
WHAT’S UP
mapmap GO! แผนที่ย่านบางกอกใหญ่ที่อยากให้คนได้เดินเที่ยวดี
สำหรับย่านบางกอกใหญ่ แลนด์มาร์กที่คนรู้จักคงหนีไม่พ้น ‘วัดอรุณฯ’ จุดที่หลายคนแต่งองค์ทรงเครื่องสวมชุดไทยไปถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ภายในย่านบางกอกใหญ่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เราไปค้นหา ‘mapmap GO!’ คือแผนที่ข้อมูลและเส้นทางแนะนำสำหรับวางแผนท่องย่านบางกอกใหญ่ในรูปแบบกระดาษ ผลงานจากการรวมตัวกันระหว่างทีม ‘mor and farmer’ ที่มีสมาชิกคือ ‘ธาริต บรรเทิงจิตร’, ‘ภาสุร์ นิมมล’ และ ‘รินรดา ราชคีรี’ และทีม ‘Refield Lab’ อย่าง ‘นักรบ สายเทพ’, ‘อรกมล นิละนนท์’ และ ‘อัตนา วสุวัฒนะ’ ในนาม ‘CAN : Community Act Network’ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชุมชนและเมืองเอาไว้ด้วยกัน รวมคนและข้อมูลให้เดินเที่ยวดี “เราสนใจเรื่องของการทำข้อมูลและงานแผนที่กันอยู่แล้ว เลยคิดกันเล่นๆ ว่า แล้วถ้าข้อมูลที่เรามีสามารถแปลออกมาเป็นกระดาษให้คนมาใช้งานมันจะเวิร์กไหม เลยเลือกย่านหนึ่งที่ไม่ใหญ่มากอย่างย่านบางกอกใหญ่มาทำ” นักรบ หนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำ mapmap GO! บอกกับเรา นอกจากนี้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ลงเอยที่ย่านบางกอกใหญ่คือ ย่านนี้มีกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนอย่าง ‘ยังธน’ และ […]
The junk, the gems ธีสิสที่ว่าด้วยสิ่งของข้างทาง และไอเดียการประยุกต์แบบบ้านๆ ของคนไทย
นิสัยช่างสังเกตและความชอบในการเดินเมือง ทำให้ ‘ปิ๊ก-ชาคริยา เนียมสมบุญ’ บัณฑิตจากสาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ได้ไปเดินยังจุดต่างๆ ของเมือง และพบความสนใจในการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาจากไอเดียที่พบเห็นสิ่งของข้างทาง จนทำให้เกิดเป็นงานธีสิสชิ้นนี้ขึ้นมา ‘จุดนำสายตา’ เป็นคำนิยามที่ปิ๊กรู้สึกต่อตะกร้าผลไม้ ยางรถยนต์ แกลลอน หรือข้าวของที่วางอยู่ระเกะระกะ ควบคู่ไปกับความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ที่มักหยิบจับสิ่งของที่ดูไม่เข้ากันมาประกอบเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนแค่ไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนไทย ที่เมื่อปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขอย่างถาวรได้ คนไทยก็มักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยไอเดียการประยุกต์ใช้สิ่งของบางอย่าง เช่น ถ้าไม่อยากให้ใครมาจอดรถหน้าบ้าน ก็เอาแกลลอนหรือสิ่งของมาประกอบกันแล้ววางขวางพื้นที่ไว้ รวมถึงสิ่งของบางอย่างที่อาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างตะกร้าพลาสติกที่แตกบริเวณฐาน พ่อค้าแม่ค้าก็ดัดแปลงด้วยการนำมาตั้งเรียงกันเป็นโต๊ะ เพื่อไม่ให้ตะกร้าเหล่านั้นกลายเป็นขยะพลาสติกเสียเปล่าไปเฉยๆ จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากการไปเดินย่านทรงวาดของปิ๊ก และพบเข้ากับเสาไฟที่มีแกลลอนขวดนมตั้งอยู่ตรงฐาน แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในขวดนมจะพบปลั๊กพ่วงซ่อนอยู่ ซึ่งตัวปิ๊กเองคาดเดาว่าอาจจะใช้เพื่อกันน้ำฝน หรือป้องกันไม่ให้ใครเห็น เพราะถ้าจะต่อปลั๊กจากไฟเหล่านี้ต้องมีการขออนุญาตก่อน เสาไฟและขวดนมที่ทรงวาดจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปิ๊กอัปสกิลการสังเกตของตนเองและค่อยๆ พัฒนามาเป็น ‘The junk, the gems’ ธีสิสที่บอกเล่าตามชื่อด้วยเรื่องราวของสิ่งของข้างทางที่เป็นขยะ แต่ถูกนำมาดัดแปลงจนเห็นถึง Gems ที่แทรกอยู่ในขยะเหล่านั้น โดยจุดสำคัญของผลงานชุดนี้คือ การนำเสนอไอเดียและการแก้ปัญหาของคนเมือง พร้อมสอดแทรกความเป็นตัวปิ๊กลงไป ด้วยความตั้งใจที่ไม่อยากเพียงแค่คัดลอกไอเดียที่เห็น แต่อยากจินตนาการเสียมากกว่าว่า ถ้าเธอเป็นคนทำงานชิ้นนี้ออกมา แต่ละงานจะออกมาหน้าตาแบบใด ปิ๊กเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังว่า นอกจากย่านทรงวาดที่ทำให้ได้เจอกับเสาไฟที่จุดประกายไอเดียแล้ว […]
mapmap parti แพลตฟอร์มสำรวจความเห็นและพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่สีเขียว ด้วยการปักหมุดหรือค้นหา ‘สวนสาธารณะใกล้ฉัน’
เคยไหม อยากไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนบ้าง หรือหลายครั้งเหตุผลอาจกลับกัน เพราะใกล้ๆ เรามีพื้นที่สีเขียวลับๆ ที่อยากป่าวประกาศให้คนรู้ แต่ไม่รู้จะบอกยังไง ‘mapmap parti’ คือแพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์การใช้พื้นที่สาธารณะสีเขียว ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจการใช้งาน ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยรวบรวมและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาสวนให้ดีและตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจาก mapmap แพลตฟอร์มร่วมขับเคลื่อนกลไกข้อมูลเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)’ ขั้นตอนการใช้งานแพลตฟอร์มคือ เริ่มต้นด้วยการแชร์สวนสาธารณะที่เราใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปักหมุดสวนที่หายไป หรือเลือกสวนจากพื้นที่ที่มีคนปักหมุดไว้ก่อนหน้า จากนั้นตอบคำถามสั้นๆ 4 หมวด เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน การใช้งานพื้นที่ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาพื้นที่ ส่วนใครที่กังวลว่าแพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลครบจริงหรือเปล่า แล้วถ้าอยากชื่นชมบางพื้นที่ของสวนแล้วอยากให้มาปรับปรุงบางมุมล่ะ จะทำได้ไหม เราขอตอบเลยว่าทำได้ เพราะจากที่ลองเล่นมา สามารถปักหมุดได้ละเอียดสุดๆ อาจจะใช้เวลามากเสียหน่อยแต่รับรองว่าได้ผลตรงใจแน่นอน พอทำแบบสำรวจเสร็จ เพียงเท่านี้ mapmap parti ก็จะประมวลผลจนได้ออกมาเป็นน้อง mapmap ในคาแรกเตอร์ที่ตรงกับการใช้งานของเราในแต่ละสวน แถมยังมีบอกด้วยว่า เราจะเผาผลาญพลังงานได้มากน้อยแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์ถ้ามาใช้บริการสวนสาธารณะแห่งนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต สวนสีเขียวที่ทุกคนปักหมุดและเสนอคำแนะนำไปอาจถูกนำไปพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นและตรงใจเราก็ได้ ยังไงลองเข้าไปเล่นกันดูที่ parti.mapmap.city/park
ชวนเด็กๆ ไปเรียนรู้ชุมชนพร้อมเล่นสนุกใน ‘มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม’ ที่บริเวณถนนรองเมือง วันสุดท้ายของงาน BKKDW 2025
