WHAT’S UP
#gentlemenchoosegreen โปรเจกต์ครบรอบ 10 ปี MANGO MOJITO ที่ทำให้แฟชั่นหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง
ทุกวันนี้การตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ในทุกมิติของชีวิตประจำวันของผู้คน คงจะดีไม่น้อยถ้าการซื้อเสื้อผ้าของเราในแต่ละครั้ง นอกจากจะทำให้เราดูดีแล้วยังช่วยสิ่งแวดล้อมไปด้วย ปีนี้ MANGO MOJITO ฉลองครบรอบ 10 ปีด้วยโปรเจกต์ #gentlemenchoosegreen ที่ต้องการสื่อสารว่าสุภาพบุรุษนอกจากจะดูดีแล้ว เราสามารถมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันได้ ในปี 2022 นี้ MANGO MOJITO ยังคงพัฒนาและต่อยอดโดยมีการนำหลักการ Circular Fashion หรือแฟชั่นหมุนเวียนมาปรับใช้ เช่น การรีไซเคิลและการอัปไซเคิล เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม #gentlemenchoosegreen เป็นโปรเจกต์ที่ MANGO MOJITO ร่วมมือกับ CIRCULAR แบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และห้องผ้า SC GRAND ออกแบบเสื้อผ้าร่วมกันเพื่อให้แฟชั่นหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งนอกจากจะรักษ์โลกแล้วยังดูดีในสไตล์ของ MANGO MOJITO อีกด้วย โดยโปรเจกต์นี้จะนำเสนอเรื่องราวผ่าน 10 ศิลปินที่จะมาแชร์ทั้งมุมมองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และนำเสนอการแต่งตัวในแบบ #gentlemenchoosegreen อาทิ ณัฏฐ์เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย, กระทิง-ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์ ฯลฯ โปรเจกต์นี้ยังเปิดตัวหลายไอเทมใหม่ที่น่าสนใจ […]
ร้านเลโก้คัสตอมเมด ขายเลโก้ ปธน.ยูเครน และโมโลตอฟ ระดมทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ให้ยูเครน
Citizen Brick เป็นร้านเลโก้คัสตอมเมดในชิคาโกที่ทำตัวต่อออกมาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครดีไซน์จัดจ้านอย่างเจ้าสาวในคราบเลือด ผู้พันถือมีดเบเรต์ หรือตัวละครจาก Squid Game ก็มีวางจำหน่ายในราคา 25 เหรียญ และยังขายตัวต่อที่ขัดกับภาพลักษณ์ของ LEGO อย่างสิ้นเชิงอย่างบุหรี่ หรือถุงยางอนามัยด้วย ตอนนี้พวกเขาผุดไอเดียที่จะช่วยเหลือชาวยูเครนโดยจะวางจำหน่ายตัวต่อโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนในราคา 100 เหรียญ และระเบิดโมโลตอฟในราคา 10 เหรียญ และส่งรายได้ทั้งหมดไปให้ Direct Relief ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในเคียฟเพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือยูเครนและประเทศข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ตามข้อมูลของ Citizen Brick บอกว่าระดมทุนได้ 16,450 ดอลลาร์จากการขายทางเว็บไซต์ และอีก 170 ดอลลาร์ผ่านปุ่มบริจาคบนเฟซบุ๊ก “เรากำลังทุ่มเทอย่างมากเพื่อสร้างเลโก้ชุดใหม่ หลังจากได้รับการพูดถึงบนหน้าอินสตาแกรมของยูเครน” Joe Trupia เจ้าของ Citizen Brick ให้สัมภาษณ์กับ VICE ร้านเลโก้คัสตอมเมดแห่งนี้ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ลุกออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนชาวยูเครน ก่อนหน้านี้ St.Javelin องค์กรการกุศลระดมเงินได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ผ่านการขายเสื้อยืด สติกเกอร์ ธง […]
Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้
ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]
ชวนดู ลุงดร เกตุเผือก สื่อประชาชน ไลฟ์สดเพื่อประชาธิปไตย สารคดีเชิงข่าวรางวัล Amnesty จาก Urban Creature
“เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รู้ ใครจะไม่ถ่ายไม่ว่า แต่เราต้องการถ่าย” นี่คือคำพูดง่ายๆ จากน้ำเสียงอันเป็นมิตรของ ‘ลุงดร เกตุเผือก’ เจ้าของเพจชื่อเสียงเรียงนามเดียวกับตัวเอง ลุงดรคือตัวอย่างของคนธรรมดาที่ผันตัวมาเป็นสื่อประชาชนติดตามถ่ายทอดสดเหตุการณ์ร้อน เพื่อส่งสารความจริงจากแทบทุกพื้นที่ที่มีการจัดม็อบประชาธิปไตย และติดตามไปยังพื้นที่ศาลต่างๆ ที่กำลังมีการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาชุมนุม เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเป็นไปแบบวินาทีต่อวินาทีอย่างถึงลูกถึงคน จากประชาชนที่ใช้โทรศัพท์ไม่ค่อยเป็น ผุดลุกขึ้นมาเรียนรู้ฟังก์ชันการใช้งานของมือถือใหม่ทั้งหมด และตะลุยถ่ายทอดภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยบนท้องถนน ผ่าน ‘ไลฟ์สด’ แบบฉบับง่ายๆ และซื่อตรงของตัวเอง ในยุคที่สื่อถูกบงการ ถูกเซนเซอร์ และถูกบิดเบือน จนผู้ชมตามหาชุดความจริงได้อย่างจำกัด ลุงดรเป็นหนึ่งในคนไทยที่เลือกเป็นสื่อด้วยตัวเอง เมื่อไม่ต้องทำตามคำสั่งใคร การไลฟ์สดของเขา จึงเปรียบเสมือนความหวังเล็กๆ ของคนดูที่ต้องการเสพสื่อและตัดสินเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของประชาชนจริงๆ สารคดีสั้นจาก Urban Creature ชิ้นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘ลุงดร เกตุเผือก : สื่อ – ชาวบ้าน – ประชาธิปไตย I เมื่อชีวิตอุทิศเป็นสื่อประชาชน’ กำกับโดย ‘แทนชนก มุสิกธรรม’ และสร้างสรรค์โดยทีมโปรดักชันทั้งทีม ด้วยตั้งใจและเห็นว่าความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้สังคมเราก้าวไปสู่ความยุติธรรม และแทนชนกยังเชื่ออีกว่า ถ้าเรามีใจ ใครๆ ก็เป็นกระบอกเสียงเพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ […]
ชวนรำลึกความทรงจำก่อนบอกลาถาวร ร้านนายอินทร์ สาขาท่าพระจันทร์ ปิด 31 มี.ค. 65 โปรฯ ส่งท้ายลด 20%
สำหรับนักอ่านหรือคนที่ชอบเข้าร้านหนังสือ ถ้ามีโอกาสเดินทางไปแถวสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เมื่อไหร่ คงแวะไปร้านนายอินทร์ สาขาท่าพระจันทร์ ด้วยแน่ๆ นอกจากหนังสือที่มากมายหลายประเภทแล้ว ร้านนายอินทร์สาขานี้ที่เป็นอาคาร 2 คูหา 4 ชั้น ยังมีเสน่ห์ตรงกลิ่นอายประวัติศาสตร์ เนื่องจากร้านดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2537 ในย่านที่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม สถานศึกษา และชุมชนเก่าแก่ กลุ่มนักอ่านประจำส่วนใหญ่จึงเป็นพระ และนิสิตนักศึกษาที่มาเรียนแถวนั้น กลายเป็นภาพที่คนในชุมชนเห็นจนชินตา ถ้าขึ้นไปบนชั้น 2 ของร้าน เรามักจะเห็นนักอ่านมาปักหลักอ่านหนังสือกันอยู่บ่อยๆ ไหนจะงานเสวนาและกิจกรรมดีๆ ที่ชาวสำนักพิมพ์ นักเขียน นักวิชาการใช้ที่นี่เป็นสถานที่จัดงานอยู่เรื่อยๆ ยังไม่นับความประทับใจอื่นๆ ที่กลายเป็นความผูกพันของแต่ละคนอีก จะบอกว่าเป็น Comfort Place ในย่านท่าพระจันทร์ก็ยังได้ เพราะใครที่มารอนัดหรือนึกอะไรไม่ออกก็มักมาเดินเตร่ดูหนังสือที่ร้านนายอินทร์สาขานี้ ทว่าหลังจากดำเนินกิจการมาเกือบ 30 ปี ร้านนายอินทร์ สาขาท่าพระจันทร์ ก็ประกาศปิดตัวถาวรในวันที่ 31 มีนาคม 2565 นี้ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจและการหายไปของผู้คนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สร้างความน่าตกใจและเสียดายให้คนที่เคยมาเยือนไม่น้อย ใครที่คิดถึง และอยากไปย้อนรำลึกความหลัง ร้านยังเปิดให้บริการจนถึงสิ้นเดือนนี้ โดยจัดโปรโมชันพิเศษ […]
ใครติดคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียเชิญทางนี้ ดูแบบยาวๆ ที่ช่อง Aamchi Mumbai ยูทูบที่พาไปดูทุกขั้นตอน พร้อมบอกพิกัด
เคยไหม? กำลังจะล้มตัวลงนอนอยู่แล้ว แต่คลิปสตรีทฟู้ดอินเดียโผล่ขึ้นมาบนเฟซบุ๊ก แล้วนั่งดูวนไปจนดึกดื่น เพราะสงสัยว่าเขาทำเมนูอะไรกันอยู่ ถ้าคุณเป็นแฟนคลับคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียและรอดูคลิปแบบแรนด้อมทุกคืน เราอยากชวนดูกันแบบยาวๆ ที่ยูทูบช่อง Aamchi Mumbai ช่อง Foodie ในเมืองมุมไบที่มีชื่อว่า Mehul Mahendra Hingu จะพาเราไปลิ้มรสความอร่อยตามข้างทาง ในเมืองมุมไบซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่มีสตรีทฟู้ดน่าตื่นตาตื่นใจอยู่หลายร้าน บางคลิปมีคำบรรยายเมนูให้เราเข้าใจด้วยว่ากำลังดูอะไรอยู่ พร้อมทั้งบอกพิกัดให้เหล่าฟู้ดดี้จากทั่วโลกตามไปกินได้ เสน่ห์ของอาหารอินเดียไม่ได้อยู่ที่รสชาติเท่านั้น หากใครเคยดูคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียและติดใจจนต้องดูต่ออีกหลายคลิป คงคุ้นเคยกับขั้นตอนการทำที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะความรวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว ของบรรดาพ่อครัวสตรีทฟู้ดทั้งหลาย (บางร้านเน้นทำหกมากกว่าเน้นกิน) แค่ดูลีลาการทำอาหารของแต่ละร้านก็ชวนฉงนแล้วว่าทำอะไร หรือใส่อะไรให้เรากินบ้าง แต่นี่แหละคือจุดขายชั้นดีที่ทำให้คนมามุง หรือแม้แต่คนไทยเองก็ยังมุงผ่านอินเทอร์เน็ตว่าเขาขายอะไรกัน บางร้านเสิร์ฟธรรมดาก็ได้ แต่พี่ๆ เขาไม่ทำ ต้องโยนขึ้นกลางอากาศแล้วใช้จานรับ คลิปถึงได้ Viral เพราะสกิลการเสิร์ฟสุดเทพนี้ ใครยังไม่เคยดูคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียต้องลองดูสักคลิปแล้วจะรู้ว่ามันเพลินกว่าที่คิด เพราะความสนุกอยู่ที่การดูความคิดสร้างสรรค์ของบรรดาพ่อครัวทั้งวัตถุดิบและลีลา และดูความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาหารที่น่าไปตามรอยสักครั้ง ที่แน่ๆ เราเชื่อว่ามีบางคนดูแล้วหิวและอยากออกจากบ้านไปหาอาหารอินเดียกินทันที ติดตามคลิปสตรีทฟู้ดอินเดียเพิ่มเติมได้ที่ YouTube : Aamchi Mumbai Instagram : @StreetFoodRecipeFacebook : https://www.facebook.com/street.food.videos/
3D OCEAN FARMING ฟาร์มกลางทะเลที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก และทำให้ทะเลสะอาดไปพร้อมกัน
องค์การสหประชาชาติคาดว่าเราจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 เพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น ปัญหาคือพื้นที่การเกษตรที่มีคุณภาพของโลกถูกใช้ไปหมดแล้ว และในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ยิ่งทำให้การเพาะปลูกเป็นเรื่องยากและมีผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งการทำฟาร์มรูปแบบใหม่ในมหาสมุทรคือความหวังที่จะแก้โจทย์เรื่องวิกฤตอาหารโลก และสามารถทำความสะอาดท้องทะเลไปพร้อมกัน แม้ว่าอาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานถูกผลิตขึ้นบนแผ่นดิน แต่ท้องทะเลก็เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญเช่นกันไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือพืชบางประเภท ทำให้เป้าหมายของ GreenWave ที่ไม่ใช่คลื่นวิทยุแต่เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในอเมริกาเหนือ สนับสนุนเกษตรกรและชาวประมงในการจัดตั้งฟาร์มในทะเลในรูปแบบ 3 มิติ ที่จะใช้เชือกและตะกร้าในการปลูกอาหารทะเลประเภทต่างๆ ในเสาใต้ผิวน้ำ ในแต่ละเสาจะแบ่งเป็นพื้นที่หลายชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะปลูกพืชที่มีชนิดแตกต่างกันแต่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้บนพื้นที่แนวตั้ง และด้วยลักษณะพื้นที่แบบนี้จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นพืชทะเลได้มากถึง 30 ตัน และหอย 250,000 ตัวต่อปี โดยใช้พื้นที่แค่ 1 เอเคอร์ ฟาร์มเหล่านี้ช่วยฟื้นฟูท้องทะเลด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่ปลูก และมีส่วนช่วยในการดูดซับมลพิษจากน้ำ ที่สำคัญคือท้องทะเลเป็นสถานที่แห่งชีวิตที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย ไม่ต้องใส่ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าปฏิชีวนะ หรือไม่จำเป็นต้องมีระบบน้ำชั้นยอด เพียงแค่หาที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำฟาร์ม แล้วเก็บเกี่ยวเมื่อถึงเวลาเท่านั้น ความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์มนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม อย่างแรกคือผลผลิตทั้งหมดจะไม่ล้มหายตายจากไปพร้อมกันด้วยโรคชนิดเดียว และฟาร์ม 3 มิติ ซึ่งเต็มไปด้วยพืชหลากชนิดยังสามารถดึงดูดสัตว์ทะเลให้เข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่า 150 สายพันธุ์อีกด้วย สาหร่ายทะเลและสัตว์บางชนิดยังทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ หอยนางรมสามารถกรองน้ำได้มากถึง 225 ลิตรในแต่ละวัน ทำให้ฟาร์มแบบนี้สามารถลดทั้งปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และมลพิษต่างๆ ลงได้ […]
รู้จัก อั๋น ทศพงศ์ Props Maker แห่ง The Mask Singer ผู้รับหน้าที่ออกแบบชุดเกราะ ให้โอม Cocktail ใน MV ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร
ในปัจจุบันที่การแข่งขัน ความกดดันสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น จะมีสักกี่คนที่นำเอาความชื่นชอบและความสนใจไปต่อยอดสร้างงานสร้างอาชีพได้ ซึ่งถ้าเรามีแพสชันกับมัน ก็คงไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างอาชีพ Props Maker ที่ออกแบบพร็อป-อุปกรณ์คอสเพลย์ แม้มองเผินๆ ดูเป็นอะไรที่ทำเล่นๆ สนุกๆ แต่ความจริงแล้วต้องใช้ทักษะและความคิดสร้างสรรค์มาก ในบรรดาคนทำงานด้านนี้ของไทย อั๋น-ทศพงศ์ จิตรรัตนพงษ์ คือ Props Maker ที่มีผลงานมาแล้วมากมาย ทั้งออกแบบชุดและพร็อปบางส่วนให้รายการ The Mask Singer, รายการ The Rapper, บริษัทเกมระดับโลก รวมถึงแบรนด์ดังอย่าง AirAsiaGo และไม่นานมานี้ก็ออกแบบชุดเกราะกับอาวุธให้โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวง Cocktail ในมิวสิกวิดีโอเพลงล่าสุดอย่าง ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร ด้วย แพสชันการทำงานของทศพงศ์เริ่มต้นจากการเติบโตกับการดูหนัง อ่านหนังสือการ์ตูน และเล่นเกม “เราซึมซับหลายๆ อย่างจากสื่อที่ติดตาม พอเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตก็เห็นการแต่งคอสเพลย์ในต่างประเทศ นั่นเลยจุดประกายให้เรามีความสนใจในการทำชุดและพร็อป” หลังจากฝึกฝนและลองทำได้พักใหญ่ ทศพงศ์จึงต่อยอดความชอบนี้ให้เป็นงานที่มั่นคง เพื่อจะได้ทำสิ่งที่ชอบและงานที่อยากทำไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เขายังมองว่าความยาก-ง่ายของการคิด ตีโจทย์ ใส่ไอเดีย และการคราฟต์ชิ้นงานแต่ละชิ้นเป็นความท้าทายที่สนุกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น […]
เปลี่ยนที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้งานชั่วคราวในซานฟรานซิสโกให้เป็นบ้านหลังเล็กๆ สำหรับคนไร้บ้าน
ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีบ้านหลังเล็กๆ ที่ใช้งบประมาณการสร้างมูลค่า 15,000 เหรียญสหรัฐ (เทียบเรตตอนนี้เกือบห้าแสนบาท) เพื่อเปิดโอกาสให้คนไร้บ้านย้ายเข้าไปอยู่อาศัยได้ แม้ว่าต้องใช้ห้องน้ำส่วนกลางร่วมกัน แต่ภายในบ้านก็เป็นห้องที่ให้พื้นที่ส่วนตัวขนาด 64 ตารางฟุต มีประตูที่ล็อกได้ มีระบบทำความร้อน หน้าต่าง เตียงนอน และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ไว้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ 30 ยูนิตแรกเพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในย่านดาวทาวน์ ส่วนอีก 40 ยูนิตจะพร้อมเปิดให้บริการในอีกไม่ช้านี้ ซึ่งการจัดสรรต่างๆ เกิดขึ้นจากฝีมือของ Urban Alchemy องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสมทบทุนจากเมืองซานฟรานซิสโกอีกด้วย ปัจจุบัน ผู้อยู่อาศัยรายใหม่ๆ ต่างเข้ามาลองใช้บริการหมู่บ้านนี้อย่างกระตือรือร้น คอมมูนิตี้นี้ตั้งอยู่บนที่ดินที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกสำหรับการพักพิงและแก้ไขวิกฤตปัญหาคนไร้บ้านในเมือง บ้านเล็กๆ เหล่านี้ เปรียบเสมือนหอพักที่เคลื่อนย้ายได้ ในอนาคต หากเจ้าของที่ดินต้องการทรัพย์สินคืนก็โยกย้ายไปที่อื่นๆ ได้ไม่ยาก ปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินของนักพัฒนาภาคเอกชน ซึ่งทำงานในโครงการบ้านจัดสรรสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำ ในระหว่างที่พื้นที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ เมืองซานฟรานซิสโกจึงเข้ามาเช่าทรัพย์สินส่วนนี้ไว้ ไม่ใช่แค่ซานฟรานซิสโก แต่เมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกายังมีการสร้างบ้านขนาดเล็กๆ แบบนี้ขึ้นมาด้วย แม้จะมีความกังวลกันว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทำอาจมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาชั่วคราวมากกว่า เพราะแท้จริงหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือการจัดการกับต้นเหตุของปัญหาคนไร้บ้านให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง Source : […]
Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น
เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]
สู้แล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ! ชวนดู ‘Un-Fairly Tales’ 6 สารคดีตีแผ่ความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก ประชาไท
เคยไหมที่เราสู้ชีวิตแล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ? ชีวิตที่ว่านี้อาจจะหมายถึงระบบกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ ศีลธรรมอันดีที่สังคมยึดถือ เงื่อนไขการทำงานในบริษัทเอกชน หรือนโยบายจากรัฐบาลที่ออกโดยไม่ได้ฟังเสียงเราสักเท่าไร สิ่งเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัว ถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่าคนอื่นก็อาจจะต้องแบกรับมันเอาไว้ ซีรีส์สารคดี ‘Un-Fairly Tales’ ชวนเราสำรวจ ‘การสู้ชีวิต’ ของผู้คนในสังคมไทยที่จะชวนตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลัง เผยให้เห็นความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก 6 เรื่องราว ได้แก่ Kaeng Krachan Mapped : ชีวิตของ ‘วันเสาร์ ภุงาม’ ชนพื้นเมือง อำเภอหนองหญ้าปล้องที่โดนคดีบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะนโยบายรัฐที่ขีดเส้นแนวที่ดินของรัฐใหม่ทับพื้นที่เดิมของ ‘วันเสาร์’ ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ Migrant’s Life : ‘โพซอ’ แรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาครที่จากบ้านเกิดมาเพื่อทำงานส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว แต่ชีวิตเขาเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้ไม่มีงานทำ หนำซ้ำก็เกิดการรัฐประหารในพม่าอีก Decent Work : สารคดีพาไปดูชีวิตคนทำงานบริการในสังคมไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขามักจะถูกมองว่าทำเรื่องผิดศีลธรรม และการทำงานนี้ก็ไม่ได้ถูกยอมรับจากกฎหมายว่าเป็นการ ‘ทำงาน’ อย่างหนึ่ง นั่นทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิต่อรองนายจ้างและสิทธิเข้าถึงระบบประกันสังคมที่มีผลต่อการรักษาสุขภาพ Riderman : พาไปดูชีวิตของไรเดอร์ส่งอาหาร การคำนวณระบบค่าแรงจากบริษัทที่กังขา รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ในเมืองกรุง Ode […]
แกลเลอรีทั่วยูเครนเร่งเก็บงานศิลปะ เพื่อปกป้องมรดกวัฒนธรรมจากการโจมตีของกองทัพรัสเซีย
การบุกรุกของรัสเซียในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ในยูเครนกลายเป็นจุดอันตรายและเสี่ยงเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ ชาวยูเครนมากกว่า 3 ล้านคนต้องอพยพข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันชาวยูเครนจำนวนหนึ่งยังคงต้องปักหลักอยู่ในประเทศ เพื่อต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ปกป้องบ้านเมือง คุ้มครองชีวิตผู้คน รวมไปถึงรักษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของยูเครนไว้ Kharkiv Art Museum ในเมืองคาร์คิฟ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน คือหนึ่งในคอลเลกชันงานศิลปะและศิลปะประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในยูเครน โดยรวบรวมผลงานไว้มากกว่า 25,000 ชิ้น เมื่อไม่นานมานี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เสียหายจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพรัสเซียในพื้นที่ใกล้เคียง แรงระเบิดทำให้ประตูและหน้าต่างแตกกระจัดกระจาย ส่วนภายในอาคารยังมีฝุ่นปกคลุมไปทั่ว เมื่อประตูและหน้าต่างของอาคารแตกเป็นเสี่ยงๆ ผลงานศิลปะจัดแสดงและแขวนอยู่สัมผัสกับอุณหภูมิเยือกแข็งและหิมะจากภายนอกติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งความชื้นและอากาศเย็นจัดอาจทำให้งานศิลปะที่ทรงคุณค่าเหล่านี้เสียหายได้ ตอนนี้เจ้าหน้าที่ของ Kharkiv Art Museum จึงพยายามนำผลงานไปเก็บรักษาให้ได้มากที่สุด ความย้อนแย้งก็คือศิลปะจำนวนมากที่พิพิธภัณฑ์ต้องป้องกันจากกองทัพรัสเซียก็คือ ผลงานที่รังสรรค์โดยศิลปินชาวรัสเซียเอง Maryna Filatova หัวหน้าแผนกศิลปะต่างประเทศของ Kharkiv Art Museum แสดงความคิดเห็นว่า “ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาต้องเป็นคนประเภทไหน ถึงกล้าฆ่าประชาชน โจมตีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทำลายศิลปะทางวัฒนธรรมได้ลงคอ” Filatova ยังเปิดเผยอีกว่า พิพิธภัณฑ์จะประเมินความเสียหายทั้งหมดได้ก็ต่อเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ดังนั้น พวกเธอจะพยายามทำเต็มที่เพื่อรักษาศิลปะทั้งหมดไว้ นอกจาก Kharkiv Art Museum ตอนนี้ศิลปิน แกลเลอรี […]