รู้จัก อั๋น ทศพงศ์ Props Maker แห่ง The Mask Singer ผู้รับหน้าที่ออกแบบชุดเกราะ ให้โอม Cocktail ใน MV ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร

ในปัจจุบันที่การแข่งขัน ความกดดันสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น จะมีสักกี่คนที่นำเอาความชื่นชอบและความสนใจไปต่อยอดสร้างงานสร้างอาชีพได้ ซึ่งถ้าเรามีแพสชันกับมัน ก็คงไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างอาชีพ Props Maker ที่ออกแบบพร็อป-อุปกรณ์คอสเพลย์ แม้มองเผินๆ ดูเป็นอะไรที่ทำเล่นๆ สนุกๆ แต่ความจริงแล้วต้องใช้ทักษะและความคิดสร้างสรรค์มาก ในบรรดาคนทำงานด้านนี้ของไทย อั๋น-ทศพงศ์ จิตรรัตนพงษ์ คือ Props Maker ที่มีผลงานมาแล้วมากมาย ทั้งออกแบบชุดและพร็อปบางส่วนให้รายการ The Mask Singer, รายการ The Rapper, บริษัทเกมระดับโลก รวมถึงแบรนด์ดังอย่าง AirAsiaGo และไม่นานมานี้ก็ออกแบบชุดเกราะกับอาวุธให้โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวง Cocktail ในมิวสิกวิดีโอเพลงล่าสุดอย่าง ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร ด้วย แพสชันการทำงานของทศพงศ์เริ่มต้นจากการเติบโตกับการดูหนัง อ่านหนังสือการ์ตูน และเล่นเกม “เราซึมซับหลายๆ อย่างจากสื่อที่ติดตาม พอเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตก็เห็นการแต่งคอสเพลย์ในต่างประเทศ นั่นเลยจุดประกายให้เรามีความสนใจในการทำชุดและพร็อป” หลังจากฝึกฝนและลองทำได้พักใหญ่ ทศพงศ์จึงต่อยอดความชอบนี้ให้เป็นงานที่มั่นคง เพื่อจะได้ทำสิ่งที่ชอบและงานที่อยากทำไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เขายังมองว่าความยาก-ง่ายของการคิด ตีโจทย์ ใส่ไอเดีย และการคราฟต์ชิ้นงานแต่ละชิ้นเป็นความท้าทายที่สนุกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น […]

เปลี่ยนที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้งานชั่วคราวในซานฟรานซิสโกให้เป็นบ้านหลังเล็กๆ สำหรับคนไร้บ้าน

ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีบ้านหลังเล็กๆ ที่ใช้งบประมาณการสร้างมูลค่า 15,000 เหรียญสหรัฐ (เทียบเรตตอนนี้เกือบห้าแสนบาท) เพื่อเปิดโอกาสให้คนไร้บ้านย้ายเข้าไปอยู่อาศัยได้  แม้ว่าต้องใช้ห้องน้ำส่วนกลางร่วมกัน แต่ภายในบ้านก็เป็นห้องที่ให้พื้นที่ส่วนตัวขนาด 64 ตารางฟุต มีประตูที่ล็อกได้ มีระบบทำความร้อน หน้าต่าง เตียงนอน และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ไว้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ 30 ยูนิตแรกเพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในย่านดาวทาวน์ ส่วนอีก 40 ยูนิตจะพร้อมเปิดให้บริการในอีกไม่ช้านี้ ซึ่งการจัดสรรต่างๆ เกิดขึ้นจากฝีมือของ Urban Alchemy องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสมทบทุนจากเมืองซานฟรานซิสโกอีกด้วย ปัจจุบัน ผู้อยู่อาศัยรายใหม่ๆ ต่างเข้ามาลองใช้บริการหมู่บ้านนี้อย่างกระตือรือร้น คอมมูนิตี้นี้ตั้งอยู่บนที่ดินที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกสำหรับการพักพิงและแก้ไขวิกฤตปัญหาคนไร้บ้านในเมือง บ้านเล็กๆ เหล่านี้ เปรียบเสมือนหอพักที่เคลื่อนย้ายได้ ในอนาคต หากเจ้าของที่ดินต้องการทรัพย์สินคืนก็โยกย้ายไปที่อื่นๆ ได้ไม่ยาก ปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินของนักพัฒนาภาคเอกชน ซึ่งทำงานในโครงการบ้านจัดสรรสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำ ในระหว่างที่พื้นที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ เมืองซานฟรานซิสโกจึงเข้ามาเช่าทรัพย์สินส่วนนี้ไว้ ไม่ใช่แค่ซานฟรานซิสโก แต่เมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกายังมีการสร้างบ้านขนาดเล็กๆ แบบนี้ขึ้นมาด้วย แม้จะมีความกังวลกันว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทำอาจมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาชั่วคราวมากกว่า เพราะแท้จริงหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือการจัดการกับต้นเหตุของปัญหาคนไร้บ้านให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง Source : […]

Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]

สู้แล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ! ชวนดู ‘Un-Fairly Tales’ 6 สารคดีตีแผ่ความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก ประชาไท

เคยไหมที่เราสู้ชีวิตแล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ? ชีวิตที่ว่านี้อาจจะหมายถึงระบบกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ ศีลธรรมอันดีที่สังคมยึดถือ เงื่อนไขการทำงานในบริษัทเอกชน หรือนโยบายจากรัฐบาลที่ออกโดยไม่ได้ฟังเสียงเราสักเท่าไร สิ่งเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัว ถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่าคนอื่นก็อาจจะต้องแบกรับมันเอาไว้  ซีรีส์สารคดี ‘Un-Fairly Tales’ ชวนเราสำรวจ ‘การสู้ชีวิต’ ของผู้คนในสังคมไทยที่จะชวนตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลัง เผยให้เห็นความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก 6 เรื่องราว ได้แก่  Kaeng Krachan Mapped : ชีวิตของ ‘วันเสาร์ ภุงาม’ ชนพื้นเมือง อำเภอหนองหญ้าปล้องที่โดนคดีบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะนโยบายรัฐที่ขีดเส้นแนวที่ดินของรัฐใหม่ทับพื้นที่เดิมของ ‘วันเสาร์’ ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ Migrant’s Life : ‘โพซอ’ แรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาครที่จากบ้านเกิดมาเพื่อทำงานส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว แต่ชีวิตเขาเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้ไม่มีงานทำ หนำซ้ำก็เกิดการรัฐประหารในพม่าอีก  Decent Work : สารคดีพาไปดูชีวิตคนทำงานบริการในสังคมไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขามักจะถูกมองว่าทำเรื่องผิดศีลธรรม และการทำงานนี้ก็ไม่ได้ถูกยอมรับจากกฎหมายว่าเป็นการ ‘ทำงาน’ อย่างหนึ่ง นั่นทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิต่อรองนายจ้างและสิทธิเข้าถึงระบบประกันสังคมที่มีผลต่อการรักษาสุขภาพ Riderman : พาไปดูชีวิตของไรเดอร์ส่งอาหาร การคำนวณระบบค่าแรงจากบริษัทที่กังขา รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ในเมืองกรุง  Ode […]

แกลเลอรีทั่วยูเครนเร่งเก็บงานศิลปะ เพื่อปกป้องมรดกวัฒนธรรมจากการโจมตีของกองทัพรัสเซีย

การบุกรุกของรัสเซียในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ในยูเครนกลายเป็นจุดอันตรายและเสี่ยงเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ ชาวยูเครนมากกว่า 3 ล้านคนต้องอพยพข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันชาวยูเครนจำนวนหนึ่งยังคงต้องปักหลักอยู่ในประเทศ เพื่อต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ปกป้องบ้านเมือง คุ้มครองชีวิตผู้คน รวมไปถึงรักษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของยูเครนไว้ Kharkiv Art Museum ในเมืองคาร์คิฟ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน คือหนึ่งในคอลเลกชันงานศิลปะและศิลปะประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในยูเครน โดยรวบรวมผลงานไว้มากกว่า 25,000 ชิ้น เมื่อไม่นานมานี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เสียหายจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพรัสเซียในพื้นที่ใกล้เคียง แรงระเบิดทำให้ประตูและหน้าต่างแตกกระจัดกระจาย ส่วนภายในอาคารยังมีฝุ่นปกคลุมไปทั่ว เมื่อประตูและหน้าต่างของอาคารแตกเป็นเสี่ยงๆ ผลงานศิลปะจัดแสดงและแขวนอยู่สัมผัสกับอุณหภูมิเยือกแข็งและหิมะจากภายนอกติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งความชื้นและอากาศเย็นจัดอาจทำให้งานศิลปะที่ทรงคุณค่าเหล่านี้เสียหายได้ ตอนนี้เจ้าหน้าที่ของ Kharkiv Art Museum จึงพยายามนำผลงานไปเก็บรักษาให้ได้มากที่สุด ความย้อนแย้งก็คือศิลปะจำนวนมากที่พิพิธภัณฑ์ต้องป้องกันจากกองทัพรัสเซียก็คือ ผลงานที่รังสรรค์โดยศิลปินชาวรัสเซียเอง Maryna Filatova หัวหน้าแผนกศิลปะต่างประเทศของ Kharkiv Art Museum แสดงความคิดเห็นว่า “ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาต้องเป็นคนประเภทไหน ถึงกล้าฆ่าประชาชน โจมตีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทำลายศิลปะทางวัฒนธรรมได้ลงคอ” Filatova ยังเปิดเผยอีกว่า พิพิธภัณฑ์จะประเมินความเสียหายทั้งหมดได้ก็ต่อเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ดังนั้น พวกเธอจะพยายามทำเต็มที่เพื่อรักษาศิลปะทั้งหมดไว้ นอกจาก Kharkiv Art Museum ตอนนี้ศิลปิน แกลเลอรี […]

ชวนดูเรื่องรักวุ่นๆ ใน Business Proposal ซีรีส์เกาหลีแนวรอมคอมใน Netflix ที่ไม่ได้มีดีแค่ตลก แต่ยังแฝงประเด็นร่วมสมัย

ในช่วงเวลาที่หลายคนกำลังปวดหัวกับสถานการณ์บ้านเมือง ไหนจะต้องกลับมากังวลใจจากยอดผู้ป่วยที่พุ่งสูงรายวัน ไหนจะปวดหัวกับน้ำมันแพง ไหนจะความลุ่มๆ ดอนๆ ของรัฐบาลที่ไม่เห็นจะแก้ไขอะไรได้สักอย่าง เราอยากชวนทุกคนมารีแลกซ์ด้วยการยิ้มและหัวเราะไปกับ Business Proposal ซีรีส์เกาหลีแนวรอมคอมที่เพิ่งฉายไป 6 ตอน แต่คว้าอันดับ 1 ใน Netflix Thailand เรียบร้อยแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้สร้างจากนิยายและ Webtoon ที่ได้รับความนิยมทั้งในเกาหลีและหลายประเทศทั่วโลก โดยพลอตเรื่องคลิเชๆ แบบที่คอรอมคอมคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่มันดันสนุกและร่วมสมัยมากแบบที่อยากให้ฉายทุกวันเลย เรื่องราวของ ‘ชินฮารี’ สาวออฟฟิศที่ไปนัดบอดแทนเพื่อน เพื่อทำให้อีกฝั่งปฏิเสธให้ได้ ทว่าแผนดันผิดพลาดเพราะผู้ชายคนนั้นคือ ‘คังแทมู’ CEO บริษัทที่เธอทำงานอยู่ สุดท้ายชินฮารีต้องตกกระไดพลอยโจนคบกับคังแทมูแบบหลอกๆ โดยที่ต้องปกปิดตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไปด้วย เรื่องราววุ่นวายอลหม่านจึงเกิดขึ้น นอกจากได้นักแสดงฝีมือดีอย่าง อันฮโยซอบ, คิมเซจอง, คิมมินกยู และ ซอลอินอา มารับบทตัวละครหลักแล้ว ความน่าสนใจของซีรีส์เรื่องนี้คือ การหยิบเอาความรอมคอมที่เป็นเหมือนภาพจำของสื่อบันเทิงเกาหลีมาปัดฝุ่นปรับให้ร่วมสมัยขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์ ความน่ารัก ความตลก และจังหวะฮาๆ เรียกว่าไม่มีสักนาทีที่น่าเบื่อหรือชวนอิหยังวะเลย เพราะถ้าตั้งใจดูดีๆ จะเห็นเลยว่า Business Proposal สอดแทรกประเด็นร่วมสมัยไว้อย่างแยบคาย ไม่ว่าจะการบริหารงานของ […]

20 ปี สถานีวิทยุ BBC 6 Music จากเกือบถูกปิดสู่ช่องเพลงอันดับหนึ่งของเกาะอังกฤษ

ยุคสมัยนี้เราคงเห็นคนพกพาวิทยุ หรือปรับคลื่นหาช่องที่ถูกใจน้อยลงทุกที สวนทางกับกระแสสตรีมมิงเพลง เลือกฟังเพลงโปรดตลอด 24 ชั่วโมงที่ได้รับความนิยมมากขึ้น  แต่กระแสกลับไม่ได้เป็นเช่นนี้ในเกาะอังกฤษ เพราะช่องเพลงวิทยุ BBC 6 Music ได้รับความนิยมเป็นสถานีเพลงที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ และสถิติตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ฟังทั้งสิ้นกว่า 2.6 ล้านคนเลยทีเดียว  วันที่ 11 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นหมุดหมายครบรอบ 20 ปี ของการก่อตั้งช่อง 6 Music ภายใต้ BBC สื่อสาธารณะของประเทศอังกฤษ และการตั้งสถานี 6 Music ขึ้นมานั้นถือว่าเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในรอบ 32 ปีที่ดำเนินงานโดยสาธารณะ  อะไรที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ช่องวิทยุยังยืนหยัดอยู่ได้และได้รับความนิยมขนาดนี้? คำอธิบายอาจจะโยงไปถึงเรื่องวัฒนธรรมการฟังเพลงของคนอังกฤษ แต่แง่มุมหนึ่งที่เด่นชัดของช่อง 6 Music คือการมีจุดยืนว่าจะเล่นเพลงกระแสที่หลากหลาย เปิดพื้นที่ให้กับแนวเพลงที่มักจะถูกกลบด้วยการตลาด แต่ช่อง 6 Music ก็เจอกับกระแสมรสุม 8 ปีนับจากเปิดดำเนินการครั้งแรก ในปี 2010 ผู้อำนวยการสถานี […]

ชวนลงชื่อยกเลิกภาษีผ้าอนามัย และแจกผ้าอนามัยฟรีให้ผู้มีประจำเดือน เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับสภาวะขาดแคลน หรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผ้าอนามัยมีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตรารายได้หรือค่าครองชีพ ทำให้ผู้หญิงและเด็กหลายคนต้องสูญเสียโอกาสทางการงานและการศึกษาเมื่อมีประจำเดือน เพราะเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน ย้อนไปวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ‘ภาษีผ้าอนามัย’ กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สังคมให้ความสนใจในวงกว้าง หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้ ‘ผ้าอนามัยแบบสอด’ เป็น ‘เครื่องสำอาง’ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 หมายความว่าจะมีการเก็บภาษีสินค้าชนิดนี้เพิ่มจาก 7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนมากไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นว่า ผ้าอนามัยไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของผู้หญิง และรัฐบาลไม่ควรผลักภาระทางภาษีให้กับประชาชน ทว่า หลังจากเกิดกระแสดราม่าไม่กี่วัน ด้านกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรได้แถลงการณ์ชี้แจงว่า การประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี แต่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมสินค้าตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น พร้อมยืนยันว่าผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย 30 เปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อสิทธิสตรี นักเคลื่อนไหว และประชาชนหลายรายยังคงมองว่า ผ้าอนามัยควรเป็นสินค้าปลอดภาษีที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเดินหน้ารณรงค์และเคลื่อนไหวให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากราคาผ้าอนามัย […]

เรียนรู้ความเหงา และฟังเรื่องเล่าของคนอื่น ในภาพยนตร์ ‘Call Me Chihiro’ ที่ Netflix

“มีลูกค้าคนหนึ่งเคยบอกฉันว่า เราเป็นมนุษย์ต่างดาวในร่างมนุษย์ ว่ากันว่าคนเราเหมือนกันหมด แต่ความจริงคือเรามาจากดาวคนละดวงกัน ก็ไม่แปลกที่เราจะไม่เข้าใจกัน” ‘Call Me Chihiro’ เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากมังงะชื่อ Chihiro-san วาดโดย Hiroyuki Yasuda (Shomuni) ที่เพิ่งเข้าฉายทาง Netflix เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้กำกับดาวรุ่งอย่าง ‘ริกิยะ อิมาอิซูมิ’ (Rikiya Imaizumi) ที่ล่าสุดได้รับรางวัลบนเวที Tokyo International Film Festival จากภาพยนตร์เรื่อง By the Window (2022) มาถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกที่เราอาจต่างเคยประสบมา นอกจากนี้ยังได้ ‘คาสุมิ อาริมูระ’ (Kasumi Arimura) มารับบทนักแสดงหลักชื่อ ‘จิฮิโระ’ หญิงสาวผู้เลือกพลัดถิ่นจากครอบครัว และเคยมีตัวตนเป็น Sex Worker ดาวเด่น แต่ในสถานะปัจจุบันของชีวิต เธอเป็นพนักงานร้านขายข้าวกล่องในเมืองห่างไกลริมชายฝั่ง ผู้มีบาดแผลและความรู้สึกอันหลากหลายที่เก็บงำเอาไว้  เรื่องราวแต่ครั้งก่อนของจิฮิโระ ค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาทุกฉากตอนที่ตัวละครผ่านไปพบเจอผู้คนใหม่ๆ ในเมืองแห่งนี้ ไล่ไปตั้งแต่ชายชราคนจรผู้เร่ร่อนไม่มีหลักแหล่ง หญิงสาววัยมัธยมฯ ที่มีครอบครัวเพียบพร้อมทั้งเงินทองและเวลา […]

โปรโมตการท่องเที่ยวแนวใหม่ในญี่ปุ่น ที่ชวนคนมาเที่ยวมัตซึซากิ ล่าหมูป่า ในค่ายซอมบี้ที่รับบทโดยผู้สูงอายุ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องไอเดียบรรเจิดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็มีสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ‘ช่างคิดได้’ จริงๆ ล่าสุดที่เมืองมัตซึซากิ จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งเล็กๆ ในญี่ปุ่น มีไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวที่ดูแปลกแต่น่าสนุกสุดๆ เพราะเขาไม่ได้เปิดเมืองให้แค่ไปท่องเที่ยวแบบธรรมดา แต่เขาให้เราไปเที่ยวค่ายซอมบี้! และซอมบี้ทั้งหมดรับบทโดยผู้สูงอายุในเมืองนี้ด้วย ในคลิปโปรโมตการท่องเที่ยวของเมืองมัตซึซากิ จะมีชายคนหนึ่งชื่อ ‘คาเนะมัตซึ’ กำลังบันทึกภาพตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ตัดสลับกับภาพกิจกรรมกลางแจ้งที่เขาทำตอนมาถึงเมืองมัตซึซากิ มีทั้งการล่าหมูป่า เดินเขา เก็บส้ม ปั่นจักรยาน จนกระทั่งมาเผชิญหน้ากับซอมบี้และหนีมาหลบอยู่ในภูเขา เพื่ออัปโหลดวิดีโอให้ทุกคนดูว่าตอนนี้เขากำลังเจอซอมบี้ไล่ล่าอยู่ เขายังอธิบายวิธีเอาตัวรอดเอาไว้ว่า “ให้กลั้นหายใจเวลาเจอซอมบี้” นอกจากนี้ยังมีฉากที่คาเนะมัตซึเจอซอมบี้อยู่ในทุกๆ ที่ ทั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะในเมือง ที่พัก บนเขา จนกระทั่งเขาถูกกัดและกลายเป็นซอมบี้ในที่สุด ทุกอย่างในคลิปดูสมจริงเอาใจคนรักหนังซอมบี้แบบสุดๆ  แต่จริงๆ แล้วเมืองมัตซึซากิยังไม่มีใครติดเชื้อซอมบี้จริงๆ คลิปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว ‘ค่ายซอมบี้’ ประจำปีของเมืองมัตซึซากิ เมืองเล็กๆ ในชนบทบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอิซุ และมีประชากรประมาณ 6,000 คนเท่านั้น (ซึ่งไม่มีตัวเลขยืนยันว่าเป็นคนจริงๆ กี่คน และรับบทซอมบี้กี่คน) โชคไม่ดีที่การแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังมัตซึซากิลดลง และทำการล่าสัตว์ลดน้อยลงไปด้วย ปริมาณกวางและหมูป่าในเมืองจึงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และสร้างความเสียหายให้กับการส่งออกใบซากุระโมจิซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่ หน่วยงานควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ของเมืองมัตซึซากิหวังว่าการโปรโมตการท่องเที่ยวค่ายซอมบี้ในครั้งนี้ จะช่วยเรียกนักท่องเที่ยวกลับมาที่เมืองนี้ได้อีกครั้ง แต่ไม่ใช่แค่เพื่อมาดูซอมบี้เท่านั้น พวกเขายังต้องการนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการล่าสัตว์เพราะต้องการควบคุมประชากรกวางและหมูป่าในเมืองด้วย นอกจากการล่าสัตว์แล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมเดินเขา […]

รีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งใหญ่ฉลอง 100 ปี ร่วมชมนิทรรศการโครงการปรับปรุงสวน วันนี้ – 20 มี.ค. 65 ที่ศาลาภิรมย์ภักดี

หลังจากที่สวนเบญจกิติได้อัปเกรดและรีโนเวตพื้นที่จนเปิดให้บริการแก่ประชาชนไปแล้วเมื่อช่วงต้นปี คราวนี้ถึงทีของสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยอย่างสวนลุมพินีกันบ้าง ซึ่งการรีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองครบ 100 ปีสวนลุมฯ ในปี 2568 เป้าหมายของการปรับปรุงสวนลุมฯ ในวาระครบ 100 ปี คือการทำให้ที่นี่เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะ โดยมีแนวคิดหลักในการออกแบบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ การคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการยุคใหม่ และมีการออกแบบเพื่อคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ การรีโนเวตแบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกเริ่มต้นโครงการที่บริเวณถนนแกนกลางสวนฯ ประกอบด้วย งานปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน และงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และงานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สวนลุมพินี 100 ปี ส่วนเฟสที่ 2 ได้แก่ การปรับปรุงพื้นที่ส่วนที่เหลือของสวนลุมพินีทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนต่างๆ ประกอบด้วย สวนน้ำช่วยเมือง สวนป่าและกิจกรรมยุคใหม่ จุดเชื่อมต่อสะพานเขียว ลานรอบอาคารบันเทิง สวนจีน โรงอาหารและสวนผักในเมือง สวนเพื่อการเรียนรู้ และชมรมกับกิจกรรมนันทนาการ ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และพื้นที่กายภาพต่างๆ รวมถึงก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น […]

รถไฟ JR ญี่ปุ่นทดลองวิ่งไร้คนขับช่วงกลางวันเป็นครั้งแรก!ตั้งเป้าพัฒนาใช้จริงปี 2027

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless) กันมาบ้างแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร ถ้ามีขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟที่ขับเคลื่อนบริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีนี้บ้างล่ะ? อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศที่ขนส่งทางรางเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันอย่างญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รถไฟ JR สายตะวันออกได้ทดลองวิ่งด้วยระบบไร้คนขับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลากลางวัน ก่อนเริ่มให้บริการรอบแรกของวัน การทดลองวิ่งเป็นไปตามเส้นทางวงกลม 34.5 กิโลเมตรตลอดสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญที่วิ่งรอบโตเกียวและมีผู้ใช้บริการกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน  การทดลองวิ่งครั้งนี้ไม่มีผู้โดยสารอยู่ในตัวรถ มีเพียงคนขับรถคอยตรวจตราความเร็ว หรือความตรงเวลาของระบบ แต่ก็นับเป็นหมุดหมายสำคัญได้เลย เพราะการทดลองวิ่งแบบไร้คนขับครั้งที่ผ่านมานั้นทดสอบในช่วงเวลากลางคืน และการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านั่นเอง  ทำไมทางญี่ปุ่นถึงต้องนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับรถไฟ คำตอบคือ ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่คนวัยทำงาน ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในขนส่งสาธารณะอย่างการขับรถไฟ และพนักงานส่วนใหญ่ก็จะเกษียณอายุงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้  แม้ทางบริษัท JR จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างพนักงานที่เกษียณไปแล้วมาทำงาน แต่นั่นก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และคำถามสำคัญเมื่อนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับขนส่งสาธารณะคือประเด็นเรื่องความปลอดภัย เช่น การหยุดรถกะทันหันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถจะจอดตรงจุดจอดสถานีหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้คือโจทย์ที่รัฐต้องร่วมกันอุดช่องโหว่กันต่อไป Sources Mainichi | https://bit.ly/3t3UZuU Nikkei Asia […]

1 88 89 90 91 92 144

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.