WHAT’S UP
อร่อยได้มือไม่ต้องเปื้อน! จีนผลิตไอศกรีมทนความร้อน ไม่ละลาย แม้อยู่ในอุณหภูมิ 31 องศาฯ
การกินไอศกรีมแบบไม่ต้องเลอะมือ ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชาวเมืองร้อนอย่างประเทศไทยเหลือเกิน เพราะแค่จะหยิบเอาไอศกรีมที่ซื้อออกจากถุง ไอความร้อนจากทุกสารทิศก็ถาโถมเข้ามาจนละลายเลอะมือไปหมด โชคร้ายหน่อยก็หยดเลอะขากันไปตามๆ กัน แต่ปัญหาไอศกรีมละลายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศเราเท่านั้น แต่ไม่ว่าประเทศไหนๆ หรือแม้แต่ประเทศจีนที่ฤดูหนาวก็หนาวจนติดลบ ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน เพราะปัญหาที่มาคู่กับขนมหวานแช่แข็งนี้ Zhong Xue Gao บริษัทผลิตไอศกรีมยักษ์ใหญ่สุดหรูระดับพรีเมียมของประเทศจีน ที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘Hermès of Ice Cream’ ต้องกระโดดลงมาดึงส่วนแบ่งทางตลาดและความสนใจของสาธารณะ ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ไอศกรีมราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 360 บาท ที่มีจุดเด่นคือ ‘ละลายช้า’ ละลายช้าชนิดที่ว่ามีชาวเน็ตในเวย์ปั๋ว (Weibo) นำไอศกรีมดังกล่าวไปวางไว้ในอุณหภูมิที่สูงถึง 31 องศาเซลเซียสนานถึง 1 ชั่วโมงแต่เจ้าไอศกรีมตัวนี้ก็ยัง ‘ไม่ละลาย’ สร้างความฮือฮาจนกลายเป็นไวรัลมีผู้เข้าชมคลิปวิดีโอกว่า 500 ล้านครั้ง จนชาวเน็ตจีนออกมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในการบริโภคไอศกรีมดังกล่าว ร้อนถึงบริษัท Zhong Xue Gao ที่ต้องออกมาแถลงด้วยบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการว่า ผลิตภัณฑ์ของตนปฏิบัติตามแนวทางคุณภาพอาหารของจีนในมาตรฐานระดับสูง ด้านส่วนผสมหลักที่ทำให้ไอศกรีมละลายช้าก็คือ ‘คาร์ราจีแนน’ (Carrageenan) สารสกัดจากสาหร่ายทะเลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในไอศกรีมและเครื่องดื่มประเภทเย็นทั่วไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสามารถมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการกินได้เลย Sources :DesignTAXI | […]
Notre Dame’s New Landscape โปรเจกต์ออกแบบพื้นที่นอกมหาวิหารนอเทรอดาม ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และฟังก์ชันเพื่อคนเมือง
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 เกิดเหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame) ศาสนสถานอายุ 850 ปีในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างความตกใจและความเสียดายให้คนทั่วโลก เพราะเพลิงที่ลุกไหม้สร้างความเสียหายให้ศาสนสถานอายุหลายศตวรรษแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากไม้ หลังจากเกิดเหตุ ฝรั่งเศสก็เริ่มแผนซ่อมแซมบูรณะตัวอาคาร ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานถึง 5 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดประกวดแข่งขันด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือบริเวณโดยรอบมหาวิหารขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการได้ประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ โปรเจกต์การออกแบบที่พัฒนาโดยภูมิสถาปนิก Bas Smets, บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง GRAU และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านมรดกทางสถาปัตยกรรม Neufville-Gayet การออกแบบพื้นที่โดยรอบมหาวิหารนอเทรอดามของทีมนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ กับแม่น้ำแซนที่โอบล้อมมหาวิหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จัตุรัสที่อยู่หน้ามหาวิหารถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ช่วยให้ด้านหน้าของอาคารสูงเด่นเป็นสง่ากว่าเดิม และเพิ่มต้นไม้สีเขียวขจีที่รายล้อมอาคารและให้ร่มเงาแก่พื้นที่นั่งเล่น ส่วนบริเวณด้านหลังของมหาวิหารจะถูกรวมเข้ากับสวนที่อยู่ติดกัน เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 400 เมตร และจะมีการปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่มถึง 131 ต้น กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะแก่การเดินเล่นหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังติดตั้งระบบระบายความร้อนให้แก่พื้นด้วยการใช้ม่านน้ำความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้หลายองศาฯ อีกทั้งยังทำให้กำแพงโดยรอบมหาวิหารสะท้อนแสงแวววับ และกลายเป็นจุดถ่ายรูปสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย อีกหนึ่งการออกแบบที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนลานจอดรถที่อยู่ใต้จัตุรัสด้านหน้ามหาวิหารให้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกขนาดใหญ่กว่า […]
อีกครั้งแล้วสินะที่ฉันต้องโยกย้าย เตรียมบอกลา ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ ย้ายร้านจากถนนพระสุเมรุ สิ้นปี 65
หากได้มีโอกาสต้องไปทำธุระหรือมีแพลนเดินเที่ยวเล่นแถวถนนพระสุเมรุ เรามักจะแวะเวียนไปร้านหนังสือที่หน้าร้านตกแต่งด้วยโต๊ะเก้าอี้น่ารัก จักรยานเก่าๆ หนึ่งคัน และชั้นวางที่อัดแน่นไปด้วยโปสต์การ์ด เพื่อเข้าไปเลือกหาหนังสือถูกใจสักเล่มก่อนนำกลับบ้าน หรือใช้เวลานั่งทอดหุ่ยอ่านหนังสือบนชั้น 2 ที่เป็นส่วนคาเฟ่ ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงร้านหนังสือเดินทาง (Passport Bookshop) ของ ‘หนุ่ม-อำนาจ รัตนมณี’ ที่ตั้งอยู่บนถนนสายพระสุเมรุมานานกว่า 16 ปี ฟังดูเป็นเวลาที่ยาวนาน และนักอ่านหลายคนคงมีโอกาสมาเยี่ยมเยียนที่นี่อยู่หลายครั้ง แต่ขณะเดียวกัน อาจมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าร้านหนังสือเดินทาง เคย ‘ย้าย’ ร้านมาแล้วครั้งหนึ่งจากถนนพระอาทิตย์ หลังจากเปิดจำหน่ายหนังสือเป็นเวลา 4 ปี นั่นแปลว่าหากรวมเวลาที่ร้านหนังสือแห่งนี้เปิดให้บริการก็นับได้ 20 ปีพอดิบพอดี แต่ใครจะไปรู้ว่าเวลาที่พอให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นหนุ่มสาวจำต้องสิ้นสุดลง เพราะร้านหนังสือเดินทางได้ประกาศว่าจำเป็นต้องย้ายร้านเป็นคราที่สองในสิ้นปีนี้ เนื่องจากอาคารที่ใช้เป็นตัวร้านถูกเวนคืนเพื่อทำสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน นั่นทำให้ทีมงานในร้านต้องเตรียมตัวเก็บข้าวของ เพื่อความพร้อมและสะดวกในการขนย้าย อย่างที่ทราบกันว่าจุดเด่นของร้านหนังสือแห่งนี้คือ การตกแต่งและบรรยากาศที่น่ารัก อบอวลไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น แต่มากไปกว่านั้น สิ่งที่ทำให้ร้านคงอยู่ได้เรื่อยมาคือมิตรภาพของเจ้าของร้านหนังสือและนักอ่านทั้งขาประจำและขาจร จนหลายครั้งก่อให้เกิดความผูกพันขนาดที่มีคนยกให้เป็นหนึ่งในสถานที่แห่งความทรงจำ บ้างก็ส่งของขวัญและหนังสือมาให้เจ้าของร้าน บ้างก็ขอใช้พื้นที่ร้านเป็นสถานที่ในการขอแต่งงานด้วยซ้ำ นี่ยังไม่นับรวมหนังสือหลากหลายประเภทที่อัดแน่นตามชั้นวาง และสิ่งละอันพันละน้อย เช่น โปสต์การ์ด สมุด กระเป๋า งานศิลปะ ฯลฯ ที่เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์สำคัญของร้าน ทำให้ใครที่หลงเข้าไปล้วนไม่ได้กลับออกมาแบบตัวเปล่า […]
องค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ประกาศใช้ ‘มอญดูดาว’ เป็นเพลงประจำมหา’ลัย แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
เป็นอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นที่พูดถึงบนโลกโซเชียลมีเดีย หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในกรณีของการยกเลิกประกวดดาว-เดือน ยกเลิกระบบโซตัส หรือการอนุญาตให้บัณฑิตที่เข้ารับปริญญาแต่งตัวตามเพศวิถีได้ และในครั้งนี้ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ อมธ. ได้ประกาศให้ใช้ ‘เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว’ แทนเพลงประจำมหาวิทยาลัยเดิมอย่าง ‘เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง’ ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ. ความเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลัง อมธ. ทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการจัดกิจกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยอันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย โดยแบบสำรวจครั้งนี้มีเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 3 เพลง ได้แก่ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, เพลงมาร์ช มธก. และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ซึ่งจากจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 5,168 คน มีคนที่เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวกว่า 51.9 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา อมธ. เห็นควรประกาศให้ใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ. ตามเจตนารมณ์ของประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่นี้ต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย ไม่ได้หมายความถึงการยกเลิกเพลงเดิมหรือทำให้หายไปถาวร เพราะมีการชี้แจงทางจดหมายจากมหาวิทยาลัยเรื่องการใช้เพลงมหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า “เพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง เป็นเพลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้คุณค่าและความสำคัญสำหรับงานพิธี พิธีการ และงานที่เป็นทางการของมหาวิทยาลัย และยังคงถือปฏิบัติเช่นนั้นโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง” […]
ญี่ปุ่นเพิ่มโทษกฎหมายดูหมิ่นติดคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 8 หมื่นบาทเพื่อลดปัญหา Cyberbullying
ญี่ปุ่นเพิ่มโทษกฎหมายดูหมิ่น ติดคุก 1 ปี ปรับสูงสุด 8 หมื่นบาท เพื่อลดปัญหา Cyberbullying Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางโซเชียลมีเดียต่างๆ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบ เห็นได้จากข่าวการพุ่งสูงของยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นเหยื่อจากการบุลลี่ทางออนไลน์ ในฐานะที่ญี่ปุ่นติดอันดับประเทศที่มีการบุลลี่รุนแรงเป็นอันดับต้นๆ บวกกับการจากไปของ ‘ฮานะ คิมูระ’ (Hana Kimura) นักมวยปล้ำและนักแสดงเรียลลิตี้โชว์ทางเน็ตฟลิกซ์ ที่ถูกโจมตีด้วยการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปลักษณ์ในโลกออนไลน์ เมื่อปี 2563 เหตุการณ์นั้นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มกฎหมายการ ‘ดูหมิ่น’ ในโลกออนไลน์ให้มีโทษมากขึ้น โดยตัวกฎหมายฉบับใหม่นี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยกำหนดให้ผู้ที่มีความผิดต้องจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี และมีโอกาสจ่ายค่าปรับถึงสามแสนเยนหรือคิดเป็นเงินไทย 80,000 บาท ซึ่งขยับเปลี่ยนแปลงจากโทษเดิมที่ผู้กระทำความผิดจะถูกจำคุกไม่เกิน 30 วัน และปรับเพียง 2,600 บาท ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ให้นิยามของการดูหมิ่นว่าเป็นการดูถูกผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเขาคนนั้น ตรงกันข้ามกับการหมิ่นประมาท ที่เป็นการดูถูกผู้อื่นบนข้อเท็จจริงที่เจาะจงไปยังบุคคลที่สาม เซย์โฮ โช (Seiho Cho) ทนายคดีอาญาในญี่ปุ่นให้ความเห็นต่อผู้สื่อข่าวจาก CNN […]
ชมเครื่องดูดฝุ่นสีทองดูดประชาธิปไตย ในนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง’ วันนี้ – 28 ส.ค. 65 ที่ VS Gallery
เมื่อปี 2020 ‘จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์’ นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองได้จัดนิทรรศการศิลปะ ‘คิดถึงคนบนฝ้า (Our Daddy Always Looks Down on Us)’ ที่ชวนคนปีนบันไดขึ้นไปชะโงกมองว่าข้างบนฝ้าเพดานที่คนมองแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหลมีอะไรอยู่กันแน่ ครั้งนี้เขากลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง (From Dawn Till Dust)’ ที่กล่าวได้ว่าเป็นภาคต่อของความแสบสันนี้ โดยทั้งสองนิทรรศการต่างเป็นชื่อเรื่องสั้นของจิรัฏฐ์ที่จะตีพิมพ์ในชื่อหนังสือ ‘รักในลวง’ ช่วงปลายปี 2565 นี้ ‘ฝ่าละออง’ คือนิทรรศการที่สร้างจากเสี้ยวหนึ่งของเรื่องสั้นในชื่อเดียวกัน กล่าวถึงเจ้าหน้าที่รัฐผู้ขยันและซื่อตรงในหน้าที่ แต่สุดท้ายผลตอบแทนของความจงรักภักดีนั้นกลับกลายเป็นเรื่องราวน่าอดสูและสยองขวัญ นัยของนิทรรศการ คือการเน้นย้ำให้คนดูย้อนกลับมาสำรวจภูมิทัศน์หลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ถูกรัฐพยายามจะเปลี่ยนความหมาย รวมถึงทำลายมัน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอนุสรณ์สถานที่เชื่อมโยงไปยังคณะราษฎร เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่เคยมีหมุดคณะราษฎรวางอยู่ แต่ตอนนี้ถูกล้อมรั้วไปแล้ว หรือวงเวียนหลักสี่ที่เคยเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ถูกรื้อทิ้งจนไม่เหลือเค้าเดิม กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้า จิรัฏฐ์บันทึกฟุตเทจเหล่านี้ด้วยการนำเครื่องดูดฝุ่นไปดูดตามสถานที่นั้นๆ และนำมาเล่าซ้อนกับเรื่องสั้น O-Robot ที่ล้อไปกับนิยายเรื่อง 1984 โดย จอร์จ ออร์เวลล์ อีกทีหนึ่ง โดยนำเสนอผ่านโทรทัศน์ 6 จอ ที่ล้อไปกับหลัก 6 […]
ไม่พูดไม่ใช่ไม่รู้สึก! บ.ญี่ปุ่นปิ๊งไอเดียทำป้ายบอกพลังกาย พลังใจ ที่เหลืออยู่ ให้พนักงานสื่อสารกันโดยไม่ต้องพูด
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องเผชิญแรงกดดันและความเครียดจากปัญหารอบตัวอย่างเศรษฐกิจ การเมือง สังคม โรคระบาด รวมไปถึงปัญหารายวันจากที่ทำงานและเรื่องส่วนตัว แต่เพราะบทบาททางสังคมและหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ หลายคนจึงไม่สามารถระบายปัญหาหนักอกหนักใจให้ใครรู้ได้ ทำได้แค่เก็บความรู้สึกที่หนักอึ้งเหล่านั้นไว้กับตัวเอง เพราะเหตุนี้ Onken บริษัทผลิตสิ่งพิมพ์และผลิตภัณฑ์อะคริลิกสัญชาติญี่ปุ่นจึงปิ๊งไอเดียทำ ‘ป้ายบอกระดับพลังงาน’ แจกให้พนักงานในบริษัทใช้ติดเสื้อเพื่อบอกให้คนอื่นรู้ว่าพลังงาน พลังใจ ของพวกเขาในช่วงเวลานั้นๆ เหลืออยู่เท่าไหร่ ทางบริษัทเปิดเผยว่า ขั้นตอนผลิตเจ้าป้ายติดหน้าอกชิ้นนี้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่พิมพ์ข้อความลงบนแผ่นอะคริลิกขนาดใหญ่ จากนั้นก็ใช้เครื่องเลเซอร์ตัดแบ่งให้เป็นป้ายขนาดเล็ก โดยข้อความบนป้ายจะระบุระดับ ‘Hit Point’ หรือหน่วยวัดพลังชีวิตของตัวละครในเกม ที่ถูกนำมาใช้แทนพลังงานที่เหลืออยู่ของคนคนนั้น ป้ายชนิดนี้มีให้เลือกทั้งหมด 3 ระดับ ระดับพลังงานสูงสุดคือสีเขียว (10,000/10,000 พลังชีวิต) รองลงมาคือสีเหลือง (3,899/10,000 พลังชีวิต) ต่ำสุดคือสีแดง (15/10,000 พลังชีวิต) พนักงานสามารถเลือกป้ายมาติดเสื้อตามระดับพลังงานและความรู้สึกในตอนนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้พนักงานสื่อสารสภาพร่างกายและจิตใจให้คนอื่นรับรู้โดยไม่ต้องเอ่ยคำใดๆ ในทางกลับกัน