‘Gooutride’ ปั่นหาเส้นทาง มุมมองบนอานจักรยาน

“จักรยานและภาพถ่าย คือสิ่งที่เราเรียกได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารและถ่ายทอดความคิดในแบบของตัวเอง” ตอนที่อยู่บนอานจักรยาน ทุกสิ่งรอบตัวดูช้าไปหมด ผมมีสมาธิมากขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันมันทำให้เรารู้สึกถึงเพื่อนร่วมทางและวิวทิวทัศน์ข้างทางมากกว่าการเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ อาจเพราะเราต้องใช้แรงกายแรงใจในการโฟกัสกับการเดินทางก็ได้ นอกจากชอบปั่นจักรยานแล้ว ผมยังชอบถ่ายภาพด้วย สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะทำไปพร้อมๆ กันได้ไม่ง่ายในสายตาคนทั่วไป แต่ตัวผมสามารถพกกล้อง ปั่นจักรยาน และถ่ายภาพไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคเลย  Gooutride เป็นชุดภาพถ่ายที่นำเสนอการเดินทางด้วยจักรยาน กับการปั่นหาเส้นทาง สถานที่ใหม่ๆ ในชนบท ทั้งหมดอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเพื่อนร่วมทาง สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเรา ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

สเปนเปลี่ยนเรือนจำให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน โรงอาหาร และที่พักพิงของคนไร้บ้าน

หลายครั้งที่สถานที่เก่าแก่ทั่วโลกถูกปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘El Roser Social Center’ ในเมืองทาร์ราโกนา ประเทศสเปน ที่อดีตเคยเป็นเรือนจำสำหรับคุมขังนักโทษตั้งแต่ปี 1929 จากนั้นถูกดัดแปลงเป็นอาคารเรียนในปี 1979 และล่าสุดในปี 2022 เรือนจำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดย ‘Josep Ferrando Architecture’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมของบาร์เซโลนา ให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนใจกลางเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในเมืองให้มากขึ้น Josep Ferrando Architecture เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นฟูให้เรือนจำกลับมาอยู่ในสภาพดังเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเผยให้เห็นถึงโครงสร้างและรูปแบบการก่อสร้างเรือนจำในอดีต อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้าง และมองหาวัสดุเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่เรือนจำเดิมสามารถรองรับการใช้งานที่มีจุดประสงค์ใหม่ในการเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน โรงอาหาร และสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในท้องถิ่น และรวมอยู่ในคลังมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง Tarragona ทำให้สตูดิโอต้องดำเนินงานการซ่อมแซมฟื้นฟู และต่อเติมส่วนอื่นๆ เข้าไปอย่างระมัดระวัง  โดยประตูทางเข้าและทางเดินของเรือนจำยังถูกรักษาคงสภาพไว้ดังเดิม แตกต่างไปเพียงตัวกำแพงทึบรอบลานเรือนจำที่ถูกรื้อถอนออกไป และแทนที่ด้วยโครงเหล็กสีแดงเพื่อให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ลบภาพความอึมครึมของเรือนจำในอดีต กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในเมืองสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนโครงสร้างภายในเรือนจำถูกออกแบบให้กลายเป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ของเมืองที่เปิดให้ประชาชนและคนไร้บ้านรับประทานอาหารภายในได้ฟรีเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของห้องพักภายในเรือนจำเดิม ยังถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านในเมือง พร้อมติดตั้งระบบทำความร้อนที่ได้ประสิทธิภาพสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ทำให้ El Roser Social Center ถือเป็นสถานที่แห่งแรกในสเปนที่รวบรวมบริการทางสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมไว้ใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งทาง […]

Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

รู้จักและสนับสนุนผ้าไทยผ่านแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทย จัดทำโดย ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม

คนไทยรู้ ทุกคนรู้ว่าผ้าไทยงดงามไม่แพ้ใครในโลก นอกจากนี้ ลายผ้าแต่ละลายยังล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ จนนับเป็นอัตลักษณ์จังหวัดได้ เช่น ลายจกไทลื้อ ของจังหวัดเชียงราย หรือลายผ้าขาวม้าอ่างทอง ของจังหวัดอ่างทอง เป็นต้. เพราะมีความรักในผ้าทอและต้องการสนับสนุนผ้าถักทอ ผ้าพื้นเมืองของไทย ให้เป็นที่รู้จัก ‘ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม’ ที่จัดจำหน่ายและจัดแสดงผ้าไหมมาเป็นเวลายาวนาน จึงจัดทำแผนที่ผ้าประเทศไทย ในรูปแบบอัลบั้มภาพในเพจเฟซบุ๊กของร้าน เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้ที่สนใจผ้าไทย ทางร้านได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและข้อมูลตามอ้างอิง อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ด้านผ้า แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตามประวัติความเป็นมาและการเป็นที่รู้จักยอมรับในวงกว้าง ส่วนจังหวัดใดที่ไม่มีการทอผ้าหรือหาข้อมูลอ้างอิงไม่ได้ ทางร้านได้ใช้ลายผ้าประจำจังหวัดที่ออกแบบใหม่ในปีนี้ทดแทน ทั้งนี้ ในแผนที่เวอร์ชันล่าสุด ร้านแพรอาภาได้ปรับปรุงข้อมูลและถ่ายภาพลายผ้าใหม่ เพื่ออัปเดตฐานข้อมูลให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากตัวแผนที่ที่ใช้ลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสื่อสารถึงจังหวัดนั้นๆ แล้ว ยังมีการจัดแสดงข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพลายผ้า ชื่อลายผ้า และชื่อจังหวัด ให้ได้ศึกษากันชัดๆ อีกด้วย หลายลายงดงามมากจนอยากเห็นของจริงเลย ใครที่สนใจ ชมภาพและศึกษาแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทยได้ที่ https://tinyurl.com/2f9x3w6d หรืออุดหนุนร้านแพรอาภาได้ในช่องทางออนไลน์หรือหน้าร้าน ย่านคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ (โทร. 08-1702-4552)

Wander Around ระหว่างทางของเส้นทางชีวิต

ภาพถ่ายชุดนี้บันทึกสิ่งที่เราพบเจอระหว่างการเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เราพาตัวเองออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลองเดินหลงไปในย่านที่ไม่รู้จัก ลองทักทายคนแปลกหน้าแบบที่ตอนอยู่ไทยคงไม่กล้าทำ แล้วกดถ่ายรูปแบบไม่ต้องคิดอะไร นอกจากมองหาสิ่งที่ตัวเองชอบ

วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

‘I Don’t Care ไม่ว่าอย่างไร’ ละครเวทีที่บอกเล่าชีวิตคนข้ามเพศ กันยายนนี้ ที่ Jim Thompson Art Center

ในสังคมที่เปิดกว้างขึ้น แต่อัตลักษณ์ตัวตนของคนข้ามเพศยังมีความเลือนรางในสายตาของคนทั่วไปอยู่ไม่น้อย เราอยากพาทุกคนไปรู้จักกับอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศ 8 คน ในบริบทและสภาพสังคมที่แตกต่างกันอย่างในประเทศไทยและเยอรมนี ผ่าน ‘I Don’t Care ไม่ว่าอย่างไร’ (World Premiere) โปรเจกต์ละครเวทีสัญชาติไทย-เยอรมัน จาก B-Floor Theatre และ Residenztheater ที่ได้รับแรงบันดาลใจและพัฒนาจากบทสัมภาษณ์จากชีวิตจริงของคนข้ามเพศทั้ง 8 ที่ถูกบันทึกมาตลอดสามปี นี่คือ 8 มุมมองที่เต็มไปด้วยเรื่องราวการหาหนทางในการนิยามอัตลักษณ์ของตน และการตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตเองที่ล้วนต้องข้ามผ่านความกดดันและความเปราะบางในหลายมิติ นำไปสู่การตั้งคำถามถึงสิ่งที่ตัวเองเป็นในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกายและจิตใจของตน ไม่ว่าจะเป็นคนข้ามเพศหรือไม่ก็ตาม ละครเวที ‘I Don’t Care ไม่ว่าอย่างไร’ รอบ World Premiere จะเปิดการแสดงที่ The Jim Thompson Art Center ซอยเกษมสันต์ 2 ระหว่างวันที่ 15 – 18 และ 22 – 25 กันยายน 2565 ก่อนจะเดินทางไปแสดงต่อที่มิวนิกในเดือนตุลาคม […]

Masterplan Esbjerg Strand โปรเจกต์สร้างอาคารการเรียนรู้แห่งใหม่ของเดนมาร์ก ที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตและสร้างระบบนิเวศยั่งยืน

หนึ่งในบริษัทสถาปนิกไฟแรงชื่อดังระดับโลกอย่าง ‘Bjarke Ingels Group’ หรือ ‘BIG’ ได้เปิดเผยโปรเจกต์การออกแบบ ‘วิทยาเขตการศึกษาแห่งใหม่’ หรือ ‘New Education Campus’ บนเกาะเอสบีเยร์ (Esbjerg) เมืองท่าทางทะเลของประเทศเดนมาร์ก โดยมีเป้าหมายสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองและพื้นที่แคมปัสเพื่อรองรับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนระบบการศึกษาแบบเดิมของประเทศด้วย โครงการนี้ตั้งใจดำเนินการบริเวณพื้นที่ท่าเรือที่เดิมมีขนาด 15,000 ตารางเมตร โดยสถาปัตยกรรมแห่งใหม่นี้จะใช้พื้นที่เพียง 13,700 ตารางเมตร เนื่องจาก BIG ตั้งใจออกแบบอาคารโดยเหลือพื้นที่บริเวณโดยรอบไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่จะช่วยปกป้องผู้คนในแคมปัสจากลมแรงและเสียงรบกวน ทั้งยังเหมาะกับการนั่งชมทิวทัศน์ของท่าเรือและทะเลด้วย  แคมปัสแห่งใหม่บนเกาะเอสบีเยร์แห่งนี้จะมีความสูงทั้งหมด 7 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวอาคาร ส่วนรูปทรงของตึกจะมีรูปทรงคล้ายคลื่นที่มีความสูงไม่เสมอกัน ซึ่งแนวคิดการออกแบบนี้จะช่วยลดเสียงรบกวน ปรับสภาพลมทั้งบนพื้นดินและบนหลังคาให้เหมาะสม รับแสงแดดให้ได้มากที่สุด และเอื้อให้ทุกคนสามารถมองเห็นวิวของท้องทะเลได้  ที่สำคัญ บริเวณหลังคายังสร้างเป็นสวนดาดฟ้าความยาวหนึ่งกิโลเมตรที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตรงกลางอาคารจะเปลี่ยนให้เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบร่มรื่นภายในแคมปัส ค่อนข้างแตกต่างจากบรรยากาศของอุตสาหกรรมท่าเรือภายนอกมากเลยทีเดียว ไอเดียออกแบบอาคารที่น่าตื่นเต้นของ BIG ชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนเมืองอย่าง Esbjerg of the Future Vision 2025 ที่มีเป้าหมายเพิ่มประชากรในพื้นที่และผลักดันให้เอสบีเยร์กลายเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านการศึกษา โดยมีการอ้างว่าแผนดังกล่าวจะทำให้เมืองนี้มีตำแหน่งแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ที่รองรับทุกคน กลายเป็นผู้ผูกขาดทางพลังงานยั่งยืน […]

สนับสนุนศิลปะ ชมผลงาน 168 นักวาดทั่วโลก ในงาน Bangkok Illustration Fair 2022 วันที่ 8 – 11 ก.ย. 65 ที่ หอศิลปกรุงเทพฯ

