WHAT’S UP
Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน
ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri
ชวนนักออกแบบคิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน ส่งประกวดเวที AYDA AWARDS 2024 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2567
AYDA Awards 2024 เป็นเวทีที่ ‘นิปปอนเพนต์’ เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้โชว์ทักษะการออกแบบ และสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงกับนักออกแบบชั้นนำของประเทศและเอเชีย นับเป็นปีที่ 17 ของเวทีนี้แล้วที่เปิดรับสมัครเหล่านักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน มาโชว์ศักยภาพและแสดงความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ Converge : Glocal Design Solutions หรือ การรวมกันเป็นหนึ่งจากแนวคิดวิถีท้องถิ่นสู่ระดับโลก ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท พร้อมโปรแกรมออกแบบ Sketchup Studio Education Software 2024 เป็นเวลา 1 ปี และโอกาสสำคัญในการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันในงาน AYDA Awards International Summit ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับเอเชีย จะได้เข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการออกแบบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา […]
ประติมากรรม ‘LOV’ ที่ไม่สมบูรณ์ งานศิลปะที่สื่อถึงความรักแบบไร้ Ego ใจกลาง Union Square ในแมนแฮตตัน
นอกจาก ‘I ♥︎ NY’ หรือ ‘We ♥︎ NY’ ที่พบเจอได้ทั่วไปในนิวยอร์กแล้ว ตอนนี้ในเมืองก็มีงานประติมากรรม ‘LOV’ ใน Union Square Park ที่เชิญชวนให้ทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาได้ถกเถียงและแสดงความเห็นต่องานศิลปะแห่งความรักที่ไม่สมบูรณ์แบบชิ้นนี้ Love – Ego = LOV เป็นผลงานของ ‘Pasha Radetzki’ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก NYC Parks และ Union Square Partnership เพื่อนำมาจัดแสดงภายใต้โครงการ Unity on Union Square ของ Union Square ผลงานนี้ทำขึ้นจากไม้อัดที่แต่งแต้มสีสันโดดเด่น สร้างชีวิตชีวาให้กับบริเวณรอบข้าง ประกอบด้วยตัว ‘L’ สีเขียว ‘O’ สีเหลือง และ ‘V’ สีชมพู วางเรียงกันเป็นคำว่า ‘LOV’ ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นคำที่ไม่สมบูรณ์ แต่ทุกคนก็เข้าใจได้ว่าหมายความว่าอะไร คำว่า LOVE […]
รู้จักกับ ‘The Offline Club’ คอมมูนิตี้ที่พาทุกคนห่างไกลจากมือถือ และกลับไปใกล้ชิดกับตัวเองและคนใกล้ตัว
มนุษย์ปัจจุบันนี้ใช้เครื่องมือสื่อสารท่องโลกออนไลน์เป็นความเคยชิน จนบางทีเราติดกับการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานโดยไม่ได้คำนึงถึงโลกภายนอก ‘The Offline Club’ คือคอมมูนิตี้สุดเจ๋งที่ ‘Ilya Kneppelhout’ และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง ‘Valentijn Klok’ และ ‘Jordy van Bennekom’ ริเริ่มขึ้นในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกเขานิยามไอเดียของคอมมูนิตี้นี้ว่า ‘Swap screen time for real time.’ ที่หมายถึง เปลี่ยนเวลาที่อยู่หน้าจอให้เป็นเวลาในชีวิตจริง โดย The Offline Club จะนัดรวมตัวกันที่คาเฟ่ต่างๆ แล้วเบรกตัวเองจากการใช้โทรศัพท์มาลองทำกิจกรรมออฟไลน์อื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนใหม่ๆ วาดภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมในแต่ละครั้งของ The Offline Club จะเริ่มจากการให้ผู้คนได้พูดคุยกันในตอนแรก ต่อด้วยการอยู่กับตัวเองภายใน 45 นาที และใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงให้เราเชื่อมต่อกับบรรยากาศของผู้คน รวมถึงใช้เวลาอยู่เงียบๆ กับตัวเองในช่วง 30 นาทีสุดท้าย เหล่าผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้นี้เชื่อว่า The Offline […]