ป้ายนี้ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานได้ด้วย เพราะมันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาระหว่างเหล่าพนักงานที่ไม่ค่อยมีโอกาสคุยกันเท่าไหร่ พวกเขาอาจถามสารทุกข์สุกดิบกันจากการดูป้ายของอีกฝ่าย ทำให้บรรยากาศในบริษัทสดใสและมีชีวิตชีวามากขึ้น Onken เปิดเผยว่าพนักงานในหลายแผนกชื่นชอบไอเดียและเริ่มติดป้ายระหว่างทำงานกันแล้ว นอกจากนี้ ทางบริษัทยังแชร์รูปป้ายบอกระดับพลังงานลงบนทวิตเตอร์ ซึ่งกระแสตอบรับจากโลกออนไลน์ก็ดีเกินคาด ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชมและสนใจแนวคิดนี้ บางคนแสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเอาป้ายบอกสเตตัสแบบนี้ไปใช้ในโรงเรียนหรือในโรงพยาบาลได้ก็คงจะดีไม่น้อย ใครอยากเป็นเจ้าของป้ายบอกระดับพลังงานสุดครีเอทีฟนี้คงต้องรอกันอีกหน่อย เพราะตอนนี้บริษัทอยู่ในขั้นแรกของการผลิตสินค้า คาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม […]
Plastic SAKE Brewery โปรเจกต์สุดล้ำ หมักเหล้าสาเกจากขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะมาอยู่ในจุดที่สามารถหมัก ‘สาเก’ จากเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์กันได้แล้ว ความคิดสุดครีเอทีฟนี้เกิดขึ้นจากโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ ของ Fumiaki Goto นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ที่นำเสนอประเพณีการบูชาธรรมชาติและวัฒนธรรมการบริโภคของญี่ปุ่นผ่าน ‘ไวน์ข้าวสาเก’ ที่มีส่วนผสมหลักคือ ‘ขยะพลาสติกพอลิเมอร์’ ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว สาเกต้นตำรับแท้จากประเทศญี่ปุ่น จะผลิตโดยใช้พันธุ์ข้าวอย่างดีหมักกับเชื้อราชนิดพิเศษจนทำให้เกิดเป็นแอลกอฮอล์รสชาติดี ทำให้สาเกกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสาเกซบเซาลงทุกปี เนื่องจากความนิยมที่ลดลง รวมไปถึงทางเลือกในตลาดเครื่องดื่มที่มีมากขึ้น ดังนั้น Goto จึงตั้งใจทำโปรเจกต์ ‘Plastic SAKE Brewery’ นี้ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการผลิตสาเก โดยหวังว่าสุราประจำชาติของญี่ปุ่นจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง แถมยังได้ช่วยโลกของเราขจัดขยะพลาสติกไปพร้อมกันด้วย กระบวนการผลิตสาเกจากพลาสติกพอลิเมอร์แทบจะไม่ต่างจากการผลิตสาเกแบบดั้งเดิม ที่มีส่วนผสมหลักเป็นข้าวญี่ปุ่นและเชื้อราที่ใช้ในการหมัก แต่สิ่งที่ Goto เพิ่มเข้าไป ก็คือบรรดาพลาสติกพอลิเมอร์ชนิดใหม่ที่สามารถสลายตัวได้ด้วยจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเหล้าสาเกทั่วไป ดังนั้น การทำสาเกหนึ่งครั้ง นอกจากที่เราจะได้แอลกอฮอล์รสชาติดีมาดื่มกันแล้ว เรายังสามารถย่อยสลายเศษขยะพลาสติกพอลิเมอร์ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง ด้าน Goto หวังว่าโปรเจกต์นี้จะเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดขยะพลาสติกและกลายเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในอนาคตได้ เพราะการกลั่นสาเกจากขยะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ และสามารถทำในโรงสาเกขนาดเล็กรอบๆ ตัวเราได้ทันที Source :Designboom | […]
Google Maps ปล่อยฟีเจอร์รักษ์โลก คำนวณเส้นทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน
ยุคนี้ที่ใครๆ ต่างก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน หันกลับมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทั้งลดการใช้ถุงพลาสติก พกถุงผ้า ไม่เว้นแม้แต่การมองหาวิธีการเดินทางที่ประหยัดพลังงานในแต่ละวัน การเดินทางหนึ่งครั้งจึงไม่ได้ดูแค่ว่าเส้นทางใดที่จะพาไปถึงจุดหมายได้เร็วที่สุดอีกต่อไปแล้ว แต่การมองหาเส้นทางที่จะช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุดต่างหาก ที่จะกลายเป็นตัวเลือกแห่งอนาคตสำหรับคนรุ่นใหม่ จากประเด็นนี้ Google Maps เลยปิ๊งไอเดียออกฟีเจอร์ใหม่สำหรับคำนวณเส้นทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่รีบเร่งในการเดินทางและต้องการรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน โดยทาง Google Maps จะใช้ AI วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในเส้นทางที่คุณเลือกไว้ โดยพิจารณาจากสภาพการจราจร ความชันของถนน และตัวแปรอื่นๆ จากนั้น แอปพลิเคชันจะแนะนำแผนการเดินทางที่ถูกปรับให้เหมาะสม เพื่อลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลง อีกทั้งยังช่วยประหยัดเงินค่าน้ำมันให้คุณด้วย แต่สำหรับใครที่ต้องการไปถึงที่หมายในเวลาเร่งด่วน ก็ยังสามารถเลือกเส้นทางที่เร็วที่สุดได้เหมือนเดิม เพราะฟีเจอร์นี้ไม่ได้ถูกนำมาแทนฟีเจอร์หลัก แต่เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งที่จะทำให้คุณเห็นถึงความแตกต่างระหว่างสองเส้นทาง และเลือกเส้นทางที่เหมาะกับสถานการณ์ด้วยตัวคุณเอง “เราประเมินว่าการกำหนดเส้นทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ จะมีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอนมากกว่าหนึ่งล้านตันต่อปีทั่วโลก ซึ่งเทียบเท่ากับการกำจัดรถยนต์กว่าสองแสนคันออกจากท้องถนน” Google กล่าว แต่สำหรับคนไทยคนไหนที่สนใจฟีเจอร์นี้อาจจะต้องอดใจรอกันอีกหน่อย เพราะตอนนี้ Google Maps ได้มีการปล่อยให้ใช้งานเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แต่ในอนาคตจะขยายเส้นทางออกไปทั่วโลก Sources :Google | t.ly/2iJEMobileSyrup | t.ly/F9Ys
คนในกองถ่ายทำงานกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ แถลงการณ์ กำหนด ชม.การทำงาน ให้โอที ไม่เสี่ยงภัย
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่สองผู้กำกับละครที่ทำงานมานานกว่า 30 ปี อย่าง ‘อ๊อด-บัณฑิต ทองดี’ และ ‘ปรัชญา ปิ่นแก้ว’ บอกเล่าเรื่องชีวิตในกองถ่ายว่าคนทำงานอาจจะต้องทำงานสูงถึง 16 ชั่วโมง และให้ความเห็นว่าเวลาที่ล่วงเลยขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่คนทำงานในสายงานนี้ก็ทำกันมาจนเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงประเด็นการจ่ายค่าล่วงเวลาให้คนทำงานที่ต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนรับงาน และการใช้แรงงานนักแสดงเด็กที่ถูกตั้งคำถามมาตลอด โดยเรื่องทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นหัวข้อที่คนในสังคมพูดถึงไปในหลากหลายมิติ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยได้ออกจดหมายแถลงการณ์ โดยมีสรุปเนื้อหาว่า ผู้กำกับทั้งสองไม่ได้สนับสนุนแนวคิดการทำงานเกินมาตรฐานสากล และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ มาตลอด ทั้งยังได้เข้าร่วมปรึกษากับหน่วยงานราชการ, คณะกรรมาธิการของรัฐสภา, พรรคการเมือง, บริษัทผู้ผลิต และองค์กรต่างๆ แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้สำเร็จ และอุปสรรคสำคัญของเรื่องนี้คือ ‘การขาดอำนาจต่อรองของแรงงานในอุตสาหกรรมบันเทิง’ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่มีคนในอุตสาหกรรมบันเทิงออกมาเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมในการทำงาน เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นักแสดงซีรีส์ ‘นิ้ง-ชัญญา แม็คคลอรี่ย์’ และ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ’ ได้ส่งคำร้องต่อ กมธ. ที่รัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในกองถ่าย เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสื่อ, ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน, ความปลอดภัยในการทำงาน และการไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรนัก […]
แอบย่องสำรวจห้องนอนเด็กหญิงยินดี ในนิทรรศการครั้งแรกของ faan.peeti 9 ก.ค. – 4 ก.ย. 65 ที่ River City Bangkok
หลายคนน่าจะคุ้นตากับลายเส้นละเอียดอ่อน สีสันที่มองแล้วรู้สึกบอบอุ่นใจของ ‘ฟาน.ปีิติ’ นักวาดภาพประกอบเจ้าของหนังสือ ‘London Book Sanctuary’ และเคยร่วมงานกับแบรนด์ดังอย่าง Vespa, SMEG และ Estée Lauder ครั้งนี้เธอจะมีนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกในชื่อ เด็กหญิงยินดี ‘Yindee’s Mysterious Friends’ ‘ฟาน.ปีิติ’จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘เด็กหญิงยินดี’ เด็กหญิงผู้ไม่เคยมีเพื่อน เธอใช้เวลาอย่างลำพังกับการเขียนไดอารีเล่มเดิมที่เปรียบเสมือนเพื่อนคนหนึ่งตลอดมา แต่โลกใบเก่ากลับเปลี่ยนไป เมื่อเด็กหญิงค้นพบว่าเธออาจไม่ได้มีเพื่อนเพียงแค่คนเดียว โดยสิ่งที่เด็กหญิงค้นพบจะอยู่ในนิทรรศการนี้ โดยฟาน.ปีติจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาทัวร์ทั่ว ‘ห้องนอน’ ของเด็กหญิงยินดี และเดินสำรวจพื้นที่ส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในสวนซึ่งแวดล้อมไปด้วยพรรณไม้ สถานที่ดังกล่าวที่ว่าช่างแสนลึกลับ มีเพียงยินดีเท่านั้นที่จะล่วงรู้ ในสถานที่แห่งนั้น พวกเราจะได้แอบอ่านไดอารีบนหัวเตียงของเด็กหญิง พบเจอเรื่องราวที่เด็กหญิงและครอบครัวเก็บซ่อนเอาไว้ และในดินแดนที่ประดับประดาด้วยร่มเงาของพรรณไม้ ทุกคนจะได้ทำความรู้จักกับบรรดาเพื่อนๆ ในจินตนาการของยินดี หลากหลายตัวละครที่หลบซ่อนรอพบมิตรภาพใหม่ๆ เช่น เจ้างูสามหัวชื่อ ‘ซามูเอล’, นักแสดงละครสัตว์ชำนาญการอย่าง ‘โทมัส’ และ ‘จูดี้’ ตุ๊กตานุ่มนิ่มที่เจ้าของรักมาก เป็นต้น นอกจากทุกคนจะได้ไปย้อนความทรงจำในวัยเยาว์ เข้าไปสำรวจห้องนอนของเด็กหญิงยินดีหมายเลข 248 ที่ชั้น 2 ของโรงแรมริเวอร์ ซิตี้ แบง็กค็อกแล้ว […]
จุฬาฯ เปลี่ยนกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่ ไม่มีผู้นำเชียร์ คทากร กลุ่มเชิญพระเกี้ยว ต่อต้านสิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี
ในยุคที่สังคมไทยให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนจึงต้องกลับมาพิจารณาและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมขององค์กรที่อาจส่งต่อวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งต้นตอของความไม่เท่าเทียมในสังคม หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเปลี่ยนแปลงกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี 2565 (CU First Date 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 พร้อมระบุว่าในวันงานจะไม่มีกิจกรรมใดๆ จากกลุ่มผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Cheerleader) จุฬาฯ คทากร (The Drum Major of Chulalongkorn University) และกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Coronet) อบจ. ระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนิสิตจำนวนมากและสาธารณชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี’ (Beauty Privilege) ที่เอื้อให้คนหน้าตาดีตรงตาม ‘มาตรฐานความงาม’ (Beauty Standard) มีโอกาสในสังคมมากขึ้น ดังนั้น อบจ. จึงต้องการแสดงจุดยืนและหยุดส่งวัฒนธรรมการกดขี่และการเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่นที่เกิดจากอคติทางรูปร่าง หน้าตา สีผิว เชื้อชาติ และเพศ เพื่อทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันตามปฏิญญาการต้อนรับนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยข้อที่ 2 […]