city
Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม
ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]
Household คนไทยและถิ่นที่อยู่
‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่ – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]
Welcome to MuTown ‘มูเตลู’ ที่พึ่งทางใจในวันที่โลกไม่มีอะไรแน่นอน
Welcome to MuTown
‘มูเตลู’ ที่พึ่งทางใจในวันที่โลกไม่มีอะไรแน่นอน
Sexploration ล้วงลับ จับปัญหาเรื่องเพศ ที่ทำอย่างไรไทยก็ไม่เปิดกว้างเสียที
ในขณะที่ประเทศไทยเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เมืองพุทธ’ และกีดกัน ‘อบายมุข’ ทุกวิถีทาง แต่ต่างชาติกลับรู้จักไทยเพราะ ‘สถานเริงรมย์’ ชื่อดังที่มาจาก ‘การท่องเที่ยวทางเพศ (Sex Tourism)’ เพราะไม่ว่าจะเป็นย่านพัฒน์พงศ์ ซอยคาวบอย ซอยธนิยะ หรือพัทยา เหล่านี้ล้วนเป็นสถานที่สำหรับแสวงหาความสำราญในยามค่ำคืน มีเม็ดเงินสะพัด จนสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ แต่ไม่ว่าการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะทำรายได้มากแค่ไหน ตัวเลขเหล่านี้กลับไม่เคยถูกนับรวมเข้าไปในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เลยสักครั้ง เพราะการท่องเที่ยวทางเพศไปจนถึงการซื้อขายและเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย และถูกมองในเชิงลบจากประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนผ่านมุมมองทางศีลธรรม ทำให้เรื่องเพศในไทยเป็นเสมือนเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย คอลัมน์ Overview ประจำเดือนกุมภาพันธ์ขอหยิบเอาอีกแง่มุมหนึ่งในสังคมอย่างปัญหาเรื่องเพศออกมาสำรวจกันอีกครั้ง พร้อมชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถเปิดกว้างเรื่องเพศอย่างประเทศอื่นเขาได้เสียที สถิติการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องตลกร้ายอยู่ไม่น้อยที่สถานบริการทางเพศกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งคนไทยและต่างชาติรู้ดี แต่ตำรวจไทยกลับ (แกล้ง) ไม่รู้ จนถึงขนาดว่าในปี 2562 ตำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจวอล์กกิ้งสตรีทที่พัทยา แต่กลับไม่พบว่ามีการขายบริการทางเพศในบริเวณนั้น ทั้งๆ ที่หากย้อนกลับไปเมื่อในปี 2557 เว็บไซต์ Havocscope ได้เก็บข้อมูลผู้ขายบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 250,000 คน จากทั้งหมดประมาณ 13.8 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ […]
City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]
The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…
ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]
Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง
ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]
จาก รพ.ราชพฤกษ์ ขอนแก่น เป็น ‘โรงพยาบ้าน’ เยียวยาผู้ป่วย ด้วยสถาปัตย์บำบัดเหมือนอยู่บ้าน
โรงพยาบาลคงไม่ใช่สถานที่ที่คนอยากแวะเวียนเข้าไปถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่ชุบชูใจ เป็นสถานที่สำหรับคนป่วย บ้างก็วุ่นวายแออัด จะเดินไปไหนหลงทางเกะกะเจ้าหน้าที่ ยิ่งถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเอาตัวเองไปอยู่ตรงไหน สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ขอนแก่น นำมาคิดหาคำตอบ เปลี่ยนโรงพยาบาลเป็น ‘โรงพยาบ้าน’ จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น Silver Award ประจำปี 2563 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รพ.ราชพฤกษ์ มีส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้เรานึกถึงบ้าน ทั้งยังเอื้อต่อการเยียวยาผู้ป่วยในมิติต่างๆ เช่น สวน ที่เป็นธรรมชาติบำบัด โดยเน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบๆ อาคารและสร้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ไว้ใจกลางอาคาร เพื่อสร้างความร่มเย็นกายใจให้ผู้ใช้ ต่อมาคือ ห้องพระ สำหรับจิตวิญญาณบำบัด ที่มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาไว้หลากหลาย เช่น ห้องละหมาด ห้องคริสต์ ห้องพระ และยังมีรูปเคารพและข้อคิดไว้สร้างพลังใจให้ผู้ป่วยและบุคลากรอีกด้วย อีกที่คือห้องนั่งเล่น สำหรับกิจกรรมบำบัด พื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อคลายเครียด เช่น กิจกรรมดนตรี กิจกรรมในวาระสำคัญเช่นวันแม่ กิจกรรมรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ และพื้นที่ ห้องรับแขก สำหรับ มิตรภาพบำบัด ที่ที่ครอบครัวของผู้ป่วยได้มาพูดคุยปรับทุกข์ มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมการอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ของชาวไทยอีสาน โดยรวมแล้วตัวอาคารเองก็ยังเป็นเหมือน บ้าน หรือ […]
อย่าโดนเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 หลอก!
หากดูเผินๆ ‘เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ’ น่าจะเป็นสิ่งที่บอกว่าวัคซีนตัวไหนมีดีกว่ากัน และตัวเลข 95 เปอร์เซ็นต์ก็ดูน่าเชื่อมั่นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ เป็นไหนๆ แต่ที่จริงแล้ว ตัวเลขที่ห่างกันเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถระบุว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมตัวเลขที่สูงจึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีน มีที่มาจากอะไร ในการทดสอบว่าวัคซีนจะใช้งานได้จริง นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงๆ โดยจะปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างออกไปใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อติดตามผลว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีกี่รายที่จะติดเชื้อ หากเราสมมติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,000 คน สุดท้ายแล้วมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 100 รายจากกลุ่มที่ได้วัคซีนจริงและยาหลอกเป็นจำนวนเท่ากันที่ 50 คน เท่ากับว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้คือ 0 เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ก็มีโอกาสติดเท่ากัน แปลว่าวัคซีนนี้ไม่มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อแม้แต่น้อย แต่ถ้าผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 95 คน แต่ผู้ที่ได้วัคซีนมีคนติดเชื้อแค่ 5 คนเท่านั้น นั่นแปลว่าวัคซีนตัวนี้มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดใช้วิธีเดียวกันนี้ทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนที่มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพมากกว่าต้องได้ผลมากกว่าตามไปด้วย แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดในการทดสอบมากกว่านั้น เปอร์เซ็นต์จะมีผล ถ้าวัดในสถานการณ์เดียวกัน ในบรรดาวัคซีนหลายตัวจะเห็นว่า Pfizer-BioNTech […]
Great American Rail-Trail เส้นทางปั่นจักรยานเชื่อม 12 รัฐในอเมริกา
‘Great American Rail-Trail’ ที่ทอดตัวยาวครอบคลุม 12 รัฐ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในโปรเจกต์ที่น่าจับตามองซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้งานบางส่วนแล้ว โดยอีกไม่กี่ปีนับจากนี้อาจกลายเป็นสวรรค์ของนักปั่นที่ชื่นชอบการขี่จักรยานเป็นชีวิตจิตใจ
จากรันเวย์สู่ลู่วิ่ง จีนเปลี่ยนสนามบินเก่าเป็นสวนสาธารณะ
ชวนไปดูพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ที่หยิบเอารันเวย์เก่าของสนามบินที่ปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2011 มาปัดฝุ่นใหม่อย่างน่าสนใจ ด้วยการออกแบบโดยอิงจากประวัติศาสตร์ของสถานที่ จึงออกมาเป็นสวนสาธารณะทางยาวรูปร่างเหมือนกับรันเวย์ที่เปลี่ยนจากเครื่องบินมาให้คนวิ่ง แถมยังจัดสวนเล็กๆ ระหว่างทางเดิน แทนที่โล่งกว้างข้างๆ รันเวย์ ที่เห็นในสนามบินทั่วไป และยังมีสวนซับน้ำฝน และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เข้ามาช่วยให้คุณภาพน้ำไปจนถึงคุณภาพดินของเซี่ยงไฮ้ดีขึ้นอีกด้วย สนามบินเก่าสู่พื้นที่สาธารณะ ‘Longhua Airport’ คือสนามบินพาณิชย์ที่อยู่คู่คนเซี่ยงไฮ้มาตั้งแต่ปี 1949 – 2011 หลังจากปลดประจำการมาเป็นเวลานาน บริษัทสถาปนิก Sasaki เจ้าของคอนเซปต์ Better design, together ก็ใช้พลังแห่งการออกแบบชุบสนามบินเก่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในชื่อ ‘Xuhui Runway Park’ พวกเขาเปลี่ยนรันเวย์สำหรับเครื่องบิน เป็นสวนสาธารณะแนวยาวตามรูปแบบของรันเวย์ดั้งเดิม ตลอดเส้นทาง 1,830 เมตร โดยมีทั้งทางเดินสำหรับชื่นชมสวนดอกไม้ พร้อมลู่วิ่ง และเลนจักรยานสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่น เพราะพื้นที่สีเขียวคือชีวิต ‘Dou Zhang’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสของ Sasaki บอกว่า สวนสาธารณะแห่งนี้คือนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูเมืองและเติมลมหายใจให้เซี่ยงไฮ้ ซึ่งสวนนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่ความทันสมัยลงไปเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานที่หลากหลาย เพราะคำนึงถึงผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการและผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ทิ้งเสน่ห์ดั้งเดิม เซี่ยงไฮ้คือเมืองที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งด้วยจำนวนประชากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พวกเขามองหาหนทางเพิ่มพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันชาวเซี่ยงไฮ้ก็ยังโอบกอดประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาไว้อย่างงดงาม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามในอดีต […]
‘ซาอุดีอาระเบีย’ สร้างเมืองใหม่ ไร้รถยนต์ ไร้มลพิษ และขับเคลื่อนด้วย AI
เมื่อเทพเจ้าแห่งน้ำมันพยายามหาทางเอาตัวรอดจากวิกฤต จึงเกิดเป็นแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาเมืองแห่งใหม่ของประเทศซาอุดีอาระเบีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไร้รถ ไร้มลพิษ ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI” และทุกพื้นที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการเดินเพียง 5 นาที ซึ่งมีชื่อว่า ‘The Line’