เรียนรู้ความเหงา และฟังเรื่องเล่าของคนอื่น ในภาพยนตร์ ‘Call Me Chihiro’ ที่ Netflix

“มีลูกค้าคนหนึ่งเคยบอกฉันว่า เราเป็นมนุษย์ต่างดาวในร่างมนุษย์ ว่ากันว่าคนเราเหมือนกันหมด แต่ความจริงคือเรามาจากดาวคนละดวงกัน ก็ไม่แปลกที่เราจะไม่เข้าใจกัน” ‘Call Me Chihiro’ เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากมังงะชื่อ Chihiro-san วาดโดย Hiroyuki Yasuda (Shomuni) ที่เพิ่งเข้าฉายทาง Netflix เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้กำกับดาวรุ่งอย่าง ‘ริกิยะ อิมาอิซูมิ’ (Rikiya Imaizumi) ที่ล่าสุดได้รับรางวัลบนเวที Tokyo International Film Festival จากภาพยนตร์เรื่อง By the Window (2022) มาถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกที่เราอาจต่างเคยประสบมา นอกจากนี้ยังได้ ‘คาสุมิ อาริมูระ’ (Kasumi Arimura) มารับบทนักแสดงหลักชื่อ ‘จิฮิโระ’ หญิงสาวผู้เลือกพลัดถิ่นจากครอบครัว และเคยมีตัวตนเป็น Sex Worker ดาวเด่น แต่ในสถานะปัจจุบันของชีวิต เธอเป็นพนักงานร้านขายข้าวกล่องในเมืองห่างไกลริมชายฝั่ง ผู้มีบาดแผลและความรู้สึกอันหลากหลายที่เก็บงำเอาไว้  เรื่องราวแต่ครั้งก่อนของจิฮิโระ ค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาทุกฉากตอนที่ตัวละครผ่านไปพบเจอผู้คนใหม่ๆ ในเมืองแห่งนี้ ไล่ไปตั้งแต่ชายชราคนจรผู้เร่ร่อนไม่มีหลักแหล่ง หญิงสาววัยมัธยมฯ ที่มีครอบครัวเพียบพร้อมทั้งเงินทองและเวลา […]

โปรโมตการท่องเที่ยวแนวใหม่ในญี่ปุ่น ที่ชวนคนมาเที่ยวมัตซึซากิ ล่าหมูป่า ในค่ายซอมบี้ที่รับบทโดยผู้สูงอายุ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องไอเดียบรรเจิดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็มีสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ‘ช่างคิดได้’ จริงๆ ล่าสุดที่เมืองมัตซึซากิ จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งเล็กๆ ในญี่ปุ่น มีไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวที่ดูแปลกแต่น่าสนุกสุดๆ เพราะเขาไม่ได้เปิดเมืองให้แค่ไปท่องเที่ยวแบบธรรมดา แต่เขาให้เราไปเที่ยวค่ายซอมบี้! และซอมบี้ทั้งหมดรับบทโดยผู้สูงอายุในเมืองนี้ด้วย ในคลิปโปรโมตการท่องเที่ยวของเมืองมัตซึซากิ จะมีชายคนหนึ่งชื่อ ‘คาเนะมัตซึ’ กำลังบันทึกภาพตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ตัดสลับกับภาพกิจกรรมกลางแจ้งที่เขาทำตอนมาถึงเมืองมัตซึซากิ มีทั้งการล่าหมูป่า เดินเขา เก็บส้ม ปั่นจักรยาน จนกระทั่งมาเผชิญหน้ากับซอมบี้และหนีมาหลบอยู่ในภูเขา เพื่ออัปโหลดวิดีโอให้ทุกคนดูว่าตอนนี้เขากำลังเจอซอมบี้ไล่ล่าอยู่ เขายังอธิบายวิธีเอาตัวรอดเอาไว้ว่า “ให้กลั้นหายใจเวลาเจอซอมบี้” นอกจากนี้ยังมีฉากที่คาเนะมัตซึเจอซอมบี้อยู่ในทุกๆ ที่ ทั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะในเมือง ที่พัก บนเขา จนกระทั่งเขาถูกกัดและกลายเป็นซอมบี้ในที่สุด ทุกอย่างในคลิปดูสมจริงเอาใจคนรักหนังซอมบี้แบบสุดๆ  แต่จริงๆ แล้วเมืองมัตซึซากิยังไม่มีใครติดเชื้อซอมบี้จริงๆ คลิปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว ‘ค่ายซอมบี้’ ประจำปีของเมืองมัตซึซากิ เมืองเล็กๆ ในชนบทบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอิซุ และมีประชากรประมาณ 6,000 คนเท่านั้น (ซึ่งไม่มีตัวเลขยืนยันว่าเป็นคนจริงๆ กี่คน และรับบทซอมบี้กี่คน) โชคไม่ดีที่การแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังมัตซึซากิลดลง และทำการล่าสัตว์ลดน้อยลงไปด้วย ปริมาณกวางและหมูป่าในเมืองจึงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และสร้างความเสียหายให้กับการส่งออกใบซากุระโมจิซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่ หน่วยงานควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ของเมืองมัตซึซากิหวังว่าการโปรโมตการท่องเที่ยวค่ายซอมบี้ในครั้งนี้ จะช่วยเรียกนักท่องเที่ยวกลับมาที่เมืองนี้ได้อีกครั้ง แต่ไม่ใช่แค่เพื่อมาดูซอมบี้เท่านั้น พวกเขายังต้องการนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการล่าสัตว์เพราะต้องการควบคุมประชากรกวางและหมูป่าในเมืองด้วย นอกจากการล่าสัตว์แล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมเดินเขา […]

รีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งใหญ่ฉลอง 100 ปี ร่วมชมนิทรรศการโครงการปรับปรุงสวน วันนี้ – 20 มี.ค. 65 ที่ศาลาภิรมย์ภักดี

หลังจากที่สวนเบญจกิติได้อัปเกรดและรีโนเวตพื้นที่จนเปิดให้บริการแก่ประชาชนไปแล้วเมื่อช่วงต้นปี คราวนี้ถึงทีของสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยอย่างสวนลุมพินีกันบ้าง ซึ่งการรีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองครบ 100 ปีสวนลุมฯ ในปี 2568 เป้าหมายของการปรับปรุงสวนลุมฯ ในวาระครบ 100 ปี คือการทำให้ที่นี่เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะ โดยมีแนวคิดหลักในการออกแบบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ การคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการยุคใหม่ และมีการออกแบบเพื่อคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ การรีโนเวตแบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกเริ่มต้นโครงการที่บริเวณถนนแกนกลางสวนฯ ประกอบด้วย งานปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน และงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และงานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สวนลุมพินี 100 ปี ส่วนเฟสที่ 2 ได้แก่ การปรับปรุงพื้นที่ส่วนที่เหลือของสวนลุมพินีทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนต่างๆ ประกอบด้วย สวนน้ำช่วยเมือง สวนป่าและกิจกรรมยุคใหม่ จุดเชื่อมต่อสะพานเขียว ลานรอบอาคารบันเทิง สวนจีน โรงอาหารและสวนผักในเมือง สวนเพื่อการเรียนรู้ และชมรมกับกิจกรรมนันทนาการ ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และพื้นที่กายภาพต่างๆ รวมถึงก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น […]

รถไฟ JR ญี่ปุ่นทดลองวิ่งไร้คนขับช่วงกลางวันเป็นครั้งแรก!ตั้งเป้าพัฒนาใช้จริงปี 2027

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless) กันมาบ้างแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร ถ้ามีขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟที่ขับเคลื่อนบริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีนี้บ้างล่ะ? อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศที่ขนส่งทางรางเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันอย่างญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รถไฟ JR สายตะวันออกได้ทดลองวิ่งด้วยระบบไร้คนขับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลากลางวัน ก่อนเริ่มให้บริการรอบแรกของวัน การทดลองวิ่งเป็นไปตามเส้นทางวงกลม 34.5 กิโลเมตรตลอดสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญที่วิ่งรอบโตเกียวและมีผู้ใช้บริการกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน  การทดลองวิ่งครั้งนี้ไม่มีผู้โดยสารอยู่ในตัวรถ มีเพียงคนขับรถคอยตรวจตราความเร็ว หรือความตรงเวลาของระบบ แต่ก็นับเป็นหมุดหมายสำคัญได้เลย เพราะการทดลองวิ่งแบบไร้คนขับครั้งที่ผ่านมานั้นทดสอบในช่วงเวลากลางคืน และการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านั่นเอง  ทำไมทางญี่ปุ่นถึงต้องนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับรถไฟ คำตอบคือ ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่คนวัยทำงาน ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในขนส่งสาธารณะอย่างการขับรถไฟ และพนักงานส่วนใหญ่ก็จะเกษียณอายุงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้  แม้ทางบริษัท JR จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างพนักงานที่เกษียณไปแล้วมาทำงาน แต่นั่นก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และคำถามสำคัญเมื่อนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับขนส่งสาธารณะคือประเด็นเรื่องความปลอดภัย เช่น การหยุดรถกะทันหันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถจะจอดตรงจุดจอดสถานีหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้คือโจทย์ที่รัฐต้องร่วมกันอุดช่องโหว่กันต่อไป Sources Mainichi | https://bit.ly/3t3UZuU Nikkei Asia […]

หวนรำลึกถึงอาคารสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่กำลังหายไปใน ‘Something Was Here.’ โดย Foto_momo 15 – 27 มี.ค. 65 ที่ BACC

หากต้องการสำรวจว่าบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร นอกจากดูที่ความคิดความสนใจของคนในสังคมช่วงเวลานั้นแล้ว อาคารสถานที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายก็เป็นเครื่องมือบอกเล่าที่สำคัญว่าเรารับเอากระแสนิยมหรือมีอิทธิพลใดที่ส่งผลถึงประเทศบ้าง และเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหาวิธีอนุรักษ์มรดกของกาลเวลาเหล่านี้เอาไว้ หลังจากตระเวนถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มาหลายปี เบียร์-วีระพล สิงห์น้อย เจ้าของโปรเจกต์ Foto_momo ได้ร่วมมือกับ Docomomo Thai กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารไทยสมัยใหม่ จัดนิทรรศการภาพถ่ายเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘Something Was Here.’ กับคอนเซปต์ The Fading Memories of Bangkok Modern Architecture. (ความทรงจำอันเลือนรางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ) นิทรรศการนี้จะจัดแสดงภาพถ่ายอาคารประมาณ 20 หลังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงโรงละครสกาลาที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม จุดประสงค์ของนิทรรศการ Something Was Here. คือการหวนรำลึกถึงความรุ่งโรจน์ของฝีมือการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในยุคสมัยหนึ่งที่เคยเป็นหน้าเป็นตาของความ “สมัยใหม่” ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานบันเทิง สถานศึกษา ที่พักอาศัย และออฟฟิศทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าสังคมไทยนั้นพร้อมปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่จากตะวันตกแล้ว  คำถามคือ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามเย็นสิ้นสุดลงและเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ความสมัยใหม่เหล่านี้ได้ไร้คุณค่าไปด้วยหรือไม่ ในฐานะคนที่ติดตามถ่ายภาพอาคารเก่ามาตลอด วีระพลอยากชวนทุกคนมาหาวิธีจัดการกับมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้ภายใต้สมการของการอนุรักษ์และการพัฒนา มิฉะนั้นแล้ว เราอาจไม่มีอาคารเหล่านี้ให้จดจำ นิทรรศการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ผนังโค้งชั้น […]

ชวนดู Public Space ที่มีดีไซน์เท่และฟังก์ชัน

บ้านเรามีจำนวน Public Space น้อยมากๆ ถ้าพูดถึงสถานที่ที่คนเมืองใช้นัดเจอกันเพื่อพักผ่อนหย่อนใจส่วนใหญ่ตัวเลือกแรกๆ ที่พอจะนึกออกก็คือ ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่ใช่ห้างฯ เราจะไปเจอกันที่ไหน  ‘พื้นที่สาธารณะ’กลายเป็นโจทย์ของพื้นที่อันท้าทาย  ทำยังไงให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอันหลากหลายเพราะสถานที่ในบ้านเราที่มีอยู่ก็ยากที่จะเรียกว่า “พื้นที่สาธารณะ” ได้อย่างเต็มปาก ด้วยเงื่อนไข กฎ เกณฑ์ และเวลาที่ไม่ได้เอื้อต่อประชาชนคนทั่วไปใช้งานได้อย่างเต็มที่จริง ๆ   และพื้นที่สาธารณะแบบไหนกันแน่ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองของพวกเรา . จึงเป็นที่มาของโจทย์และจุดประสงค์หลักให้กับงานประกวดที่ MQDC ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบ  “Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร” เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทางความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จะสะท้อนมุมมอง “พื้นที่สาธารณะแบบไทย ๆ” ว่า สถานที่นั้นจะออกมาเป็นอย่างไรด้วยจินตนาการอันโลดแล่นของนักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งในระดับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป . เราขอเชิญชวนทุกคนเยี่ยมชม ผลงานการออกแบบ “พื้นที่สาธารณะ” ในอุดมคติของคนรุ่นใหม่นับร้อยผลงานในโครงการประกวดการออกแบบ  “Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร” เพื่อต่อยอดสู่การตั้งคำถาม […]

เดินเล่นในเมืองขอนแก่น ชมเทศกาลศิลปะกับชุมชน ที่งาน S.O.E We Trade Everything 11 – 25 มี.ค. 66

เราอาจได้พบเห็นอีเวนต์ดนตรีหรืองานศิลปะจัดขึ้นมากมายในกรุงเทพฯ แต่จริงๆ แล้วในพื้นที่ต่างจังหวัดก็กำลังขับเคลื่อนกันอย่างไม่ขาดสาย เช่นเดียวกันกับที่จังหวัดขอนแก่น อย่างเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา มีงาน S.O.E Our City Old Town ที่พาทุกคนไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองเก่า ตั้งแต่ชุมชนแรกเริ่มในครั้งก่อตั้งเมือง ผ่านการอพยพเคลื่อนย้ายบ้านเมืองจนกลายมาเป็นจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน กลับมาคราวนี้ เทศกาลศิลปะ ‘แก่น เก๋า เก๋า S.O.E We Trade Everything 2023’ ก็ยังคงความตั้งใจเดิมคือการเปิดพื้นที่ทางศิลปะให้กับชุมชน เพื่อเชื่อมโยงให้ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ยังคงเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป โดยงานครั้งนี้มีศิลปินเข้าร่วมแสดงงานศิลปะกว่า 40 รายชื่อ และได้แบ่งการจัดงานไปยังพื้นที่ในชุมชนทั่วเมืองหลากหลายจุด ให้เราได้เดินเล่น รู้จักประวัติศาสตร์ สถานที่ และผู้คนในขอนแก่นมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริเวณ ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์’ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินชมเทศกาลศิลปะ และเป็นจุดที่แนะนำให้ทุกคนได้รู้จักโครงการ ‘S.O.E แก่น เก่า เก๋า’ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์เองยังถือเป็นจุดที่มีความเชื่อมโยงเส้นทางเศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่นด้วย หรือที่จุด ‘Warehouse’ ชวนไปเดินถนนหน้าเมืองเพื่อให้ได้รู้จักเมืองมากยิ่งขึ้น ผลงานที่แสดงตรงจุดนี้จะบอกเล่าเรื่องราวของภูมิทัศน์ แรงงาน และการค้าขายของภาคอีสาน มีอีกจุดอย่าง […]

คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

เวิร์กช็อปศิลปะ NFT แบบถึงแก่น กับศิลปิน NFT ไทยในงาน NFT Play ที่ Play Space Cafe 26 มี.ค. – 26 เม.ย. 65

มาทำความรู้จัก ‘ศิลปะ NFT’ แบบจริงจังและถึงแก่นกันเถอะ! ในประเทศไทยตอนนี้ ศิลปะ NFT กำลังมาแรงมาก ศิลปิน NFT หลายคนแจ้งเกิดและสร้างรายได้มหาศาลจากการออกแบบผลงานที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งชาว NFT ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการสร้างคอมมูนิตี้ศิลปะยุคเมตาเวิร์สให้กว้างขวางคือสิ่ง ‘สำคัญ’ เพื่อทำความรู้จักและแชร์ประสบการณ์ให้แก่คนอื่นๆ เช่น นักสะสม ครีเอเตอร์ ศิลปิน รวมถึงคนที่สนใจทำ NFT แต่ยังไม่ได้เริ่มเสียที ทว่า โดยปกติแล้วศิลปิน NFT จะรวมตัวอยู่บน Space ใน Twitter เท่านั้น และส่วนใหญ่จะพูดคุยหัวข้อทั่วไป เช่น เรื่องงานและคริปโตเคอร์เรนซี แต่ยังไม่มีการ Workshop ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างจริงจัง เพราะเหตุนี้ ‘NFT ครีเอเตอร์ชาวไทย’ จึงจับมือกับ ‘Play Space Cafe’ จัด Workshop ภายใต้ชื่อ ‘NFT Play X Play Space’ เพื่อส่งเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมี Speaker […]

Bruk ดีไซน์กล่องนมรีไซเคิลง่าย เพียงฉีกตรงกลาง ก็ลดขั้นตอนแยกขยะ

ขยะกล่องนมเป็นขยะที่มีปริมาณมหาศาลมากในแต่ละวัน ซึ่งการจัดการขยะประเภทนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘บรรจุภัณฑ์กระดาษ’ จริงๆ แล้วมีทั้งพลาสติกและอะลูมิเนียมเคลือบอยู่ข้างใน ซึ่งไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลง่ายอย่างที่คิดเลย  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยพยายามจะแยกขยะกล่องนมด้วยตัวเอง คงรู้ว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายไม่ใช่ง่ายๆ ถ้าจะให้กล่องนมรีไซเคิลได้หลังจากดื่มแล้วต้องนำไปล้าง ตาก และลอกพลาสติกออก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คนไม่อยากแยกขยะ และทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไม่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างที่เคลมไว้ Pushan Panda ดีไซเนอร์จากซานฟรานซิสโกผู้เป็นเจ้าของดีไซน์เจ้ากล่อง Bruk มองเห็นปัญหานี้ จึงอยากหาวิธีในการช่วยลดขั้นตอนการแยกขยะก่อนนำไปรีไซเคิล ด้วยการออกแบบกล่องนมขึ้นมาใหม่ ที่ใช้แค่นิ้วฉีกตรงกลางกล่องก็แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกันได้ง่ายๆ แค่นำพลาสติกข้างในไปล้าง แล้วทิ้งลงถังแยกขยะก็นำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายขึ้น  หลายคนอาจจะคิดว่ากล่องบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้ยังไงก็เป็นกระดาษอยู่แล้ว ต้องรีไซเคิลได้สิ แต่จริงๆ แล้วกล่องนม น้ำผลไม้ ซอสมะเขือเทศ แม้จะทำจากกระดาษเป็นหลักแต่ภายในกล่องจะมีชั้นบางๆ ของพลาสติกหรืออะลูมิเนียมอยู่ ต่างจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว โลหะ หรือพลาสติกที่รีไซเคิลง่ายกว่ามาก เพราะไม่ต้องแยกส่วนประกอบหลายชั้น  Panda เล่าว่า “กระบวนการรีไซเคิลที่แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกัน เป็นกระบวนการพิเศษที่ทั้งแพงและหายาก ทำให้กล่องเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกาถูกรีไซเคิลไปแค่ 16% เท่านั้น ส่วนในยุโรปมีเพียง 49% ดีไซน์กล่อง Bruk จึงออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาต้องรีไซเคิล ผู้บริโภคเพียงแค่ฉีกรอยประระหว่างฝาขวดนม HDPE ออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้แยกกระดาษแข็งออกจากพลาสติกได้” นอกจากจะรีไซเคิลง่ายแล้ว Panda […]

รวมมิตรหนังไทยในตำนานเข้า Netflix จัดเต็ม 9 เรื่องเข้าใหม่ 1 เมษายน 65


เราเชื่อว่าหลายปีที่ผ่านมา คอหนังหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาอยากดูหนังไทยเก่าๆ ที่มีคนยกให้เป็นหนังไทยในตำนาน จะให้ไปหา DVD ก็ไม่มีแล้ว หรือหันหน้าพึ่งสตรีมมิงก็ยากยิ่งกว่า ล่าสุด Netflix เลยเอาใจคอหนังไทยและคนที่อยากสัมผัสประสบการณ์ของการดูหนังไทยที่มีชื่อปังๆ แบบชัดแจ๋ว เรียกว่าตอนเปิดลิสต์มา ก็แทบเลือกไม่ถูกเลยว่าจะดูเรื่องไหนก่อนดี เพราะบางเรื่องเคยไปคว้ารางวัลระดับสากลมาแล้ว บางเรื่องหาดูยากสุดๆ และอีกหลายเรื่องก็โดดเด่นด้านรายได้ รวมถึงเสียงวิจารณ์ที่ยกให้เป็นหนังไทยที่ดีที่สุดตลอดกาล ลิสต์หนังไทยในตำนานที่จะเข้า Netflix มีดังนี้ – ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล– ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท– ข้างหลังภาพ (2527) กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์– กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ (2538) กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล– เรื่องตลก 69 (2542) กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง– ฟ้าทะลายโจร  (2543) กำกับโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง– บางระจัน […]

ลอนดอนขยายพื้นที่เขตปล่อยมลพิษต่ำ ครอบคลุม 965 ตารางกิโลเมตร คาดลดการใช้งานรถเก่า 135,000 คันต่อวัน

ในปีหน้าหากใครก็ตามที่ต้องการขับรถรุ่นเก่าที่มีมลพิษมากขึ้นเข้าไปยังเกรเทอร์ลอนดอนจะต้องเสียค่าบริการเป็นจำนวน 12.50 ปอนด์หรือประมาณ 540 บาทต่อวัน จากนโยบายของนายกเทศมนตรีซาดิก ข่าน ที่ประกาศขยายอัตราค่าธรรมเนียมการใช้รถยนต์ที่ปล่อยไอเสีย เพื่อต่อสู้กับมลพิษทางอากาศและการจราจรที่คับคั่ง  ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีลอนดอนกล่าวในการประกาศขยายเขต Ultra Low Emission Zone (ULEZ) หรือเขตการปล่อยมลพิษต่ำ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้ชาวลอนดอนลดการใช้งานรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบเก่าซึ่งมีการปล่อยมลภาวะสูง โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สหรือรถบรรทุกขนาดเล็กที่ผลิตก่อนปี 2005 (มาตรฐานยูโร 4) และรถยนต์ดีเซลหรือรถบรรทุกขนาดเล็กที่ผลิตก่อนปี 2557 (มาตรฐานยูโร 6) ซึ่งเมืองลอนดอนคาดการณ์ว่ามีการใช้งานรถทั้งสองประเภทราว 135,000 คันต่อวัน หลังจากเปิดตัวครั้งแรกในเดือนเมษายน 2019 เขตการปล่อยมลพิษต่ำครอบคลุมเพียงส่วนเล็กๆ ใจกลางเมือง ก่อนจะขยายพื้นที่มากขึ้นครอบคลุมเมืองชั้นในในปี 2021 และในปี 2023 จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเกรเทอร์ลอนดอน ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 965 ตารางกิโลเมตร “นี่เป็นเรื่องของความยุติธรรมทางสังคม มลพิษในอากาศส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจน กว่าครึ่งหนึ่งของชาวลอนดอนไม่ได้ครอบครองรถยนต์ แต่พวกเขายังต้องอยู่กับมลพิษทางอากาศ” ข่านกล่าว แม้ ULEZ จะมีการขยายขอบเขตด้วยความรวดเร็วแต่ก็ยังถือว่ากระทบต่อผู้ใช้งานน้อยกว่าทางเลือกอื่นที่นายกเทศมนตรีกำลังพิจารณาอยู่ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาข่านได้เสนอการคิดค่าเดินทางแบบตามระยะ ซึ่งจะคิดค่าบริการสำหรับรถยนต์ทุกคันในเมืองโดยไม่คำนึงถึงอายุหรือมาตรฐานการปล่อยมลพิษ ซึ่งได้รับเสียงคัดค้านหนาหูและยกเลิกแนวคิดดังกล่าวไปเรียบร้อยแต่ก็ไม่ได้ปิดประตูไปโดยสิ้นเชิง  เพราะนายกเทศมนตรีลอนดอนระบุว่า การคิดค่าธรรมเนียมต่อไมล์คือ […]

1 67 68 69 70 71 119

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.