ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

TOAST เบียร์สัญชาติอังกฤษที่ใช้ขนมปังเหลือทิ้งมาทำเบียร์

หลังจากร้านเบเกอรีทั่วอังกฤษปิดทำการในแต่ละวัน มักจะมีขนมปังเหลือทิ้งจำนวนมาก หลายร้านจึงมีนโยบายลดราคาก่อนปิดร้าน เพื่อทำให้ลูกค้าได้ช่วยชีวิตขนมปังก่อนถูกทิ้งในราคาที่ถูกลง 30 – 50% แต่สำหรับบางร้านที่ไม่ลดราคาและมีอาหารเหลือทิ้งทุกวัน เราสามารถทำอะไรกับขนมปังเหล่านี้ได้บ้าง?  TOAST คือผู้ผลิตเบียร์ในประเทศอังกฤษที่มองเห็นปัญหา Food Waste และอยากลงมือแก้ไขให้เกิดขึ้นได้จริงๆ TOAST มีเป้าหมายคืออยากผลิตเบียร์ที่มีเอกลักษณ์ และให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน จึงใช้ขนมปังเหลือทิ้ง ซึ่งมีข้อแม้ว่าต้องเป็นขนมปังที่ยังสะอาด คุณภาพดี ส่วนใหญ่มักจะเป็นขนมปังที่ทำไว้แล้วขายไม่หมด หรือเป็นส่วนปลายที่ต้องถูกเฉือนทิ้งจากการทำแซนด์วิช เขาจึงนำขนมปังที่เหลือจากการบริโภคเหล่านี้มาใช้แทนธัญพืชในการทำเบียร์ TOAST มีเป้าหมายว่าจะช่วยโลกด้วยช่วยชีวิตขนมปังจากหลุมฝังกลบ ขณะเดียวกันก็ต้องการสร้างความตระหนักเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้ขนมปังในการผลิตเบียร์ของ TOAST ใช้ปริมาณข้าวบาร์เลย์น้อยกว่าผู้ผลิตเบียร์รายอื่นกว่า 30% ที่สำคัญยังสามารถช่วยชีวิตขนมปังไม่ให้ลงหลุมฝังกลบมาแล้วกว่า 2 ล้านชิ้น และผลิตเบียร์ได้ 1.7 ล้านขวด แต่ลำพัง TOAST เพียงยี่ห้อเดียวคงช่วยขนมปังไว้ทั้งหมดไม่ได้ พวกเขาจึงช่วยให้ผู้ผลิตเบียร์เจ้าอื่นๆ รู้จักวิธีเอาขนมปังไปใช้ในการทำเบียร์ด้วยเช่นกัน และเปิดสูตรให้ชาว Homebrewer ที่อยากลองทำเบียร์เองที่บ้านได้ทำตามดูได้ TOAST ยังบริจาคกำไรทั้งหมดให้กับองค์กรการกุศลที่ทำงานเกี่ยวกับ Food Waste ไปแล้วประมาณ 48,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งทำวิธีการนี้ยิ่งทำให้นักดื่มสายรักโลกยิ่งอยากดื่มขึ้นไปใหญ่ เพราะเบียร์ของ […]

ก้าวแรกในอีกสังเวียน ปาเกียวลงชิงประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ลั่นอยากได้รัฐบาลที่มีความซื่อสัตย์

