านในและรอบๆ ช่องทางเดิน ให้ออกมาเป็นพื้นที่คล้ายหุบเขาในห้องสมุด เหมือนได้เดินอยู่ในหุบเขาที่มีต้นแปะก๊วยปกคลุม อีกความเจ๋งของห้องสมุดนี้คือ หลังคาอาคารที่ได้รับการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ ซึ่งจะให้พลังงานหมุนเวียนแก่ตัวห้องสมุดและช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ส่วนหลังคาใบแปะก๊วยที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารยังช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาในอาคารได้อีกด้วย  ห้องสมุดใหม่ในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการสร้างแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2022 นี้ ชาวนักอ่านและนักเดินทางที่ชื่นชอบห้องสมุดต้องอย่าพลาดเชียว […]

แจกฟรีฟอนต์ลายมือ จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อยอดจากนิทานวาดหวังเล่ม ‘จ จิตร’ โดยกลุ่มวาดหวัง

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ‘วาดหวังหนังสือ’ ได้จัดทำหนังสือภาพสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในเนื้อหาสิทธิ เสรีภาพ ความฝัน ความหวัง ประชาธิปไตย และความเป็นไปของบ้านเมือง ในรูปแบบเซตนิทานวาดหวัง 8 เรื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ จ จิตร ว่าด้วยชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานวิชาการมากมาย ทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://urbancreature.co/8-children-books/) นอกจากได้รับการสนับสนุนในกลุ่มคนรักประชาธิปไตยแล้ว นิทานวาดหวังยังได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการและทางการไทย จนทำให้เกิดกระแสเป็นข่าวมากมาย ส่งผลให้ยอดขายพุ่งเกินความคาดหมายของทีมผู้จัดทำ ได้รับการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือ กลุ่มวาดหวังได้นำเงินไปส่งมอบให้หน่วยงานและกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคม ช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด รวมถึงผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังนำไปทำโปรเจกต์ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคมที่น่าสนใจด้วย โปรเจกต์ที่ว่านั้นคือการทำฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ จากลายมือของจิตร โดยมีกลุ่มประชาธิปไทป์เป็นผู้จัดทำให้ฟอนต์นี้ใช้งานได้ จุดประสงค์คือต้องการให้คนไทยได้ใช้ฟอนต์จิตรในการอ่านเขียน ซึมซับรับรู้ และรู้จักจิตรในอีกแง่มุมหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการทำให้ชื่อของเขาที่มาพร้อมความหวัง พลัง และความปรารถนาดีต่อส่วนรวมอยู่ร่วมในสังคมไทยไปอีกตราบนานเท่านาน ผู้ที่สนใจนำฟอนต์ไปใช้พิมพ์หนังสือหรือสื่อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดฟรีที่ https://tinyurl.com/y4g2n3xm ซึ่งทางทีมผู้จัดทำขอแค่ให้ช่วยระบุเครดิตชื่อฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ หรือติดแฮชแท็ก #ฟอนต์จิตร เมื่อใช้งานบนโลกออนไลน์ *หมายเหตุ ฟอนต์จิตรมีเพียงตัวอักษรไทย เลขไทย และเลขอารบิกเท่านั้น  […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

1 21 22 23 24 25 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.