‘Waste War’ บอร์ดเกมสอนแยกขยะแบบง่ายๆ ที่ทั้งสนุกและได้เรียนรู้เรื่องรีไซเคิลไปพร้อมกัน
การแยกขยะ เป็นการกระทำหนึ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ยั่งยืนได้ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่าการแยกขยะมีวิธีที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไป ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘KongGreenGreen’ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะมานาน ร่วมมือกับ ‘ไจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ‘Qualy’ ในการทำ ‘Waste War’ บอร์ดเกมที่จะทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และนอกจากจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแล้ว ยังสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของขยะอีกด้วย ก้องเล่าให้เราฟังว่า บอร์ดเกมนี้เป็นการต่อยอดเนื้อหาจากช่อง KongGreenGreen ที่ต้องการทำให้การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และทำตามได้จริง ผ่านหลักคิดที่ว่า ‘แค่เราปรับเพียงนิดหน่อยก็ช่วยโลกได้มาก’ ซึ่งเอกลักษณ์ของช่องคือ การแนะนำวิธีการแยกขยะเบื้องต้น การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ ผ่าน The Recycle Series รายการที่นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กระป๋องที่ถูกใช้งาน จนผ่านกระบวนการรีไซเคิลต่างๆ กลับมาเป็นกระป๋องที่สามารถนำมาบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง นอกจากนั้น ด้วยความที่เขายังเป็นผู้นำกระบวนการเวิร์กช็อปเรื่องแยกขยะตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่สนใจเรื่อง Zero Waste ทำให้ต้องคิดเกมหรือกิจกรรมเพื่อที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้ไปด้วย ก้องจึงนำเอาประสบการณ์จากการทำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้เป็นบอร์ดเกมชิ้นนี้ ที่แม้จะดูเป็นสื่อการสอนที่ดี แต่ก็อยากให้เป็นเกมที่เล่นได้ยามว่าง เพราะ Waste War […]
จับตา สว. โหวต ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ ในวาระ 2 และ 3 หลังสภาให้ไฟเขียวในวาระ 1 พรุ่งนี้ 18 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
หนึ่งประเด็นทางการเมืองที่น่าจับตามองคงหนีไม่พ้น ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา หลังผ่านร่างกฎหมายในสภาไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ด้วยคะแนน 147 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ถือเป็นก้าวสำคัญของความเท่าเทียม หลังจากมีการถกเถียงและเรียกร้องกันมาอย่างยาวนาน โดยจุดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การแก้ไขให้บุคคลสองคนทุกเพศ รวมถึงคนที่มีเพศเดียวกัน สามารถสมรส จัดการทรัพย์สิน และรับบุตรบุญธรรมได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งในกรณีของการรับบุตรบุญธรรม การกำหนดอายุและบริบทของสังคมยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องที่เหล่านักออกกฎหมายต้องแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมมากกว่าเดิมแบบไม่มีช่องว่าง หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าหลังจากที่มีการโหวตผ่านโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ไปก่อนหน้า แต่ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ 18 มิถุนายน ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถูกพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมโดยสมาชิกวุฒิสภา (สว.) และจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สว.ชุดรักษาการ โดยมีเสียงเห็นชอบทั้งฉบับลงมติชี้ขาดในที่ประชุม ถึงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่หากไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกยับยั้งและส่งกลับไปยังสภาผู้แทนฯ ก่อนร่างกฎหมายจะถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้หลังพ้นไปแล้ว 180 วัน หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน นี่จะเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทุกคนต้อนรับเดือน Pride Month อย่างแน่นอน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งขั้นในระยะทางยาวนานกว่า 12 […]
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนเมือง ในนิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิ.ย. 67 ที่พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ
เรามักได้ยินว่า เมืองเป็นอย่างไร คนที่อยู่อาศัยก็เป็นอย่างนั้น แต่ขณะเดียวกัน คนเองก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้ เห็นได้จากกระแสสังคมที่ผ่านๆ มา ที่จุดประกายให้เมืองต้องปรับตัวตาม ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง และตัวเราเองในฐานะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ อย่างไร ตามไปสำรวจและหาคำตอบกันได้ที่ นิทรรศการกรุงเทพมหานคร 2567 ‘BKK EXPO 2024 : เมืองเปลี่ยนได้เพราะคุณ’ วันที่ 20 – 23 มิถุนายน 2567 ที่อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (MRT ศูนย์สิริกิติ์) เวลา 09.00 – 21.00 น. ภายในงานจะมีนิทรรศการมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เมืองดีขึ้น ตั้งแต่คนที่ช่วยกันดูแลเมืองคนละไม้คนละมือ รายงานปัญหาผ่าน Traffy Fondue, แยกขยะในครัวเรือน, ไม่กีดขวางทางเท้า, ช่วยกันรักษาความสะอาดให้เมือง ฯลฯ หรือการทำหน้าที่เป็นภาคีเครือข่าย ที่นำความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ แพสชัน มาช่วยพัฒนาเมืองผ่านโปรเจกต์ต่างๆ ไปจนถึงการเข้าร่วมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่และบุคลากรของ กทม. ที่ทำงานอย่างรวดเร็ว โปร่งใส ใช้เทคโนโลยี […]
WIJIT POP-UP STUDIO นิทรรศการภาพวาดภายใต้แนวคิดนิเวศสุนทรีย์ ใช้ศิลปะยกระดับชุมชนจากศาลเจ้าร้างสู่หอศิลป์ วันนี้ – 23 มิ.ย. ที่ GalileOasis Gallery
หากพูดถึงความหมายของศิลปะ คนส่วนใหญ่มักนึกถึง ‘ความสวยงาม’ เป็นสิ่งแรก แต่ถ้าเราเข้าใจบริบทมากขึ้น หลายครั้งศิลปะมีประโยชน์มากกว่าแค่ความสวยงาม นี่จึงเป็นเหตุผลที่เกิดชื่อเรียกความงามเหล่านี้ว่า ‘สาธารณศิลป์’ ซึ่งหมายถึงการนำศิลปะมาเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของคนและสังคมเมือง เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพวาด ‘WIJIT POP-UP STUDIO’ ของ ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ ที่นำแนวคิดนี้มาใช้เช่นเดียวกัน วิจิตรเป็นศิลปินที่เติบโตในครอบครัวคนจีน ทำให้มีโอกาสฝึกวาดภาพเขียนจีนโบราณตั้งแต่เด็ก จนเกิดแรงบันดาลใจอยากนำความรู้ศิลปะที่ตนเองมีมาพัฒนาชุมชนชาวจีนในนครปฐม ภายใต้แนวคิดของ ‘นิเวศสุนทรีย์’ ที่นิยามการนำศิลปะมาแก้ไขปัญหาแทนหลักการของวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ศิลปะกลายเป็นสาธารณศิลป์ นำมาซึ่งหัวใจหลักของนิทรรศการภาพวาดในครั้งนี้ ที่เป็นการรวบรวมผลงานจาก ‘หอศิลป์ศาลเจ้า’ กับการนำศาลเจ้าร้างในจังหวัดนครปฐมมารีโนเวตให้เป็นหอศิลป์ เพื่อที่ผู้คนจะได้กลับมากราบไหว้และเยี่ยมเยียนศาลเจ้าแห่งนี้อีกครั้ง โดยภายในงานจะจัดแสดงผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันที่วาดด้วยเกรียง ซึ่งต้องการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกผ่านภาพวาดของดอกไม้และสิ่งของ นอกจากนี้ ภายในงานยังจำหน่ายหนังสือ ‘คำสอนศิลป์’ และงานเขียนอื่นๆ รวมไปถึงกิจกรรมสุดพิเศษที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจในงานศิลปะได้สัมผัสงานศิลปะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ‘สนทนาข้ามโต๊ะกับวิจิตรในแบบสุนทรียสนทนา’ ในวันที่ 13 และ 20 มิถุนายน เวลา 11.30 น. และหากใครที่ซื้อหนังสือภายในงาน สามารถร่วมกิจกรรม ‘วาดภาพสดกับอาจารย์วิจิตร’ ได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 15 – 16 และ 22 […]
เจอแน่! TCDC แห่งใหม่ 10 จังหวัดทั่วไทย พื้นที่แห่งโอกาส รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้ไปกันต่อ
ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ แต่เป็นทั้งประเทศไทยที่จะได้ ‘โลดแล่นไปกับจินตนาการเพื่อเปลี่ยนชีวิตคุณ’ หรือ ‘Dance with your imagination and change your life’ กับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center : TCDC) เพราะตอนนี้ TCDC กำลังเดินหน้าไปสู่ส่วนภูมิภาค ด้วยการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ (New TCDC) ใน 10 จังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเมือง และเป็นการกระจายองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ส่วนภูมิภาค โดยรายชื่อของ New TCDC มีดังนี้ 1) TCDC Chiang Rai (ถ.สิงหไคล อ.เมือง จ.เชียงราย)2) TCDC Korat (ถ.จอมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา)3) TCDC Pattani (ถ.ปัตตานีภิรมย์ ย่านอา-รมย์-ดี อ.เมือง จ.ปัตตานี)4) TCDC Phitsanulok […]
โครงการใหม่ ‘เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป’ ลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งใน Tops ผ่านการจัดการด้วยเทคโนโลยี AI
แม้ว่าขยะอาหารจะดูไม่มีพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหลายคนเชื่อว่าขยะเหล่านี้สามารถย่อยสลายได้ตามเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาหารเหลือทิ้งนั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 8 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ มากไปกว่านั้น ประเทศไทยมีอาหารเหลือทิ้งเฉลี่ยถึง 254 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ด้วยปริมาณที่สูงขนาดนี้ย่อมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงแน่นอน ‘เซ็นทรัล ฟู้ด กรุ๊ป’ ที่มีเป้าหมายในการลดขยะอาหารลง 30 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2562 จึงมองหาทางออกในการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการปัญหาขยะอาหารในประเทศด้วยการร่วมมือกับ ‘Smartway (สมาร์ทเวย์)’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอาหารเหลือทิ้ง โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการขับเคลื่อน เพื่อตรวจจับสินค้าที่ใกล้หมดอายุ กำหนดช่องทางการรีไซเคิลที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละสินค้า และลดราคาสินค้าผ่านการพิมพ์ฉลากเฉพาะสำหรับแต่ละสินค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มที่ร้านท็อปส์ 5 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ การดำเนินงานผ่านเทคโนโลยี AI จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มร้านค้าปลีกที่สามารถลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งได้ พนักงานทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นในการจัดการสินค้าใกล้หมดอายุ รวมไปถึงลูกค้าเองก็จะมีทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าลดราคามากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการส่งต่ออาหารที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ให้กับแบรนด์ ‘Jaikla’ เพื่อนำไปเป็นอาหารให้แมลง และแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงจำหน่ายในร้านท็อปส์อีกด้วย
‘เด็กสลักหินพา PLAY’ เดินสำรวจชุมชน ตามรอยร้านอร่อยในหัวลำโพง กับเหล่าไกด์ตัวจิ๋วประจำตรอกสลักหิน