หลังพ่ายในศึกดวลกำปั้นในแมตช์หยุดโลกกับ ยอร์เดนิส อูกัส นักมวยชาวคิวบา นอกจากฟอร์มการชกที่ดร็อปลงไปอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่แฟนมวยตั้งคำถามคือแมนนี ปาเกียว จะกลับมาแก้มือบนสังเวียนอีกครั้ง หรือจะเลือกเดินทางสายการเมืองอย่างเต็มตัว  ล่าสุดอดีตแชมป์โลกมวย 8 รุ่น และสมาชิกวุฒิสภาเพิ่งประกาศว่าจะลงชิงเก้าอี้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ในปี 2022 อย่างเป็นทางการแล้ว โดยตอบรับคำเชิญของกลุ่มลาบัน ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองย่อยในพรรคพีดีพี-ลาบัน หลังจากที่ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต กำลังจะหมดวาระในปีหน้า และไม่มีสิทธิ์ในการลงสมัครเป็นสมัยที่สองตามรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์  อย่างไรก็ตามถึงสถานะของปาเกียวในฟิลิปปินส์คือตำนานที่ยังมีชีวิต แต่ผลสำรวจบอกว่าเขามีคะแนนนิยมน้อยกว่า ซารา ดูเตอร์เต-คาร์ปิโอ ลูกสาวของประธานาธิบดีคนปัจจุบันอยู่ดี ซึ่งดูเตอร์เตเคยกล่าวถึงปาเกียวว่า การเป็นแชมป์บนสังเวียน ไม่ได้การันตีชัยชนะในสนามการเมืองแต่อย่างใด  “ผมเป็นนักสู้ และจะสู้เสมอไม่ว่าจะในสังเวียนหรือนอกสังเวียน เราต้องการรัฐบาลที่รับใช้ประชาชนด้วยความซื่อสัตย์ ความเข้าอกเข้าใจ และความโปร่งใส เราต้องการความก้าวหน้า เราต้องเอาชนะความยากจน ผมพร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่ความท้าทายของการเป็นผู้นำ”  โดยก่อนหน้านี้ปาเกียวได้เดินหน้าต่อต้านการทุจริตผ่านบทบาทในสภาด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จัดซื้อในช่วงการระบาดของโควิด-19 ว่ามีราคาที่สูงเกินไป และชูนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน ในการลงสมัครครั้งนี้อีกด้วย  อย่างไรก็ตามเจ้าของฉายา ‘แพ็กแมน’ ยังไม่ได้ประกาศแขวนนวมอย่างเป็นทางการ แม้จะต้องทุ่มเทให้กับการคิดค้นนโยบายและการหาเสียงก็ตาม 

ไม่ใช่แค่ผู้หญิงที่ท้อง และเลี้ยงลูกได้! Emoji เพิ่มผู้ชายตั้งท้องบนแป้นพิมพ์ เพราะบนโลกมีอีกหลายเพศที่มีลูก

ไม่ใช่แค่ผู้หญิงที่ท้อง และเลี้ยงลูกได้! Emoji จึงเพิ่มผู้ชายตั้งท้องบนแป้นพิมพ์ เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เพราะบนโลกนี้ยังมีผู้ชาย, Non-binary อีกหลายเพศที่มีลูกได้ และความเป็นแม่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้หญิงเพศเดียวเท่านั้น คอนเฟิร์มแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปี 2021 ว่า Unicode Consortium องค์กรผู้พัฒนารหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระมาตรฐานโลก อย่าง Emoji จะออก Unicode Standard เวอร์ชัน 14.0 ในช่วงปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 โดยเพิ่ม Emoji ใหม่ 37 รายการ รวมเป็น 3,633 มุ่งสร้างความหลากหลายในสังคม หนึ่งในนั้นคือ ‘ความหลากหลายทางเพศ’ ซึ่งมีการเพิ่ม Emoji ผู้ชายข้ามเพศ และนอนไบนารีอุ้มท้อง เพื่อสื่อว่าบนโลกนี้ไม่ได้มีแค่ผู้หญิงที่ตั้งท้องได้ ทั้งยังส่งเสริมการไม่ตัดสินคนจาก Gender Role หรือบทบาททางเพศว่าผู้หญิงต้องผมยาว หรือมีลักษณะแบบไหน เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานตีความ Emoji ดังกล่าวเป็นผู้หญิงผมสั้นตั้งท้อง หรือผู้ที่เป็นกลางทางเพศ (​​Gender Neutral) […]

MUJI ออกอุปกรณ์รับมือภัยพิบัติ ฉบับมินิมอล เตรียมพร้อมทุกเหตุไม่คาดฝัน ด้วยคอลเลกชัน ‘Itsumo Moshimo’

MUJI แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์จากประเทศญี่ปุ่นที่ขายตั้งแต่ ขนม เสื้อผ้า เครื่องเขียน เครื่องครัว ไปจนกระทั่งขายบ้านทั้งหลัง และเป็นที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหวอยู่เป็นประจำ ทำให้ผู้คนต้องเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดอยู่เสมอ ล่าสุดเหล่าแฟนๆ MUJIเตรียมเสียเงินอีกครั้ง เมื่อ MUJI ออกชุดรับมือภัยพิบัติ ‘Itsumo Moshimo’ หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ‘เตรียมพร้อมไว้เสมอ’ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นชุดสำหรับรับมือภัยพิบัติแบบฉุกเฉิน โดยแบ่งออกเป็น 3 ชุด 3 ราคาตามอุปกรณ์ที่มีมาให้ เริ่มจากชุดเล็ก “Portable Set” ชุดพกพา ในราคา 990 เยน (ราว 300 บาท) ในชุดประกอบไปด้วยปลาสเตอร์ หน้ากากอนามัย ซองพลาสติก ทิชชูเปียกป้องกันแบคทีเรีย ชุดกลาง “Take Out Set.” มีอุปกรณ์ทุกอย่างของชุดพกพาในราคา 3,990 เยน (ราว 1,200 บาท) ที่มีการเพิ่มไฟฉายสวมหัว ที่อุดหู ผ้าห่มฉุกเฉิน กระเป๋าสะพายข้าง และซองกันน้ำ มาพร้อมกับดีไซน์หูจับที่สามารถหยิบอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุด่วนได้โดยง่าย และเซตสุดท้าย “Furnish […]

เดนมาร์กสร้างศูนย์วิจัยภูมิอากาศที่ทั้งเท่และเป็นมิตรต่อโลก

สตูดิโอสถาปัตยกรรม Dorte Mandrup เจ้าของคำนิยามตัวเองว่า ‘Specializes in Irreplaceable Places.’ เพิ่งจะเปิดตัวชุดภาพถ่ายอันน่าทึ่งเซตแรกของอาคาร Ilulissat Icefjord Centre ศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศ และแหล่งเยี่ยมชมแนวชายฝั่งอันขรุขระของกรีนแลนด์ในประเทศเดนมาร์กไปหมาดๆ Ilulissat Icefjord ตั้งอยู่ห่างจากอาร์กติกเซอร์เคิล (บริเวณพื้นที่วงกลมที่อยู่ในละติจูดสูง ครอบคลุมบริเวณโซนขั้วโลกเหนือ) ไปทางตอนเหนือ 250 กิโลเมตร อาคารแห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านการค้นคว้าวิจัย การศึกษา และจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจผลกระทบด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค โปรเจกต์ใหญ่เบิ้มนี้มีการลงทุนโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยได้รับแรงสนับสนุนร่วมจากมูลนิธิ Realdania ประเทศเดนมาร์ก ‘Dorte Mandrup’ สถาปนิกหญิงชาวเดนมาร์ก เจ้าของสตูดิโอสถาปัตยกรรมผู้รับหน้าที่ด้านการออกแบบ ตั้งใจดีไซน์โครงสร้างอาคารให้เป็นรูปสามเหลี่ยมรูปทรงบิดโค้ง (Twisted) ที่มีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนบริเวณชั้นดาดฟ้า หัวใจสำคัญของการออกแบบสร้างอาคารแห่งนี้ คือการทำให้ตึกดูโปร่งโล่งและมีน้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกถึงความเชื่อมโยงไปกับสภาพภูมิทัศน์โดยรอบอย่างกลมกลืน Mandrup เผยว่าศูนย์ Icefjord เปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบภัยที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศอันน่ามหัศจรรย์ และถูกสร้างสรรค์ด้วยความตั้งใจให้เป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติ ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับความสวยงามของภูมิทัศน์อันกว้างไกลและดูไร้ขอบเขตของแถบอาร์กติก ทั้งยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างความมืดมิดและแสงสว่าง เป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ทำให้เห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน และได้ดูแสงเหนือเต้นรำระยิบระยับบนท้องฟ้า และเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ด้านการตรวจสอบและดูแลสภาพภูมิอากาศของอาคาร โปรเจกต์นี้จึงยึดการออกแบบที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ด้วยการลดการใช้คอนกรีตโดยไม่จำเป็น เพราะผู้คนต่างรับรู้กันดีว่ามันเป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ (ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ) จำนวนมาก  […]

ข่าวดีสำหรับคนกลัวเข็ม นักวิทย์วิจัยวัคซีนกินได้จากพืชสู้โรคระบาด ต้นทุนต่ำ และขนส่งง่ายกว่า mRNA

ข่าวดีสำหรับคนกลัวเข็ม เมื่อนักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยผลิตวัคซีนจากพืช ที่ใช้วิธีการกินแทนการฉีดเข้าร่างกาย ซึ่งคาดว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าการต่อสู้กับเชื้อโรคไปโดยสิ้นเชิง เพราะราคาถูกกว่าและผลิตได้ง่ายกว่าวัคซีนแบบดั้งเดิม ที่สำคัญคือ ไม่ต้องถกแขนเสื้อ เบือนหน้า แล้วหลับตาปี๋อีกต่อไป  การผลิตวัคซีนกินได้จากพืชใช้วิธีในการทำฟาร์มระดับโมเลกุล ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเป็นวัคซีนทางเลือกที่ถูกกว่าวัคซีนเชื้อตายหรือ mRNA เพราะพืชต้องการเพียงที่ดิน น้ำ และแสงอาทิตย์ เข้าถึงทุกคนได้ง่ายกว่า mRNA เพราะสามารถขนส่งได้ในอุณหภูมิห้อง และจากการทดลองทางคลินิกพบว่าใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ในการผลิต  อย่างไรก็ตาม วัคซีนจากพืชไม่ใช่แนวคิดใหม่เพราะ FDA เคยรับรองวัคซีนจากพืชสำหรับโรค Gaucher ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หาได้ยากในมนุษย์มาแล้ว เพียงแต่วัคซีนชนิดนี้ต้องฉีดผ่านเข็มฉีดยาเหมือนวัคซีนทั่วไป ซึ่งการทำให้แอนติเจนบริสุทธิ์จนสามารถฉีดเข้าร่างกายได้ยังใช้เวลานาน ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองว่าเราควรหันไปโฟกัสเรื่องการกินพืชโดยตรงเพื่อให้กระบวนการทุกอย่างสั้นลงและมีราคาถูกขึ้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เราน่าจะคุ้นกันดีกับวัคซีน mRNA ที่ทำงานโดยการส่งรหัสพันธุกรรมของไวรัสไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Pfizer พึ่งได้การรองรับเต็มรูปแบบจาก FDA สหรัฐฯ ไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ ซึ่ง mRNA ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ใหม่มากทางการแพทย์ เพราะในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์จะให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านวัคซีนเชื้อตาย ที่ผลิตจากเทคโนโลยีไข่ไก่ฟักและใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก่อนจะพัฒนามาเป็นวัคซีนโควิด-19 อย่าง AstraZeneca หรือ Sinovac  นอกจากตัวเลขภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่า mRNA ข้อเสียของวัคซีนเชื้อตายคือใช้เวลาในการผลิตที่นานเกินไป ส่วน mRNA […]

คุณเกิดมามีแต้มบุญเท่าไหร่ในประเทศนี้? เสี่ยงดวงออนไลน์และดูความเหลื่อมล้ำ กับเซียมซี “โชคดี…ที่ได้เกิดเป็นคนไทย?”

ถ้าชาติหน้ามีจริง อยากเกิดเป็นคนไทยไหม?“อยากสิ ฉันโชคดีจะตายที่ได้เกิดเป็นคนไทย”“ไม่อยาก การเกิดเป็นคนไทยคือโชคร้ายของฉัน” ไม่ต้องตอบตอนนี้ก็ได้ ลองอธิษฐาน แล้วเขย่าเซียมซีสุ่มชะตาของคุณในชาติหน้ากับ Data Story “โชคดี…ที่ได้เกิดเป็นคนไทย?” จาก Punch Up กลุ่มคนทำงานสื่อ ดีไซน์ และเทคโนโลยีที่ตั้งใจผลักดัน Data Journalism และ The Read กองบรรณาธิการที่อยากให้คุณได้อ่านปัญหาสังคมด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย ชวนมาเสี่ยงเซียมซีทำนายอนาคตเล่นๆ ว่าชาติหน้าเราจะมีแต้มบุญเท่าไหร่ อาจจะเป็น 50/100 เกิดบ้านจน แต่ชะตาดีไม่มีอาย หรือ 30/100 รวยแน่นอน แต่ชะตากลับซวยหนัก ไม่รู้จะเลือกรวยหรือซวยดีกว่ากัน ไม่ว่าคุณจะสุ่มได้ใบไหน คุณจะเห็นความเหลื่อมล้ำเรื่องสวัสดิการชีวิตของเด็กเล็ก เพราะความเหลื่อมล้ำเริ่มตั้งแต่คุณเกิด ถ้าเป็นเด็กยากจนจะมีหนังสือเด็กที่บ้านไม่ถึง 3 เล่ม ขาดโอกาสกระตุ้นสมอง มีปัญหาพัฒนาการภาษา และการเรียนเมื่อโตขึ้น หรือถ้าเกิดเด็กรวยในครอบครัวข้าราชการไทย ผู้เป็นแม่สามารถเบิกค่าทำคลอด และได้เงินเดือนช่วงลาคลอด ก็ช่วยแบ่งเบาภาระได้พอตัว แล้วถ้าจนล่ะ? ก็ไม่ได้สักบาทและไม่มีสวัสดิการจากรัฐเลยสักอย่าง ที่สำคัญเซียมซีหนึ่งใบยังพาคุณไปดูข้อมูลสำคัญที่ชี้ว่างบต่อหัวที่รัฐลงทุนในเด็กเล็ก (0 – 3 ปี) นั้นน้อยขนาดไหน เคยมีใครสัญญาว่าจะลงทุนกับสวัสดิการเด็กเล็ก […]

‘มนูญชัย’ แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

มนูญชัย แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

เรียนออนไลน์ทำเด็กเครียด Meet Your Monster ชวนมาพัก สำรวจมอนสเตอร์ในใจ รู้จักตัวเองให้มากขึ้น

การเรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย และหดหู่ เรื่องราวทั้งหมดที่ต้องเผชิญล้วนก่อตัวกลายเป็นมอนสเตอร์จอมป่วน ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจพวกเราทุกคน มอนสเตอร์เหล่านี้ไม่ได้เข้ามาก่อกวนสภาวะทางจิตใจแต่อย่างใด แต่เป็นเหมือนเพื่อนอีกคนภายในใจที่ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อทำความรู้จักกับมอนสเตอร์ภายในจิตใจลองแวะมาพักสำรวจจิตใจทั้งภายในและภายนอก และเรียนรู้ที่จะเป็นเพื่อนกับมอนสเตอร์ของคุณกันสักหน่อย ผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่า Meet Your Monster เครื่องมือ Check-up สุขภาพใจเบื้องต้นแบบเข้าใจง่ายสำหรับนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ที่ถูกพัฒนามาจากความเชี่ยวชาญของนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น จากการร่วมมือกันของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กับ Glow Story และทีมนักจิตวิทยา MASTERPEACE สร้างเครื่องมือทำให้เด็กนักเรียนสามารถได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ในรูปแบบสอบถามที่ทำให้พวกเขาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ผ่านตัวการ์ตูน 4 ประเภท Flexa, Griz, Shad, Zens ซึ่งมอนสเตอร์ทั้งสี่ก็จะมีอุปนิสัยและพลังพิเศษที่แตกต่างกันออกไป ตามอุปนิสัยของผู้ทำแบบทดสอบ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันสภาวะจิตใจของตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งมี How to ดูแลมอนสเตอร์ของเรา ซึ่งทำให้รู้จักวิธีการรับมือกับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรวจมอนสเตอร์ในใจได้ที่ : meetyourmonster.paperform.co/

โควิดหลบไป ฟินแลนด์จะผลิตวัคซีนแบบพ่นจมูก

ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกเซอร์ไพรส์สุดๆ ว่าวัคซีนอะไร ทำไมถึงใช้พ่นทางจมูกได้นะ แต่นี่คือเรื่องจริงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะโลกของเรากำลังจะได้ยลโฉมเจ้าวัคซีนชนิดนี้แบบเต็มตา นวัตกรรมนี้มาจากฐานการวิจัยของสองพันธมิตรอย่าง ‘มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ’ และ ‘มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นฟินแลนด์’ ในประเทศฟินแลนด์ และอีกไม่นานเกินรอนัก การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนก็จะเริ่มต้นขึ้นในปลายปีนี้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นพอๆ กับวัคซีนแบบละออง ก็คือการที่ศูนย์วิจัยในฟินแลนด์ใช้หัวมนุษย์เทียมในห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยได้ตรวจสอบกลไกของการหยด และการส่งละอองวัคซีนเข้าไปในจมูก ศีรษะประดิษฐ์สุดล้ำนี้ เปิดตัวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งหายใจ ไอ จามได้ และเหมาะกับการทดสอบละอองลอยในรูปแบบต่างๆ มาก ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยของการทดลองวัคซีน ยังนำมาช่วยด้านการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจในท้องตลาดได้อีกด้วย ผู้ออกแบบสเปรย์เล่าว่าส่วนประกอบของวัคซีนพ่นจมูกสำหรับป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์ตัวนี้ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงฤดูร้อน (ก.ค. – ก.ย.) เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะช่วยป้องกันเราจากสายพันธุ์ไวรัสโดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำโปรเจกต์ที่เป็นศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอย่าง Kalle Saksela บอกว่านอกจากจะพ่นวัคซีนทางจมูก เป้าหมายสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 สายพันธ์ุต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยก็ไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพราะในเบื้องต้น เจ้าวัคซีนที่นำเข้าสู่ร่างกายคนผ่านรูจมูกตัวนี้ยังได้เงินทุนประมาณ 9 ล้านยูโรจากนักลงทุนมาพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น แถมยังได้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองทางคลินิกเข้ามาช่วยซัปพอร์ตทีม สำหรับวัคซีนเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดนั้น พบว่าจะช่วยเรื่องการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยัง…ยังไม่จบแค่นั้น ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ยังมีฟังก์ชันที่ใช้งานเป็นวัคซีนเสริม […]

1 102 103 104 105 106 133

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.