สู้แล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ! ชวนดู ‘Un-Fairly Tales’ 6 สารคดีตีแผ่ความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก ประชาไท

เคยไหมที่เราสู้ชีวิตแล้ว แต่ชีวิตสู้กลับ? ชีวิตที่ว่านี้อาจจะหมายถึงระบบกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ ศีลธรรมอันดีที่สังคมยึดถือ เงื่อนไขการทำงานในบริษัทเอกชน หรือนโยบายจากรัฐบาลที่ออกโดยไม่ได้ฟังเสียงเราสักเท่าไร สิ่งเหล่านี้วนเวียนอยู่รอบตัว ถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบ หมายความว่าคนอื่นก็อาจจะต้องแบกรับมันเอาไว้  ซีรีส์สารคดี ‘Un-Fairly Tales’ ชวนเราสำรวจ ‘การสู้ชีวิต’ ของผู้คนในสังคมไทยที่จะชวนตีแผ่เบื้องลึกเบื้องหลัง เผยให้เห็นความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมจาก 6 เรื่องราว ได้แก่  Kaeng Krachan Mapped : ชีวิตของ ‘วันเสาร์ ภุงาม’ ชนพื้นเมือง อำเภอหนองหญ้าปล้องที่โดนคดีบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะนโยบายรัฐที่ขีดเส้นแนวที่ดินของรัฐใหม่ทับพื้นที่เดิมของ ‘วันเสาร์’ ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ Migrant’s Life : ‘โพซอ’ แรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาครที่จากบ้านเกิดมาเพื่อทำงานส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว แต่ชีวิตเขาเปลี่ยนไปเพราะโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้ไม่มีงานทำ หนำซ้ำก็เกิดการรัฐประหารในพม่าอีก  Decent Work : สารคดีพาไปดูชีวิตคนทำงานบริการในสังคมไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ พวกเขามักจะถูกมองว่าทำเรื่องผิดศีลธรรม และการทำงานนี้ก็ไม่ได้ถูกยอมรับจากกฎหมายว่าเป็นการ ‘ทำงาน’ อย่างหนึ่ง นั่นทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิต่อรองนายจ้างและสิทธิเข้าถึงระบบประกันสังคมที่มีผลต่อการรักษาสุขภาพ Riderman : พาไปดูชีวิตของไรเดอร์ส่งอาหาร การคำนวณระบบค่าแรงจากบริษัทที่กังขา รวมทั้งความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ในเมืองกรุง  Ode […]

แกลเลอรีทั่วยูเครนเร่งเก็บงานศิลปะ เพื่อปกป้องมรดกวัฒนธรรมจากการโจมตีของกองทัพรัสเซีย

การบุกรุกของรัสเซียในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ในยูเครนกลายเป็นจุดอันตรายและเสี่ยงเกิดสงครามระหว่างสองประเทศ ชาวยูเครนมากกว่า 3 ล้านคนต้องอพยพข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันชาวยูเครนจำนวนหนึ่งยังคงต้องปักหลักอยู่ในประเทศ เพื่อต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ปกป้องบ้านเมือง คุ้มครองชีวิตผู้คน รวมไปถึงรักษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของยูเครนไว้ Kharkiv Art Museum ในเมืองคาร์คิฟ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน คือหนึ่งในคอลเลกชันงานศิลปะและศิลปะประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในยูเครน โดยรวบรวมผลงานไว้มากกว่า 25,000 ชิ้น เมื่อไม่นานมานี้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เสียหายจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพรัสเซียในพื้นที่ใกล้เคียง แรงระเบิดทำให้ประตูและหน้าต่างแตกกระจัดกระจาย ส่วนภายในอาคารยังมีฝุ่นปกคลุมไปทั่ว เมื่อประตูและหน้าต่างของอาคารแตกเป็นเสี่ยงๆ ผลงานศิลปะจัดแสดงและแขวนอยู่สัมผัสกับอุณหภูมิเยือกแข็งและหิมะจากภายนอกติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งความชื้นและอากาศเย็นจัดอาจทำให้งานศิลปะที่ทรงคุณค่าเหล่านี้เสียหายได้ ตอนนี้เจ้าหน้าที่ของ Kharkiv Art Museum จึงพยายามนำผลงานไปเก็บรักษาให้ได้มากที่สุด ความย้อนแย้งก็คือศิลปะจำนวนมากที่พิพิธภัณฑ์ต้องป้องกันจากกองทัพรัสเซียก็คือ ผลงานที่รังสรรค์โดยศิลปินชาวรัสเซียเอง Maryna Filatova หัวหน้าแผนกศิลปะต่างประเทศของ Kharkiv Art Museum แสดงความคิดเห็นว่า “ฉันไม่รู้ว่าพวกเขาต้องเป็นคนประเภทไหน ถึงกล้าฆ่าประชาชน โจมตีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทำลายศิลปะทางวัฒนธรรมได้ลงคอ” Filatova ยังเปิดเผยอีกว่า พิพิธภัณฑ์จะประเมินความเสียหายทั้งหมดได้ก็ต่อเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ดังนั้น พวกเธอจะพยายามทำเต็มที่เพื่อรักษาศิลปะทั้งหมดไว้ นอกจาก Kharkiv Art Museum ตอนนี้ศิลปิน แกลเลอรี […]

ชวนดูเรื่องรักวุ่นๆ ใน Business Proposal ซีรีส์เกาหลีแนวรอมคอมใน Netflix ที่ไม่ได้มีดีแค่ตลก แต่ยังแฝงประเด็นร่วมสมัย

ในช่วงเวลาที่หลายคนกำลังปวดหัวกับสถานการณ์บ้านเมือง ไหนจะต้องกลับมากังวลใจจากยอดผู้ป่วยที่พุ่งสูงรายวัน ไหนจะปวดหัวกับน้ำมันแพง ไหนจะความลุ่มๆ ดอนๆ ของรัฐบาลที่ไม่เห็นจะแก้ไขอะไรได้สักอย่าง เราอยากชวนทุกคนมารีแลกซ์ด้วยการยิ้มและหัวเราะไปกับ Business Proposal ซีรีส์เกาหลีแนวรอมคอมที่เพิ่งฉายไป 6 ตอน แต่คว้าอันดับ 1 ใน Netflix Thailand เรียบร้อยแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้สร้างจากนิยายและ Webtoon ที่ได้รับความนิยมทั้งในเกาหลีและหลายประเทศทั่วโลก โดยพลอตเรื่องคลิเชๆ แบบที่คอรอมคอมคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่มันดันสนุกและร่วมสมัยมากแบบที่อยากให้ฉายทุกวันเลย เรื่องราวของ ‘ชินฮารี’ สาวออฟฟิศที่ไปนัดบอดแทนเพื่อน เพื่อทำให้อีกฝั่งปฏิเสธให้ได้ ทว่าแผนดันผิดพลาดเพราะผู้ชายคนนั้นคือ ‘คังแทมู’ CEO บริษัทที่เธอทำงานอยู่ สุดท้ายชินฮารีต้องตกกระไดพลอยโจนคบกับคังแทมูแบบหลอกๆ โดยที่ต้องปกปิดตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไปด้วย เรื่องราววุ่นวายอลหม่านจึงเกิดขึ้น นอกจากได้นักแสดงฝีมือดีอย่าง อันฮโยซอบ, คิมเซจอง, คิมมินกยู และ ซอลอินอา มารับบทตัวละครหลักแล้ว ความน่าสนใจของซีรีส์เรื่องนี้คือ การหยิบเอาความรอมคอมที่เป็นเหมือนภาพจำของสื่อบันเทิงเกาหลีมาปัดฝุ่นปรับให้ร่วมสมัยขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์ ความน่ารัก ความตลก และจังหวะฮาๆ เรียกว่าไม่มีสักนาทีที่น่าเบื่อหรือชวนอิหยังวะเลย เพราะถ้าตั้งใจดูดีๆ จะเห็นเลยว่า Business Proposal สอดแทรกประเด็นร่วมสมัยไว้อย่างแยบคาย ไม่ว่าจะการบริหารงานของ […]

20 ปี สถานีวิทยุ BBC 6 Music จากเกือบถูกปิดสู่ช่องเพลงอันดับหนึ่งของเกาะอังกฤษ

ยุคสมัยนี้เราคงเห็นคนพกพาวิทยุ หรือปรับคลื่นหาช่องที่ถูกใจน้อยลงทุกที สวนทางกับกระแสสตรีมมิงเพลง เลือกฟังเพลงโปรดตลอด 24 ชั่วโมงที่ได้รับความนิยมมากขึ้น  แต่กระแสกลับไม่ได้เป็นเช่นนี้ในเกาะอังกฤษ เพราะช่องเพลงวิทยุ BBC 6 Music ได้รับความนิยมเป็นสถานีเพลงที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ และสถิติตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ฟังทั้งสิ้นกว่า 2.6 ล้านคนเลยทีเดียว  วันที่ 11 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นหมุดหมายครบรอบ 20 ปี ของการก่อตั้งช่อง 6 Music ภายใต้ BBC สื่อสาธารณะของประเทศอังกฤษ และการตั้งสถานี 6 Music ขึ้นมานั้นถือว่าเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกในรอบ 32 ปีที่ดำเนินงานโดยสาธารณะ  อะไรที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ช่องวิทยุยังยืนหยัดอยู่ได้และได้รับความนิยมขนาดนี้? คำอธิบายอาจจะโยงไปถึงเรื่องวัฒนธรรมการฟังเพลงของคนอังกฤษ แต่แง่มุมหนึ่งที่เด่นชัดของช่อง 6 Music คือการมีจุดยืนว่าจะเล่นเพลงกระแสที่หลากหลาย เปิดพื้นที่ให้กับแนวเพลงที่มักจะถูกกลบด้วยการตลาด แต่ช่อง 6 Music ก็เจอกับกระแสมรสุม 8 ปีนับจากเปิดดำเนินการครั้งแรก ในปี 2010 ผู้อำนวยการสถานี […]

ชวนลงชื่อยกเลิกภาษีผ้าอนามัย และแจกผ้าอนามัยฟรีให้ผู้มีประจำเดือน เข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับสภาวะขาดแคลน หรือไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประจำเดือนได้ (Period Poverty) เนื่องจากผ้าอนามัยมีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตรารายได้หรือค่าครองชีพ ทำให้ผู้หญิงและเด็กหลายคนต้องสูญเสียโอกาสทางการงานและการศึกษาเมื่อมีประจำเดือน เพราะเหตุนี้ หลายฝ่ายจึงออกมารณรงค์และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยทุกรูปแบบ และผลักดันให้มีนโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้กับประชาชน ย้อนไปวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ‘ภาษีผ้าอนามัย’ กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สังคมให้ความสนใจในวงกว้าง หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้ ‘ผ้าอนามัยแบบสอด’ เป็น ‘เครื่องสำอาง’ ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 หมายความว่าจะมีการเก็บภาษีสินค้าชนิดนี้เพิ่มจาก 7 เปอร์เซ็นต์ เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจำนวนมากไม่เห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นว่า ผ้าอนามัยไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของผู้หญิง และรัฐบาลไม่ควรผลักภาระทางภาษีให้กับประชาชน ทว่า หลังจากเกิดกระแสดราม่าไม่กี่วัน ด้านกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรได้แถลงการณ์ชี้แจงว่า การประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี แต่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมสินค้าตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น พร้อมยืนยันว่าผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย 30 เปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม องค์กรเพื่อสิทธิสตรี นักเคลื่อนไหว และประชาชนหลายรายยังคงมองว่า ผ้าอนามัยควรเป็นสินค้าปลอดภาษีที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเดินหน้ารณรงค์และเคลื่อนไหวให้รัฐบาลแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากราคาผ้าอนามัย […]

เรียนรู้ความเหงา และฟังเรื่องเล่าของคนอื่น ในภาพยนตร์ ‘Call Me Chihiro’ ที่ Netflix

“มีลูกค้าคนหนึ่งเคยบอกฉันว่า เราเป็นมนุษย์ต่างดาวในร่างมนุษย์ ว่ากันว่าคนเราเหมือนกันหมด แต่ความจริงคือเรามาจากดาวคนละดวงกัน ก็ไม่แปลกที่เราจะไม่เข้าใจกัน” ‘Call Me Chihiro’ เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากมังงะชื่อ Chihiro-san วาดโดย Hiroyuki Yasuda (Shomuni) ที่เพิ่งเข้าฉายทาง Netflix เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้กำกับดาวรุ่งอย่าง ‘ริกิยะ อิมาอิซูมิ’ (Rikiya Imaizumi) ที่ล่าสุดได้รับรางวัลบนเวที Tokyo International Film Festival จากภาพยนตร์เรื่อง By the Window (2022) มาถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกที่เราอาจต่างเคยประสบมา นอกจากนี้ยังได้ ‘คาสุมิ อาริมูระ’ (Kasumi Arimura) มารับบทนักแสดงหลักชื่อ ‘จิฮิโระ’ หญิงสาวผู้เลือกพลัดถิ่นจากครอบครัว และเคยมีตัวตนเป็น Sex Worker ดาวเด่น แต่ในสถานะปัจจุบันของชีวิต เธอเป็นพนักงานร้านขายข้าวกล่องในเมืองห่างไกลริมชายฝั่ง ผู้มีบาดแผลและความรู้สึกอันหลากหลายที่เก็บงำเอาไว้  เรื่องราวแต่ครั้งก่อนของจิฮิโระ ค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาทุกฉากตอนที่ตัวละครผ่านไปพบเจอผู้คนใหม่ๆ ในเมืองแห่งนี้ ไล่ไปตั้งแต่ชายชราคนจรผู้เร่ร่อนไม่มีหลักแหล่ง หญิงสาววัยมัธยมฯ ที่มีครอบครัวเพียบพร้อมทั้งเงินทองและเวลา […]

โปรโมตการท่องเที่ยวแนวใหม่ในญี่ปุ่น ที่ชวนคนมาเที่ยวมัตซึซากิ ล่าหมูป่า ในค่ายซอมบี้ที่รับบทโดยผู้สูงอายุ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องไอเดียบรรเจิดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็มีสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ‘ช่างคิดได้’ จริงๆ ล่าสุดที่เมืองมัตซึซากิ จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งเล็กๆ ในญี่ปุ่น มีไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวที่ดูแปลกแต่น่าสนุกสุดๆ เพราะเขาไม่ได้เปิดเมืองให้แค่ไปท่องเที่ยวแบบธรรมดา แต่เขาให้เราไปเที่ยวค่ายซอมบี้! และซอมบี้ทั้งหมดรับบทโดยผู้สูงอายุในเมืองนี้ด้วย ในคลิปโปรโมตการท่องเที่ยวของเมืองมัตซึซากิ จะมีชายคนหนึ่งชื่อ ‘คาเนะมัตซึ’ กำลังบันทึกภาพตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ตัดสลับกับภาพกิจกรรมกลางแจ้งที่เขาทำตอนมาถึงเมืองมัตซึซากิ มีทั้งการล่าหมูป่า เดินเขา เก็บส้ม ปั่นจักรยาน จนกระทั่งมาเผชิญหน้ากับซอมบี้และหนีมาหลบอยู่ในภูเขา เพื่ออัปโหลดวิดีโอให้ทุกคนดูว่าตอนนี้เขากำลังเจอซอมบี้ไล่ล่าอยู่ เขายังอธิบายวิธีเอาตัวรอดเอาไว้ว่า “ให้กลั้นหายใจเวลาเจอซอมบี้” นอกจากนี้ยังมีฉากที่คาเนะมัตซึเจอซอมบี้อยู่ในทุกๆ ที่ ทั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะในเมือง ที่พัก บนเขา จนกระทั่งเขาถูกกัดและกลายเป็นซอมบี้ในที่สุด ทุกอย่างในคลิปดูสมจริงเอาใจคนรักหนังซอมบี้แบบสุดๆ  แต่จริงๆ แล้วเมืองมัตซึซากิยังไม่มีใครติดเชื้อซอมบี้จริงๆ คลิปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว ‘ค่ายซอมบี้’ ประจำปีของเมืองมัตซึซากิ เมืองเล็กๆ ในชนบทบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอิซุ และมีประชากรประมาณ 6,000 คนเท่านั้น (ซึ่งไม่มีตัวเลขยืนยันว่าเป็นคนจริงๆ กี่คน และรับบทซอมบี้กี่คน) โชคไม่ดีที่การแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังมัตซึซากิลดลง และทำการล่าสัตว์ลดน้อยลงไปด้วย ปริมาณกวางและหมูป่าในเมืองจึงเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และสร้างความเสียหายให้กับการส่งออกใบซากุระโมจิซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่ หน่วยงานควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ของเมืองมัตซึซากิหวังว่าการโปรโมตการท่องเที่ยวค่ายซอมบี้ในครั้งนี้ จะช่วยเรียกนักท่องเที่ยวกลับมาที่เมืองนี้ได้อีกครั้ง แต่ไม่ใช่แค่เพื่อมาดูซอมบี้เท่านั้น พวกเขายังต้องการนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการล่าสัตว์เพราะต้องการควบคุมประชากรกวางและหมูป่าในเมืองด้วย นอกจากการล่าสัตว์แล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมเดินเขา […]

รีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งใหญ่ฉลอง 100 ปี ร่วมชมนิทรรศการโครงการปรับปรุงสวน วันนี้ – 20 มี.ค. 65 ที่ศาลาภิรมย์ภักดี

หลังจากที่สวนเบญจกิติได้อัปเกรดและรีโนเวตพื้นที่จนเปิดให้บริการแก่ประชาชนไปแล้วเมื่อช่วงต้นปี คราวนี้ถึงทีของสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยอย่างสวนลุมพินีกันบ้าง ซึ่งการรีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองครบ 100 ปีสวนลุมฯ ในปี 2568 เป้าหมายของการปรับปรุงสวนลุมฯ ในวาระครบ 100 ปี คือการทำให้ที่นี่เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะ โดยมีแนวคิดหลักในการออกแบบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ การคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการยุคใหม่ และมีการออกแบบเพื่อคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ การรีโนเวตแบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกเริ่มต้นโครงการที่บริเวณถนนแกนกลางสวนฯ ประกอบด้วย งานปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน และงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และงานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สวนลุมพินี 100 ปี ส่วนเฟสที่ 2 ได้แก่ การปรับปรุงพื้นที่ส่วนที่เหลือของสวนลุมพินีทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนต่างๆ ประกอบด้วย สวนน้ำช่วยเมือง สวนป่าและกิจกรรมยุคใหม่ จุดเชื่อมต่อสะพานเขียว ลานรอบอาคารบันเทิง สวนจีน โรงอาหารและสวนผักในเมือง สวนเพื่อการเรียนรู้ และชมรมกับกิจกรรมนันทนาการ ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และพื้นที่กายภาพต่างๆ รวมถึงก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น […]

รถไฟ JR ญี่ปุ่นทดลองวิ่งไร้คนขับช่วงกลางวันเป็นครั้งแรก!ตั้งเป้าพัฒนาใช้จริงปี 2027

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless) กันมาบ้างแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร ถ้ามีขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟที่ขับเคลื่อนบริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีนี้บ้างล่ะ? อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศที่ขนส่งทางรางเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันอย่างญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รถไฟ JR สายตะวันออกได้ทดลองวิ่งด้วยระบบไร้คนขับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลากลางวัน ก่อนเริ่มให้บริการรอบแรกของวัน การทดลองวิ่งเป็นไปตามเส้นทางวงกลม 34.5 กิโลเมตรตลอดสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญที่วิ่งรอบโตเกียวและมีผู้ใช้บริการกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน  การทดลองวิ่งครั้งนี้ไม่มีผู้โดยสารอยู่ในตัวรถ มีเพียงคนขับรถคอยตรวจตราความเร็ว หรือความตรงเวลาของระบบ แต่ก็นับเป็นหมุดหมายสำคัญได้เลย เพราะการทดลองวิ่งแบบไร้คนขับครั้งที่ผ่านมานั้นทดสอบในช่วงเวลากลางคืน และการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านั่นเอง  ทำไมทางญี่ปุ่นถึงต้องนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับรถไฟ คำตอบคือ ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่คนวัยทำงาน ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในขนส่งสาธารณะอย่างการขับรถไฟ และพนักงานส่วนใหญ่ก็จะเกษียณอายุงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้  แม้ทางบริษัท JR จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างพนักงานที่เกษียณไปแล้วมาทำงาน แต่นั่นก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และคำถามสำคัญเมื่อนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับขนส่งสาธารณะคือประเด็นเรื่องความปลอดภัย เช่น การหยุดรถกะทันหันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถจะจอดตรงจุดจอดสถานีหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้คือโจทย์ที่รัฐต้องร่วมกันอุดช่องโหว่กันต่อไป Sources Mainichi | https://bit.ly/3t3UZuU Nikkei Asia […]

หวนรำลึกถึงอาคารสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่กำลังหายไปใน ‘Something Was Here.’ โดย Foto_momo 15 – 27 มี.ค. 65 ที่ BACC

หากต้องการสำรวจว่าบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร นอกจากดูที่ความคิดความสนใจของคนในสังคมช่วงเวลานั้นแล้ว อาคารสถานที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายก็เป็นเครื่องมือบอกเล่าที่สำคัญว่าเรารับเอากระแสนิยมหรือมีอิทธิพลใดที่ส่งผลถึงประเทศบ้าง และเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหาวิธีอนุรักษ์มรดกของกาลเวลาเหล่านี้เอาไว้ หลังจากตระเวนถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มาหลายปี เบียร์-วีระพล สิงห์น้อย เจ้าของโปรเจกต์ Foto_momo ได้ร่วมมือกับ Docomomo Thai กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารไทยสมัยใหม่ จัดนิทรรศการภาพถ่ายเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘Something Was Here.’ กับคอนเซปต์ The Fading Memories of Bangkok Modern Architecture. (ความทรงจำอันเลือนรางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ) นิทรรศการนี้จะจัดแสดงภาพถ่ายอาคารประมาณ 20 หลังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงโรงละครสกาลาที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม จุดประสงค์ของนิทรรศการ Something Was Here. คือการหวนรำลึกถึงความรุ่งโรจน์ของฝีมือการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในยุคสมัยหนึ่งที่เคยเป็นหน้าเป็นตาของความ “สมัยใหม่” ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานบันเทิง สถานศึกษา ที่พักอาศัย และออฟฟิศทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าสังคมไทยนั้นพร้อมปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่จากตะวันตกแล้ว  คำถามคือ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามเย็นสิ้นสุดลงและเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ความสมัยใหม่เหล่านี้ได้ไร้คุณค่าไปด้วยหรือไม่ ในฐานะคนที่ติดตามถ่ายภาพอาคารเก่ามาตลอด วีระพลอยากชวนทุกคนมาหาวิธีจัดการกับมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้ภายใต้สมการของการอนุรักษ์และการพัฒนา มิฉะนั้นแล้ว เราอาจไม่มีอาคารเหล่านี้ให้จดจำ นิทรรศการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ผนังโค้งชั้น […]

ชวนดู Public Space ที่มีดีไซน์เท่และฟังก์ชัน

บ้านเรามีจำนวน Public Space น้อยมากๆ ถ้าพูดถึงสถานที่ที่คนเมืองใช้นัดเจอกันเพื่อพักผ่อนหย่อนใจส่วนใหญ่ตัวเลือกแรกๆ ที่พอจะนึกออกก็คือ ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่ใช่ห้างฯ เราจะไปเจอกันที่ไหน  ‘พื้นที่สาธารณะ’กลายเป็นโจทย์ของพื้นที่อันท้าทาย  ทำยังไงให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอันหลากหลายเพราะสถานที่ในบ้านเราที่มีอยู่ก็ยากที่จะเรียกว่า “พื้นที่สาธารณะ” ได้อย่างเต็มปาก ด้วยเงื่อนไข กฎ เกณฑ์ และเวลาที่ไม่ได้เอื้อต่อประชาชนคนทั่วไปใช้งานได้อย่างเต็มที่จริง ๆ   และพื้นที่สาธารณะแบบไหนกันแน่ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองของพวกเรา . จึงเป็นที่มาของโจทย์และจุดประสงค์หลักให้กับงานประกวดที่ MQDC ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบ  “Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร” เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทางความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จะสะท้อนมุมมอง “พื้นที่สาธารณะแบบไทย ๆ” ว่า สถานที่นั้นจะออกมาเป็นอย่างไรด้วยจินตนาการอันโลดแล่นของนักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งในระดับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป . เราขอเชิญชวนทุกคนเยี่ยมชม ผลงานการออกแบบ “พื้นที่สาธารณะ” ในอุดมคติของคนรุ่นใหม่นับร้อยผลงานในโครงการประกวดการออกแบบ  “Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร” เพื่อต่อยอดสู่การตั้งคำถาม […]

เดินเล่นในเมืองขอนแก่น ชมเทศกาลศิลปะกับชุมชน ที่งาน S.O.E We Trade Everything 11 – 25 มี.ค. 66

เราอาจได้พบเห็นอีเวนต์ดนตรีหรืองานศิลปะจัดขึ้นมากมายในกรุงเทพฯ แต่จริงๆ แล้วในพื้นที่ต่างจังหวัดก็กำลังขับเคลื่อนกันอย่างไม่ขาดสาย เช่นเดียวกันกับที่จังหวัดขอนแก่น อย่างเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา มีงาน S.O.E Our City Old Town ที่พาทุกคนไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองเก่า ตั้งแต่ชุมชนแรกเริ่มในครั้งก่อตั้งเมือง ผ่านการอพยพเคลื่อนย้ายบ้านเมืองจนกลายมาเป็นจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน กลับมาคราวนี้ เทศกาลศิลปะ ‘แก่น เก๋า เก๋า S.O.E We Trade Everything 2023’ ก็ยังคงความตั้งใจเดิมคือการเปิดพื้นที่ทางศิลปะให้กับชุมชน เพื่อเชื่อมโยงให้ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ยังคงเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป โดยงานครั้งนี้มีศิลปินเข้าร่วมแสดงงานศิลปะกว่า 40 รายชื่อ และได้แบ่งการจัดงานไปยังพื้นที่ในชุมชนทั่วเมืองหลากหลายจุด ให้เราได้เดินเล่น รู้จักประวัติศาสตร์ สถานที่ และผู้คนในขอนแก่นมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริเวณ ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์’ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินชมเทศกาลศิลปะ และเป็นจุดที่แนะนำให้ทุกคนได้รู้จักโครงการ ‘S.O.E แก่น เก่า เก๋า’ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์เองยังถือเป็นจุดที่มีความเชื่อมโยงเส้นทางเศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่นด้วย หรือที่จุด ‘Warehouse’ ชวนไปเดินถนนหน้าเมืองเพื่อให้ได้รู้จักเมืองมากยิ่งขึ้น ผลงานที่แสดงตรงจุดนี้จะบอกเล่าเรื่องราวของภูมิทัศน์ แรงงาน และการค้าขายของภาคอีสาน มีอีกจุดอย่าง […]

1 67 68 69 70 71 123

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.