WHAT’S UP
‘National Geographic Photo Ark’ เปิดบันทึกภาพถ่ายสัตว์กว่า 15,000 สปีชีส์ ในสวนสัตว์ทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศ วันที่ 11 – 29 ก.ค. 67 ที่ชั้น 3 โซน Living Hall สยามพารากอน
ปี 2006 คือปีแรกที่โจเอล ซาร์ทอรี (Joel Sartore) เริ่มต้นภารกิจ ‘Photo Ark’ ถ่ายภาพสัตว์ทุกสายพันธุ์ในสวนสัตว์ โดยเริ่มต้นที่สวนสัตว์บ้านเกิดของเขาในเมืองลิงคอล์น (Lincoln) รัฐเนแบรสกา (Nebraska) สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเขาก็ออกเดินทางไปมากกว่า 50 ประเทศ และเก็บบันทึกภาพสิ่งมีชีวิตตามสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไปมากกว่า 15,000 สปีชีส์ เพื่อกักเก็บภาพความทรงจำของสัตว์ต่างๆ ก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนปกปักรักษามันให้อยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และในวันที่ 11 – 29 กรกฎาคมนี้ ชาวกรุงเทพฯ ก็จะได้ชื่นชมกับภาพถ่ายของซาร์ทอรีกันกับตา ในนิทรรศการ ‘National Geographic Photo Ark’ ซึ่งงานนี้จะมีภาพสัตว์ประจำถิ่นของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาร่วมแสดง รวมถึงมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้เพลิดเพลินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าอยากทำความรู้จักกับโครงการ Photo Ark ให้มากขึ้น ไปเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้ที่ www.natgeophotoark.org แล้วอย่าลืมไปเยี่ยมชมนิทรรศการกันในช่วงวันที่ 11 – 29 ก.ค. นี้ กันล่ะ
ได้เวลาออกเดินทาง ‘พาใจกลับบ้าน’ ชาร์จแบตใจในพื้นที่ใหม่ ฮีลใจกว่าที่เคย ตั้งแต่ 12 ก.ค. 67 ที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ในเมืองที่เต็มไปด้วยความรีบเร่ง การมีเวลาได้หยุดพักสักนิดเพื่อสำรวจจิตใจอันแสนยุ่งเหยิงทีละน้อย ก็ช่วยให้เราจัดระเบียบความคิดและกลับมารักตัวเองมากขึ้นได้ ‘พาใจกลับบ้าน’ คือนิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์และ Therapeutic Space (พื้นที่เชิงบำบัด) ชื่อคุ้น โดยผู้จัด ‘Eyedropper Fill’ ที่เป็นเหมือนตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เราฟังเสียงหัวใจได้ชัดขึ้น ครั้งนี้ พาใจกลับบ้าน กลับมาพร้อมการร่วมมือใหม่กับ ‘MMAD – MunMun Art Destination’ ที่จะชวนทุกคนไปชาร์จแบตและฮีลใจอย่างเต็มรูปแบบและอบอุ่นกว่าที่เคย หลังได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจนสร้างสถิติผู้เข้าชมทะลุกว่า 40,000+ คน ภายใน 30 วัน ติดเทรนด์โซเชียลจนกลายเป็นกระแสไวรัล ด้วยยอดวิวรวมสูงกว่า 10 ล้านครั้ง ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ภายในนิทรรศการ เราจะได้พบกับ 5 ห้อง ได้แก่1) ห้อง ‘สำรวจ’ ที่ให้ทุกคนได้นั่งทบทวนความรู้สึกของตัวเอง2) ห้อง ‘โอบรับ’ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนก้าวอย่างช้าๆ เอื้อมมือเข้าไปหาความรู้สึกในใจ3) ห้อง ‘เฝ้าดู’ ที่ให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้เอนกายนอนหลับตาลงช้าๆ เพื่อซึมซับกับบรรยากาศ ทบทวน เฝ้าดู รับรู้ความคิดที่ไหลผ่านตัวเรา4) ห้อง ‘ข้ามผ่าน’ ห้องที่มีเสียงสะท้อนแผ่วเบาดังอยู่รอบตัว […]
Trosten Floating Sauna แช่ซาวน่าลอยน้ำในวันที่หนาวเย็น ใจกลางเมืองออสโล
ในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ที่มีอากาศหนาวจับใจตลอดทั้งปี สุขใดเล่าจะเท่าการเข้าห้องซาวน่าร้อนๆ แล้วดูวิวเมืองสวยๆ ไปด้วย ‘Trosten Floating Sauna’ คือซาวน่าลอยน้ำใน Oslofjord (ออสโลฟยอร์ด) อ่าวน้ำใจกลางเมืองออสโล โดยคำว่า ‘Trosten’ ในชื่อ เป็นคำภาษานอร์เวย์หมายถึงนกวงศ์เดินดง (Thrush) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความโชคดีของคนที่นี่ ซาวน่านี้ออกแบบโดย estudio Herreros สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากสเปน ผู้เคยสร้างสรรค์ ‘พิพิธภัณฑ์ Munch’ ตึกสีเทาหลังโตที่ตั้งตระหง่านริมน้ำไม่ไกลกัน ตัวอาคารซาวน่าโดดเด่นด้วยรูปทรงยอดแหลมสองฝั่งดั่งปีกนก และผิวอาคารที่กรุด้วยแผ่นอะลูมิเนียมสีเขียวอ่อนงามตา ฝั่งหนึ่งของอาคารเป็นอัฒจันทร์ให้ผู้คนนั่งเล่นชมวิวเมือง หรือใช้จัดอีเวนต์ก็เหมาะ ภายในอาคารคือห้องซาวน่าที่ออกแบบให้คนนั่งวีลแชร์ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย พื้นไม่มีการปรับระดับ ทางเดินมีขนาดกว้างขวางพอให้รถเข็นเข้าออกได้ และในการออกแบบยังคำนึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ เช่น การปูพื้นด้วยกระเบื้องหินล้าง (Terrazzo) ขนาดใหญ่ที่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บอุณหภูมิ ทำให้ไม่เปลืองพลังงานความร้อน หรือการกรุผิวอาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียมรีไซเคิล Trosten Floating Sauna เป็นหนึ่งในซาวน่าลอยน้ำหลายหลังจาก ‘Oslo Sauna Association’ ที่มาพร้อมเป้าหมายคือการนำ ‘ซาวน่าใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น’ ซึ่งซาวน่าจาก estudio Herreros เป็นตัวอย่างที่ฉายภาพฝันขององค์กรได้ดีทีเดียว ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงคนพิการ […]
‘Elextrosphere โลกใหม่ Right Carbon’ ชวนทุกคนไปสนุกกับเรื่องของพลังงานในสองโซนใหม่ของศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.
พลังงานไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกร้อนขึ้นทุกวันๆ ซึ่งหากจะให้เด็กๆ ท่องจำหรือเรียนรู้ที่มาปัญหาเหล่านี้อยู่แต่ในห้องเรียนอย่างเดียว ก็อาจดึงดูดความสนใจหรือสร้างความรู้ได้ไม่มากนัก แต่หากเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของนิทรรศการที่มีสื่อจัดแสดงพร้อมสร้างการมีส่วนร่วม ก็อาจจะทำให้การเรียนรู้สนุกมากขึ้น ทาง ‘ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.’ สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จึงปรับปรุงโซนการเรียนรู้ 2 โซนเพื่อให้ผู้เข้าชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับประสบการณ์ด้านพลังงานอย่างเต็มที่ใน ‘Elextrosphere โลกใหม่ Right Carbon’ นิทรรศการพลังงานแห่งอนาคตที่มาพร้อมกับการสร้างประสบการณ์ร่วมในโลกเสมือน โซนใหม่โซนแรกที่เพิ่มขึ้นมาคือ ‘Elextrosphere โลกใหม่ Right Carbon’ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสความรู้สึกเมื่อโลกที่เราอาศัยอยู่ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง และความงดงามของโลกแห่งจินตนาการที่ทุกอย่างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ในดินแดนคาร์บอนเรืองแสง ผ่านเทคนิค Interactive Immersive Experience & Theater 6D – 8K ภาพยนตร์ 6 มิติ บนจอภาพยนตร์ขนาดยักษ์ความยาวถึง 30 เมตร ส่วนอีกโซนคือ ‘Right Carbon สร้างสมดุลคาร์บอน’ เรียนรู้เรื่องคาร์บอนเบื้องหลังภาวะโลกเดือด ย้อนเวลาสู่การค้นพบพลังงานไฟฟ้า เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. ผ่านเกมและกิจกรรมต่างๆ ที่นอกจากจะสร้างความสนุกและเพลิดเพลินแล้ว ผู้เล่นยังจะได้รับความรู้ไปในตัวอีกด้วย […]
‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์รวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมสีเขียวไว้ให้คนกรุงเทพฯ Go Green ไปด้วยกัน
ปัจจุบัน ‘กรุงเทพมหานคร’ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะคนในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จากการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายหรือรวมเป็นหลักเป็นแหล่ง แต่หลังจากนี้ชีวิตคนกรุงเทพฯ จะง่ายขึ้น เพราะ ‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อปลูกความรู้สีเขียวให้กับคนในเมืองกรุงโดยเฉพาะ จากการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมในหมวดต่างๆ ไว้มากมาย ตั้งแต่ให้ความรู้เรื่องความยั่งยืน การจัดการขยะและรีไซเคิล ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการให้บริการข้อมูลพื้นที่สีเขียวที่บอกเลยว่า ใครที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมในเว็บไซต์นี้จะต้องได้ความรู้ติดตัวออกไปอย่างแน่นอน อีกทั้งภายในเว็บไซต์ยังมีฟังก์ชันน่าสนใจมากมายให้ทุกคนได้เข้าไปดูด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือการทิ้งขยะที่แนะนำให้เราจัดการกับขยะแต่ละชนิดได้อย่างถูกจุด วิธีการกำจัดขยะในสถานที่ต่างๆ หรือจะเรียกดูข้อมูลการวัดค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ทุกพื้นที่ก็มีให้เช็กแบบหายห่วง แถมพลาดไม่ได้กับ ‘มินิเกม’ ที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องกรีนๆ ได้อย่างสนุกสนานขึ้น ยกตัวอย่าง เกมที่เราจะได้ลองแยกขยะแต่ละชนิดด้วยตัวเอง เพราะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอน ใครที่อ่านมาขนาดนี้แล้วสนใจอยากลองดูข้อมูลสีเขียวในกรุงเทพฯ เข้าไปเล่นเกมสนุกๆ หรืออยากนำเสนอไอเดียเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เข้าไปใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ greenerbangkok.com
‘Is it even a city?’ วิดีโอโฆษณาสุดแหวก ที่ชวนมาเที่ยวเมืองออสโลด้วยการบอกว่า ที่นี่ชีวิตดีเกินไป ไม่ต้องมาหรอก
‘Is it even a city?’ วิดีโอโฆษณาสุดแหวก ที่ชวนมาเที่ยวเมืองออสโลด้วยการบอกว่า ที่นี่ชีวิตดีเกินไป ไม่ต้องมาหรอก
นวัตกรรมใหม่ ‘Smart Registration’ ใช้ AI ช่วยลงทะเบียนผู้ป่วยที่ รพ.กรุงเทพ ช่วยเจ้าหน้าที่ทำงานได้ดีขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์
ความเหนื่อยหน่ายที่ทุกคนต่างต้องเจอทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลคือ การรอคิวและการเสียเวลาไปกับการลงทะเบียนผู้ป่วยที่บางครั้งก็กินเวลานาน ด้วยหลายๆ ครั้งเจ้าหน้าที่เองก็มีงานล้นมือ ทำให้ดูแลผู้เข้ารับการรักษาได้อย่างไม่ทั่วถึง ‘Agnos Health’ บริษัทสตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ ร่วมมือกับ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ พัฒนาระบบ ‘Smart Registration’ เพื่อยกระดับการลงทะเบียนผู้ป่วยด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และผลักดันให้โรงพยาบาลก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Hospital อย่างเต็มตัว หลังจากที่ใช้เวลาในการพัฒนามากว่าสองปี ตอนนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สามารถใช้งานระบบ Smart Registration ผ่านตู้ Kiosk หรือบนแท็บเล็ตของเจ้าหน้าที่ได้แล้ว โดยการใช้เทคโนโลยี AI นี้มีส่วนช่วยในการทำงานหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาการรอของคนไข้ใหม่และคนไข้เก่า ลดการกรอกเอกสารต่างๆ และลดการใช้กระดาษ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายความยั่งยืน ESG (Environment, Social, Governance) ในการลดใช้กระดาษและลดปริมาณขยะ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ให้ความสำคัญอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ลง ช่วยให้ดูแลและให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทาง Agnos Health ก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง เพื่อยกระดับการให้บริการทางสุขภาพของประเทศให้ดีขึ้น .ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.agnoshealth.com/smart-hospital-and-clinics
‘Halo’ ไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิว ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างทางต่างระดับ
ในแต่ละปี สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้สูงอายุ คิดเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 3 คือการล้ม ไม่ว่าจะเป็นการลื่นล้มในห้องน้ำ ตกเตียง หรือแม้กระทั่งตกบันได เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ช่วยเดินอย่าง ‘ไม้เท้า’ จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ใครหลายคนเลือกใช้ แต่การเลือกใช้ไม้เท้าที่มีขนาดความสูงไม่เหมาะกับความต้องการ และไม่สามารถปรับขนาดตามการใช้งานได้อย่างอิสระ อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องนัก ‘Halo’ เกิดขึ้นเพื่อลบข้อบกพร่องเหล่านั้น ด้วยการเรียกตัวเองว่าไม้เท้าอัจฉริยะที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วงเวลาการขึ้นและลงบันได ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำวันที่ยากที่สุดที่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาในการเดินต้องพบเจอ ไม้เท้า Halo แบ่งส่วนประกอบออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของไม้เท้าที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติด้วย DC Motor ภายในความสูงระหว่าง 71 – 101 เซนติเมตร และส่วนหัวไม้เท้าที่ติดกล้องแบบ 360 องศา ที่จะตรวจจับระยะทางและสภาพพื้นผิว รวมถึงสั่งการลงไปยังตัวไม้เท้าเพื่อปรับความสูงให้พอดีกับแต่ละคน วิธีการใช้เจ้าไม้เท้า Halo นั้นแสนง่าย เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของโปรดักต์ลงบนสมาร์ตโฟนและเชื่อมต่อเข้ากับหัวไม้เท้า จากนั้นกดปุ่มบริเวณด้ามจับเพื่อเข้าสู่โหมดอัตโนมัติ ก็จะใช้งานได้ทันที ปัจจุบัน Halo อยู่ในระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่น่าสนใจ ถ้ามีการวางจำหน่ายจริงในอนาคต อาจเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้ Source : Yanko Design […]
สำรวจความรุนแรงในครอบครัว ผ่านเสียงร้องของวาฬกับความโดดเดี่ยวในสังคม ในหนัง ‘52 Hertz คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’
วันหนึ่งเราอาจเป็นวาฬหรือวาฬอาจอยู่รอบตัวเรา ‘วาฬ 52Hz’ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกนิยามว่าเป็นสัตว์ที่เหงาที่สุดในโลก เนื่องจากคลื่นเสียงที่วาฬตัวนี้ส่งออกมาเป็นความถี่ที่สูงกว่าวาฬทั่วไปใช้ในการสื่อสาร ทำให้วาฬ 52Hz ไม่สามารถสื่อสารกับฝูงได้ มันต้องอยู่อย่างเดียวดายท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ และกลายเป็นภาพแทนความโดดเดี่ยวของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ‘52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’ เป็นภาพยนตร์ดราม่าจากญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อเดียวกัน เล่าเรื่องของ ‘คิโกะ มิชิมะ’ หญิงสาวที่พยายามเอาตัวเองออกมาจากอดีตอันขมขื่นและย้ายมาอยู่ในเมืองเล็กๆ ริมทะเล จ.โออิตะ ก่อนจะได้พบกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้เธอนึกถึงอดีตของตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนในสังคมต่างมีอิทธิพลต่อกัน แต่บางคนอาจต้องหลบซ่อนตัวตนหรือความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการต่อต้านจากสังคม บางคนมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นแต่กลับถูกทำร้ายต่อเนื่อง ขณะที่บางคนเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ยินดีกับการมีชีวิตอยู่ของเขา ตัวละครเหล่านี้ต่างเหมือนวาฬที่พยายามส่งคลื่นเสียง 52 Hz ของตนเอง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะมีคนที่มีคลื่นเสียงตรงกันรับรู้และตอบกลับมาในความถี่เดียวกัน นอกจากความเหงาและความโดดเดี่ยว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสอดแทรกประเด็นความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ในสังคมญี่ปุ่น โดยเล่าผ่านคิโกะที่ต้องเผชิญความรุนแรงทั้งจากแม่ พ่อเลี้ยง และคนรัก ซึ่งล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่ตัดสินใจเอาตัวออกมาได้ยาก ถึงอย่างนั้น คนที่เจอความโชคร้ายซ้ำซ้อนแบบคิโกะกลับผ่านทุกเหตุการณ์มาได้เพราะมีคนที่คอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจ และไม่ทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวบนโลกที่กว้างใหญ่ รับชมภาพยนตร์ 52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน ได้แล้ววันนี้ ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major Cineplex และ House Samyan หมายเหตุ : ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว […]
อย่าปล่อยให้ปลาทูไทยหายไปจากท้องทะเล ร่วมแชร์ปัญหาปลาทูไทยที่ลดลงไปจนอาจสูญพันธุ์ ในแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’
ปลาทูไทยหายไปไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน เพราะมันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในอนาคต ขนาดทุกวันนี้ ปลาทูที่เรากินกันก็ยังไม่ใช่ปลาทูไทย แต่อาจเป็นปลาทูจากอินโดนีเซีย! ช่วงระยะหลายปีที่ผ่านมา จำนวนปลาทูในท้องทะเลไทยลดฮวบอย่างน่าตกใจกว่า 10 เท่า แถมปลาทูยังมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งต้นตอของปัญหามีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงเกินขนาด กฎหมายการประมงที่ไม่เข้มงวด หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ท้องทะเลร้อนระอุขึ้น แม้จำนวนปลาจะลดลง แต่ความต้องการของตลาดอาหารทะเลไม่ได้ลดตาม จนประเทศไทยต้องนำเข้าปลาทูจากอินโดนีเซียมารองรับ ถ้าหากวงจรชีวิตปลาทูไทยยังถูกคุกคามโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้า ก็ถึงเวลาที่ปลาทูไทยจะสาบสูญไปจากท้องทะเล เพื่อไม่ให้ฝันร้ายกลายเป็นจริง Pulitzer Center เลยชวนทุกคนมาร่วมส่งเสียงเล่าปัญหาปลาทูไทย ด้วยการแชร์ภาพเมนูปลาทูของตัวเอง ติดแฮชแท็ก #imissyouplatuthai และแนบลิงก์ Infographic จาก Pulitzer Center ที่บอกเล่าปัญหาอันน่าตกใจ พร้อมแท็ก ‘@pulitzercenter’ หรือใครอยากแชร์รายงานข่าว ปัญหาปลาทูไทย ของ Pulitzer Center ติดไปด้วยก็ได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปะ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ ที่ได้ พงษ์พันธ์ สุริยภัทร […]
‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin
พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde
Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน
ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri