‘Steinway Tower’ ตึกบางที่สุดในโลกเปิดให้เข้าอาศัย พร้อมวิวนิวยอร์ก 360 องศา

ลองจินตนาการว่าคุณอยู่บนตึกสูงเสียดฟ้า และมองไปด้านไหนก็จะเห็นวิวของกรุงนิวยอร์ก ทั้งตึกสูงข้างๆ กัน และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง Central Park  แต่ถ้ามองจากภายนอกแล้ว ตึกที่คุณอยู่นี้จะเป็นเหมือนดินสอหรือไม้คนกาแฟ เพราะมีความกว้างที่บางเฉียบถ้าเทียบกับตึกทั่วไป นั่นคือกว้างไม่ถึง 20 เมตร เรากำลังพูดถึง ‘Steinway Tower’ ตึกระฟ้าในเมืองแมนแฮตตัน กรุงนิวยอร์ก หลังจากสร้างเสร็จในปี 2021 ตึก Steinway แห่งนี้ก็ถูกนับว่าเป็นตึกระฟ้าที่บางที่สุดในโลกทันที ด้วยความกว้าง 18 เมตร และความสูง 1,426 ฟุต (หรือ 434 เมตร ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกภาพตึกมหานครในกรุงเทพฯ ที่สูง 314 เมตร) ตึกแห่งนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ บ้านในอดีตของครอบครัวนักสร้างเปียโนแบรนด์ชื่อดังอย่าง ‘Steinway’ และฮอลล์คอนเสิร์ตที่สร้างเสร็จในปี 1925 และส่วนที่ต่อเติมขึ้นมาและเพิ่งสร้างเสร็จเป็นโซนอะพาร์ตเมนต์หรูซึ่งมี 84 ชั้น และแบ่งเป็น 46 ห้อง ซึ่งเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2015  แต่ละชั้นจะมีเพียงอะพาร์ตเมนต์ห้องเดียวเท่านั้น และในแต่ละห้องนั้นจะมองเห็นวิวของเมืองนิวยอร์กได้รอบ 360 องศา เลยทีเดียว  […]

แชร์เรื่องนมๆ ปลดปล่อยปัญหาบราบรา ในงาน Boobs On Vacation 14 – 20 เม.ย. 65 ลิโด้ คอนเน็คท์

หน้าร้อนแบบนี้ ปัญหาที่คนมีนมต้องเจอแน่ๆ คือความอับชื้นที่เกิดจากอากาศร้อนจนทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันถ้าบราที่ใส่ยิ่งไม่รองรับสรีระหรือทำจากวัสดุที่สวมแล้วร้อน อึดอัด ก็ยิ่งทำให้ไม่สบายตัวเข้าไปอีก การโนบราหรือไม่ใส่บรา จึงกลายเป็นเทรนด์มาแรงของคนมีนมในยุคสมัยนี้ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้โนบราในหมู่คนมีนมด้วยกัน เพื่อความสบายตัวอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันก็ใช่ว่าทุกคนจะรู้สึกสบายใจกับการโนบราออกไปข้างนอก พวกสินค้าจำพวกบราที่ใส่แล้วเหมือนไม่ใส่จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ นอกจากสวมแล้วไม่อึดอัด สบายตัว ยังเป็นการปล่อยให้นมได้พักอีกด้วย แต่ใครที่ยังไม่แน่ใจกับวิธีการนี้ หรือกระทั่งอยากรู้เรื่อง ‘นม’ ของตัวเองให้มากขึ้น วันที่ 14 – 20 เมษายน 2565 เวลา 10.30 – 20.30 น. แบรนด์ชุดชั้นใน Jollynn (โจลีน) ได้จัดงานที่มีชื่อน่ารักๆ ว่า ‘Boobs On Vacation ให้นมได้พักผ่อน’ ในรูปแบบ Pop-up Experience ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ ภายในงานได้มีการเปิดพื้นที่ให้เจ้าของนมทุกคนมาแลกเปลี่ยน และปลดปล่อยปัญหานมๆ ที่ทุกคนล้วนต้องพบเจอกันอย่างสนุกๆ ผ่านกิจกรรม ‘ทำไมนมต้องพักผ่อน’ กับการชวนมาแชร์ถึงปัญหาบรา บรา, กิจกรรมพื้นที่ปลด-ปล่อย กับการเป็นตัวเองอย่างเต็มที่กับตู้ถ่ายรูปสุดฮิต และกิจกรรมร่วมโหวตฟีเจอร์ของบราที่คุณมองหา เป็นต้น […]

Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่ชวนคนลด Food Waste ด้วยการกิน

ในแต่ละวันมีอาหารที่ผลิตมาเกินความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าแต่ละร้านจะคำนวณการผลิตให้พอดีต่อความต้องการของผู้บริโภคแล้ว แต่แทบทุกวัน และแทบทุกร้านจะต้องมี ‘อาหารส่วนเกิน หรือ Surplus Food’ ที่ไม่มีใครซื้อเกินมาเสมอ จนกลายเป็นอาหารเหลือทิ้งหรือเกิด Food Waste ขึ้นเสมอ เพื่อแก้ปัญหานี้ Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารที่ต้องการจะช่วยให้โลกมีขยะอาหารน้อยลง จากการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) และช่วยให้คุณได้กินของอร่อยที่มีคุณภาพและราคาสบายกระเป๋า Food Matter เป็นธีสิสของ กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ นักศึกษาปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) ที่สนใจประเด็นเรื่องอาหารเหลือทิ้ง อยากหาวิธีช่วยลดขยะอาหาร เพราะเชื่อว่าอาหารดีๆ เหล่านี้ควรถูกกิน มากกว่าถูกทิ้งลงถังขยะ  เนื่องจากเป็นธีสิส Food Matter จึงอยู่ในช่วงทดลองใช้ และเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 – 22 เมษายน 2565 นี้เท่านั้น และเปิดให้เราสั่งซื้อได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ในเวลา 18.00 – 19.00 น. เท่านั้น กรีนเล่าให้ฟังถึงการทำงานหลังบ้านของ […]

อะพาร์ตเมนต์แคปซูลในโตเกียวกำลังจะถูกทุบทิ้ง ข่าวดีคือแคปซูลบางส่วนจะถูกรักษาไว้ และนำไปจัดแสดงทั่วโลก

หลังจากผ่านการพูดคุยกันมาหลายเดือน ตอนนี้ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า Nakagin Capsule Tower หรืออะพาร์ตเมนต์แคปซูลที่โด่งดังของโตเกียวกำลังจะถูกรื้อถอนในวันที่ 12 เมษายนนี้ แต่ข่าวดีก็คือแคปซูลบางส่วนจะได้รับการเก็บรักษาและนำไปสร้างใหม่ และยังมีแผนจะจัดแสดงแคปซูลเหล่านี้ในพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกอีกด้วย อะพาร์ตเมนต์ที่มีรูปลักษณ์ราวกับหลุดออกมาจากภาพยนตร์ไซไฟดิสโทเปีย ถูกออกแบบโดย Kurokawa Kisho ผู้เป็นสถาปนิกชื่อดังของญี่ปุ่น อาคารแห่งนี้ถือว่ามีเอกลักษณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโตเกียว ซึ่งไปปรากฏตัวในพื้นที่สื่อบ่อยครั้ง รวมถึงเซตภาพถ่ายจาก Norita Mikami ซึ่งเผยให้เห็นแต่ละห้องภายในอาคาร ซึ่งบางห้องก็ดูราวกับหอบังคับยานอวกาศ ในขณะที่บางห้องก็ตกแต่งราวกับหอพักนักศึกษา และนับตั้งแต่ก่อสร้างขึ้นมาในปี 1972 อาคารหลังนี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบ Metabolism ในโตเกียวมาโดยตลอด ตามรายงานระบุว่า เจ้าของใหม่ของอาคารหลังนี้ตั้งใจจะพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างลักษณะใด ซึ่งการตัดสินใจรื้ออะพาร์ตเมนต์แคปซูลก็ได้มีการพูดคุยกันมาตลอดหลายปีให้หลัง เพราะโครงสร้างที่ไม่ปลอดภัยและไม่สอดรับกับมาตรฐานแผ่นดินไหวในปัจจุบัน นับตั้งแต่ปี 2018 Nakagin Capsule Tower เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจลองเข้ามาพักแบบรายเดือน และเวลาราวสองปีครึ่งที่ผ่านมาก็มีผู้แวะเวียนเข้ามาพักกว่า 200 คน และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของการพัฒนาที่พักแบบแคปซูลทั่วประเทศญี่ปุ่นด้วย

