
WHAT’S UP
yourlogicalfallacyis.com เว็บไซต์ที่ชวนคุณเช็ก ‘ตรรกะวิบัติ’ เพื่อสร้างบทสนทนา ร่วมหาทางออก
yourlogicalfallacyis.com – เว็บไซต์รวมรวม ‘ตรรกะวิบัติ’ ที่ชวนคุณตรวจสอบคำพูดเพื่อร่วมสร้างบทสนทนาที่เป็นมิตร
ศิลปินไทย-จีนสร้างศิลปะแม่น้ำโขง รณรงค์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อน และสะท้อนวิกฤตลุ่มน้ำโขง
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำโขงมากถึง 11 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลซึ่งการสร้างเขื่อนทำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอย่าง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องเผชิญกับภัยแล้งและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินชาวไทยและชาวจีนจึงร่วมมือกันจัดแสดงผลงานศิลปะที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อสะท้อนวิกฤตแม่น้ำโขงและกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน โดยกลุ่มศิลปินไทยและจีนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นหลังจากได้ลงพื้นที่แม่น้ำโขง แม่น้ำอิง และเยี่ยมชุมชนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศิลปะที่นำมาจัดแสดงมีตั้งแต่ภาพวาด โมไบล์ปลาสังกะสี การแสดงดนตรีสด ไปจนถึงการเพนต์ร่างกายด้วยสีแดงเป็นคำว่า ‘Save River’ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาช่วยกันรักษาแม่น้ำโขง นายเรียน จินะราช อดีตพรานปลาบึกและผู้อาวุโสชุมชนริมแม่น้ำโขงเปิดเผยว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้ปลาบึกสูญพันธุ์ เพราะเมื่อก่อนแม่น้ำโขงมีปลาชุกชุมหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลาบึกที่มักออกมาในช่วงสงกรานต์ของทุกๆ ปี ในตอนนั้นไม่ต้องใช้เครื่องมือมากก็สามารถจับปลาได้ทีละเยอะๆ ในอดีตเชื่อกันว่าปลาบึกว่ายไปวางไข่ที่ทะเลสาบต้าหลี่ในจีน แต่เมื่อจีนสร้างเขื่อน ปลาบึกจึงไม่รู้จะไปวางไข่ที่ไหน ปลาบึกตัวเมียทุกตัวที่จับได้จะมีไข่ ซึ่งแต่ละตัวมีไข่ 60 – 70 กิโลกรัม แต่การฟักเป็นตัวและเติบใหญ่มีน้อย เพราะมีศัตรูในธรรมชาติมาก โดยวิธีวางไข่คือการปล่อยไหลไปกับน้ำ ทั้งนี้ นายเรียนเปิดเผยว่า ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เขาไม่เคยเห็นปลาบึกตัวเล็กในแม่น้ำโขงเลย ส่วนใหญ่ที่เห็นจะมีน้ำหนัก […]
รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ
Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19 หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้ ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้ หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]
เปิดแผงชมนิทรรศการ หวยแหลกแตกประเด็นคนเล่นหวย! ที่มิวเซียมสยาม
“ไว้ถูกหวยเดี๋ยวซื้อให้” “อยากรวยแล้ว เมื่อไหร่จะถูกหวยซะที” ต่อให้คุณไม่ใช่คนเล่นหวย แต่เราก็แสนมั่นใจว่าอย่างน้อยคุณน่าจะเคยพบปะกับบรรยากาศของหวยผ่านคนในครอบครัว คนใกล้ตัว หรือกระทั่งข่าวสารบ้านเมืองแน่ๆ มองเผินๆ การเล่นหวยคือความสนุกอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป จะพบว่าการเล่นหวยไม่ใช่แค่การเสี่ยงโชคเท่านั้น มันยังยึดโยงถึงความเชื่อ ความหวัง ความศรัทธา โอกาส เศรษฐกิจ กระทั่งโครงสร้างสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ใครที่คิดถึงการเดินชมนิทรรศการและสนใจอยากสำรวจเรื่องหวย เราอยากชวนทุกคนไปเรียนรู้สังคมไทยผ่านประเด็นนี้ที่มิวเซียมสยาม โดยนิทรรศการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 – 27 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 – 18.00 น. วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์) ในนิทรรศการคุณจะได้ทราบตั้งแต่ความเป็นมาของหวย ลอตเตอรี่ และสลากกินแบ่ง ผ่านกลไกองค์ประกอบต่างๆ ของระบบไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว หรือเสือกองสลากในอดีต ทั้งยังนำเสนอวิถีชีวิตของผู้ค้าสลากรายย่อย และย่างก้าวแห่งความเชื่อที่เชื่อมโยงในศาสตร์ต่างๆ ของผู้ซื้อหวยไม่ว่าจะเรื่องผี พระ เทวดา สิ่งเหนือธรรมชาติมากมาย ตรรกะแห่งความหวัง วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงพวกเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เรียกว่าได้ศึกษาครบทุกมิติหวยเลยทีเดียว หรือถ้าใครไม่สะดวกเดินทางไป ทางมิวเซียมสยามก็มี Live ถ่ายทอดสดเปิดแผงนิทรรศการ โดยแขกรับเชิญพิเศษหลายสายอาชีพที่จะมาแชร์ประสบการณ์มุมมองของหวย […]
‘I don’t dream of labor’ เทรนด์เยาวรุ่นทั่วโลกผู้ Burnout ที่ถามว่าชีวิตเราดีขึ้นกว่านี้อีกได้ไหม?
ชวนสำรวจ ‘I Don’t Dream of Labor’ – เทรนด์ที่ตั้งคำถามกับการทำงานและถามหาชีวิตที่ดีกว่านี้ของเยาวชนทั่วโลก
เกมเมอร์ถูกใจสิ่งนี้! Netflix เปิดตัว 5 เกมลิขสิทธิ์แท้ สมาชิกเล่นฟรีบน Android
ข่าวดีสำหรับแฟน Netflix และคอเกมทั้งหลาย เพราะล่าสุด Netflix ได้เปิดตัว ‘Netflix Games’ หรือเกมลิขสิทธิ์แท้จาก Netflix อย่างเป็นทางการแล้ว โดยทางบริษัทได้ประเดิมเปิดตัว 5 เกมแรก ได้แก่ Stranger Things: 1984, Stranger Things 3: The Game, Shooting Hoops, Card Blast และ Teeter Up ทั้งหมดจะเป็นเกมสำหรับเล่นบนสมาร์ตโฟน แต่ตอนนี้เปิดให้เล่นเฉพาะมือถือ Android ก่อน ผู้ใช้ Android สามารถค้นหาชื่อเกมและเลือกดาวน์โหลดเกมได้ที่ Play Store แต่ผู้ใช้ต้องสมัครสมาชิกรายเดือนของ Netflix ก่อนจึงจะเล่นเกมได้ (ใครที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถเล่นฟรีได้เลย ไม่ต้องสมัครใหม่) สำหรับสมาร์ตโฟน iOS ยังไม่มีกำหนดว่าจะรองรับเกมเมื่อไหร่ แต่ทางบริษัทเปิดเผยว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แน่นอน ผู้ใช้งาน iPhone และ iPad ต้องอดใจรอกันไปอีกหน่อย นอกจากนั้น […]
‘Pellucid’ นิทรรศการศิลปะออนไลน์จากคณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่ใช้ศิลปะตั้งคำถามกับชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง
หากจำประเด็นการ ‘ตัดโซ่’ หอศิลป์เพื่อเข้าไปจัดแสดงนิทรรศการศิลปะของ นักศึกษาจากสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้ หลายคนคงอยากรู้ว่าเนื้อหานิทรรศการมีอะไร ทำไมถึงโดนขัดขวางไม่ให้ใช้พื้นที่? ตอนนี้ไม่ต้องตัดโซ่อีกต่อไปแล้ว เพราะทางคณะผู้จัด Media Arts and Design Festival หรือ MADSFEST ได้ยกนิทรรศการไปจัดทางออนไลน์ยาวถึงเดือนมีนาคม 2022 ให้เข้าถึงได้ทั่วไป และนอกเหนือจากผลงานของชั้นปีที่ 4 ที่จัดแสดง ‘ออฟไลน์’ ไปแล้ว งาน MADSFEST ที่เป็นพื้นที่ทดลองทางความคิด ตั้งคำถามกับ “กฎเกณฑ์ของสังคม” และใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นหลากหลายสู่สาธารณะนี้ยังรวมผลงานของนักศึกษามีเดียอาร์ตหลายชั้นปีไว้อีกด้วย เทศกาลปีนี้ใช้ชื่อว่า ‘Pellucid’ ซึ่งผู้จัดอธิบายความหมายว่า เป็น “การวิพากษ์ถึงรูปแบบระบบโครงสร้างสิ่งที่กดทับและครอบคลุมมุมมองของเราเอาไว้ ผ่านแนวคิดแบบโครงสร้างนิยม (Structuralism) ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของรัฐ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ลำดับชนชั้นทางสังคม” โดยใช้ภาพ เสียง […]
Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ
เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]
Beta Cinema โรงหนังในเวียดนามที่ผสมความเป็นท้องถิ่นกับดีไซน์ เพื่อเป็นแหล่งแฮงเอาต์คนรุ่นใหม่
ลืมภาพโรงหนังมืดๆ ทึมๆ ไปได้เลย สำหรับยุคปัจจุบันที่โรงหนังไม่ได้เป็นแค่สถานที่ดูหนังอีกต่อไป แต่ยังเป็นที่แฮงเอาต์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการพบปะ พูดคุย และเอนจอยช่วงวันหยุดหรือเวลาหัวค่ำด้วยกัน อาคารรูปทรงเรขาคณิต มีสีสันเด่นชัด ชวนให้นึกถึงสถานที่สุดล้ำในหนังสักเรื่องที่อยู่ในภาพคือ โรงหนัง Beta Cinema ที่เพิ่งเปิดให้บริการในโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งออกแบบโดยบริษัท Module K ตามโจทย์ของ Minh Bui ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Beta Group ที่ต้องการโรงหนังที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แค่ดีไซน์เก๋ไก๋ยังไม่พอ ความพิเศษที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบโรงหนังแห่งนี้คือการหยิบเอาประวัติศาสตร์และความเป็นท้องถิ่นของไซง่อนมาผสมผสานกับการออกแบบ ทำให้โรงหนังขนาด 2,000 ตารางเมตร รองรับได้ 1,000 ที่นั่งแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของไซง่อน โดยรายละเอียดการออกแบบแต่ละส่วนใน Beta Cinema ล้วนแล้วแต่อ้างอิงถึงสถานที่สำคัญๆ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ยกตัวอย่าง โดมสีเขียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากที่ทำการไปรษณีย์กลางในยุคอาณานิคม ฝูงนกพิราบที่ได้รับอิทธิพลจากเอเลเมนต์ที่พบตามโรงละครโอเปร่าและจัตุรัส Paris Commune เคาน์เตอร์ขายตั๋วที่ออกแบบโดยอ้างอิงจากตลาด Ben Thanh ไปจนถึงล็อบบี้ด้านข้างและโถงทางเดินก็ชวนให้นึกถึงตรอกซอกซอยกับชีวิตบนท้องถนนของเมืองโฮจิมินห์ Jade Nguyen ผู้อำนวยการแห่ง Module K เล่าว่าเขาได้หยิบเอาลักษณะสำคัญๆ ที่เป็นไอคอนของไซง่อนมาเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้วิธีลดทอนรายละเอียดให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต แล้วประยุกต์เทคนิคการใช้สีแบบที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกและการ์ตูน […]
ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก
ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]
‘จำกัดระบบตรวจใบหน้า’ – เฟซบุ๊กปรับตัวครั้งใหญ่ เมื่อผู้ใช้กังวลเรื่องสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา Meta – บริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กประกาศแผนจำกัดการใช้งานระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ (Facial Recognition System) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เฟซบุ๊กจะไม่แท็กใบหน้าผู้ใช้งานในรูปภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติอีกต่อไป รวมถึงจะลบข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้เดิมกว่า 1 พันล้านคน Jerome Pesenti รองประธานบริษัทฝ่าย AI ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้คือ “การขยับครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้งานเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า” ซึ่งมีผู้ใช้งานถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้ทั้งหมด นอกจากหยุดแท็กใบหน้าอัตโนมัติ และลบข้อมูลใบหน้าผู้ใช้แล้ว เฟซบุ๊กจะยุติระบบสร้างข้อความบรรยายภาพ (Automatic Alt Text System) ที่บริษัทกล่าวว่ามีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้บกพร่องทางการมองเห็น แต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการจำกัดขอบเขตเท่านั้น เพราะระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ยังถูกใช้งานในบัญชีส่วนตัวอยู่ เช่น เพื่อปลดล็อกบัญชีผู้ใช้ หรือการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งอาจมีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวทางสาธารณะในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของเฟซบุ๊กครั้งนี้จุดประเด็นถกเถียงในสหรัฐอเมริกาว่าขอบเขตของเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ควรอยู่ตรงไหน ประเด็นที่ถกเถียงกันต่อมาคือ ความกังวลด้านสิทธิเสรีภาพและการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเทคโนโลยีซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิวในสหรัฐฯ รวมถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวัง (Surveillance) ในประเทศจีน การขยับครั้งนี้ของเฟซบุ๊กเกิดขึ้นท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์หลังการออกมาเปิดเผยของอดีตพนักงานบริษัทว่าเฟซบุ๊กตั้งใจปล่อยผ่าน ‘กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ’ ด้าน Luke Stark ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ (University of Western Ontario) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กครั้งนี้ แม้จะมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับตัวบริษัท และไม่ได้คิดเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเบื้องหลังจริงๆ […]
buildbetternow.co นิทรรศการจาก COP26 รวม 17 แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่เล่าเรื่องผ่านภาพ เสียง และวิดีโอจากทั่วโลก
นอกจากการแสดงวิสัยทัศน์เรื่องสิ่งแวดล้อมของบรรดาผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties) ในปีนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์ ‘Build Better Now’ ที่เปิดให้ผู้ชมทางบ้านจากทั่วมุมโลกเข้าชมได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.buildbetternow.co Build Better Now เป็นนิทรรศการออนไลน์แบบ 360 องศาที่จัดแสดงไอเดียและโปรเจกต์ที่ออกแบบเกี่ยวกับ ‘Built Environment’ หรือแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับปัญหา Climate Change โดยมีแนวคิดว่าการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นตึกสูง อาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์จะพบกับโครงการสถาปัตยกรรมต้นแบบจากทั่วโลกกว่า 17 โครงการที่คัดสรรโดย UK Green Building Council (UKGBC) เช่น Favela […]