เดี๋ยวนี้จะไปที่ไหนก็ต้อง “กด กด ล้าง” เพื่อความปลอดภัยของเราและคนรอบข้าง
และเมื่อไปที่ศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนา เราก็จะเห็นมีการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือแบบออร์แกนิกจากแบรนด์ Patom Organic Living ผู้ริเริ่มโครงการสามพรานโมเดล และเป็นผู้นำด้านเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มนำร่องแล้ววันนี้ ที่ เซ็นทรัล ศรีราชา และ เซ็นทรัล อยุธยา และ เตรียมขยายต่อยอดให้ได้ 13 สาขาทั่วประเทศ
ไม่รอช้า เราจึงหาโอกาสเข้าพูดคุยกับ ‘คุณเลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริการทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)’ “เมื่อเราคิดถึงลูกค้า คิดถึงชุมชน คิดถึงสิ่งแวดล้อม เราจึงเลือกสิ่งนี้ออกมา” ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ช่วยให้ดิน น้ำ อากาศปลอดภัย ชุมชนเกษตรก็มีรายได้ เมื่อเห็นว่ามีรายได้ เขาก็จะผลิตแต่สิ่งดีๆ ออกมามากขึ้น และลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์การค้าก็ยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ดีๆ ให้กับตัวเอง
ความคิดถึงชุมชน สิ่งแวดล้อม และตัวเราที่ว่าของเซ็นทรัลพัฒนาเป็นอย่างไร ติดตามต่อในคลิปนี้เลย!
#CPN #Patom #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #FYI
RELATED POSTS
ห้องเรียนโรงเรียนบ้านป่าก้าง เชียงใหม่ ที่สร้างด้วยถุงพลาสติกกว่า 850,000 ใบ
เรื่อง
Urban Creature
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าก้าง จังหวัดเชียงใหม่ จนโครงสร้างอาคารเสี่ยงต่อการพังถล่ม แต่ตอนนี้ Green Road ได้เนรมิตถุงวิบวับจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นห้องเรียนอเนกประสงค์เพื่อคืนพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ #ถุงวิบวับคืออะไร ถุงวิบวับ หรือถุงพลาสติกหลายชั้น (Multilayer) คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้บรรจุสินค้าต่างๆ อย่างกาแฟ อาหาร และเครื่องสำอาง ด้วยคุณสมบัติที่ป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ดี ทำให้ถุงเหล่านี้ได้รับความนิยมมาก แต่ด้วยโครงสร้างหลายชั้นนี้เองกลับเป็นอุปสรรคในการรีไซเคิล เนื่องจากต้องแยกแต่ละชั้นออกจากกันซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง #เปลี่ยนถุงวิบวับให้เป็นห้องเรียน หลังจากที่ Green Road ได้รับบริจาคถุงเหล่านี้จากทั่วประเทศ ก็ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น และวัสดุก่อสร้าง และล่าสุดด้วยความร่วมมือช่วยกันบริจาคของประชาชน ทีม Green Road ได้รวบรวมถุงวิบวับมากถึง 850,000 ถุง หรือประมาณ 2,500 กิโลกรัม และนำมาสร้างห้องเรียนอเนกประสงค์ให้กับโรงเรียนบ้านป่าก้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวได้สำเร็จ ทีม Green Road เล่าให้เราฟังว่า ขั้นตอนในการเปลี่ยนถุงวิบวับเป็นห้องเรียนมีกระบวนการที่คล้ายกับการทำโต๊ะเก้าอี้ทั่วๆ ไป เพียงแต่จะอัดในรูปแบบขนาดเล็กให้กลายเป็นฝาบ้าน #โครงการเปลี่ยนขยะถุงพลาสติกให้ใช้ประโยชน์ได้ […]
Repair Café สเปซที่ส่งเสริมให้คนใช้ซ้ำด้วยการ ‘ซ่อม’ ลดขยะ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มอายุขัยสิ่งของ เปิดทำการทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ณ บ้านสวนสุดาวรรณ
เรื่อง
Urban Creature
สิ่งของแต่ละชิ้นบนโลกล้วนมีอายุของตัวเอง แม้จะถนอมไว้ดีแค่ไหนก็ต้องมีความเสียหายบ้างตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของที่มีมูลค่าทางจิตใจ ซึ่งหากเราต้องจำใจเก็บทิ้งทุกทีที่ของเหล่านั้นใช้ไม่ได้แล้วคงจะรู้สึกเสียดายกันน่าดู การซ่อมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ถนัดซ่อมแซมด้วยตัวเองคงต้องหาร้านซ่อม แต่ปัญหาคือเราไม่รู้พิกัดว่าร้านไหนที่จะช่วยคืนชีพของใช้ของเรากลับคืนมาได้ เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘Repair Café’ พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้การซ่อมแซมสิ่งของที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,800 แห่งทั่วโลก โดยเริ่มมาจากแนวคิดของ Martine Postma ที่ต้องการสร้างสเปซสำหรับพบปะกันระหว่างช่างซ่อมสิ่งของกับเจ้าของสิ่งของที่ต้องการซ่อม โดยมีมุมมองว่าการซ่อมเป็นการยืดอายุการใช้งานของของให้ยาวออกไปได้ และยังสามารถลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกิจกรรมนี้มี ‘Reviv’ สตาร์ทอัพเพื่อสิ่งแวดล้อมผู้ให้บริการเย็บซ่อมและปักเสื้อผ้าออนไลน์เป็นผู้จัดกิจกรรม ซึ่งทางองค์กรเองก็มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพฤติกรรมการซ่อมและการใช้ซ้ำให้กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักเช่นเดียวกัน จึงเกิดเป็นชุมชนส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อม (Repair Community Thailand) ที่ดูแลและสร้างสรรค์กิจกรรมใน Repair Café นั่นเอง ในช่วงที่ผ่านมา Repair Café เป็นการจัดกิจกรรมแบบสัญจรหมุนเวียนสเปซตามพื้นที่ย่านต่างๆ ที่สามารถเดินทางง่ายและใกล้รถไฟฟ้า แต่ในตอนนี้ Repair Café มีที่ตั้งประจำอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเปิดทำการในทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ที่ ‘บ้านสวนสุดาวรรณ’ แนะนำให้ติดตาม Reviv ไว้เลย เพราะแต่ละเดือนจะมีช่างซ่อมอาสามาให้ความรู้วิธีการซ่อมสิ่งของในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป และติดตามว่าในเดือนนั้นเปิดรับซ่อมสิ่งของประเภทใดบ้าง ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เตรียมแค่ของที่อยากซ่อมมาเท่านั้นเอง (แต่จำกัดการซ่อม […]
‘North Boulder Library’ ห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชน ให้ความรู้พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อพื้นที่
เรื่อง
Urban Creature
ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หน้าที่ของห้องสมุดที่ทุกคนรู้จักคือพื้นที่สำหรับให้บริการการอ่าน รวมถึงให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ แต่ในปัจจุบันหลายๆ ห้องสมุดเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว หนึ่งในนั้นคือ ‘North Boulder’ ห้องสมุดในรัฐ Colorado ที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนเลยก็ได้ North Boulder เป็นห้องสมุดที่ชุมชนรอคอยมานาน ด้วยเหตุนี้ ‘WORKac’ สตูดิโอออกแบบจากนิวยอร์กที่ยึดหลักคิดเรื่องความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงออกแบบให้ห้องสมุดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์อเนกประสงค์ของชุมชนด้วย เพราะโครงการนี้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ส่งผลให้มีโซน Boulder Reads ที่สนับสนุนผลักดันให้ผู้ใหญ่และเด็กมีทักษะในการอ่าน รวมถึงโซน Maker Kitchen ที่มาจากความสนใจของชุมชนในเรื่องพื้นที่เรียนรู้ความสร้างสรรค์และครัวส่วนกลาง ภายในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้กับผู้ใหญ่ และพื้นที่สำหรับเด็กที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการอ่าน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้พร้อมเล่นสนุกด้วยองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปีนผาหรือสไลเดอร์ แถมยังมีกระจกบานใหญ่ที่มองวิวภูเขาด้านหน้าได้ มากไปกว่านั้น ส่วน Maker Kitchen ยังเชื่อมต่อออกไปยังสวนกินได้และสนามเด็กเล่นด้านนอก ส่วนโซนด้านนอกมีพื้นทางลาดที่เชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นสองของห้องสมุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับชุมชนที่มีบางโปรแกรมเปิดให้เข้าในช่วงกลางคืน เช่น ห้องเรียน ESL (English as a Second Language) ซึ่งผู้เข้าเรียนสามารถใช้ทางลาดนี้ขึ้นไปยังชั้นสองโดยไม่ต้องผ่านห้องสมุดชั้นล่างที่ปิดอยู่ ปิดท้ายด้วยการออกแบบในด้านความยั่งยืน ที่มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้องสมุดเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี Rain Garden หรือสวนซับน้ำฝน ที่ช่วยรับน้ำฝน […]
เยี่ยมสเปซน่าสนใจในตึกแถว ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ โอลด์ทาวน์ที่น่าไปใช้ชีวิตและเป็นมิตรกับคนเมือง
เรื่อง
พณิช ตั้งวิชิตฤกษ์
เทศกาลแห่งการสังสรรค์ แสงสี และการรวมตัวกันของผู้คนในช่วงปลายปีใกล้เข้ามาทุกที แม้เป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่กรุงเทพฯ จะกลับสู่การเป็นเมืองที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตัวเองตามวิถีคนเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนขาดการปฏิสัมพันธ์กันก็ตาม คงดีไม่น้อยหากเมืองฟ้าอมรแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น มีพื้นที่ส่วนกลางให้มนุษย์กรุงเทพฯ ได้พบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า พักผ่อนจากการงานที่แสนหนักหน่วง ได้วางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารในห้วงยามที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตจนคล้ายเป็นอวัยวะที่ 33 เพื่อใช้เวลาไปกับการพูดคุยกันสารพัดเรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจกับเพื่อนทั้งเก่าและใหม่ หรือรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เดิม ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ ก็เป็นเหมือนโอลด์ทาวน์ทั่วไป ยังคงความเป็นชุมชนคล้ายกับหลายย่านเก่าในเมืองหลวง โดยมีธุรกิจอย่างอู่ซ่อมรถและร้านทำป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายเป็นภาพจำของผู้คน ทว่าในวันนี้หากลองเดินเท้าสำรวจย่านเก่าอายุกว่าร้อยปีแห่งนี้จะพบว่า นอกจากซอยนานาที่โด่งดังมาก่อนหน้าแล้ว ในมุมอื่นๆ ของย่านก็มีกิจการใหม่ในตึกเก่าที่แทรกตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คนเมืองมีกิจกรรมหลากหลายแวะเข้ามาทำมากขึ้นตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ไม่ได้พาไปดูอู่รถหรือเข้าร้านป้าย แต่อยากชวนสำรวจ Creative & Community Space รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ย่านที่วันนี้มีหลายสเปซน่าสนใจที่กวักมือเรียกผู้คนเข้ามาสัมผัสย่านในมุมมองใหม่ๆ ด้วยความตั้งใจของผู้ประกอบการที่อยากให้บ้านของเขาไม่เงียบเหงา และอยากเป็นเฉดสีอื่นๆ ที่แต้มแต่งเพิ่มเข้ามาในเมืองนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อศตวรรษที่แล้วมีการตัดถนนสายใหม่ 3 สาย ผ่านชุมชนของชาวจีนในตำบลหัวลำโพงที่เกิดไฟไหม้ ตรงกลางของเส้นเลือดใหม่ที่วิ่งไขว้กันไปมาทำเป็นวงเวียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามทั้งถนนและวงเวียนว่า ‘22 กรกฎาคม’ เพื่อระลึกถึงวันเดือนที่ประเทศสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร […]