WHAT’S UP
Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน
‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]
‘Moto Taxi Auto Sign’ ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติในกรุงเทพฯ ช่วยจัดระเบียบการใช้วินมอเตอร์ไซค์ให้ดีกว่าเดิม
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในความสะดวกสบายของคนเมืองคือบริการ ‘วินมอเตอร์ไซค์’ ที่ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางในเมืองที่รถติดและวุ่นวายได้เป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถกีดขวางการจราจรและบนทางเท้า หรือผู้ใช้บริการจำนวนมากต่อคิวรอแต่กลับไม่มีรถให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นต้น ในงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ เราได้เห็นผลงานจาก ‘Bangkok City Lab’ ที่อยากช่วยแก้ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการและพื้นที่ข้างเคียงมากขึ้น ผ่านโครงการทดลอง ‘ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ’ (Moto Taxi Auto Sign) ป้ายบริการที่จุดรอคิว แสดงสถานะว่ามีวินฯ ที่กำลังให้บริการในพื้นที่อยู่ขณะนี้กี่คัน ทาง Bangkok City Lab บอกกับเราว่า โครงการป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ เริ่มต้นขึ้นจากการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับทางนโยบายผู้บริหารกรุงเทพฯ ที่อยากจัดการปรับปรุงเรื่องบริการวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ผู้จัดทำโครงการพยายามมองหาไอเดียที่มีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งป้ายอัตโนมัตินี้ก็เป็นหนึ่งจากหลายๆ ไอเดียที่คิดว่าครอบคลุมความต้องการ จึงนำไอเดียนี้ไปสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เมื่อได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีก็จัดการทำ Mock-up และจัดแสดงพร้อมกับประชาสัมพันธ์ภายในงาน Bangkok Design Week 2024 โดยพยายามลงทุนน้อยที่สุด เปลี่ยนแปลงทัศนคติน้อยที่สุด แต่สร้างผลกระทบเชิงบวกมากที่สุด ส่วนสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการทำโครงการนี้คือ การนำเสนอและอธิบายแนวคิดให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ให้บริการวินมอเตอร์ไซค์ โดยต้องทำให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน […]
Equal Space เปิดพื้นที่ฮีลใจ พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างปลอดภัย วันที่ 4 – 25 ก.พ. 67 ใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ
ในปัจจุบันที่สังคมมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ทำให้หลายคนเลือกที่จะพูดคุยเพียงเฉพาะกับคนในกลุ่มของตัวเอง จนขาดการแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลที่หลากหลาย และกลายเป็นช่องโหว่ของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) จึงจับมือกับ 13 พื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศจากทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก เพื่อเติมช่องว่างในการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรม ‘Equal Space’ ขึ้น กิจกรรมนี้เป็นการชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกิจกรรมและบทสนทนาที่ออกแบบมาให้สนุก สบายใจ และปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมการพูดคุยที่ปราศจากการตัดสิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองที่หลากหลาย กิจกรรม Equal Space จะจัดขึ้นทุกสุดสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่วันที่ 4 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตารางกำหนดการ ดังนี้ – วันที่ 4 ที่ พก : ร้านหนังสือและโรงหนัง ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย– วันที่ 10 – 11 ที่ กิ่งก้านใบ LearnScape x […]
มองปัญหาเมืองผ่านภาพสเก็ตช์สิ่งของข้างทาง ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ วันนี้ – 4 ก.พ. ที่ Everyday Architect Studio
เชื่อหรือไม่ว่า งานดีไซน์หรืองานสร้างสรรค์บางชิ้นอาจเป็นส่วนเล็กๆ ที่พาเราไปพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดย Everyday Architect & Design Studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจและพบกับปัญหาในเมืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ภายในนิทรรศการจัดแสดงภาพสเก็ตช์จำนวน 365 รูป ที่เป็นภาพวาดบันทึกสิ่งของและงานออกแบบสถาปัตยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างข้างทางในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงปลายปี 2019 ถึงปลายปี 2020 โดยงานออกแบบทั้งหมดนี้มีชื่อเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพื่อเป็นการให้คำจำกัดความภาพงานออกแบบสิ่งของที่ดูเรี่ยราด อยู่เป็นกองๆ เหมือนหมู่คณะที่ข้างทางนั่นเอง แม้ว่าผลงานเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าสนใจและดูเหมือนจะนำไปต่อยอดไม่ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอฯ ได้วาดภาพเหล่านี้ ทำให้เขาเข้าใจถึงเงื่อนไขและปัญหาของเมืองที่ซ่อนอยู่แบบที่คาดไม่ถึง และปัญหาเหล่านี้มักมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคนิคที่ยากจะคาดเดา ช่วยท้าทายวิธีคิดและมุมมองของเหล่านักออกแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เห็นผลงานเหล่านี้ด้วย ไปชมผลงานทั้งหมดนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 19.00 น. […]
มองย่านทรงวาดผ่านฝาท่อดีไซน์ใหม่ ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ วันนี้ – 18 ก.พ. 67 ที่ชุมชนทรงวาด
บางครั้งสิ่งที่ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโปรเจกต์ใหญ่ๆ เสมอไป สิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวอย่าง ‘ฝาท่อระบายน้ำ’ ที่พบเห็นได้ตามท้องถนนหรือทางเดินในเมืองก็สร้างชีวิตชีวาให้เมืองได้เช่นกัน เห็นได้จากหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนภาพจำฝาท่อเก่าๆ ด้วยการนำเอาฝาท่อดีไซน์ใหม่มาใช้ นอกจากจะทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนได้ใช้เวลาไปกับการเดินเท้าเพื่อสำรวจความสวยงามของฝาท่อและสิ่งรอบด้านอีกด้วย งาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ในปีนี้ก็มีการหยิบเอาไอเดียการแปลงโฉมฝาท่อมาแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง โดย ‘บริษัท นวกาญจน์โลหะชลบุรี จำกัด’ หรือ ‘NVK’ ผู้ผลิตฝาท่อในไทยที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์และงานสร้างสรรค์ ร่วมกับศิลปิน ‘โอม-ธนรัชต์ ทองสิมา’ และ ‘Jinjer Team’ ดีไซน์ฝาท่อแบบใหม่ให้กับย่าน ‘ทรงวาด’ ด้วยแนวคิด ‘สถานที่คือชีวิต มังกรคือจิตใจ’ ผ่านการออกแบบที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมและลายเส้นของมังกรจีนที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนทรงวาด ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ ที่ ‘PLAY Art House Gallery’ ภายในงานไม่ได้มีแค่นิทรรศการฝาท่อเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรม ‘Let’s explore ฝาท่อดีไซน์’ที่ชวนผู้ร่วมกิจกรรมสแกน QR Code ที่ฝาท่อ […]
ชวนชมการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม ผ่านสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ พร้อมกันทาง Netflix วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
เมื่อปี 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้สั่งรื้อถอน ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามย่าน เพื่อนำพื้นที่ไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม จนเกิดการเรียกร้องจากนิสิตจุฬาฯ และชาวบ้านถึงการคัดค้านการรื้อถอนศาล และในปีที่ผ่านมา เรื่องราวการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ก็ถูกทำเป็นสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ และออกฉายช่วงเดือนมิถุนายนทางโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม เนื่องจากสารคดีเรื่องนี้ช่วยจุดประเด็นให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาการพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังมาถึง เราจึงอยากชวนทุกคนชมสารคดี The Last Breath of Sam Yan ที่มีโอกาสกลับมาฉายอีกครั้งในวงกว้างมากขึ้นผ่าน Netflix โดยเริ่มสตรีมวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ที่ www.netflix.com/title/81719493 ส่วนใครที่อยากไปเยี่ยมเยียนและสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลยังอยู่ที่โลเคชันเดิม บริเวณไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ข้างๆ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ แวะไปได้ทุกวันตั้งแต่เวลา […]
Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้
ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]
Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน
ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA
ให้น้องเหมียวช่วยจดรายจ่ายให้ กับแอปฯ บันทึกรายจ่าย ‘MeowJot’ ที่คำนวณจากสลิปโอนเงินอัตโนมัติ
คนจำนวนไม่น้อยคงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับการจดบัญชีรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่เด็ก เพราะแค่ตอนเช้ากินอะไรไปบ้างอาจต้องใช้เวลานึกหลายนาที แบบนี้แทบไม่ต้องพูดถึงจำนวนเงินที่เราจ่ายไปในแต่ละวันเลย ในเมื่อจำไม่ได้ ก็ลองให้ผู้ช่วยตัวจิ๋วแสนขยันอย่าง ‘น้องเหมียว’ ในแอปพลิเคชัน ‘MeowJot’ (เหมียวจด) ช่วยดูแลจัดการให้ไหม ช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อแอปฯ MeowJot มาบ้าง แต่อาจยังไม่รู้ว่าแอปฯ นี้ทำงานแตกต่างจากแอปฯ รายรับรายจ่ายอื่นๆ อย่างไร เนื่องในโอกาสที่ MeowJot กลับมาปล่อยให้ดาวน์โหลดแอปฯ กันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ต้องนำออกจากหน้า App Store เพราะมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนยอดดาวน์โหลดดีดขึ้นอันดับ 2 ของ App Store ประเทศไทย Urban Creature เลยไปก๊อกๆ หน้าประตูบ้านน้องเหมียว เพื่อคุยกับทีม KBTG อย่าง ‘พิมพ์พัช ดำรงเกียรติ’ Innovation Product Manager, ‘ชวิศ ทองภักดี’ Innovation Product Manager, ‘ศุภชัย สุวรรณวัชรชาติ’ UX Designer และ ‘ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย’ UX […]
ลดมลพิษหรือสร้างปัญหา? ผู้ใช้ถนนในเมืองโบโลญญาประท้วงนโยบายจำกัดความเร็วรถยนต์
ก่อนหน้านี้ประเทศอิตาลีได้มีความพยายามลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และพัฒนาคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างแผน ‘Città 30 (City 30)’ เพื่อจำกัดความเร็วบนท้องถนนในเมืองต่างๆ ให้เหลือ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเริ่มทดลองใช้ที่แคว้นซาร์ดิเนียไปในปี 2021 และเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ‘Matteo Lepore’ นายกเทศมนตรีเมืองโบโลญญา ก็ประกาศใช้แผน Città 30 (City 30) ด้วยการจำกัดความเร็วของรถยนต์สูงสุดลงจาก 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้เหลือเพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหวังเปลี่ยนให้โบโลญญากลายเป็นเมืองแห่งความปลอดภัยและยั่งยืน ด้วยการลดปัญหามลพิษทางอากาศและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทว่าผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เป็นดังคาด เพราะเหล่าผู้ใช้ท้องถนนหลายคนเริ่มไม่พอใจกับการจำกัดความเร็วครั้งนี้ เนื่องจากการจราจรที่หยุดชะงักทันทีในวันแรกหลังประกาศใช้นโยบาย ลามไปถึงแท็กซี่ที่ประสบปัญหารับผู้โดยสารได้น้อยลง จนเกิดการประท้วงจากเหล่าผู้ขับแท็กซี่ที่ขู่จะขึ้นค่าโดยสารเพื่อชดเชยกับรายได้ที่น้อยลงจากการต้องขับรถช้าๆ นอกจากนี้ แม้การจำกัดความเร็วจะลดการเกิดอุบัติเหตุได้จริง แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า นโยบายนี้ช่วยลดการเกิดมลพิษทางอากาศได้จริงไหม อีกทั้งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอิตาลียังแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อจำกัดดังกล่าว เนื่องจากมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างปัญหาต่อชาวเมืองมากกว่าประโยชน์ทางด้านความยั่งยืนอย่างที่ผู้มีอำนาจต้องการ Sources :Bologna Welcome | bit.ly/490YWTAEuronews Green | bit.ly/3vHhiuu
เจาะลึก 7 มิติจากปรัชญา ‘CRC Care’ ที่ทำให้เซ็นทรัล รีเทล โตอย่างยั่งยืน อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 80 ปี
เป็นเวลากว่า 80 ปี ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อ ‘เซ็นทรัล รีเทล’ หรือ CRC ผู้นำธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย (Multi-Format, Multi-Category and Multi Market) ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศทั้งเวียดนามและอิตาลี และก็เป็นเวลาเดียวกันที่เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นสร้างอีโคซิสเต็มที่ครบวงจร เพื่อเป็น Platform of Trust ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนอย่างสมบูรณ์แบบ และสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ด้วย Brand Purpose ที่ชัดเจนในการเป็น Central to Life ศูนย์กลางชีวิตของทุกคน ในทุกประเทศที่ดำเนินธุรกิจ และสร้างความสำเร็จให้เห็นจริงอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ‘CRC Care’ ที่เปรียบเสมือนคำสัญญาที่จะดูแลและยกระดับทุกภาคส่วนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนทั้งระบบ โดยที่ผ่านมา เซ็นทรัล รีเทล ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ 7 มิติหลัก ดังนี้ 1) Care for the Economy เป็นการลงทุนขยายธุรกิจและพัฒนาโมเดลใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการให้ความสำคัญกับเมืองรองและยกระดับให้แข็งแกร่งเทียบเท่าเมืองหลัก โดยดึงศักยภาพของเมืองรองให้โดดเด่น และพัฒนาเมืองให้มีความเจริญยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน […]
เติมปุ๋ยความสร้างสรรค์ให้คนเจนฯ ใหม่ ในงาน ‘Relearn Fest 2024’ จาก Mappa วันที่ 27 – 28 ม.ค. 67 ที่มิวเซียมสยาม
‘When a flower doesn’t bloom, you fix the environment in which it grows, not the flower.’ เป็นหนึ่งโควตเด็ดของ ‘Alexander den Heijer’ นักเขียนชาวดัตช์ที่พูดถึงความสำคัญของการเลี้ยงดู เพราะการที่เด็กหรือเยาวชนคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรโลกที่ดีล้วนอยู่ที่การเลี้ยงดูและการปลูกฝังพฤติกรรมจากผู้ปกครองทั้งสิ้น เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดีของเด็กและเยาวชน ‘Mappa’ และ ‘Flock Learning’ ได้นำโควตนี้มาเป็นหัวใจหลักของงาน ‘Relearn Festival 2024’ ที่กลับมาอีกครั้งในธีม Co-Creating Next Generation เป้าหมายคืออยากชวนทุกคนมาร่วม ‘Learn’ ‘Unlearn’ และ ‘Relearn’ สิ่งต่างๆ ด้วยมุมมองใหม่ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอนาคตของคนรุ่นถัดไป ผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบในโซนต่างๆ ทั้งหมด 9 โซน ตั้งแต่เวิร์กช็อปศิลปะ การทำงานฝีมือเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ตลาดงานคราฟต์ ไปจนถึงนิทรรศการสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมความเข้าใจในระบบนิเวศ นอกจากนี้ Relearn Festival ยังเปิดเวทีให้เหล่าครีเอเตอร์ได้มีโอกาสนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก […]