ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง UNDP ชวนสำรวจสารตั้งต้นความรุนแรง ที่ผลักให้หลายคนกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นภาพการก่อการร้ายและได้ยินข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อ เราอาจคุ้นเคยกับภาพเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมคนเหล่านั้นหลังก่อเหตุ แต่ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะได้สถานะ ‘คนร้าย’ หรือ ‘ผู้ก่อการร้าย’ หากเราสำรวจหาเหตุผลเบื้องหลัง เราอาจพบสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง (Preventing Violent Extremism) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (UN Global Counter-Terrorism Strategy) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ แนวทางนี้ไม่ได้มองบุคคลเป้าหมายเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เน้นการจัดการและแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ผลักผู้คนให้ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง คำถามคือ ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงล่ะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP เสนอว่า เราต้องเข้าใจรากเหง้าของความรุนแรงที่ปรากฏออกมาเพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง การถูกเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาหรือชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการขาดโอกาสจากรัฐ ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่มีความคับข้องใจเลือกวิถีแห่งความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ แม้ว่าเราจะพูดคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ กันจนติดปาก และพยายามจะ ‘สบายๆ’ กับทุกอย่าง แต่สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านอัตลักษณ์ เช่น ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากมุมมองอันแตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องปากท้องและการจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้หลายชุมชนเกิดความคับแค้นใจเมื่อรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ถูกรับฟัง และนำไปสู่การเรียกร้องและเดินขบวนอย่างสันติวิธี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ออกมารับฟังอย่างจริงใจและพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในที่สุดพวกเขาก็อาจจะเลือกจับอาวุธและใช้ความรุนแรง UNDP ทำงานโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังสถานการณ์จากภาคประชาสังคมและพันธมิตรทางวิชาการ […]

สำรวจแสงสีกรุงเทพฯ ยามราตรี กับงาน Awakening Bangkok 2022 ที่ย่านเจริญกรุง วันนี้ – 25 ธ.ค. 65

อากาศเย็นมีน้อยต้องใช้สอยอย่างประหยัด บรรยากาศดีๆ แบบนี้ ไม่มีอะไรเพลิดเพลินไปกว่าการออกไปเดินเล่นถ่ายรูปชมแสงไฟที่งาน ‘Awakening Bangkok 2022’ อีกแล้ว ปีนี้ทุกคนจะได้พบกับงานศิลปกรรมไฟกว่า 40 ชิ้น จัดแสดงใน 22 โลเคชันทั่วย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ภายใต้ธีม ‘Endless Tomorrow : เพื่อพรุ่งนี้ และตลอดไป’ เพื่อชวนทุกคนออกไปค้นหาคำตอบของ ‘ชีวิตในวันพรุ่งนี้’ ว่าเราจะใช้ชีวิตและปรับตัวอย่างไรถึงจะทนต่อความเปลี่ยนแปลง และทำให้โลกตลอดจนสิ่งรอบข้างอยู่ยืนยาวไปกับเรา อีกความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ทางงานได้เพิ่ม 2 โลเคชันใหม่ ได้แก่ อาคาร East Asiatic ตึกเก่าอายุกว่าร้อยยี่สิบปีในซอยเจริญกรุง 40 และ Swan Hotel โรงแรมวินเทจในซอยเจริญกรุง 36 ให้ได้เพลิดเพลินกับแสงไฟในบรรยากาศแบบย้อนยุค ใส่ความเซอร์ไพรส์เข้าไปอีกด้วยผลงาน Projection Mapping ที่อิมพอร์ตมาจากเทศกาล i Light Singapore พิกัดที่ Warehouse 30 นอกจากนี้ยังมีบ้านสีเหลืองแห่งใหม่ข้างๆ อาคารไปรษณีย์กลาง ที่มีบาร์ให้แวะพักจิบเครื่องดื่มและนิทรรศการศิลปะบริเวณด้านบนชั้น 3 ให้ชมอีกด้วย […]

ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]

สหราชอาณาจักรผุดไอเดียรักษ์โลก ‘Reuser’ แก้วกาแฟจากน้ำมันพืชที่สามารถยืมใช้และส่งคืนได้ตามจุด

ในแต่ละวัน สหราชอาณาจักรมีแก้วกาแฟใช้แล้วกว่า 500,000 แก้วถูกทิ้งไว้ในถังขยะ เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ‘Reuser’ บริษัทในกรุงลอนดอนที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุแบบหมุนเวียน จึงจับมือกับ ‘IDC (Industrial Design Consultancy)’ บริษัทออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชั้นนำ และ ‘Naiad Plastics’ บริษัทขึ้นรูปพลาสติก เพื่อสร้างแก้วกาแฟจากวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นมา ภายใต้ชื่อเดียวกับบริษัท Reuser เพื่อการใช้แบบหมุนเวียนภายในเมือง โดยมีเป้าหมายหลักคือลดปริมาณขยะในเมือง ส่งให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นรายแรกที่ใช้พลาสติกชีวภาพชนิดใหม่นี้ในการแก้ปัญหาขยะจากแก้วกาแฟล้นโลก วัสดุที่ใช้ทำแก้ว Reuser คือ Bio-PP ‘Bornewables’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพขึ้นจากพืช สาหร่าย หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว จากนั้นจะนำไปกลั่นจนเป็นเม็ดพลาสติก ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการฉีดขึ้นรูปเป็นแก้วกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้ซ้ำได้  สหราชอาณาจักรมีน้ำมันพืชเหลือใช้ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ทางบริษัทผลิตแก้ว Reuser ได้จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต้นทุนต่อหน่วยไม่ต่างกับการผลิตแก้วกระดาษในปัจจุบัน ซ้ำยังตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงจุดกำเนิด รวมถึงได้รับการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ จาก ISCC PLUS โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) อย่างครบถ้วน เมื่อได้รับแก้วชนิดนี้จากร้านกาแฟ […]

บ้านจากวัสดุชีวภาพหลังแรกของโลก BioHome3D ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หวังแก้วิกฤตที่อยู่อาศัย

วิธีการสร้างบ้านหลังหนึ่งนั้นมีหลายแบบ อย่างปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมการสร้างบ้านจากการพิมพ์ 3 มิติ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการสร้างบ้านที่สะดวกรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น นักวิจัยจาก University of Maine Advanced Structures and Composites Center (ASCC) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในประเทศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปสู่นวัตกรรมขั้นต่อไปด้วยการเปิดตัว ‘BioHome3D’ บ้านพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลกที่ทำจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด  บ้านต้นแบบหลังนี้มีขนาด 600 ตารางฟุต ประกอบด้วยพื้น ผนัง และโครงสร้างที่สร้างจากวัสดุหาได้ในท้องถิ่นอย่างเส้นใยไม้และเรซินชีวภาพ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนประกอบหลักที่เป็นฉนวนไม้ทั้งหลัง และมีระบบถ่ายเทความร้อนที่ปรับแต่งได้ นอกจากนี้ กระบวนการ 3D Printed ยังช่วยกำจัดขยะไม่ให้หลงเหลือระหว่างการก่อสร้างบ้านอีกด้วย BioHome3D จะได้รับการพิมพ์ขึ้นเป็นโมดูลจำนวน 4 ชิ้น และนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นบ้านหนึ่งหลัง เสร็จสิ้นได้ภายในครึ่งวันเท่านั้น แถมใช้ไฟฟ้าในการทำงานเพียงสองชั่วโมง โดยมีช่างไฟฟ้าเพียงคนเดียวคอยดูแลกระบวนการนี้ ด้วยคุณสมบัติของบ้านต้นแบบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่มีความต้องการสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งยังลดการใช้วัสดุประเภทคอนกรีต การปล่อยคาร์บอน และการใช้แรงงาน นับเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาอุตสาหกรรมป่าไม้และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คนในประเทศยังเป็นเจ้าของบ้านในราคาที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และด้วยความที่ BioHome3D ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด จึงทำให้รีไซเคิลได้ […]

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ช่วยประหยัดไฟ และทำให้สังคม สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ โดย กฟผ. ที่ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดไฟ แต่ยังทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ในยุคที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนก็หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานมากขึ้น ผ่านแนวคิดการคิดค้นนวัตกรรมที่ส่งเสริมเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชนและภาพรวมของเมือง นวัตกรรม Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ คือโครงการของ กฟผ. ที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบ้านและอาคาร โดยพัฒนาการออกแบบบ้านและอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินมาตรการการใช้พลังงานในอาคารตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ  ขอบเขตของโครงการ Smart Home ‘บ้านเบอร์ 5’ เริ่มตั้งแต่บ้านทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว และอาคารธุรกิจที่ใช้พลังงาน ครอบคลุมอาคารก่อสร้างใหม่ และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ได้แก่ สำนักงาน สถานศึกษา โรงมหรสพ สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า อาคารชุมนุมคน โรงแรม โรงพยาบาล อาคารชุด และหอพักหรืออะพาร์ตเมนต์ โครงการนี้ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดพลังงานและลดภาระค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านหลักการ […]

Cholets in El Alto เปลี่ยนเมืองโตเร็วในโบลิเวียให้มีชีวิตชีวา ด้วยสถาปัตยกรรมสีสันสะดุดตา โดยศิลปะแบบชาวพื้นเมือง

หลายปีก่อน ช่างภาพชาวอิตาลีชื่อว่า ‘Yuri Segalerba’ ผู้เฝ้ามองหาสภาพแวดล้อมที่มีชีวิตชีวาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ได้เดินทางไปยัง ‘เอล อัลโต (El Alto)’ สถานที่ซึ่งเป็นเมืองบริวารของลาปาซเมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย ตั้งอยู่ในที่ราบสูงแอนเดียน ซึ่งสูงกว่า 4,000 เมตร  ช่างภาพชาวอิตาลีได้พบเจอสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ที่เกิดจากวัฒนธรรมพื้นเมืองตั้งกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งดูหรูหราและมีสีสันโดดเด่นสะดุดตาในสไตล์แบบ ‘นีโอแอนเดียน (Neo-Andean)’ เรียกกันว่า ‘Cholet’ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า ‘Chalet’ และ ‘Cholo’ หมายถึงคำเยาะเย้ยทางเชื้อชาติที่ใช้ในประเทศลาตินอเมริกา โดยในบริบทนี้ Cholet มีความหมายว่า คฤหาสน์ขนาดเล็กหรือห้องโถงที่ทำให้เมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  Cholets ในเอล อัลโต สร้างขึ้นโดยช่างก่ออิฐในท้องถิ่นที่กลายเป็นสถาปนิกดาวรุ่งชื่อ ‘Freddy Mamani Silvestre’ สถาปนิกผู้นี้ได้เปลี่ยนโฉมเมืองไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่มีอาคารต่างๆ เกิดขึ้นในปี 2005  รูปแบบของอาคารที่เกิดขึ้นได้แรงบันดาลใจมาจากสีสัน รูปร่าง และรูปทรงของศิลปะชาวบ้านพื้นเมือง รวมถึงภูมิปัญญาการก่อสร้างที่ใช้อิฐเปลือยของชาวไอมารา (Aymara) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของโบลิเวีย พวกเขาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่อาศัยในเมือง โดยมีสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่เหล่านี้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของพวกเขา  อาคารหลายหลังมีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง แต่ละชั้นจะมีการใช้งานแตกต่างกันไป ชั้นหนึ่งสำหรับค้าขาย เช่น ร้านขายเนื้อ ร้านขายเหล็ก […]

เครื่องอัดขยะขนาดครัวเรือน ช่วยเปลี่ยนขยะพลาสติกแบบบาง ให้เป็นก้อนอิฐที่ง่ายต่อการรีไซเคิล

ปกติแล้วผู้คนมักเก็บ ‘ถุงพลาสติก’ ที่ได้จากการซื้อของไว้เพื่อการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป ถึงแม้ว่าถุงประเภทนี้จะนำกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง แต่ความแข็งแรงอาจจะไม่คงทน ยิ่งถ้าเก็บไว้นานๆ ก็อาจจะแห้งกรอบจนใช้งานไม่ได้อีกเลย ก่อนจะเปลี่ยนสภาพเป็นขยะที่ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้ เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นบ้าน สตาร์ทอัปสัญชาติอเมริกันอย่าง Clear Drop จึงได้ออกแบบ ‘เครื่องอัดพลาสติกแบบอ่อน (Soft Plastic Compactor : SPC)’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการพลาสติกในครัวเรือนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ถ้าดูผ่านๆ เจ้าเครื่องอัดพลาสติกนี้มีขนาดและหน้าตาคล้ายกับถังขยะในครัวเรือนทั่วไป เหมาะที่จะตั้งไว้ใช้งานตามมุมต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำงานของ SPC ก็ง่ายมากๆ แค่นำพลาสติกประเภทอ่อน เช่น ถุงพลาสติกหรือฟิล์มบรรจุภัณฑ์ ใส่เข้าไป ตัวเครื่องจะอัดขยะเหล่านั้นจนกลายเป็นลูกบาศก์แข็ง จากนั้นจะได้ก้อนอิฐที่สามารถนำไปใช้งานต่อ หรือจะทิ้งในขยะรีไซเคิลเพื่อส่งไปยังโรงงานคัดแยกขยะต่อไปก็ได้ มากไปกว่านั้น เครื่องอัดพลาสติกประเภทนี้ยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม เพราะมันปล่อยควันในระดับที่กฎอนามัยและความปลอดภัยกำหนดไว้ เครื่อง SPC จะเปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าในเดือนมกราคม 2566 ทาง bit.ly/3VXTpXM หากใครที่กำลังมองหาวิธีเปลี่ยนขยะพลาสติกในบ้านให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็อาจลองสั่งเจ้าเครื่องนี้มาใช้ดูได้นะ ดูวิธีใช้งานเครื่องอัดขยะพลาสติกได้ที่ shorturl.at/fQX34 Source : DesignTAXI | bit.ly/3uOuFFj 

อบอุ่นและรักษ์โลกกับผ้าห่มกันหนาว ทำด้วยขนเป็ดและวัสดุอัปไซเคิลจากสินค้าเก่าของแบรนด์ Arc’teryx

อากาศหนาวเริ่มพัดผ่านมาให้พอรู้สึกถึงฤดูหนาวกันบ้างแล้ว หลายคนคงเริ่มมองหาเสื้อกันหนาวหรือผ้าห่มสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวสิ้นปี เพื่อให้เข้ากับเทรนด์ในตอนนี้ เราขอพาไปรู้จักอุปกรณ์กันหนาวผลิตจากวัสดุเหลือใช้ ที่ให้ทั้งความอบอุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เมื่อปี 2021 Arc’teryx แบรนด์เสื้อผ้ากลางแจ้งและอุปกรณ์ปีนเขาจากประเทศแคนาดา ได้เปิดตัว ReBird ผ้าห่มขนเป็ดจากแบรนด์ย่อยที่ชื่อว่า System_A ในโครงการ ReBird ที่ออกแบบสินค้าหมุนเวียนผ่านการซ่อมแซม รีเซลล์ อัปไซเคิล เพื่อให้ไม่มีขยะเหลือทิ้งจากการผลิต ในปีนี้ ทางแบรนด์ได้นำผ้าห่มกลับมาวางขายอีกครั้งแบบจำนวนจำกัด โดยผ้าห่มขนเป็ดนี้ทำขึ้นจากวัสดุเหลือใช้จากผ้า 7D Arato ที่เบาและอ่อนนุ่มเป็นพิเศษจากแบรนด์ และเสริมด้วย 850 ขนเป็ดรีไซเคิล เพื่อทำให้ผ้ากันน้ำได้ดีขึ้น  เท่านั้นยังไม่พอ บางส่วนของเนื้อผ้ายังทำขึ้นมาจากเสื้อผ้าเก่าและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วจากโครงการ ReBird ที่ทางแบรนด์เปิดให้ลูกค้าส่งสินค้าเก่ากลับมาเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการอัปไซเคิลสำหรับสินค้าอื่นๆ ด้วย นอกจากใช้ผ้าห่มในการห่อหุ้มตัวเพื่อความอบอุ่นแล้ว ยังสามารถติดกระดุมด้านหน้าเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเสื้อปอนโชได้อีกด้วย ผ้าห่มขนเป็ด ReBird เปิดจำหน่ายทางออนไลน์ที่ bit.ly/3hsgtyF  Sources : Arc’teryx | arcteryx.com  DesignTAXI | bit.ly/3Hx1uhv 

ทางเลือกใหม่สำหรับรถยนต์ EV ‘Lignode’ แบตเตอรี่จากต้นไม้ ชาร์จไว ปลอดภัย ไม่ทำลายโลก

แม้รถยนต์ไฟฟ้า EV จะเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง จนค่ายรถยนต์และผู้ใช้ทั่วโลกต่างให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงนี้ แต่ก็มีคนที่ยังคงชั่งใจในการซื้อรถยนต์ประเภทนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากเปลี่ยนแบตเตอรี่แต่ละที จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากถึงหลักแสนเป็นอย่างต่ำ เพราะเหตุนี้ ‘Stora Enso’ บริษัทผลิตวัสดุหมุนเวียนในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ จึงได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่ทำจากต้นไม้ที่มีชื่อว่า ‘Lignode’ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืนสำหรับรถยนต์ EV ในอนาคต Lignode เป็นแบตเตอรี่ที่ทำจากคาร์บอนหมุนเวียนจาก ‘ลิกนิน (Lignin)’ หรือส่วนของผนังเซลล์พืชที่ทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะและทำให้ไม้มีความแข็งและต้านทานต่อการเน่าเปื่อย ซึ่งปกติแล้วภายในต้นไม้แต่ละต้น จะประกอบด้วยลิกนินประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลิกนินเป็นหนึ่งในแหล่งคาร์บอนหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดแหล่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ Stora Enso จึงตัดสินใจเลือกใช้ลิกนินจากต้นไม้ในการผลิต Lignode เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และคาร์บอนกราไฟต์ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้ขับเคลื่อนยานพาหนะในปัจจุบัน กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ Lignode เริ่มจากการแยกลิกนินออกจากเนื้อไม้ และกลั่นบริสุทธิ์จนได้ออกมาเป็นผงคาร์บอนละเอียด (Fine Carbon Powder) เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับทำขั้วบวกลบของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ในชื่อ ‘ผงคาร์บอนแข็ง (Hard Carbon Powder)’ จากนั้นจะถูกนำมาใช้ต่อเพื่อผลิต ‘อิเล็กโทรดคาร์บอนแข็ง (Hard Carbon […]

สัมผัสฮ่องกงในซีนหนังของหว่อง กาไว กับนิทรรศการภาพถ่าย โดย Wing Shya วันนี้ – 29 ม.ค. 66 ที่ HOP ศรีนครินทร์

‘ฮ่องกง’ ของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน  เรามั่นใจว่าคำตอบของหลายๆ คนน่าจะเป็นฮ่องกงที่เป็นเมืองคนเหงา ซึ่งทั้งเศร้าและโรแมนติก เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ของผู้กำกับ ‘Wong Kar-Wai (หว่อง กาไว)’ ใครที่ยังติดตรึงกับภาพเมืองฮ่องกงที่ฉาบไปด้วยแสงไฟสีแดง และปกคลุมไปด้วยบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกแสนโดดเดี่ยว HOP หรือ Hub Of Photography ได้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของศิลปินชาวฮ่องกง ‘Wing Shya’ ผู้ทำงานบันทึกเบื้องหลังภาพยนตร์ของผู้กำกับ หว่อง กาไว ที่เป็นดั่งสื่อกลางช่วยให้ผู้คนเข้าใจภาพของฮ่องกงในเฟรมหนังที่คุ้นเคย Wing Shya คือช่างภาพที่ถ่ายภาพเบื้องหลังภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Happy Together (1997) และ In the Mood for Love (2000) จนถูกใจผู้ชมจำนวนมาก นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายของภาพยนตร์ Eros (2004) และ 2046 (2004) อีกด้วย นอกจากจะเป็นการย้อนกลับไปรำลึกถึงภาพเมืองฮ่องกงเมื่อหลายสิบปีก่อนในความทรงจำ ที่หลายๆ คนรับรู้ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวฮ่องกงแล้ว ภาพถ่ายของ Wing Shya ยังงดงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้แรงบันดาลใจ […]

วัดระดับความเครียดด้วย E-tattoo ส่งคลื่นไฟฟ้าแจ้งข้อมูลผ่านสมาร์ตวอตช์ ใช้ประเมินตัวเองเบื้องต้น ไม่ต้องพบแพทย์

หลายคนคงเคยเกิดอาการเครียดแบบไม่รู้ตัว แล้วจะทำยังไงให้รู้ถึงการมีอยู่ของความเครียดได้  รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้เราประเมินความเครียดได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ทุกวัน ผ่านการอ่านข้อมูลจากรอยสักอิเล็กทรอนิกส์ (E-tattoo) บนฝ่ามือ นักวิจัยจาก University of Texas at Austin และ Texas A&M University ได้พัฒนาเทคโนโลยี E-tattoo ที่ใช้วัดระดับความเครียดในขณะทำกิจกรรมต่างๆ แต่ละวันได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องน้ำหนักและความเกะกะ เพราะรอยสักนี้ไม่มีน้ำหนัก แถมอยู่บนฝ่ามือได้อย่างแนบเนียนจนแทบมองไม่เห็นเลยทีเดียว ตัวหมึกที่ใช้สักทำมาจากกราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในวงการ E-tattoo เพราะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้สูง วัดศักย์ไฟฟ้าจากร่างกายได้ดี นำไปสู่การอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังเป็นหนึ่งในวัสดุที่บางแต่ทนทานที่สุดในโลก นักวิจัยจึงนำกราฟีนมาใช้เป็นหมึกรอยสักร่วมกับวิธีการวัดค่าจากความเปียกชื้นบนฝ่ามือ เมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรือวิตกกังวล E-tattoo จะทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ตวอตช์บนข้อมือ เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังกระบวนการประเมินสุขภาพจิตได้ทันที ถึงแม้ว่ารอยสักคดเคี้ยวที่อยู่บนฝ่ามือนั้นจะทนต่อการเคลื่อนไหวจากการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการเปิดประตูหรือขับรถก็ตาม แต่กราฟีนยังมีข้อเสียในเรื่องของความไวต่อการเคลื่อนไหวของมือ ที่อาจไปรบกวนการอ่านข้อมูล ซึ่งนักวิจัยได้วางแผนพัฒนาวัสดุด้วยการสานริบบิ้นที่ประกอบด้วยกราฟีนและทอง เพื่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างรอยสักกับการใช้งานในอนาคต และอาจนำไปใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ Sources : DesignTAXI | bit.ly/3P8h5WO  The University of Texas at Austin | bit.ly/3h3gXvf

1 52 53 54 55 56 135

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.