ดองสัตว์ย้อมสี ศิลปะวิทยาเพื่อศึกษาระบบภายใน - Urban Creature

หนูขา ‘ร่างโปร่ง ดูกสี มีกล้ามเนื้อในโหลแก้ว’ คืออะไรคะ

หยุด ไม่ต้อง งง ! เพราะนี่คือ เทคนิค Clearing and Staining หรือเรียกว่า ‘การดองใส’ กระบวนการยอมสีแสนตื่นตาสำหรับสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วอย่างสัตว์จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานรวมไปถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กว่า 25,000 สปีชี่ส์ที่สามารถใช้วิธีการดองนี้ได้

เจ๋งไหมละ หลายคนอาจคุ้นเคยกับการดองสิ่งมีชีวิตอย่างการการดองเปียกที่ดองในแอลกอฮอล์ กว่า 70 % และการสตัฟฟ์แห้ง

แต่รู้หรือเปล่าว่าวิธี ‘การดองใส’ นั้นไม่ใช่วิธีใหม่แต่ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงงานศิลปะทั่วไป แต่นี่คือวิธีการย้อมเพื่อศึกษาโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อโดยละเอียดในเชิงชีววิทยา นำไปสู่กระบวนการวิจัยการเคลื่อนไหวทางกายวิภาคของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายทั้งหมด

ไม่เพียงแค่นั้น ‘มัดกล้ามเนื้อ’ ของสิ่งมีชีวิตที่เรานำมาทดลองไม่ได้หายไปไหน แต่ถูกทำให้เป็น ‘วุ้น’ โดยวิทยาศาสตร์ อย่างการใช้ Trypsin ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะแทรกแซงเข้าไปย่อยสลายโปรตีนทั้งหมดให้เป็นกรดอะมิโนแล้วคงเหลือไว้แค่คอลลาเจนโปร่งแสงใต้ชั้นผิวหนัง หลังจากแช่ Formalin ความเข้มข้น 10-15 % เป็นเวลา 7 วัน ก่อนจะฟอกขาวอีกครั้งเพื่อให้สีย้อมกระดูกดูชัดเจนขึ้น แล้วนำลงแหวกว่ายบน Glycerin สีใสในโหลแก้วใต้แสงไฟนั่นเอง

วิธีการนี้เป็นการแก้ไขปัญหาของการใช้ 3D สแกนอย่าง MRI ที่เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน และ CT Scan ที่ใช้สำหรับการตรวจกระดูกโดยเฉพาะ เพราะทั้งสองวิธีให้ความละเอียดของภาพฉายในคุณภาพต่ำ จนไม่สามารถใช้ศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ภายในได้เลย วิธีทำง่ายขนาดนี้ ขับรถออกไปซื้ออุปกรณ์แล้วมาทดลองทางวิทยาศาสตร์กัน

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.