
DESIGN
บอกต่อเรื่องแวดวงศิลปะและศาสตร์การออกแบบ ตั้งแต่ตัวตนศิลปิน แนวคิด เทคนิค ไปจนถึงพื้นที่แสดงออก เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและเปลี่ยนความคิดให้ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน
Shanghai Street Furniture สำรวจเซี่ยงไฮ้ผ่านมุมมองของสถาปนิกผังเมือง
เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้วยการวางผังเมืองที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างมาก การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ตึก และอาคารร้านค้าต่างๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมืองอย่างสมดุล สิ่งที่ทำให้เซี่ยงไฮ้มีเอกลักษณ์คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและวิถีชีวิตแบบจีนได้อย่างลงตัว ตึกสูงระฟ้าสไตล์ยุโรปตั้งอยู่เคียงข้างกับร้านค้าท้องถิ่น โดยมีการแบ่งทางเท้า ทางจักรยานด้วยพื้นผิวที่แตกต่างอย่างชัดเจน เป็นเมืองที่เดินง่าย สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น และตลอดทางในเมืองก็มีร้านค้ากับตึกสวยงามตลอดเส้นถนน ขณะเดียวกัน ร้านรวงคาเฟ่ก็ได้รับการออกแบบให้นั่งนอกร้านได้เหมือนเมืองในยุโรป ในโซนที่อยู่อาศัย ทุกๆ การเดินเท้า 15 นาที จะมีพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนออกมาออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่นกระจายอยู่ทุกที่ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามาก Street Furniture เป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เมืองน่าอยู่และน่าสนใจมากขึ้น เมื่อสังเกตดีๆ จะเห็นว่า การออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเซี่ยงไฮ้มีรายละเอียดน่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่ชวนสังเกต เช่น ดีไซน์ที่นำเอกลักษณ์ของเมืองผสมผสานกับความเป็นจีนมาออกแบบม้านั่งริมถนน เท่านั้นไม่พอ ม้านั่งตามถนนและสวนสาธารณะไม่เพียงแค่ให้นั่งพักผ่อน แต่หลายที่นั่งยังออกแบบให้มีฟังก์ชันพิเศษ เช่น ช่องชาร์จโทรศัพท์ด้วยโซลาร์เซลล์ ขั้นบันไดในห้างฯ ที่นั่งพักได้ ฯลฯ หากคุณมีโอกาสไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้ นอกจากถ่ายรูปกับสถานที่ยอดฮิตแล้ว อย่าลืมสังเกตองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เมืองนี้มีชีวิตชีวาและเป็นเอกลักษณ์ การสำรวจเมืองในมุมมองนี้จะช่วยให้คุณเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมและชีวิตประจำวันของผู้คนอีกด้วย สำหรับเรา เซี่ยงไฮ้ไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจในการออกแบบเมืองที่มีความสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban […]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567
‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]
MT. BROMO ภูเขาไฟแห่งชีวิต
ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของพื้นที่ที่มีความสูง 2,329 เมตรเหนือน้ำทะเล ‘โบรโม’ ภูเขาไฟหนึ่งในกลุ่มวงแหวนแห่งไฟที่ยังคงปะทุ กลับถูกโอบรัดไว้อย่างอบอุ่นด้วยทะเลทรายแห่งความเชื่อ การมาเยี่ยมของนักท่องเที่ยว และการสนับสนุนจากรัฐบาล โบรโม เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยทะเลทรายสีดำและหมอกหนาตลอดทั้งวัน โดยโบรโมมีชื่อมาจากการออกเสียงเรียกพระพรหมของชาวชวา ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นผู้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายบนโลก โดยช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน Cemoro Lawang จะเดินทางนำของไปสักการบูชาภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือขนมหวาน ซึ่งจะนำไปวางไว้บริเวณองค์พระพิฆเนศที่ตั้งอยู่ตรงปากปล่องภูเขาไฟ เพื่อขอพรแก่ตนเองและขอให้เทพแห่งภูเขาไฟช่วยปกปักรักษาหมู่บ้าน นอกจากนี้ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บริเวณต่างๆ ในทะเลทรายที่มีการตั้งแท่นบูชาจะมีการนำเศษไก่ไปวางไว้เพื่อเป็นการเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยรอบด้วย นอกจากการอนุรักษ์ดูแลของชาวบ้านแล้ว รัฐบาลยังมีโครงการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรม Karisma Event Nusantara (KEN) โดยจะนำศิลปะ วัฒนธรรม และอาหารในแต่ละพื้นที่ มาจัดแสดงเป็นอีเวนต์ที่ช่วยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวและขยับเขยื้อนเศรษฐกิจให้เติบโต และในปีนี้ก็มีการจัดกิจกรรมที่ภูเขาไฟโบรโมด้วย กิจกรรมนี้นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับประเทศแล้ว ยังช่วยส่งเสริมศิลปินตัวเล็กตัวน้อยในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินและกำลังใจว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำนั้นได้รับการมองเห็น มีคนอีกมากที่เห็นคุณค่า และยังสร้างความหวังว่า ความสวยงามเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีสำหรับผู้คนในภายภาคหน้า หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
‘Thai Khon x Contemporary MR’ จะเป็นอย่างไร ถ้าวาร์ปครูโขนและครูเต้นร่วมสมัย มาสอนร่ายรำกันในโลกเสมือน
ที่อยู่ตรงหน้าคือร้านกาแฟ แต่เมื่อสวมแว่น Meta Quest 3 ครอบหัว เราก็เห็น Avatar หนุมานมาปรากฏกายในพื้นที่ร้าน พอลองโยกย้ายมือและแขนเลียนแบบเจ้าหนุมาน คำว่า ‘AWESOME’ ก็เด้งขึ้นมาเป็นเอฟเฟกต์ ส่งสัญญาณว่าเราทำท่าถูกต้องตามอย่างตัวละครในโลกเสมือนแล้ว ตามปกติเวลาอยากฝึกเต้น เรามักหาครูสักคนมาเต้นให้ดูตรงหน้า แล้วลอกท่าทางตาม หรือไม่ก็เปิดคลิปวิดีโอบนจอคอมพิวเตอร์ แล้วแกะท่าตามคนในจอ แต่ ซูฟีย์ ยามา และ เคธี่ เดล-เอเวอเร็ท (Katie Dale-Everett) บอกกับเราว่า ในอนาคตเราอาจเรียนเต้นรำผ่านเทคโนโลยี ‘Mixed Reality’ พร้อมชวนให้ลองสวมแว่น Meta Quest 3 ทดลองฝึกเต้นจากแอปฯ ต้นแบบที่พวกเธอพัฒนาขึ้นมา ซูฟีย์ ยามา คือ Creative Technologist ชาวไทย หรือนักสร้างสรรค์ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ และเป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอ ‘Utopia Lab Studio’ ที่สรรค์สร้างสื่อผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Virtual Reality (VR), Augmented Reality […]
กรุงเทพฯ เมืองซับซ้อน
ผมพกกล้อง Compact ตัวเล็กติดตัวออกจากบ้านเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน เพราะระหว่างทางอาจเจอสิ่งที่น่าสนใจ จะได้มีเครื่องเอาไว้บันทึกเรื่องราวได้ หลังจากที่ได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ ผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในแง่อาคารสิ่งก่อสร้าง สีสัน ชีวิต ผู้คน และเรื่องราว ผมจึงรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพฯ ที่มีการซ้อนทับสลับซับซ้อน ผสมผสานกับองค์ประกอบที่มีความเป็นไทย เพื่อนำเสนอเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านมุมมองของผม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
จากภูเขาถึงทะเล บันทึกความทรงจำผ่านธรรมชาติเมื่อครั้งยังเด็ก
เมื่อครั้งยังเด็ก บ้านของฉันโอบล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และหมอกจางๆ ในฤดูหนาว อีกทั้งยังห่างไกลจากตัวเมืองมากพอสมควร แต่ที่นั่นฉันก็มีความสุขดี และในขณะเดียวกัน ทะเลก็คือโลกอีกฟากหนึ่งที่หัวใจและความไร้เดียงสาในวันนั้นถวิลหาทุกค่ำเช้า ภาพถ่ายชุดนี้เปรียบเสมือนการเดินทางย้อนเวลากลับไปปะติดปะต่อร่องรอย เพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวและซ่อมแซมความทรงจำเหล่านั้นที่ถูกทิ้งไว้ในกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรมให้กลับมามีสีสันสดใส มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สะท้อนถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังเด็กที่แสนอบอุ่นและมีความสุขอย่างเรียบง่าย ไร้ซึ่งความซับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567
“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]
Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน
หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]
กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต
ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]
The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040
นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]
Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน
เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด
“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]