Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงสุดทุบสถิติในรอบ 18 ปี เศรษฐกิจวิกฤตหนัก ไม่มีกำลังฟื้นฟู

สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยหนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5% ของ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท

COVID-19 ทำคนตกงานมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ที่นับวันตัวเลขการติดเชื้อพุ่งกระจายขึ้นเหมือนดอกเห็ดจนอาจจะมากถึงหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอาจจะล่มสลายได้  ทว่าความรุนแรงของพิษจากไวรัสร้ายโควิดกลับมากไปกว่าการเกาะกินสุขภาพของประชาชน แต่หมายรวมถึงการเกาะกิน ‘ระบบเศรษฐกิจไทย’ อย่างไม่มีชิ้นดี  รายงานของกระทรวงแรงงานเผยว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 303,984 คน และผู้ว่างงานจากสาเหตุการถูกเลิกจ้างจำนวน 91,794 ซึ่งหากดูเพียงตัวเลขและกราฟจะเห็นว่าสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เพราะตัวเลขผู้ว่างงานลดลง  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราการว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้างสูงถึง 242,114 คน นับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รุนแรงเสียยิ่งกว่า วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ปี 52 ที่มีสถิติคนตกงานสูงสุดอยู่ที่ 83,109 คน และวิกฤติการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่มีสถิติสูงสุดที่ราว 42,689 คนเสียอีก  แต่ความน่ากังวลใจคือ แม้อัตราว่างงานกำลังลดลง ก็นับว่าสูงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่น้อยเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น สถิติตัวเลขคนว่างงานจากสาเหตุคนเลิกจ้างของกรมแรงงาน เป็นการอ้างอิงสถิติจากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยสาเหตุเลิกจ้างในระบบประกันสังคม ยังไม่นับรวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถระบุเข้าระบบว่ามีอีกเท่าไหร่ที่บาดเจ็บล้มตายจากพิษเศรษฐกิจและพิษของเชื้อไวรัส เป็นที่น่าเศร้าใจว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งเป็น New […]

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด

ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

หนีได้ต้องหนี! 6 ถนนรถติดกับช่วงเวลาสุดพีก

เคยเป็นไหม ชาวกรุงเทพฯ เวลาจะออกไปไหนแต่ละที ต้องวางแผนแล้ววางแผนอีกว่าจะเดินทางไปอย่างไร ขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า จะรอนานไหมนะ แถมยังต้องเผื่อเวลารถติดด้วย ทำให้เวลาออกจากบ้านแต่ละทีช่างเหนื่อยแสนเหนื่อย ประโยคที่บอกใครๆ ว่าออกไปแป๊บเดียวอาจไม่มีจริง จนหลายคนต่างพากันระบายความอัดอั้นตันใจพากันตั้งชื่อเช็กอินถนนด้วยชื่อสุดเดือดอย่าง ไฟแดง 18 ชั่วโคตร ไฟเขียวเท่าจิ๋มมด ฉายาของแยกสาทร-สุรศักดิ์ หรือแยกที่หอยทากคลานแซงเฟอรารี่ เจ้าของแยกแคราย ที่พีกเพราะจุดตัดระหว่างถนน 3 เส้น อย่าง ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ และงามวงศ์วาน ไปจนถึงแยกสุดฮอตตลอดกาลอย่าง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ที่หลายคนพากันลงความเห็นไปในทางเดียวกันถึงปัญหาไฟแดงอันยาวนาน จนถูกขนานนามว่า ไฟแดง 5 ชาติ ไฟเขียว 5 วิฯ หลับ 5 ตื่น ฟื้นมายังแดง จากชื่อก็พอสัมผัสได้ถึงพลังงานความหัวร้อนบางอย่าง เราเลยลองไปตามหาข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสถานการณ์รถติดบ้านเราอยู่ในขั้นไหนกันแน่ ซึ่งพอลองไปดูสถิติตัวเลขของ INRIX Global Traffic Scorecard บริษัทที่วัดผลและเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจรจากทั่วโลก กรุงเทพฯ เคยครองแชมป์เมืองที่การจราจรหนาแน่นมากที่สุดมาแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมา และเรายังเสียเวลาติดแหง็กอยู่บนท้องถนนมากถึง […]

ย่านไหนในกรุงเทพฯ เดินได้เดินดีที่สุด

การเดินเท้าถือเป็นการเดินทางที่สมบูรณ์แบบที่สุด” โดยความหมายของ ‘เมืองเดินได้’ คือเมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดินร่วมกับขี่จักรยานและระบบขนส่งมวลชนในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จากการนิยามของ Goodwalk Thailand

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.