ใกล้เข้ามาอีกนิดแล้ว สำหรับงาน Bangkok Illustration Fair 2022 (BKKIF 2022) อีเวนต์ใหญ่รายปีของวงการศิลปะที่รวบรวมศิลปินนักวาดหลากสไตล์จากหลายประเทศ มาจัดแสดงผลงาน ร่วมพูดคุย แชร์ประสบการณ์ และค้นหาโอกาส เพื่อต่อยอดสิ่งที่แต่ละคนรักและหลงใหล หลังจากเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการเปิดรับสมัครศิลปินเพื่อมาร่วมแสดงผลงานทั้งภายในงานและบนเว็บไซต์ จนได้กระแสการตอบรับอย่างล้นหลามจากเหล่าศิลปินนักวาดภาพประกอบ ล่าสุด Bangkok Illustration Fair ได้เปิดขายบัตรเข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ พร้อมอัปเดตว่าภายในงานจะมีผลงานจากศิลปินทั่วโลกมากถึง 168 คน เช่น ไทย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เยอรมนี, ปากีสถาน, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เกี่ยวกับการวาดภาพประกอบให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมสนุกและสัมผัสประสบการณ์เสริมสร้างจินตนาการและแรงบันดาลใจ ใครสนใจอยากเข้าชมงานและสนับสนุนวงการศิลปะ ซื้อบัตรเข้าชมงานได้ที่ go.eventpop.me/bkkif2022 โดยบัตรจะแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ One Day Pass ราคา 100 บาท Event Pass (เข้าชมได้ไม่จำกัดวัน) ราคา 200 บาท + แถมฟรี […]

‘3200K’ ณ ชั่วขณะนั้นที่มุกดาหาร

ฉันมักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการทำงานร้านอาหารของที่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขงและบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ แม่น้ำที่ไหลผ่านเอื่อยๆ วิถีชีวิตริมน้ำที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้า เรียบง่าย ฉันคิดว่าอุณหภูมิ สี และแสงที่ฉาบลงบนภาพตรงหน้าช่างอบอุ่นพิเศษกว่าที่ไหนๆ

เดินส่องย่าน เรียนรู้วิถีชีวิต เสพศิลปะ ใน ‘ศิลป์ในซอย ตอน Plearn in Soi’ 19 – 21 ส.ค. 65 ย่านกะดีจีน-คลองสาน

ใครกำลังมองหางานสนุกๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ได้ทำทั้งเดินเล่น ชมงานศิลปะ ฟังเพลง เสวนาหาความรู้ ไปจนถึงทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของย่านในกรุงเทพฯ ‘ศิลป์ในซอย : ART IN SOI 7 ตอน Plearn in Soi’ ที่จัดโดย UDDC และพันธมิตร ในวันที่ 19 – 21 สิงหาคมนี้ น่าจะถูกใจเป็นที่สุด เพราะ ‘ศิลป์ในซอย’ มีคอนเซปต์หลักเป็น ‘แสง-สี-ศิลป์ เชื่อมย่าน เชื่อมการเรียนรู้ เชื่อมเศรษฐกิจชุมชน’ ทำให้เป็นงานที่อัดแน่นไปด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย โดยงานครั้งนี้จะเกิดขึ้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน ซึ่งเป็นหนึ่งในย่านเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ – ART & Light IN SOI ชมงานศิลปะและแสงไฟ บริเวณมรดกวัฒนธรรมและพื้นที่สาธารณะภายในย่านกะดีจีน-คลองสาน เส้นทางตั้งแต่สวนสาธารณะ-ตรอกดิลกจันทร์-อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี– TALK IN SOI ฟังการเสวนาสาธารณะ และชมนิทรรศการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสานบนฐานความรู้ ที่นิทรรศการการพัฒนาบนฐานความรู้ย่านกะดีจีน-คลองสาน และเวทีเสวนาสาธารณะถอดบทเรียนการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสานบนฐานความรู้– WALK IN […]

1 12 13 14 15 16 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.