ไม่ต้องรอให้ถึงวันเด็กอีกรอบก็พาเด็กๆ ไปสนุกได้ที่งาน Bangkok Design Week 2025 กับ ‘มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม’ ตอน รองเมือง พร้อมบวก เพื่อให้ทุกการบวกคือพลังที่สร้างการเปลี่ยนแปลง งานนี้นับว่าเป็นพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนเมือง ซึ่งชักชวนเด็กและเยาวชนในย่านหัวลำโพง ทั้งชุมชนวัดดวงแข ชุมชนตรอกสลักหิน ชุมชนแฟลตรถไฟ และชุมชนจรัสเมือง มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งยังเป็นจุดพักผ่อนกายใจ พื้นที่เล่น และพื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ อีกด้วย ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการพร้อมบวก กิจกรรมเวิร์กช็อป เวทีเสวนา การแสดงของเด็กๆ ร้านอาหารจากชุมชน และ Loose Part Play โซนเล่นอิสระกับกิจกรรมที่จะชวนให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกันอย่างปลอดภัย พร้อมกับเสริมพัฒนาการเต็มวัยให้กับเด็กน้อยทุกคนที่มาร่วมสนุก รองเมืองเรืองยิ้ม จัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 วันเดียวเท่านั้น ตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.00 น. ณ บริเวณถนนรองเมือง (ติดกำแพงรถไฟหัวลำโพง) ติดตามข้อมูลและกิจกรรมภายในงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : […]
‘Prompt Park’ สวนที่ชวนทุกคนมาจินตนาการว่า พื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนเป็นอะไรได้บ้าง
โปรเจกต์จากความร่วมมือของ we!park และ MVRDV ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (Embassy of the Netherlands in Thailand) ทดลองพัฒนาพื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะผ่านเทคโนโลยี AI โดยโปรเจกต์นี้ต่อยอดมาจากกิจกรรม ‘Reimagine Underused Areas as Green Infrastructure’ ที่ชวนทุกคนมาลองคิดดูว่า จากพื้นที่ใต้ทางด่วนที่รกร้างและถูกละเลย จะสามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่แห่งโอกาสได้อย่างไรบ้าง จากเวิร์กช็อปทำให้เกิดภาพจินตนาการของพื้นที่สาธารณะสีเขียว เช่น สวนกินได้ พื้นที่เรียนรู้ ศูนย์กลางของชุมชนที่ใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาด Co-working Space ไปจนถึงการพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานสีฟ้า เช่น พื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับเมือง ภายใน Bangkok Design Week 2025 สวนแห่งนี้ได้จัดแสดงเหล่าไอเดียและองค์ความรู้จากการเวิร์กช็อปในรูปแบบของ Interactive Installation พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนลองมามีส่วนร่วมในการออกแบบ ซึ่งรับชมภาพ Generate ที่ออกแบบกันได้แบบเรียลไทม์ แม้การจัดแสดงงานจะจบไปแล้ว แต่การได้เห็น Pop-up Installation สวนจิ๋วพร้อมที่นั่งสตรีทเฟอร์นิเจอร์ และ Lighting Experience […]
‘Bangkok Up+rising : Beyond the Chaos’ นิทรรศการครั้งแรกของ Urban Creature ที่อยากชวนมาสำรวจกรุงเทพฯ พร้อมจินตนาการถึง ‘ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริง’
ที่ผ่านมา Urban Creature ทำงานบนโลกออนไลน์มาตลอด ห่างหายจากออฟไลน์อีเวนต์ไปนาน จนเมื่อปีที่แล้วได้จัดทริปเดินตามคนขับเคลื่อนเมืองครั้งแรกที่พาผู้อ่านของเราไปเดินสำรวจย่านทรงวาดกับกลุ่ม Made in Song Wat ด้วยกัน และมากไปกว่านั้น เรายังได้รับการชักชวนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ให้มาทำนิทรรศการร่วมกับ Studio Marketing Materials (SMM) ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025 ด้วย แม้จะเป็นการทำนิทรรศการครั้งแรก และมีข้อจำกัดเรื่องไทม์ไลน์ แต่สุดท้ายพวกเราก็ทำงานชิ้นนี้ออกมาสำเร็จลุล่วง โดยมี CEA และ SMM ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ในวันที่ไปเยือนนิทรรศการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว พวกเราดีใจมากในฐานะคนทำงานที่ได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ นอกกรอบโลกออนไลน์ และในฐานะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คือการได้ส่งต่อภาพเมืองหน้าที่เราอยากเห็น อย่างน้อยๆ ข้อมูลทั้งหมดที่เรารวบรวมมาก็คัดสรรมาจากกระแสโลก ความสนใจของผู้ติดตามเพจ และทิศทางของเมืองที่คาดการณ์จากอนาคตทั้งสิ้น ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าอยู่ของชาวต่างชาติหลายคน แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว กรุงเทพฯ ยังมีอีกหลายแง่มุมที่คนอยู่อาศัยอยากปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น รวมถึงยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องการการยกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านความสร้างสรรค์ ให้สมฐานะตำแหน่งเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบจากยูเนสโก แต่การปรับเปลี่ยนแก้ไขอาจทำไม่ได้ตามใจนึก เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมค้นหาคำตอบกันว่า ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริงจะเป็นอย่างไร […]
สองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวไป ‘ซัพ’ ของดีในกรุงเทพฯ และโปรดักต์คอลเลกชันพิเศษที่ห้างซัพสินค้า ‘เนเบอร์มาร์ท’
ไม่ว่าจะแห่งหนไหนก็ล้วนมีของดีประจำย่านด้วยกันทั้งนั้น อย่างกรุงเทพฯ เองก็มีเหล่าของกินของใช้ที่นับเป็นของเด็ดของดีประจำย่านจำนวนไม่น้อย เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้หรือไม่ทันสังเกต หนึ่งในชิ้นงานที่เป็นที่พูดถึงในวงกว้างและช่วยเมืองได้จริงใน Bangkok Design Week 2025 คงต้องยกให้โปรเจกต์ เนเบอร์มาร์ท ร้านค้าที่มีแนวคิดสนับสนุน ‘คุณค่า’ ของกิจการเล็กๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และไอแอลไอยู (ILI.U) พันธมิตรชาวคนรักเมืองที่น่ารักของพวกเรา ด้วยความที่มีโอกาสไปเยี่ยมชมร้านค้าเป็นคนกลุ่มแรกๆ แถมยังได้ลองลิ้มชิมรสเครื่องปรุงหลากหลายรสชาติในนิทรรศการประสบการณ์ ‘เครื่องกรุงรส’ ก็ทั้งรู้สึกสนุกและประทับใจในความเป็นหม้อหลอมทางวัฒนธรรมของเมืองหลวงของเรา ไหนจะยังได้ชมสินค้ากับแพ็กเกจจิ้งแบบออริจินัลกับสินค้า Made In กรุงเทพฯ จาก 20+ ย่านการค้า 60+ กิจการ ใน 8 หมวดสินค้า เช่น อาหารแห้งและวัตถุดิบ ของใช้และของแต่งบ้าน เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เครื่องเขียน เป็นต้น ขอบอกว่าละลานตาไปหมด อยากคว้าหยิบใส่ตะกร้าไปจ่ายเงินทั้งร้านให้รู้แล้วรู้รอด ยังไม่นับรวมสินค้าคอลเลกชันที่เนเบอร์มาร์ทไปจับมือกับเหล่าผู้ประกอบการผลิตออกมาอีกนะ อย่างเครื่อง ‘กรุง’ รส ที่รวม 6 เครื่องปรุงรสคัดสรรแบบมินิไซซ์ จากโรงหมักบ่มเก่าแก่ที่ถือกำเนิดในกรุงเทพมหานคร, ชาสามย่าน […]
หมดปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำ ชวนดู ‘ตัวโดนเท’ งานออกแบบสุดเท่ที่ช่วยแก้ปัญหาร้านรถเข็น
‘ตัวโดนเท’ คืองานออกแบบถังดักไขมันพกพาสำหรับรถเข็นจาก ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ แห่ง Everyday Architect Design Studio ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำสาธารณะ จากร้านรถเข็นขายอาหารริมทางที่ยังเทน้ำเสียทิ้งลงท่อระบายตรงๆ อยู่ ทางสตูดิโอเลือกออกแบบถังไขมันขนาดเล็กและพกพาได้ ให้เสียบไว้กับล้อรถเข็นได้ง่ายๆ และใช้งานได้จริง โดยจากข้อมูลงานวิจัย ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชเคยทำมา มีอินไซต์ที่น่าสนใจคือ ร้านรถเข็นส่วนหนึ่งมักพกก้อนอิฐหรือโครงไม้ไว้หนุนล้อ หรือจอดคร่อมระหว่างพื้นต่างระดับเวลาที่พื้นที่จอดไม่พอหรือใช้หลบทางเดินเท้า และใช้หยุดล้อเวลาจอดบนพื้นที่ลาดเอียง ถังดักไขมันพกพานี้เลยทั้งใช้หนุนและล็อกล้อรถเข็นไปได้ในตัว แถมยังช่วยแก้ปัญหาเมืองได้ 2 เรื่อง ได้แก่ ลดการปล่อยน้ำเสียลงท่อโดยตรงด้วยวิธีดักไขมัน และช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเท้ากลับมาด้วยวิธีการจอดรถเข็นแบบคร่อมในพื้นต่างระดับ ใครที่คิดถึงคอลัมน์ ดีไซน์-เค้าเจอ ที่พักซีซันไป ลองแวะมาชมงานแบบชัชๆ ชิ้นนี้ พร้อมพูดคุยถึงแนวคิดและขั้นตอนกระบวนการออกแบบพัฒนาได้ที่งาน Bangkok Design Week 2025 วันนี้ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ซอยเจริญกรุง 32 ข้างไปรษณีย์กลาง บางรัก
ชวนไปชมความสร้างสรรค์ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู ในงาน Bangkok Design Week 2025
เชื่อว่าหลายๆ คนรวมไปถึงศิลปินแขนงต่างๆ ล้วนมีไอเดียมากมายที่อยากพัฒนาพื้นที่ หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลักดันให้คนทั่วไปค้นพบความน่าสนใจในย่านต่างๆ ทว่าติดตรงที่ต้องมีทุนต่อยอดให้ภาพในหัวเกิดขึ้นจริงให้ได้ British Council คือหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ทางศิลปะหรือความคิดสร้างสรรค์ จึงก่อตั้งทุนความร่วมมือทางวัฒนธรรมหรือ Connections Through Culture เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะ ความรู้ หรือการร่วมผลิตผลงาน โดยทุนนี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ระหว่างเอเชีย-แปซิฟิก และสหราชอาณาจักร ซึ่งทางองค์กรเชื่อว่า ความร่วมมือข้ามพรมแดนในสาขาศิลปะต่างๆ จะนำไปสู่ความคิดและแนวทางใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาท้าทายระดับโลก ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือที่เกิดขึ้นยังเป็นส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างศิลปิน นักปฏิบัติด้านสร้างสรรค์ และองค์กรทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ จากสหราชอาณาจักรและประเทศไทย ในปีนี้เอง เราจะได้ชมและเข้าร่วมกิจกรรมสนุกๆ ของโปรเจกต์ Street Wise ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุน Connections Through Culture 2024 และจัดแสดงในเทศกาล Bangkok Design Week 2025 ที่งาน ‘Bangkok Flower Market Festival’ ย่านปากคลองตลาด และย่านบางลำพูกับงาน ‘Bang Lamphu Festival’ ที่ New World […]
House of Bean Book Cafe ร้านเช่าการ์ตูนเก่าย่านลาดพร้าว ที่ผันตัวมาเสิร์ฟกาแฟคุณภาพดีพร้อมมังงะให้อ่านฟรีกว่า 80,000 เล่ม
ในยุคที่ใครๆ บ่นว่าการ์ตูนแพง อยากอ่าน Sakamoto Days ก็ปาไปเล่มละ 300 บาท จะซื้อเล่มเดียวก็พาจะขาดตอน แถมร้านเช่าการ์ตูนก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา House of Bean Book Cafe เป็นหนึ่งในร้านเช่าการ์ตูนเก่าที่ปรับตัวมาเป็นคาเฟ่แต่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของหนังสือการ์ตูน ที่ทางร้านได้เก็บสะสมมังงะเก่าๆ กว่า 80,000 เล่มเอาไว้อย่างดี ที่นี่เป็นร้านเล็กๆ ตั้งอยู่ในซอยเสนานิคม 42 ย่านลาดพร้าว บรรยากาศภายในร้านอบอุ่นและเป็นกันเอง สองข้างของร้านขนาบด้วยชั้นหนังสือไม้ที่มีหนังสือการ์ตูนหลากหลายสไตล์วางไว้ พร้อมด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้และของตกแต่งน่ารักๆ ที่เข้ากับเหล่าการ์ตูน นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีเมล็ดกาแฟดีๆ ที่ได้รับรางวัล 2 ปี จากทั้งออสเตรเลียและเยอรมนีให้เลือกสรร ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายและรสชาติไม่ซับซ้อนจนเกินไป หรือใครไม่ใช่คอกาแฟก็มีเมนูอื่นๆ อย่างมัตฉะให้ชิมกันด้วยนะ ใครอยากจิบกาแฟอร่อยๆ และตามหาการ์ตูนที่อยากอ่านหรือมังงะเก่าๆ ที่อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อก่อนเคยชอบเรื่องนี้มากๆ ไปกันได้ที่ House of Bean Book Cafe ซอยเสนานิคม 42 เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.30 – 18.00 น. […]
ส่องน้องเหมียวในวัดโพธิ์กับกิจกรรม ‘Trip มองแมวจรในโลกเมือง’ บทเรียนการอยู่ร่วมกันของวัดและน้องแมวกว่า 200 ตัว
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ชาว Urban Creature ได้มีโอกาสร่วม ‘Trip มองแมวจรในโลกเมือง’ หนึ่งในกิจกรรมจาก ‘มิวเซียมสยาม’ ใน Activity Series ‘ส่องสรรพในประวัติศาสตร์ ว่าด้วยนานาสัตว์’ เรื่อง แมวในมุมมอง กิจกรรมนี้ต้องการบอกเล่าเรื่องของน้องเหมียว สัตว์เลี้ยงที่ครองใจมนุษย์มาแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน จากเดิมที่แมวเคยได้รับการสักการะในฐานะเทพเจ้า กลายมาเป็นแมวจรในสังคมเมืองปัจจุบัน ซึ่งในกรุงเทพฯ แมวยังคงเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม และเพิ่มจำนวนขึ้นมากจนก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ทำให้เกิดแคมเปญรณรงค์ ‘คิดก่อนเลี้ยง ดูแลจนตาย’ ซึ่งมิวเซียมสยามมองว่าการให้ความรู้ในแง่ประวัติศาสตร์แมวในสังคมไทย ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของแมว และปลูกฝังความรับผิดชอบของผู้เลี้ยง อาจช่วยลดปัญหาเรื่องแมวจรจากสังคมไทยในอนาคตได้ ใน Trip มองแมวจรในโลกเมือง เราได้ ‘พระมหานรินทร์’ ผู้ดูแลระบบจัดการแมวในวัดพระเชตุพนฯ มาเป็นวิทยากรบอกเล่าถึงระบบการจัดการแมวจรที่มาอาศัยอยู่ในวัด ให้พื้นที่ธรรมเป็นพื้นที่ปลอดภัย มนุษย์และแมวอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พร้อมชี้ชวนให้ดูแมวที่อาศัยอยู่ภายในวัดไปตลอดทาง พระมหานรินทร์เล่าว่า ในอดีตทางวัดเองก็มีความพยายามจัดการแมวโดยเรียกให้เจ้าหน้าที่เทศบาลของกรุงเทพฯ มาจับไปอยู่เหมือนกัน แต่ต่อให้จับไปเท่าไหร่สุดท้ายแมวก็กลับมาอยู่ดี อีกทั้งกระบวนการจับยังเป็นที่น่าหดหู่ใจสำหรับท่าน ด้วยเหตุนี้ ในช่วงปี 2557 – 2558 พระมหานรินทร์จึงตั้งใจดูแลแมวภายในวัดเอง ด้วยการควักเงินส่วนตัวในการดูแล ตั้งแต่ซื้ออาหาร จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็น ดูแลพยาบาล […]
ความหวังใหม่เมืองกาญจน์? พาชมรถเมล์ไฟฟ้าทดลองวิ่งโฉมใหม่ ในเส้นทาง ตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง
รถเมล์ไฟฟ้าอาจเป็นสิ่งปกติที่เห็นจนชินตาของคนกรุงเทพฯ แต่สำหรับจังหวัดอื่นๆ หรือแม้แต่ตัวเมืองหลายจังหวัดต่างไม่มีรถเมล์ที่รอบวิ่งแน่นอน หรือกระทั่งไม่มีรถเมล์วิ่งในพื้นที่ด้วยซ้ำไป แต่เหมือนว่าอนาคตอันใกล้นี้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว เพราะเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ทาง ‘อบจ.กาญจนบุรี’ ได้ร่วมมือกับ ‘บริษัท ไทยแสงเจริญ เซอร์วิส จำกัด’ บริษัทนำเข้ารถโดยสารในประเทศไทย ในการนำรถเมล์แอร์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นรถชานต่ำ ซึ่งไม่ต้องก้าวขึ้นบันไดหลายขั้นเหมือนรถเมล์แบบเดิม และมีทางลาดรองรับรถเข็นวีลแชร์เข้ามาทดลองให้บริการในตัวเมืองกาญจนบุรี เส้นทางระหว่างตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง นับเป็นครั้งแรกจากเดิมที่มีเพียงแค่รถสองแถวและรถเมล์พัดลมคลาสสิกวิ่งอยู่เท่านั้น ตัวรถได้ทำการทดลองออกวิ่งในช่วงเช้าและเย็นจำนวน 2 รอบ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม จนถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568 และคาดว่าจะเปิดให้บริการจริงในช่วงกลางปีนี้ โดยมีผู้ใช้บริการหลักเป็นนักเรียนในพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้รถสาธารณะในการไป-กลับโรงเรียนและที่พักอาศัยอยู่แล้ว จังหวัดกาญจนบุรีถือเป็นจังหวัดที่ 2 ที่มีการนำรถเมล์ไฟฟ้าออกมาทดลองให้บริการ ต่อจากก่อนหน้านี้ที่มีการทดลองวิ่งที่จังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางรถเมล์ของ อบจ.ภูเก็ต มาแล้วในช่วงประมาณต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางรถสาธารณะในตัวเมืองโดย อบจ.เองมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีแนวโน้มเห็นรถสาธารณะในตัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความน่ากังวลใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากส่วนมากหลังการทดลองให้บริการ รัฐมักไม่ให้บริการเองแต่เปิดให้เอกชนที่สนใจมาให้บริการมากกว่า ส่งผลให้ถึงแม้เส้นทางมีความต้องการ แต่ถ้าเอกชนเห็นว่าให้บริการแล้วไม่คุ้มทุน เส้นทางเหล่านี้ก็จะถูกลดรอบให้น้อยลงจนไม่สะดวกสบายกับคนในพื้นที่และหายไปอีกครั้งหนึ่งในที่สุด Sources :EV-roads | tinyurl.com/yycrun5xเมืองกาญจน์.com | […]