‘ไม่ว่างมองฟ้า’ นิทรรศการภาพถ่าย เล่าถึงชีวิตคนที่ต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน ชมฟรีถึง 30 เม.ย. 65 ที่ ปรีดี พนมยงค์ 42

‘ทำงานจนไม่มีเวลามองฟ้า’ เราเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยประสบหรือกระทั่งตอนนี้ก็ยังอยู่ในภาวะข้างต้นนี้อยู่ อย่างที่ทราบกันว่าการมีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ถ้าไม่ได้มีต้นทุนที่ดี บ้านมีฐานะมาก่อน คนก็จำต้องก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อหาเงินมาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานก่อสร้าง เกษตรกร นักร้อง หรือดาราก็ตาม เพราะต้องดิ้นรนทำงานหนักในอุตสาหกรรมเพลงที่รัฐไม่สนับสนุน ทำให้ ‘AUTTA’ เลือกทำเพลงที่มีชื่อว่า ‘ไม่ว่างมองฟ้า’ ออกมาบอกเล่าถึงชีวิตของตัวเองและคนทำอาชีพอื่นๆ ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนไม่มีเวลาเงยหน้าชื่นชมความสวยงามของท้องฟ้า (ฟังได้ที่ youtube.com/watch?v=_ItZdG8P8qY)  นอกจาก Music Video เพลงที่ถ่ายทอดถึงชีวิตของคนทำงานอาชีพต่างๆ และภาพที่พวกเขามองเห็นแล้ว ‘AUTTA’ ยังร่วมมือกับ ‘SEESAN’ หรือ สรรพัชญ์ วัฒนสิงห์ ช่างภาพฝีมือดีผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายเหล่าศิลปินระดับประเทศ ทำนิทรรศการภาพถ่าย ‘AUTTA – ไม่ว่างมองฟ้า’ โดยมีคอนเซปต์เป็นแก่นเพลงนี้ที่ว่าด้วยการก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลามองหาความสวยงามบนท้องฟ้า สรรพัชญ์เล่าว่า เขาตั้งใจนำเสนอภาพที่เหล่าคนทำงานหลากหลายอาชีพต้องจดจ้องในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง คนขับตุ๊กตุ๊กกับภาพแฮนด์พาหนะที่เขาใช้ทำมาหากิน ช่างแต่งหน้ากับภาพเครื่องสำอางที่เรียงราย ดารากับภาพรถตู้ที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในนั้นทั้งวัน เป็นต้น  “พอไปถ่ายภาพคนทำงานต่างอาชีพ เราก็ได้พูดคุยกับพวกเขา อย่างคนทำงานแรงงานจะมีปัญหาที่รุนแรง ต้องทำงานหนักมากเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกันคนที่ดูเหมือนทำงานสบาย เขาก็มีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น เราคิดว่าต้นตอหลักๆ ของปัญหาทั้งหมดนี้คือความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายมันไม่ใช่แค่เรื่องของการมีเวลามองความสวยงามของท้องฟ้า แต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตคนทำงานด้วย” […]

โอกาสครอบครอง ‘Naked Woman Reclining’ ผลงานหายากของ ‘ปาโบล ปิกัสโซ’ กับการเปิดประมูลสาธารณะครั้งแรกในโลก

เชื่อว่าหลายคนพอจะคุ้นเคยหรือเคยเห็นภาพวาดสีน้ำมันอันฉูดฉาด มีส่วนประกอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมอยู่ในชิ้นงาน  ภาพวาดเหล่านั้นคือผลงานของ ‘ปาโบล ปิกัสโซ’ จิตรกรชาวสเปนที่ถูกจดจำจากการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้รูปทรงเรขาคณิต หรือที่เรียกว่าบาศกนิยม (Cubism) มาอยู่ในผลงานของตัวเอง  ตลอดชีวิตการเป็นศิลปินของปิกัสโซนั้น เขาได้ผลิตงานทางจิตรกรรมกว่าหมื่นชิ้น และในช่วงปีทศวรรษ 1930 นั้น นับว่าเป็นช่วงหนึ่งที่เขาผลิตผลงานเลื่องชื่อมากมาย และหนึ่งในนั้นคือผลงาน ‘Femme nue couchée’ (Naked woman reclining – การเอกเขนกของหญิงสาวผู้เปลือยเปล่า) ที่ผลิตออกมาในปี 1932 ซึ่งแสดงถึงความรักความหลงใหลของปิกัสโซที่มีต่อคนรักแบบแอบๆ ซ่อนๆ ของเขาคือ ‘มารี วอลเตอร์ (Marie Walter)’  ภาพสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีหลายขา ‘Naked Woman Reclining’ นี้ เป็นหนึ่งในหลายภาพที่ปิกัสโซวาดถึงมารี วอลเตอร์ เปรียบตัวตนความเป็นนักว่ายน้ำของเธอเข้ากับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และยังแสดงให้เห็นถึงความรักและความหลงใหลที่จิตรกรมีต่อเธอ  เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทางบริษัทจัดประมูล Sotheby’s ประกาศว่าจะนำผลงานชิ้นนี้ของปิกัสโซออกมาประมูลในเดือนพฤษภาคม น่าสนใจว่าการประมูลครั้งนี้นับเป็นการประมูลสาธารณะครั้งแรกหลังผู้ประมูลได้รับผลงานชิ้นนี้มาจากทายาททางสายเลือดของปิกัสโซในปี 2006  การประมูลครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนกระเป๋าหนักและสนใจเก็บสะสมงานศิลปะ […]

Tinder แจกฟรี! Explore Guide รวมแหล่งแฮงเอาต์ กิน-ดื่ม-เที่ยว จาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่

หลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับ ‘Tinder’ หนึ่งในแอปพลิเคชันหาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 40 ภาษาในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก นอกจาก Tinder จะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยผู้ใช้งานตามหา ‘คู่แมตช์’ ที่อาจพัฒนาเป็นคนรู้ใจในอนาคต แอปพลิเคชันนี้ยังพร้อมช่วยสร้างคอนเนกชันใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่มีความชอบและไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันด้วย ล่าสุด Tinder ได้เปิดตัว ‘Tinder Explore Guide’ ดิจิทัลไกด์บุ๊กรวบรวมสถานที่กิน ดื่ม เที่ยว และทำกิจกรรม เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันได้เชื่อมต่อและสัมผัสประสบการณ์แบบออฟไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นการคัดเลือกร้านโปรดจาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่ ได้แก่  1) มีเธอ ลพอุทัย TikToker ชื่อดัง tiktok.com/@meturr 2) มิ้น-มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้องและนักแสดง instagram.com/mint.tita 3) ต๋อง-อานนท์ ธิติประเสริฐ บาริสต้าแชมป์โลกและเจ้าของร้าน Roast8ry instagram.com/ristr8to/ 4) เชฟชานนท์-ชานนท์ เรืองศรี ผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 3 instagram.com/chacn_ […]

ถึงโลกในปี 2022 จะเปิดกว้างและผู้คนก็ดูเหมือนจะเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น รวมทั้งมีกฎหมายหรือนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ทุกเพศอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ทำให้สังคมค่อย ๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความพยายามที่จะทลายมายาคติผิด ๆ ที่ติดเป็นภาพจำเก่า ๆ ของกลุ่มเพศทางเลือก แต่อคติหรือความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ในสื่อออนไลน์ ละคร/ภาพยนตร์ ข่าว หรือแม้แต่ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ข่าวการจำกัดคุณสมบัติตอนรับสมัครงาน ว่าไม่รับ LGBTQ (ในข่าวใช้คำว่าสาวสอง) รับเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น หรือการตั้งธงว่า ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ย่อมเหมาะกับการเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร ส่วนผู้หญิงจะมีความละเอียดละออ จึงเหมาะกับงานเอกสาร หรือเลขาฯ หรือแม้แต่คำพูดติดปากในที่ทำงาน สวัสดิการ ไปจนถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เมื่ออคติทางเพศยังไม่หายไปจากบริบทต่าง ๆ รวมทั้งในที่ทำงาน  UN Women จึงอยากชวนทุกคนมาทำเซอร์เวย์ออนไลน์เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีแนวโน้มที่จะมีอคติทางเพศในที่ทำงานหรือไม่ พร้อมทั้งเรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใกล้ตัว โดยที่เราอาจไม่รู้มาก่อนในเรื่องอคติทางเพศ ซึ่งเมื่อทำเซอร์เวย์ครบทุกข้อ นอกจากจะได้ขจัดอคติของตัวเองแล้ว ยังได้ผลลัพธ์เป็นสปิริตหน้าตาน่ารัก ๆ 3 แบบ – Cloudy, Binder และ Rainbow แทนระดับการมีอคติทางเพศที่ต่างกัน เอาไว้แชร์และบอกต่อเพื่อน ๆ […]

Ubon Agenda 2022 ปฏิบัติการศิลปะรำลึก 121 ปี ‘ผู้มีบุญ’ แห่งศึกโนนโพธิ์ จังหวัดอุบลฯ

ใครเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ‘ผู้มีบุญ’ หรือ ‘กบฏผีบุญ’ บ้าง? ย้อนไป พ.ศ. 2444 หมู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เคยเป็นพื้นที่สังหารแห่ง ‘ศึกโนนโพธิ์’ ที่รัฐสยามในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านอำนาจภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ผู้มีบุญ’ การปะทะกันครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายผู้มีบุญ  ผู้แพ้ที่รอดชีวิตจำนวนหนึ่งถูกทหารสยามจับตัวไปที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ส่วนผู้แพ้ที่เหลือแค่วิญญาณถูกตัดหัวเสียบประจาน ร่างถูกทิ้งกองรวมในบ่อดิน ทั้งหมดถูกตั้งชื่อประณามว่าเป็น ‘กบฏผีบุญ’ เพื่อผลักความเป็นมนุษย์ออกจากผู้มีบุญ เพราะการใช้คำว่า ‘ผี’ ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปีศาจที่ต่ำกว่าสัตว์ เช่น ควาย หมู และหมา ส่วนวาทกรรม ‘กบฏ’ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐไทยในสมัยนั้น เมื่อเพิ่มคำว่ากบฏจึงหมายความว่า ‘ฆ่าได้’ ส่วนการต่อสู้ระหว่างรัฐและกบฏผู้มีบุญนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ เช่น ความกดดันจากการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจในการรวมศูนย์อำนาจและรีดเก็บส่วยของรัฐสยาม ที่สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับชาวอีสานอย่างมาก เป็นต้น ทว่า การต่อสู้ของชาวบ้านและความตายของเหล่าผู้มีบุญกลับไม่ถูกพูดถึง ไม่มีในตำราเรียน และไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่อย่างใด เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาจากลูกหลานของคนในหมู่บ้านสะพือ และจากการรวบรวมหลักฐานและเอกสารจำนวนมาก ศึกโนนโพธิ์และความตายของผู้มีบุญจึงเป็นประวัติศาสตร์ดำมืด ที่อาจถูกกาลเวลากลบฝังไม่วันใดก็วันหนึ่ง 121 ปีผ่านไป […]

‘When We Live Alone’ สารคดีสำรวจความโดดเดี่ยวของชีวิตคนเมือง เปิดให้ชมออนไลน์ฟรีถึง 15 เม.ย. นี้

คุณเหงาไหม?  ที่ถามคำถามนี้อาจจะไม่ได้ชวนตอบกลับตรงๆ แต่อยากชวนทุกคนสำรวจความรู้สึก วิถีชีวิตของเราในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร อยู่คนเดียวบ่อยไหม รู้สึกเหงาบ้างหรือเปล่า คำถามเล็กๆ แบบนี้เป็นประเด็นตั้งต้นของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘When We Live Alone’ สารคดีที่จะพาเราสำรวจวิถีชีวิตที่ปัจจุบันผู้คนในเมืองมีแนวโน้มอยู่คนเดียวมากขึ้น เชื่อมโยงให้เห็นแนวโน้มการปรับเปลี่ยนของรูปแบบที่อยู่อาศัย ไปจนถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจกันเลยว่ามีส่วนกับความรู้สึกของเขาขนาดไหน (และในทางกลับกัน)  สารคดีความยาวครึ่งชั่วโมงจะพาเราตั้งต้นที่ประเทศญี่ปุ่น จากวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในเมืองหลวงอย่างโตเกียว แนวทาง แนวคิดการใช้ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นเป็นอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในเมืองเป็นแบบไหน ทั้งที่เมื่อ 20 ปีก่อน เมืองหนึ่งเมืองของญี่ปุ่นนั้นเปรียบเสมือนบ้าน เช่น ไปโรงอาบน้ำ ทานอาหารที่ร้านอาหาร หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ แต่ตอนนี้การใช้ชีวิตทุกอย่างรวมอยู่ในห้องห้องเดียวได้ ประเด็นเหล่านี้จะชวนฉายปมไปถึงเรื่องที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงไปให้ตอบรับกับวิถีชีวิตแบบนี้  สารคดีจะเล่าประเด็นเหล่านี้ผ่านชีวิตของผู้คนที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวง นักเรียนนักศึกษา จนถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น สำรวจวิถีชีวิตของพวกเขาและสถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย รวมทั้งสอดแทรกมุมมองทางสถาปัตยกรรมที่จะชวนคิดกลับมาสะท้อนชีวิตประจำวันของพวกเรา  ‘When We Live Alone’ เป็นผลงานกำกับของ Daniel Schwartz และอำนวยการสร้างโดยศูนย์สถาปัตยกรรมแคนาดา (Canadian Centre for Architecture – CCA) เป็นหนึ่งในสามซีรีส์สารคดีที่จะชวนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของเมืองในแง่มุมทางสังคมและสถาปัตยกรรม เรื่องแรกที่เผยแพร่ในปี 2019 ชื่อว่า ‘What […]

เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็นร้อนในสังคมผ่านพื้นที่ถกเถียงใน ‘That Mad Podcast’ Video Podcast จาก That Mad Woman

เราเชื่อว่าคุณน่าจะเคยเห็นหรือแชร์คอนเทนต์ของเพจ That Mad Woman บนสตอรีในอินสตาแกรมมาบ้างไม่มากก็น้อย That Mad Woman คือเพจเกี่ยวกับเฟมินิสต์ หรือความเท่าเทียมทางเพศ โดยรับหน้าที่ขยายและผลักดันพื้นที่กับเสียงของเพศทุกเพศที่โดนกดขี่ คอนเทนต์ของเพจมักถ่ายทอดออกมาเป็นอัลบั้มภาพสีจัดจ้านกับข้อความบรรยายที่อ่านง่าย ประเด็นที่เพจเลือกมาทำคอนเทนต์สื่อสาร มีทั้งเรื่องค่านิยมไทยที่กดทับเพศหญิง ผู้ลี้ภัยโรฮิงญากับการค้ามนุษย์ ความเป็นพิษของสถาบันครอบครัว รสนิยมทางเพศ ไปจนถึงการบอกเล่าถ้อยคำให้กำลังใจทุกคน พูดง่ายๆ ว่าคอนเทนต์ของ That Mad Woman มีความหลากหลาย ชวนติดตาม เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เพจนี้ทำคอนเทนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศและประเด็นสังคมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด That Mad Woman ได้ทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Video Podcast ออกมา ใช้ชื่อว่า ‘That Mad Podcast’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสังคมต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ภายใต้คอนเซปต์ ‘Unmute Yourself เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็น’ ‘That Mad Podcast’ ได้ปล่อย EP.1 ออกมาแล้ว […]

เกล็ดน้ำแข็งในไอศกรีมคือฝันร้าย นักวิทย์ค้นพบวิธีให้ไอศกรีมไม่แข็งกระด้าง อาจต่อยอดไปถึงการขนส่งอวัยวะช่วยชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอนุภาคนาโนพิเศษในพืช ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งทำลายรสสัมผัสอันนิ่มนวลของไอศกรีมให้กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่จะนำไปสู่ไอศกรีมที่อร่อยและอยู่ได้นานมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการทางแพทย์ได้อีกด้วย เช่นการทำให้อวัยวะของผู้บริจาคอยู่ได้นานขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยปกติแล้วผลึกน้ำแข็งในไอศกรีมจะมีขนาดเล็กมากจนแทบไม่ส่งผลในการลิ้มรส แต่ถ้าอุณหภูมิของไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เช่นระหว่างทางจากร้านขายของชำกลับไปแช่ตู้เย็นที่บ้าน ผลึกเหล่านี้ก็จะละลายแล้วรวมตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ และหากทิ้งไอศกรีมให้ละลายก่อนนำไปแช่ซ้ำรสสัมผัสก็จะยิ่งแข็งกระด้าง เป็นเกล็ด และแย่ลงมาก เพื่อป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่เหล่านี้ในไอศกรีม ผู้ผลิตจึงใส่สารเพิ่มความหนืดลงไปเพื่อให้ไอศกรีมคงตัวได้นานขึ้น แต่ Tao Wu นักวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีบอกว่า สารที่เพิ่มความคงตัวเหล่านี้ไม่ได้ผลเสมอไปเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่นเวลาในการเก็บรักษาหรือส่วนผสมที่ไม่เท่ากัน ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ได้ ไอเดียของเรื่องนี้คือพืชและสัตว์บางชนิดสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยผลิตโปรตีนต้านการแข็งตัวชนิดพิเศษที่ทำให้ผิวมีทั้งคุณสมบัติในการไล่น้ำและกักเก็บน้ำ ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะจับกับผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้หลอมละลายจนรวมเป็นผลึกขนาดใหญ่ที่จะทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แต่ถึงโปรตีนชนิดนี้จะป้องกันการแข็งตัวในไอศกรีมได้แต่ก็น่าจะมีราคาแพงเกินไป รวมถึงมีกระบวนการที่ยุ่งยาก Wu ทราบดีว่าผนังเซลล์ของพืชมีอนุภาคที่เรียกว่า เซลลูโลสนาโนคริสตัล ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับโปรตีนต้านการแข็งตัว แต่ราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า จึงทดลองเพิ่มอนุภาคดังกล่าวลงในไอศกรีม ซึ่งหลังจากทิ้งไอศกรีมไว้สามชั่วโมงก็พบว่า ผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กในไอศกรีมมีขนาดเท่าเดิม ไม่ได้หลอมละลายมารวมกัน และไอศกรีมยังรับมือกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นได้ดี จึงเกิดเป็นไอเดียของไอศกรีมที่ละลายช้าลงขึ้นมา จากการเปิดเผยของ Wu ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โปรตีนต้านการแข็งตัวในไอศกรีมไม่มีความเป็นพิษ แต่ FDA ยังคงต้องทบทวนก่อนจะอนุญาตให้ใช้ในอาหาร.อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองไปได้ไกลกว่าโลกของขนมหวาน Wu ตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น เช่นการปลูกถ่ายหัวใจที่ต้องดำเนินการภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังอวัยวะถูกนำออกมาจากร่างกายของผู้บริจาค ซึ่งโปรตีนต้านการแข็งตัวจากพืชมีความเป็นไปได้ในการยืดอายุของหัวใจที่ถูกนำออกจากร่างกายให้นานขึ้นได้ระหว่างการขนส่งด้วยอุณหภูมิต่ำ 

1 76 77 78 79 80 135

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.