Featured
เราสูญเสียป่ากันไปเท่าไหร่กับไฟป่าภาคเหนือ
ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือกินระยะเวลาหลายเดือน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 จนถึงขั้นวิกฤตส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กระทั่งเมื่อต้นเดือนเมษายน มีฝนโปรยปรายลงมาทำให้ไม่พบจุดความร้อนแล้วและมีค่าฝุ่นดีขึ้นในช่วงนี้
Park พื้นที่พักผ่อน (เฉพาะชนชั้นสูง) ที่มีมานาน แต่ต้องประท้วงถึงจะได้เป็นสวนของสาธารณะ
รู้หรือไม่ ‘Park’ อาจไม่ใช่พื้นที่สาธารณะตั้งแต่แรก เมื่อความแตกต่างของชนชั้นกลายเป็นเส้นแบ่งความอิสระของการใช้พื้นที่
Apaul Product แบรนด์ยาดมที่ออกแบบประสบการณ์ผ่านการดมกลิ่น
ความท้าทายครั้งใหม่ของการสร้างแบรนด์ยาดม ให้กลายเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขของการดมกลิ่นที่ไม่ว่าจะเรื่องทุกข์ใจ เศร้าจนน้ำตาไหล หรือเครียดจัดจนเวียนหัว Apaul Product อยากให้คุณเชื่อว่าการดมกลิ่นสามารถบำบัดอาการเหล่านั้นให้ทุเลาลงได้
Minari หนังชิงออสการ์ที่พิสูจน์ว่า ‘ความเจ็บปวด’ คือส่วนหนึ่งของการเติบโต
Minari ‘หนังครอบครัว’ ชิงออสการ์คุณภาพดีที่การันตีว่าควรดู
แปลงโฉม ‘ป่าช้า’ ให้คนอยู่ได้ใช้พื้นที่
‘ป่าช้า’ กับ ‘คนไทย’ อยู่คู่กันมาหลายร้อยปี โดยมีฟังก์ชันเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งศพ เผาศพ และฝังศพก็ตาม อีกทั้งบางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง บางแห่งเป็นถนนตัดผ่าน หรือสร้างเป็นอาคารสำหรับพักอาศัย
รับมืออย่างไร เมื่อเจอโพสต์อยากฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล
“เรามีความสุขเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะวันนี้คือวันสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่”“เราคงไม่ได้ตื่นขึ้นมาเห็นพระอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้อีกต่อไปแล้ว”“สำหรับเราความตายไม่ใช่ความเจ็บปวดที่สุด แต่คือการมีชีวิตอยู่ต่างหาก” ถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดจากคนแปลกหน้าบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อบอกว่าเบื้องลึกจิตใจของ ‘เขา’ ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งอื่นใด จำนวนโพสต์บนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่กำลังเดินไปข้างหน้า หนึ่งโพสต์ “เราควรช่วยเหลือเขาไหม” สองโพสต์ “หรือเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา” สามโพสต์ “ถ้าช่วยต้องทำยังไง” หนึ่งชีวิตที่ไม่เคยรู้จักกัน แต่ความเป็นความตายของเขากลับปรากฏขึ้นตรงหน้า ส่งผลให้เกิดความลังเลไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร เพราะคอมเมนต์บางส่วนอวยพรให้เขาไป แต่บางส่วนพยายามดึงให้เขากลับมา แล้วเราต้องทำอย่างไร ถ้าหากเจอ ‘คำเตือนแห่งความตาย’ โลดแล่นบนอินเทอร์เน็ต ฉันจึงชวน ‘ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี’ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการรับมือในประเด็นนี้ ซ่อนเหตุผลบางอย่างในทุกการโพสต์ คุณคิดอะไรอยู่: เบื่อว่ะ วันนี้ไม่มีความสุขเลย คุณคิดอะไรอยู่: ผิดหวังกับคะแนนสอบอีกแล้ว อยากหายตัวไปเลย คุณคิดอะไรอยู่: ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว เราไม่อยู่เป็นภาระใครแล้วนะ คิดจะโพสต์ก็โพสต์ไม่ใช่เรื่องสิ้นคิด เพราะหลายคนเลือกระบายความอัดอั้นตันใจ ลงกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความเศร้า ความผิดหวัง ความเหนื่อย ความท้อแท้ หรือบังเอิญเจอเรื่องตลก ทุกข้อความที่พิมพ์ ย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เขาอยากโพสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสะท้อนตัวตน ตั้งแต่อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ณ […]
