WHAT’S UP
‘Noble AQUA Riverfront Ratburana’ โครงการบ้านเดี่ยวริมเจ้าพระยา กับการทำให้แม่น้ำเป็นโจทย์หลักในการอยู่อาศัย
เมื่อพูดถึงบ้านเดี่ยวริมแม่น้ำ ภาพส่วนใหญ่ที่เรานึกถึงมักเป็นบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัดหรือเป็นที่อยู่อาศัยที่ไกลออกไปจากตัวเมือง ซึ่งให้บรรยากาศความเป็นส่วนตัวและความสงบเหมาะแก่การพักผ่อน ทว่าล่าสุด ‘Noble’ ได้เปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยวติดริมแม่น้ำในเมืองกับโครงการใหม่ ‘Noble AQUA Riverfront Ratburana’ Noble AQUA Riverfront Ratburana ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Oneness with the River’ หรือการหลอมรวมความสุขในการใช้ชีวิตและธรรมชาติไว้ด้วยกัน ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ที่ตั้ง ดีไซน์ และประสบการณ์การอยู่อาศัยของลูกบ้าน ที่ตั้งของโครงการอยู่บนถนนราษฎร์บูรณะ ทำเลที่สามารถเดินทางไปในย่านศูนย์กลางธุรกิจทั้งสาทร สีลม และสุขุมวิทได้อย่างสะดวกสบาย และที่สำคัญคือโครงการนี้อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณที่มีโค้งน้ำกว้างและสงบ เป็นบรรยากาศที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและพักผ่อนในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่หายากในปัจจุบันนี้ ส่วนการดีไซน์ของตัวบ้านนั้นก็เน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีโจทย์หลักในการออกแบบคือ ‘แม่น้ำ’ เพื่อให้บ้านทุกหลังมองเห็นวิวแม่น้ำได้มากที่สุด หรือแม้แต่การจัดวางฟังก์ชันที่แตกต่างอย่างการนำพื้นที่ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นขึ้นไปไว้บนชั้น 2 และชั้น 3 ที่จะมองเห็นวิวแม่น้ำในจุดที่ดีที่สุดของบ้าน การสร้างช่องว่างระหว่างบ้านแต่ละหลังเพื่อความเป็นส่วนตัว รวมถึงการใช้รูปทรงหลังคาแบบทรงจั่วเพื่อลดปริมาณความหนาแน่นของอาคาร และสร้างสโลปใต้หลังคาที่ช่วยให้พื้นที่ภายในตัวบ้านมีเสน่ห์มากขึ้น นอกจากนี้ Noble AQUA Riverfront Ratburana ยังพร้อมมอบประสบการณ์การอยู่อาศัยอย่างสะดวกสบายและปลอดภัย ด้วยฟังก์ชันต่างๆ […]
ร่วมลุ้นรางวัลไปกับสองหนังไทย ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ในเทศกาลหนังปูซาน ครั้งที่ 28
แม้ว่าหนังไทยจะถูกปรามาสหรือวิจารณ์อยู่เนืองๆ ถึงเรื่องโปรดักชันไม่ปัง เนื้อหาที่พูดไม่ได้ พลอตเรื่องเก่าชวนให้เบื่อ ฯลฯ จนผู้ชมหันหน้าหนีหนังไทยไปหาดูอย่างอื่นกันแทน แต่หนังไทยที่ถูกแปะป้ายเช่นนั้นก็เป็นเพียงความจริงหนึ่ง เพราะในอีกหลายมิติของวงการภาพยนตร์ไทยก็ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นทั้งหมด เพราะหากเราดูรายชื่อใน ‘เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน’ (Busan International Film Festival : BIFF) จะเห็นหนังไทยที่มีชื่อเข้าร่วมลุ้นรางวัลหรือได้ไปฉายอยู่หลายเรื่อง อย่างเมื่อปีที่แล้ว ‘Blue Again’ ผลงานของผู้กำกับหญิง ‘ฐาปณี หลูสุวรรณ’ ก็ได้เดินทางไปฉายในเทศกาลนี้มาแล้ว และในปี 2566 ก็มีรายชื่อสองหนังไทยอย่าง ‘Solids by the Seashore’ และ ‘ดอยบอย’ ที่ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดชิงรางวัลด้วย ‘Solids by the Seashore (ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง)’ ของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ผู้กำกับที่เคยมีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่องไปฉายยังหลากหลายประเทศ โดยเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ว่าด้วยหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม ซึ่งได้ใกล้ชิดกับศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ โดยมีฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและชีวิตชายฝั่งที่กำลังเผชิญความเสียหายทางธรรมชาติมากขึ้นทุกวัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าประกวดในสาย New Currents ซึ่งจะมอบให้กับผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกหรือเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่ชาวเอเชีย คัดเลือกโดยคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกเรื่องคือ ‘DOI BOY’ […]
Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล
การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]
NIA และ กทม. มุ่งหน้าใช้ ARITech เปลี่ยนย่านอารีย์เป็นย่านนวัตกรรม รองรับการลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน
คนกรุงเทพฯ ย่อมรู้ว่า ‘อารีย์’ เป็นย่านแห่งไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อมากที่สุดในเมือง มีความเป็นชุมชนกึ่งเก่ากึ่งใหม่ ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าอาคารที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้าประเภทมัลติแบรนด์ ที่สร้างสีสันและความมีชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและทำเลทองของนักธุรกิจยุคใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่ง อารีย์ก็เป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โคเวิร์กกิงสเปซ ไปจนถึงออฟฟิศให้เช่าชั่วคราว ซึ่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จึงเลือกพัฒนาย่านนี้ให้เป็นย่านนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ดีขึ้น การพัฒนาครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARITech) ได้แก่ AI, Robotics, Immersive และ IoTs มาผลักดันย่านสู่เมืองฉลาดรู้ และยกระดับให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพื่อรองรับธุรกิจนวัตกรรม การลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน กลุ่มธุรกิจเทคจากต่างประเทศ และนำร่องให้ย่านอารีย์ได้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองนวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบสำคัญของย่านอารีย์ที่หากเชื่อมโยงกันแล้วจะทำให้ย่านเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบด้วย 1) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นที่ตั้งของบริษัท หน่วยวิจัย และสตาร์ทอัพ ARITech ที่กระจายตัวภายในย่าน ครอบคลุมบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ2) สินทรัพย์ทางกายภาพ จากการเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง มีการเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีความสะดวก และการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสาน3) สินทรัพย์ทางเครือข่าย จากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ที่มีความสนใจในการร่วมพัฒนาย่าน4) สินทรัพย์ดิจิทัล […]
Fang Gen Fa Coffee Bar ร้านกาแฟป็อปอัปจากไม้ก๊อกที่มีหนังสือพิมพ์แขวนบนผนังให้อ่านฆ่าเวลา
ในขณะที่หนังสือพิมพ์กำลังจะตายเพราะการเข้ามาของโลกออนไลน์ ยังมีร้านกาแฟแห่งหนึ่งในประเทศไต้หวันที่ยังมีหนังสือพิมพ์แขวนไว้ให้อ่าน คล้ายกับสภากาแฟของบ้านเราในอดีต ‘Fang Gen Fa Coffee Bar’ เป็นร้านกาแฟแบบป็อปอัปที่รวมบริบทของหนังสือพิมพ์ กาแฟ และพื้นที่กลางแจ้งเข้าไว้ด้วยกันในหมู่บ้านอายุกว่า 100 ปีอย่าง ‘Pingtung Military’ ที่อดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและอดีตรัฐบาลชาตินิยม ร้านกาแฟแห่งนี้ออกแบบโดยสตูดิโอ ‘Atelier Boter’ จากการวางผนังที่สร้างขึ้นจากไม้ก๊อกรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นรูปตัวทีแบบเอียงๆ ที่ผนังด้านหน้าติดตั้งราวแขวนหนังสือพิมพ์คล้ายแผงหนังสือในอดีตให้ลูกค้าร้านกาแฟสามารถหยิบขึ้นอ่านได้ฟรีๆ นอกจากนี้ ในบริเวณที่ตั้งของร้านยังเป็นสวนกลางแจ้งที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และมีโต๊ะสำหรับนั่งดื่มกาแฟแบบขากรรไกรที่ใช้กันทั่วไปในงานเลี้ยงแบบดั้งเดิมของไต้หวัน ซึ่งถูกพัฒนาและออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถปรับความสูงและถอดออกได้ง่าย เพื่อปรับเปลี่ยนโต๊ะตามจำนวนผู้ใช้งานและสภาพอากาศได้อย่างทันท่วงที Source : ArchDaily | t.ly/fkYAl
La Conner Swinomish ห้องสมุดสาธารณะสามภาษาในสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาโดยคนต่างถิ่นและชนพื้นเมือง
จะดีแค่ไหนหากเรามีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่เพียงอุดมไปด้วยหนังสือให้อ่านหรือมีข้อมูลให้ค้นคว้า แต่ยังมีการออกแบบที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่สร้างสรรค์มาจากการร่วมมือกันของคนในชุมชน คนชนเผ่า และคนต่างถิ่น จนเกิดเป็นพื้นที่ที่ทุกคนมาใช้ประโยชน์ได้ วันนี้เราขออาสาพาไปดูห้องสมุดสาธารณะแห่งใหม่ในเมืองลาคอนเนอร์ รัฐวอชิงตัน อย่าง ‘La Conner Swinomish’ นำทีมออกแบบโดย ‘BuildingWork Offices’ เป็นห้องสมุดที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างชุมชนพื้นเมืองและผู้คนต่างถิ่น มีเอกลักษณ์เด่นคือการเชิดชูวัฒนธรรมของชุมชนและผสมประวัติศาสตร์ของเมืองลาคอนเนอร์ไว้ในสถานที่แห่งเดียว ช่วยเพิ่มแหล่งเรียนรู้สาธารณะให้กับพื้นที่ชายฝั่งของเมืองอีกด้วย เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามที่ตั้งใจที่สุด สถาปนิกได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองและทำการสำรวจภาพถ่ายของอาคารพาณิชย์เก่าแก่ งานวิจัยที่ว่านี้มีการออกแบบอาคารที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น การปูพื้น เอกลักษณ์ของส่วนหน้าอาคารแบบสามส่วน การจัดสัดส่วนในแนวตั้ง ลักษณะหน้าต่างที่ยื่นจากผนังไม้ และการตกแต่งรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น ทีมออกแบบได้นำรูปแบบอาคารเหล่านี้มาเป็นไอเดียในการออกแบบห้องสมุดแห่งใหม่ และได้รับความร่วมมือจากชุมชนชนเผ่าอินเดียน (Swinomish Indian Tribal) มาช่วยในเรื่องการปรับปรุงอาคารและส่วนหน้าอาคาร รวมถึงได้ทีมช่างแกะสลักฝีมือดีในชุมชนมาร่วมกันสร้างลวดลายให้กับเสาไม้บริเวณทางเข้าห้องสมุดเพื่อสื่อสาร 3 เรื่องราว ได้แก่ 1) ชายชาวสวิโนมิชที่ยื่นมือออกมาเพื่อแสดงการต้อนรับ 2) ปลาแซลมอนสองตัวที่หมุนวนเป็นตัวแทนของการแบ่งปันทรัพยากร และ 3) นกอินทรีเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา ถือเป็นการสร้างอาคารได้อย่างร่วมสมัย มีนวัตกรรมใหม่ และตรงตามเป้าที่ห้องสมุดตั้งไว้ ห้องสมุดแห่งนี้มาพร้อมพื้นที่และบริการต่างๆ มากมาย มีหนังสือน่าอ่านถึงสามภาษา ทั้งอังกฤษ สเปน หรือภาษาสวิโนมิช รวมถึงยังมีพื้นที่สำหรับวัยรุ่น […]
‘ศรีเทพ’ ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก แต่ ‘เวนิส’ เสี่ยงหลุดจากลิสต์ เหตุเพราะน้ำท่วมและนักท่องเที่ยว
ในวันที่ ‘เมืองศรีเทพ’ ของไทยได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกแห่งล่าสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน ‘เวนิส’ ได้รับคำเตือนว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกถอดออกจากรายชื่อมรดกโลก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรัฐบาลอิตาลีและการปกครองท้องถิ่นเวนิสไม่ได้มีมาตรการหรือกลไกที่ผลักดันการปกป้องความอ่อนไหวของการมีสถานภาพเป็นเมืองมรดกโลก ที่ให้คนเข้าไปศึกษา ชื่นชม และเรียนรู้ จนอาจทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นแก่นแท้ของสถานที่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของยูเนสโกก็ยังเสนอให้นำเมืองเวนิสไปอยู่ในลิสต์ของการเป็นมรดกโลกที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายอย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ในสถานภาพของการเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในปี 2019 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวนิส ไปจนถึงการเกิดปรากฏการณ์ Overtourism หรือปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และสภาพการเป็นเมืองมรดกโลก ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่ปี 1987 ที่เวนิสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยูเนสโกได้ส่งคำเตือนถึงประเด็นนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วจากการพัฒนาเมืองที่มากเกินไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่ทำให้อาคารเก่าแก่ทั้งหลายมีความเสี่ยงถูกทำลาย รวมถึงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีและเมืองเวนิสได้พยายามออกนโยบายและสร้างแผนการปกป้องเมืองด้วยการจำกัดไม่ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านคลองของเมือง เปิดใช้งานกำแพงกันน้ำท่วมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2020 และมีแผนเก็บค่าธรรมเนียมการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ยูเนสโกก็มองว่าทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาสภาพของการเป็นเมืองมรดกโลกตามมาตรฐาน และจากปัญหานักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ทำให้คนเวนิสจำนวนไม่น้อยย้ายออกไปจากเมืองจนตอนนี้เหลือคนในพื้นที่เพียงห้าหมื่นคนเท่านั้น ซึ่งนั่นย่อมสั่นคลอนต่อสถานภาพการเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ของเวนิส Sources :APOLLO | tinyurl.com/2y7zwe4eBBC | tinyurl.com/283cvvg5Podcast : ‘เมือง-หมา-นุด’ EP.51 Venice กับความเสี่ยงถูกถอนออกจากเมืองมรดกโลก | tinyurl.com/2xwdvvwfTravel and […]
ได้เวลานักสร้างสรรค์ปล่อยของ ใน ‘Bangkok Design Week 2024’ เปิดรับผลงานวันนี้ – 30 ก.ย. 2566
กลับมาอีกครั้งกับงานเทศกาลออกแบบสุดสร้างสรรค์แห่งปี ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2024’ (BKKDW2024) ที่ครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เป้าหมายของงานนี้คือ ต้องการเปลี่ยนหลากหลายย่านทั่วกรุงเทพฯ อาทิ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, พร้อมพงษ์, อารีย์-ประดิพัทธ์ และย่านอื่นๆ ให้น่าอยู่ น่าลงทุน และน่าเที่ยว แบบที่เป็นมิตรกับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือนไปพร้อมๆ กัน ภายใต้ธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ด้วยเหตุนี้ BKKDW2024 จึงเปิดรับ ‘Open Call’ เชิญชวนนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ผลิต ศิลปิน หน่วยงาน และคนทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ต้องการลงมือทำให้เมืองดีขึ้น เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลฯ เพื่อทำให้งานนี้ออกมาสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยจะแบ่งการเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมจัดเทศกาลฯ (Participation Level) […]
ไปศึกษาและชิมชาไต้หวันแบบเนิร์ดๆ ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ วันที่ 22 / 23 ก.ย. 66 ที่ร้าน Casa Formosa
ไม่ต้องบินไปไกลถึงไต้หวัน สายชาก็สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชา วิถีดื่มชา และวิธีการชงชาแบบคนไต้หวันแท้ๆ ได้ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ กิจกรรมเวิร์กช็อปโดย ‘Taa Experience’ และ ‘Casa Formosa Taiwan Tea House’ นอกจากการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชาแบบลงลึกแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ชิมชามากกว่า 10 ชนิด พร้อมของว่างและชา 6 เซตจากกิจกรรมที่อัดแน่นตลอด 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น Taiwanese Tea Workshop จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 และวันเสาร์ที่ 23 กันยายน (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่ร้าน Casa Formosa Taiwan Tea House โดยมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 1,700 บาท/คน ติดตามรายละเอียดและการจองได้ทาง Instagram : taaexperience
‘Kinder Land Bridge’ สะพานข้ามถนนบนอุโมงค์ทางหลวงใน Houston เพิ่มความปลอดภัยและพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน
ปกติแล้วการข้ามถนนบนทางม้าลายหรือพื้นที่ที่ทำไว้สำหรับข้ามถนนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิธีที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่หากเป็นถนนขนาดใหญ่ การเดินตัดผ่านถนนอาจไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก ใน ‘Memorial Park’ ที่เมืองฮิวสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มี ‘Memorial Drive’ ถนนทางหลวงขนาด 6 เลนที่ตัดผ่านสวนขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกสบายของการสัญจรรถยนต์ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนและสัตว์ต่างๆ ข้ามไปอีกฝั่งลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการสร้าง ‘Kinder Land Bridge’ และเปิดให้ใช้บริการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Kinder Land Bridge เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนสิบปีในการรีโนเวตพื้นที่นอกตัวเมืองฮิวสตันด้วยการครอบสะพานที่ทอดยาวเหนือทางหลวง และมีสวนสาธารณะด้านบน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงชัยชนะของสีเขียวที่อยู่เหนือสีเทา โดยที่ตั้งของมันอยู่บริเวณใจกลาง Memorial Park ทำหน้าที่เชื่อมต่อฝั่งเหนือและฝั่งใต้ของสวนสาธารณะเข้าด้วยกัน หลังจากที่ถูกแยกออกจากกันเพื่อสร้าง Memorial Drive ในปี 1955 โครงการนี้อยู่ภายใต้การดำเนินงานของสตูดิโอ ‘Nelson Byrd Woltz Landscape Architects’ จากสหรัฐอเมริกา ในการสร้างอุโมงค์และใช้พื้นที่ด้านบนเป็นสะพานข้ามผ่าน Memorial Drive เพื่อความปลอดภัยจากการจราจร ซึ่งทำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเพลิดเพลินไปกับจุดชมวิวในเมืองฮิวสตันด้วย ส่วนพื้นที่สีเขียวบนสะพานนั้นจะกลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ผู้คนเข้าไปใช้งานเป็นพื้นที่พักผ่อน เพลิดเพลินกับการชมวิวทิวทัศน์และธรรมชาติรอบตัว รวมถึงจัดกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ ในบริเวณนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยาน […]
ร่วมส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพกับ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ วันที่ 24 ก.ย. – 29 ต.ค. 66 ที่ TCDC
ในขณะที่บ้านเรามีงานหนังสือใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ไปเดินสำรวจหนังสือใหม่ เติมกองดองกันแทบทั้งปี ก็เป็นที่น่ายินดีไม่น้อยที่แวดวงหนังสือไทยได้มีงานหนังสือสำหรับเด็กที่จัดขึ้นอย่างค่อนข้างเป็นทางการแล้วในปีนี้ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ หรือ Children’s Picture Book Festival มีโต้โผหลักคือ สำนักพิมพ์ Barefoot Banana ที่อยากส่งเสริมและผลักดันให้หนังสือเด็กในไทยมีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายคนทำงานเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักแปล นักวิชาการ นักเล่านิทาน ห้องสมุด และสำนักพิมพ์ชั้นนำ ที่พากันมาส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพ ภายในงานมีกิจกรรมมากมายให้เหล่าผู้ปกครองพาลูกหลานไปร่วม รวมถึงองค์ความรู้ที่คนทำงานด้านนี้ไม่ควรพลาด ตั้งแต่นิทรรศการและโชว์เคสที่จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม ที่ TCDC บางรัก ไปจนถึงโปรแกรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดยาวๆ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เรื่อยไปตลอดทั้งเดือนตุลาคม โดยดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ barefootbanana.co/festival เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม 2566 ที่ TCDC บางรัก โดยตัวนิทรรศการเปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่เวลา 10.30 – […]
ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ประชาชี’ ที่เกิดจากกองดองของคนศิลปะ ใช้งานฟรี ในซอยเจริญกรุง 26
เปิดพิกัดอีกหนึ่งห้องสมุดแห่งใหม่ ‘ห้องสมุดประชาชี’ ในย่านเจริญกรุง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าไปใช้งานพื้นที่ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นง่ายๆ จากการรวมตัวกันของคนทำงานศิลปะอย่าง ‘ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์’ จาก ‘สปีดี้แกรนด์มา’ และ ‘น้ำหวาน-วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง’ กับ ‘ออดี้-กฤตธี ตัณฑสิทธิ์’ จาก ‘น้ำขึ้น คอลเลกทีฟ’ “ก่อนหน้านี้เราอยู่กันที่ซอยเจริญกรุง 24 ซึ่งในตึกนั้นจะมีห้องหนึ่งที่ใช้เป็นห้องคอมมอนรูม เรามักเอาหนังสือไปวางๆ กันจนเกิดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจขึ้นมา พอเราย้ายมาที่ใหม่บริเวณซอยเจริญกรุง 26 ห้องสมุดประชาชีก็เกิดขึ้น” ออดี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ และด้วยการเริ่มต้นในรูปแบบนี้ ทำให้หนังสือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหนังสือจากคอลเลกชันส่วนตัวของทั้งสามคน บวกกับหนังสือที่เพื่อนๆ นำมาวางด้วย ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้จึงมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มเฟมินิสต์ เควียร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเมือง ไปจนถึงเป็นแหล่งรวมหนังสือทำมือ (Zine) และสูจิบัตรจากงานนิทรรศการต่างๆ แม้ห้องสมุดประชาชีเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ออดี้บอกกับเราว่า นี่ยังไม่ใช่การเปิดแบบเต็มรูปแบบ เพราะในส่วนของชั้น 1 ที่เป็นตัวห้องสมุดในขณะนี้มีการจัด ‘นิทรรศการคำสาปที่ราบสูง Arcane Plateau’ ร่วมด้วย […]