ปกติแล้วเวลาไปร่วมกิจกรรมทริปเดินสำรวจเมือง ไกด์หรือผู้นำกิจกรรมมักเป็นผู้ใหญ่ในชุมชนหรือนักวิชาการ ที่จะบอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพื้นที่ให้เราที่เป็นผู้ร่วมกิจกรรมฟังอย่างเพลิดเพลิน แต่กับทริป ‘เด็กสลักหินพา PLAY’ ภายใต้โครงการกรุงเทพรวมมิตรฯ ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยว จัดโดยนักออกแบบที่ทำงานชุมชน มิวทวล กราวน์ ร่วมกับริทัศน์บางกอก ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เพราะไกด์ในทริปนี้เป็นแก๊งเด็กในชุมชนที่จะมาพาเราออกเดิน และบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจในชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพงที่ตัวเองอยู่อาศัยผ่านสายตาเล็กๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ต้นไม้ งานศิลปะ สัตว์ตัวน้อย มุมที่ชอบ ไปจนถึงร้านอร่อยที่เด็กๆ ทำโพลรีวิวกันเอง ทั้งหมดนี้เราคงไม่มีทางทราบได้ถ้าไม่ได้ไกด์เด็กๆ ในชุมชนมาชี้ชวนเล่าให้ฟัง ยังไม่นับรวมไกด์บุ๊กที่น้องๆ ลงมือวาดกันเอง แถมยังมีมิชชันที่ล้วนข้องเกี่ยวกับตัวพื้นที่ให้ทำสนุกๆ ระหว่างเดินทางไปด้วย เช่น ถ่ายรูปกับทาวน์เฮาส์สไตล์ฮ่องกงที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ เล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นของชุมชน อัดเสียงนกกรงหัวจุกที่คนในชุมชนเลี้ยง เล่นและเซลฟีกับน้องหมาโมจิที่เป็นที่รักของเด็กๆ เป็นต้น นับเป็นกิจกรรมดีๆ ที่ทำให้เด็กๆ ในชุมชนได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ฝึกฝนทักษะที่อาจนำไปสู่การต่อยอดความถนัดในอนาคต รวมถึงสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ ใครที่อยากลองไปร่วมทริปดีๆ แบบนี้อีก ติดตามกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปได้ที่เพจ mutualground.lab
สำรวจอำนาจภายในรั้วโรงเรียน ที่สะท้อนถึงการจัดการปัญหาของสังคม ในหนังเยอรมนี The Teachers’ Lounge
ครั้งนี้ครูจะต้องได้เจอ ‘บทเรียน’ เมื่ออำนาจในโรงเรียนไม่ได้อยู่ที่การกะเกณฑ์บังคับผ่านการแต่งกายหรือกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังเคลือบอยู่กับท่าที การตัดสินใจ หรือกระทั่งการลงโทษ ซึ่งเราสัมผัสได้อย่างชัดเจนจากการชม The Teachers’ Lounge (ห้องเรียนเดือด) หนังสัญชาติเยอรมันโดย อิลเคอร์ ชาทัค ผู้กำกับชาวเยอรมันเชื้อสายตุรกี ลูกศิษย์คนเก่งของผู้กำกับ วิม เวนเดอร์ส ที่ติดอันดับหนังยอดเยี่ยมของนักวิจารณ์หลายคนในปี 2023 อีกทั้งยังเป็นหนัง 5 เรื่องสุดท้ายที่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์นานาชาติ บนเวทีออสการ์ปีล่าสุด The Teachers’ Lounge เป็นหนังที่ว่าด้วยเรื่องราวปัญหาภายในโรงเรียน โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุลักขโมยซ้ำแล้วซ้ำเล่าและไม่สามารถหาคนผิดได้ ทำให้ความรู้สึกกดดันกลายเป็นความเดือดดาล และพุ่งทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ความน่าสนใจคือ ประเด็นการตัดสินคนผิด-ถูกที่สะท้อนผ่านภาพในรั้วโรงเรียนเล็กๆ ถูกขยายไปมากกว่าใครเป็นคนร้ายตัวจริง ทำให้เราเห็นถึงผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินคนผิดที่ไม่ใช่แค่บุคคลที่โดนกล่าวหา ทว่ารวมไปถึงปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมที่ตอบรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนั่นทำให้เรานึกถึงการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เมื่อผู้คนต่างเห็นพ้องตรงกันว่าคนผิดสมควรถูกลงโทษ (แม้จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าผิดจริงไหมก็ตาม) มากไปกว่านั้น ยังมีมิติความสัมพันธ์ของครูที่ตั้งใจจะทำให้โรงเรียนโปร่งใส กับนักเรียนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย โดยไม่ได้แสดงออกผ่านถ้อยคำ แต่เห็นผ่านการกระทำที่เปิดช่องว่างให้คนดูคิดถึงความจริงใจของทั้งสองคนนี้ได้เป็นอย่างดี คล้ายเป็นการต่อสู้ของคนตัวเล็กสองคนที่เข้าอกเข้าใจกัน รับชมภาพยนตร์ The Teachers’ Lounge ได้แล้ววันนี้ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major […]