Our Land เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเอกชนแห่งกาญจนบุรีที่มนุษย์และสัตว์อยู่ร่วมกันได้
พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Our Land แห่งจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปลี่ยนมุมมองที่ว่าคนกับสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพื่อให้เราเข้าใจและรู้สึกว่าธรรมชาติคือบ้านอีกหลังหนึ่งของเรา และสัตว์ป่าก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างคุณค่าต่อโลกใบนี้เช่นกัน
แม็กซ์ เจนมานะ พ่อแก่นเซี้ยวที่สอนให้ลูกรู้จักความเทาของคนและใช้ชีวิตให้เก๋ากว่าพ่อ
สัมภาษณ์ : แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะประเด็น : แม็กซ์กับบทบาทความเป็นพ่อของน้องชัดเจนบรีฟ : สัมภาษณ์พร้อมถ่ายภาพประกอบ แต่งตัวแก่นเซี้ยว สนุกๆ มาเลยนะคะ “ได้เลยครับ 55555” แม็กซ์พิมพ์ตอบภายใน 2 นาทีหลังจากส่งบรีฟให้เขาทางไลน์ ถัดจากฉันไม่ถึง 3 ก้าว คือชายผิวขาว ตาสีน้ำตาลอ่อน มีโครงหน้าค่อนไปทางฝรั่งจนฉันเคยเข้าใจผิดว่าเขาเป็นลูกครึ่งแน่ๆ ตั้งแต่ประกวดร้องเพลงเวที The Voice Thailand ไปจนถึงออกซิงเกิลติดปากมากมาย เช่น ไวน์, วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า, ปีศาจ และล่าสุด วันนี้ฉันอยากไปทะเล แต่แท้จริงเขาเป็นลูกชายคนโตประจำตระกูลเจนมานะ บ้านที่แวดล้อมไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน มีอากง อาม่า ป๊า ม๊า ที่เลี้ยงดูอย่างเข้มข้นและเข้มงวดบ้างตามค่านิยมสังคม แถมถูกปลูกฝังความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวใหญ่ตามแบบฉบับธุรกิจกงสี ฉะนั้น จะเรียกเขาว่าลูกครึ่งไทย-จีน คงไม่ผิดเพี้ยน แม้แม็กซ์เติบโตมากับแนวคิดดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน แต่ทัศนมิติรอบด้านในฐานะ ‘พ่อคน’ กลับใหม่เอี่ยมและจี๊ดจ๊าด เพราะ เด็กชายชัดเจน เจนมานะ ลูกชายวัย 5 ขวบครึ่งของเขาไม่ต้องคิดเรื่องทดแทนบุญคุณ ไม่ต้องมาเลี้ยงเขายามแก่ […]
‘ทรงวาด’ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดแห่งพระนคร
จุดเริ่มต้นของย่าน ‘ทรงวาด’ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้หลายครั้งเพราะความแออัดของชุมชน และตัวอาคารที่เป็นไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงวาดแนวถนนบนแผนที่ขึ้นมาใหม่ เป็นเส้นตรงจากท่าน้ำราชวงศ์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดปทุมคงคาฯ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ย่านสำเพ็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลูกสร้างอาคารอย่างเดิม ตึกรามบ้านช่องก็จะแน่นหาทางเดินไม่ได้ และรับสั่งให้เปิดเป็นถนน รถราจะได้มีโอกาสแล่น ไม่ต้องแออัด เมื่อสำเร็จความเจริญก็เข้ามาถึง ถนนสายนี้จึงมีนามว่า ‘ทรงวาด’ เวลา 09.00 น. แสงแดดสาดส่องยังตึกเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล ที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูหน้าต่างแบบกอทิก ประดับประดาด้วยไม้ฉลุสีเขียวอย่างวิจิตร ตึกแห่งนี้เคยเป็นห้างขายผ้าที่นำเข้าจากอินเดีย จนมีชื่อเล่นว่า ‘ตึกแขก’ มนตร์เสน่ห์ของตึกแขกดึงดูดทุกสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณหัวมุมถนนทรงวาดตัดกับถนนราชวงศ์ รวมถึงเชื้อเชิญให้เราเข้าไปเยือนถนนทรงวาด เพื่อตามหาร่องรอยอารยธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังถนนย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดของพระนคร ร่องรอยความรุ่งเรืองของย่านทรงวาด เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปยังทรงวาด เพียงไม่กี่ก้าวเราก็พบร้านค้าพืชพันธุ์ทางการเกษตรตลอดสองข้างทาง ได้เห็นตึกแถวที่เป็นโกดังสินค้า รถเข็นของ คนยกกระสอบ รถบรรทุก และนกพิราบที่คอยกินพืชผลที่หล่นจากกระสอบ ซึ่งภาพทั้งหมดฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงหลงเหลือ มีหนึ่งเรื่องเล่าตลกๆ ที่คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้เราฟัง สมัยก่อนถ้าคุณต้องการพืชพันธุ์แค่หยิบมือ ให้เดินไปหยิบจากกระสอบได้เลย ไม่ต้องซื้อ เรื่องเล่านี้ตีความได้หลายแง่ อาจจะหมายถึงร้านค้าแถวนี้เน้นการขายส่งเป็นหลัก หรือในอีกความหมายหนึ่ง อาจจะหมายถึงความร่ำรวยของพ่อค้าแม่ค้าบนถนนสายนี้ก็ว่าได้ หากเราบอกว่าเมื่อเกือบร้อยปีก่อนท่าน้ำที่ปัจจุบันไร้เงาเรือ เต็มไปด้วยเรือน้อยใหญ่จอดเทียบเต็มน่านน้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เพราะปัจจุบันท่าเรือเหล่านี้คงเหลือไว้เพียงเค้าลางที่ยังพอเล่าอดีตให้เราฟังได้ว่า ‘ทรงวาด’ เคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญทางเรือ สังเกตได้จากเสาท่าเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดแนวแม่น้ำ […]
‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่วง Mints ที่ชวนผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนกับเด็กอาบน้ำเย็นมานั่งคุยกัน
ฉันฟัง อัด-อวัช รัตนปิณฑะ ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งแรกตอนชวนเขามาออฟฟิศย่านเอกมัยของฉันเพื่อคุยถึงปัญหาทางเท้า และพาเดินถนนให้เห็นกันจะจะ ว่าฟุตพาทมันพัง สายไฟมันพัน หรือท่อระบายน้ำมันชำรุดแค่ไหน จนเกิดบทความ ‘อัด อวัช พาเดินสำรวจ (ปัญหา) ทางเท้าจากภาษีประชาชน’ ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สองที่เราได้เจอกันและฟังกัน ฉันฟัง ตน-ต้นหน ตันติเวชกุล ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งนี้เป็นครั้งแรก (จบพาร์ตเกริ่น คุณจะได้รู้ว่าเด็ก ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น คนนี้ ความคิดโตขึ้นเรื่อยๆ) แต่ก่อนหน้า ฉันชอบฟังเขาเล่นเบสลงอินสตาแกรม และชอบไลฟ์สไตล์ไม่จำกัดเพศที่อยากใส่กระโปรงก็ใส่ อยากทาเล็บก็ทา อยากพูดคะขาก็ไม่ต้องแคร์ใคร เพราะเชื่อในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ฉันฟัง ‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่ของพวกเขาในฐานะศิลปินวง Mints จากค่าย What The Duck ที่ปล่อยออกมาวันที่ 18 มีนาคม 2564 เป็นวันแรก ซึ่งเป็นเพลงที่อัดตั้งใจแต่งเนื้อ ตนทุ่มเทออกแบบบีตและซาวนด์ดนตรี และลงมือช่วยกันทุกขั้นตอนร่วม 6 เดือน เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันหันหน้าฟังกันมากขึ้น ทั้งชวนคนรุ่นเก่าเปิดใจฟังเสียงคนรุ่นใหม่ให้มองเห็นความสมเหตุสมผลในการปรับมายาคติแบบเดิมๆ เพื่อใช้ชีวิตร่วมกัน และบอกคนรุ่นใหม่ว่าถ้ามองผู้ใหญ่เป็นคนไม่ทันโลก โดยไม่ลองอธิบายให้ฟังก่อน […]
‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?
เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5
สำรวจร่างกายผ่านศิลปะที่เกิดจากการเฝ้ามองรอยเย็บแผลของ Visual Artist ‘อลิสา ฉุนเชื้อ’
เคยสังเกตไหม ว่าดวงตาของเราสีอะไรเคยสังเกตไหม ว่าไฝบนตัวเรามีตรงไหนบ้างเคยสังเกตไหม ว่าความเครียดทำให้หน้าตาไม่สดใสหรือเปล่าเคยสังเกตไหม ว่าเรากัดเล็บทุกครั้งเวลาเจอภาวะกดดัน จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของเรา ที่หันมาสังเกตร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง รอยแผลเป็น สภาพจิตใจ หรือบริบทรอบกายเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่ง ‘นุ้ย-อลิสา ฉุนเชื้อ’ Visual Artist ผู้สำรวจร่างกายและเบื้องลึกจิตใจของตัวเอง นำมาตีความใหม่ แล้วบอกเล่าผ่านศิลปะ โดยที่เราไม่ต้องอยู่ในเหตุการณ์ชีวิตของเธอก็เข้าใจได้ ฉันยืนมองโปรเจกต์ The Resonance ผลงานชิ้นล่าสุดของอลิสา ปรากฏลายเส้นที่วาดซ้ำกันไปมาอย่างเป็นระบบระเบียบบนกระดาษขนาด A3 ซึ่งถูกแขวนบนฝาผนังของแกลเลอรี SAC Gallery อ่านคำโปรยทำให้รู้ว่า งานชุดนี้ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘รอยเย็บแผล’ บนร่างกายของผู้ป่วยใกล้ตัว ซึ่งปลุกความสนใจของฉันต่อศิลปินอยู่ไม่น้อย จึงไม่รีรอที่จะต่อสายตรงถึงอลิสาเพื่อทำความรู้จักมุมมองของศิลปินให้ลึกซึ้งกว่าก่อน อลิสา คือศิลปินที่สมุดสเก็ตช์เต็มไปด้วย Mind Mapping วินาทีที่ฉันดูสมุดสเก็ตช์ของอลิสากลับต้องแปลกใจ เพราะสมุดของเธอเต็มไปด้วยร่องรอยขีดเขียน Mind Mapping ประโยค และคีย์เวิร์ดสั้นๆ ทั่วหน้ากระดาษ หลังจากอลิสาเปิดสมุดของเธอให้ฉันดู เธอก็หลุดขำถึงความย้อนแย้งในอาชีพศิลปินของตัวเอง “เราทำ Mind Mapping เพื่อขุดเบื้องลึกจิตใจของตัวเองออกมา มันเริ่มจากตอนทำธีสิส อาจารย์ที่ปรึกษาเขาให้เขียนสิ่งที่อยู่ในหัว เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ […]