Featured
Linghokkalom นักวาดภาพสาว ผู้หยิบ 10 หญิงไทยที่ขับเคลื่อนสังคมมาสื่อสารให้คนรู้จักกันดีมากขึ้น
วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีคือ ‘วันสตรีสากล’ เป็นวันสำคัญที่ซัปพอร์ตขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของผู้หญิงทั่วโลก บ้างใช้เพื่อเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง หรือบ้างก็ใช้เพื่อเป็นวาระของการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกกีดกันด้วยอคติเพราะเหตุแห่งเพศนานาประการอีกต่อไป ไม่ต่างจาก เนอส–วิศัลย์ศยา ลอยไสว นักวาดภาพประกอบอิสระเจ้าของนามปากกา Linghokkalom ที่มองเห็นคุณค่าความสำคัญของผู้หญิงทุกๆ คน เธอตัดสินใจนำภาพวาดผลงานที่ตัวเองเคยสร้างสรรค์เอาไว้ในโปรเจกต์ The Hundred Women เมื่อปี 2021 มาเผยแพร่บนเพจ Visansaya L. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา The Hundred Women Project เป็นโปรเจกต์ที่นำเสนอภาพวาดผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลจากทั่วทุกมุมโลกผ่านสายตาและฝีมือของนักวาดภาพประกอบหญิงที่เป็นตัวแทนจากแต่ละประเทศ ตั้งแต่อินเดีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา โรมาเนีย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี เวียดนาม และ แน่นอนประเทศไทยเรา มีเนอส หรือ Linghokkalom เป็นตัวแทน Illustrator ที่เข้าร่วมโปรเจกต์ เนอสเล่าว่า เธอได้เลือกนำเสนอผู้หญิงไทยจำนวน 10 คน […]
ตามหาประวัติศาสตร์ในอารีย์ ย่านที่ชิกที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ
ร้านรวงเก๋ๆ ร้านอาหารรสเลิศ คาเฟ่ฮิปๆ บาร์ลับ และครีเอทีฟสเปซมากมาย น่าจะเป็นภาพจำแรกที่เกิดขึ้นของหลายๆ คนเมื่อได้ยินชื่อย่านอารีย์ แม้ชื่อของอารีย์จะติดลิสต์ย่านชิกของชาวกรุงเทพฯ รุ่นใหม่มาเกือบ 10 ปี แต่ที่จริงแล้วความเก๋ความฮิปของย่านนี้ก่อตัวอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2540 เนื่องจากการเข้ามาของเหล่านักสร้างสรรค์ที่อยากเนรมิตสถานที่และบรรยากาศให้เป็นไปในแบบที่พวกเขาพึงพอใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ชีวิต จึงไม่แปลกที่อารีย์จะกลายเป็นย่านที่มีกลิ่นอายของความสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวามาจนถึงทุกวันนี้ แน่นอน ความเจริญและบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดความผ่อนคลาย จนคนอยากมาพักผ่อนหย่อนใจคือจุดเด่นของย่านนี้ แต่ขณะเดียวกันมีใครรู้บ้างว่าเบื้องหลังความสร้างสรรค์และร่วมสมัยของอารีย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน อาคาร ร้านค้าเก่าแก่ที่พบเห็นได้ไม่ยากหากได้ลองสำรวจพื้นที่และพูดคุยกับผู้คนดูสักนิด ครั้งนี้ Urban Creature จึงขอพาทุกคนไปตามหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของอารีย์จากปากผู้อาศัย ความเก่าแก่ของสถานที่ และบริเวณต่างๆ ของย่านชิกย่านนี้ผ่านการเดินทางโดยการใช้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและแพ็กเกจสวอพหรือสลับแบตเตอรี่ของ Swap & Go ที่สะดวก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะสมกับการใช้สัญจรในย่านใดย่านหนึ่งที่ระยะทางไม่ไกลจนเกินไป เข้าตรอกออกซอยได้ว่องไวกว่าเดินเท้า แต่ก็ไม่พลาดชื่นชมวิวทิวทัศน์ระหว่างทางไปด้วย เที่ยวทั่วย่านได้ง่ายๆ กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Swap & Go สถานี ปตท. สนามเป้า เราสตาร์ทการเดินทางด้วยการมารับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เช่าไว้จาก Swap & Go พร้อมสมัครแพ็กเกจสวอพแบตเตอรี่แบบไม่จำกัด ณ จุดให้บริการ Swap […]
5 แยกลาดพร้าว The next new CBD ที่เป็นทุก VIBE ในการใช้ชีวิต
ในกรุงเทพฯ Central Business District (CBD) ที่เรานึกถึงคงหนีไม่พ้น ทำเลตรงสยาม เพลินจิต สีลม พญาไท สุขุมวิทตอนต้น ที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางของเมืองที่มีกิจกรรมขับเคลื่อนทางธุรกิจขนาดใหญ่ ศูนย์กลางของแหล่งงาน กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของเมืองหรือประเทศ มีการพัฒนาปลูกสร้างอาคารสูง ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สำนักงาน ศูนย์การค้า ห้างร้านและอาคารที่พักอาศัย รวมถึงมีขนส่งมวลชนเข้าถึงพื้นที่สะดวกสบาย แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญค่อยๆ เติบโตขึ้น พื้นที่รอบตัวเมืองเริ่มกลายเป็น New CBD ที่ขับเคลื่อนและเติมเต็มการใช้ชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น ซึ่ง ‘5 แยกลาดพร้าว’ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะกลายเป็น New CBD หรือ North CBD อันเป็นแลนด์มาร์กความเจริญของเมืองฝั่งเหนือได้ชัดเจนที่สุด เปรียบเทียบง่ายๆ หากย่านบางนาเป็นความเจริญของเมืองในฝั่งตะวันออก 5 แยกลาดพร้าว ก็นับเป็นความเจริญฝั่งเหนือของเมืองที่มีครบทุก VIBE ในการใช้ชีวิตเช่นเดียวกัน ทำไมถึงเป็น 5 แยกลาดพร้าว? การจะเป็นทำเลที่เป็น CBD ในอนาคตได้ สิ่งสำคัญต้องเป็นทำเลที่เพียบพร้อมในการใช้ชีวิตทุกๆ ด้าน ทั้งการอยู่อาศัย การออกไปทำงาน และความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกได้ว่าเป็น […]
Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?
คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ . เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ
Bedok & Siglap เที่ยวชายฝั่งตะวันออกสิงคโปร์ ย่านรวมกิจกรรมและร้านอาหารนานาชาติ
เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องเคยมาเที่ยวสิงคโปร์กันบ้างแล้ว ด้วยความที่ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่ที่ไม่ไกลจากบ้านเราเลย บินจากกรุงเทพฯ มาใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง (ขับรถเผชิญกับรถติดใน กทม. บางทีอาจจะนานกว่านั้น) แต่เราก็แอบมั่นใจว่าคนจำนวนไม่มากในหมู่คนที่เคยมาเที่ยวสิงคโปร์แล้วจะเคยลองออกเดินทางนั่งรถไฟหรือรถเมล์ไปสำรวจจุดอื่นๆ นอกจากในย่านเมืองหลัก เช่น ถนน Orchard, Gardens by the Bay และ Marina Bay Sands วันนี้เราขออาสาพาคุณไปเดินสัมผัสย่าน Bedok (เบด็อก) และ Siglap (ซิกแลป) ย่านพักอาศัยทางตะวันออกของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ห่างจากสวนชายฝั่งตะวันออก (East Coast Park) และสนามบิน Changi เพียงเล็กน้อย เรามั่นใจว่าหลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบลง คุณจะต้องรู้สึกอยากลองไปเยี่ยมดูสักครั้งบ้างล่ะ เล่าประวัติของ Bedok และ Siglap ย่านเล็กๆ สองย่านนี้ให้ฟังกันสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะเริ่มออกเดินทางกัน สองย่านที่ติดกันนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกของสิงคโปร์ โดยก่อนปี 1960 แหล่งรายได้หลักของชาวบ้านในสมัยนั้นก็คือมะพร้าว และการทำประมง ปัจจุบัน Bedok และ Siglap เป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาใหม่ในสิงคโปร์ ทำให้รอบบริเวณนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร และร้านค้าน่าสนใจมากมาย […]
‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน
Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้ ผ้าทอสามัญประจำบ้าน พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]
แกะเพลง แมงคาม ศิลปินรุ่นหลานสานต่อจิตวิญญาณลูกทุ่ง
“ตัดใจจากพระไม่ไหว บาปไหมคะ?” “ผมตีกะหรี่แล้วร้องไห้” “โทรหาผีตอนตีหนึ่งสิบสอง” เหล่านี้ล้วนเป็นชื่อผลงานเพลงของ บิทเติ้ล นักร้องเสียงแจ้วเจ้าของงานเพลงอย่าง “ห้านาทีบรรลุธรรม” ที่มียอดวิวใน YouTube เกือบ 100 ล้านวิว! มารอบนี้ บิทเติ้ลกลับมาในบทบาทศิลปินอิสระ พร้อม Aka ใหม่ “แมงคาม” กับสไตล์เพลงที่นิยามขึ้นมาเองว่า “หลานทุ่ง” แนวเพลงที่สืบสานจิตวิญญาณความเป็นลูกทุ่งร่วมสมัยที่พร้อมรับใช้สถานการณ์ปัจจุบัน จะเป็นอย่างไร มาดู มาฟัง กันได้เลย #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #แกะเพลง #หลานทุ่ง #บิทเติ้ล #แมงคาม
สถาปัตยกรรมและธรรมชาติ ความสัมพันธ์ที่สร้างความหมายให้กับผู้คนและพื้นที่
มีสิ่งก่อสร้างตึกระฟ้าสวยงามตระการตาขนาดไหน มีเทคโนโลยีล้ำสมัยมาอำนวยความสะดวกสบายเพียงใด สุดท้ายแล้วผู้คนล้วนโหยหาธรรมชาติกันทั้งนั้น ไม่เพียงเพราะช่วยสร้างออกซิเจนให้เราใช้หายใจอย่างเดียว แต่ยังมีข้อยืนยันว่าธรรมชาติช่วยเยียวยาร่างกายและจิตใจผู้คนได้อีกมากมาย และสร้างความแตกต่างให้พื้นที่เหล่านั้นได้ การสร้างสถาปัตยกรรม อาคาร และที่พักอาศัยในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการนำธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติ เพื่อก่อเกิดคุณค่าและความหมายให้กับผู้คนและพื้นที่ แล้วสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับธรรมชาติมีหน้าตาเป็นอย่างไรล่ะ? เราขอพาชาว Urban Creature ไปดูตัวอย่างและแนวคิดของสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติกัน 01 เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเกิดมาก่อนเราจึงควรเรียนรู้ที่จะเคารพกัน การสร้างสถาปัตยกรรมโดยที่ไม่ทำลายธรรมชาติเลยแม้แต่เปอร์เซนต์เดียว ไม่จำเป็นต้องรื้อถอนพื้นที่นั้นทิ้ง และสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ดูเป็นส่วนหนึ่ง จึงเป็นโจทย์ท้าทายสถาปนิกพอสมควร แต่ใช่ว่าไม่มีซะทีเดียว หลังจากดูซีรีย์ Netflix เรื่อง The World’s Most Extraordinary Homes! เห็นได้ว่าบ้านที่สถาปนิกคิดมาแต่ละหลัง ล้วนเคารพต่อธรรมชาติทั้งสิ้น อย่าง Cabin Lyngholmen บ้านพักกลางโขดหินริมทะเล ประเทศนอร์เวย์ ออกแบบโดย Lund & Hagem Architects ถูกออกแบบให้แฝงตัวอยู่ท่ามกลางโขดหินด้วยข้อจำกัดของพื้นที่เพียง 100 ตารางเมตร ให้โขดหินต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโดยไม่ทำลายออกไป หรือ Vega Cottage บ้านไม้หลังเล็กๆ ริมทะเลในประเทศนอร์เวย์ ออกแบบโดย Kolman […]
สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]
5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน
“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]
My Fluffy and Worthy Love : ความรักที่อยากแก่ชราไปด้วยกัน
เราชอบถ่ายรูปผ่านสมาร์ตโฟน เพราะมันบันทึกความทรงจำได้ไวและง่ายที่สุด บวกกับโตมาในยุคของ Instagram รูปถ่ายส่วนใหญ่ของเราจึงเป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสไปโดยปริยาย เรามีความสุขกับการเก็บภาพผ่านกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มาก มุมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน อาหารที่กินแล้วอยากกินอีก แสงแดดที่เห็นแล้วชอบ ท้องฟ้าที่เห็นแล้วประทับใจ กระทั่งความทรงจำธรรมดาที่ผ่านตาแบบไม่ทันคิดอะไรแต่อยากบันทึกไว้ พูดง่ายๆ ว่าชีวิตในแต่ละช่วงของเราล้วนได้ถูกบอกเล่าในภาพถ่ายทั้งหมด และในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ภาพที่เราถ่ายไว้มากที่สุดคือ ‘คุณ’ เรากับคนรักที่เป็นผู้หญิงเหมือนกันคบกันมา 7 ปีแล้ว ความรักของเราคือความรักธรรมดาทั่วไป อยากเห็นเขาได้รับสิ่งดีๆ เจออะไรน่ารักก็คิดถึงเขา การมีความรักเป็นเรื่องที่งดงามและล้ำค่ามากๆ สำหรับเรา เพราะมันเป็นการได้รับพลังที่ส่งต่อจากคนคนหนึ่ง การถูกรัก การได้ส่งความรัก ทำให้เรามีพลังในการใช้ชีวิตและรักตัวเองมากขึ้น เราแชร์กับเขาได้ทุกความรู้สึก ความทุกข์ไม่ต้องถูกซุกซ่อนไว้ วันไหนที่ใจไม่ค่อยดี แค่คิดว่ากลับบ้านไปแล้วได้เจอเขา เรื่องหม่นใจก็ถูกปัดเป่าไปหมด คนรักเราชอบอ่านหนังสือ ชอบจดบันทึก ไม่ชอบฟังเพลงเท่าไหร่ ชอบถ่ายพุ่มหญ้าต้นไม้ และชอบเขียนการ์ดขอบคุณ หน้าตาตอนมีความสุขกับของกินอร่อยๆ ตายิ้มๆ มือก้อนๆ ที่ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราอยากบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะภาพถ่ายชีวิตประจำวันไม่ได้บรรจุแค่ความทรงจำเท่านั้น มันมีทั้งความรักความรู้สึกที่เรามีต่อเขาและสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ด้วยในตอนนั้น เวลาย้อนกลับมานั่งดูมันชื่นใจ ความฝันของเรากับคนรักคือ อยากมีชีวิตที่ดี เติบโต และแก่ชราไปด้วยกัน แต่เราทั้งคู่กลับต้องสงสัยอยู่เสมอว่าจะมีชีวิตไปด้วยกันจนแก่ในฐานะคนรักได้ไหม หรือต้องถูกเข้าใจว่าเป็นเพื่อนสนิทกันไปแบบนี้ […]
“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+
แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]