Everything Jingle Bell

เทศกาลคริสต์มาสในประเทศอังกฤษ เป็นวันหยุดและเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี ในช่วงฤดูหนาวที่มืดมน เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่เรารอคอย เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและคนที่เรารัก เป็นโอกาสที่ผู้คนได้เฉลิมฉลอง พักผ่อน ได้ทบทวนปีที่ผ่านไป รวมถึงวางแผนปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ในช่วงปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสในประเทศไทย และรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความกระตือรือร้นของคนไทยเกี่ยวกับวันคริสต์มาส ตั้งแต่การตกแต่งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ไปจนถึงงานปาร์ตี้คริสต์มาสของแต่ละออฟฟิศ การแลกของขวัญระหว่างเพื่อนๆ หลายๆ ประเพณีที่ผมรู้จักเกี่ยวกับวันคริสต์มาสได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย การได้เห็นคริสต์มาสผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก โปรเจกต์ภาพถ่ายของผมจึงต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคริสต์มาสในประเทศไทย หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤศจิกายน 2567

ผมเพิ่งอ่านเจอคำว่า ‘Material Culture’ เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ‘วัฒนธรรมวัตถุ’ โดยในหนังสือที่ผมอ่านเจอ เขาชวนแปลให้ยาวขึ้นอีกนิดว่า ‘วัฒนธรรมที่ส่งผ่านวัตถุสิ่งของ’ เพราะ Material Culture คือการศึกษาที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเข้าใจวัฒนธรรม แนวความคิด หรือทัศนคติที่เกิดขึ้นในสังคม Material Culture นั้นมีการใช้กรอบวิเคราะห์ในการศึกษาวัตถุสิ่งของที่เรียกว่า Object-driven ที่พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่นอกเหนือจากประเด็นของตัววัตถุเอง ชวนให้ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับมนุษย์และสังคมที่ผลิตขึ้นและใช้สอยมัน เราไม่สามารถแยกอิทธิพลระหว่างมนุษย์และวัตถุที่ส่งผ่านกันกลับไปกลับมาจนเกิดเป็นพฤติกรรม ก่อรูปความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้คนในสังคมในแต่ละช่วงเวลาจนเป็นภาพสะท้อนสังคม เมื่อเข้าใจได้ประมาณนี้แล้ว ผมก็พบว่า คอลัมน์ ดีไซน์เค้าเจอ ที่ผมได้หยิบนำภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ริมทางท้องถนนหรือตามร้านรวงต่างๆ มาพยายามเล่าให้เพื่อนๆ ชมและอ่านกันนั้น ก็ถือว่าเป็นการทำงานทาง Material Culture ของสังคมไทยได้เช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่สังคมเมือง เป็นไปตามจุดประสงค์แรกของผมที่หวังว่าคอลัมน์นี้จะช่วยให้เราได้เรียนรู้พฤติกรรมและทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากขึ้น ผมมีข้อสังเกตหนึ่งว่า พฤติกรรมหนึ่งของคนส่วนใหญ่ในเมืองที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนมากๆ คือการ ‘ดัดแปลง’ และ ‘พลิกแพลง’ เศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใหม่ ที่ไม่เน้นหน้าตาแต่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก หากมองพฤติกรรมนี้ภายใต้แว่นของ Material Culture แล้วนั้น เราอาจจะพบว่าสิ่งนี้คืออาการที่เป็นผลพวงจากการซ้อนทับของปัญหาและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมเมือง ไม่ว่าในเชิงเศรษฐกิจ การศึกษา […]

‘Nifty Elderly’ แบรนด์ของเล่นที่ขอเปลี่ยนเรื่องเล่นๆ ให้เป็นการเรียนรู้ของผู้สูงวัย

อาจจะจริงอย่างที่เขาว่ากันว่า พอแก่ตัวลงก็เหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ทั้งความช้า ความงอแง หรือความคิดอะไรหลายๆ อย่างที่อาจทำให้หวนคิดถึงเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ถึงแม้หลายสิ่งหลายอย่างของเด็กกับผู้สูงวัยจะคล้ายกัน แต่สำหรับพัฒนาการหรือระบบการเรียนรู้นั้นกลับไม่ใช่ เพราะระหว่างเด็กและผู้สูงวัยมีรูปแบบความคิดและพัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน วันนี้คอลัมน์ Re-desire ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องพัฒนาการและการคงไว้ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุผ่าน ‘Nifty Elderly’ ของเล่นของแต่งบ้านสำหรับผู้สูงอายุ แบรนด์ที่ขอเข้ามาใส่ใจความเป็นไปและสุขภาวะของผู้สูงอายุให้ละเอียดขึ้น หลายคนอาจเคยเห็นแบรนด์นี้ผ่านตามาจากงาน Creative Economy Agency (CEA) เพราะเจ้า Nifty Elderly ได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567 ประเภทพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Creative Social Impact Awards) ในหมวด Creative Well-Being Award โดย ‘สมฤทัย เลิศเทวศิริ’ เจ้าของแบรนด์ และ ‘รศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ’ ผู้ออกแบบ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง Nifty Elderly ให้เราฟังอย่างอบอุ่น “ตอนนี้สังคมโลกกำลังอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อยลงมาก ส่วนผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมกับความเสื่อมถอยในสมรรถนะ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุกับเด็กต่างกัน” เปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันง่ายๆ เป็นภาพของระฆังคว่ำหรือ […]

Game 03 : Warhammer

ตัวผมเองรู้จัก Warhammer มาตั้งแต่เด็ก หากถามว่ารู้จักได้ยังไง ผมต้องบอกเลยว่าเพราะพ่อของผม เมื่อก่อนช่วงที่ผมเรียน ป.1 – ป.2 เวลาที่พ่อผมไปร้านหนังสือ Asia Books ในห้างฯ Siam Discovery ก็มักจะชวนผมไปด้วย พอไปถึงพ่อจะพาไปแวะดูร้านร้านหนึ่งที่ขายแต่ Warhammer แวะเวียนไปหลายครั้งมากๆ เข้า สุดท้ายพ่อก็ซื้อให้ผมกล่องหนึ่ง ผมจำได้ดีว่าตอนนั้นโมเดลยังเป็นโมเดลตะกั่วอยู่เลย จนเมื่อเวลาผ่านไป ผมเข้ามหาวิทยาลัยก็มีเพื่อนในคณะชวนผมให้ลองอ่านนิยายสงครามของ Warhammer แต่ผมก็ไม่ได้อ่าน เพราะดูมีตัวละครเยอะแยะมากมาย จับต้นชนปลายไม่ถูก ทีนี้พอเรียนจบ ผมก็มีกิจกรรมเสริม นั่นคือ Trading Card Game ซึ่งเพื่อนๆ หลายคนเล่น Warhammer อยู่แล้ว นับว่าชีวิตสามช่วงวัยของผมได้ประสบพบเจอแต่กับบุคคลที่ชื่นชอบ Warhammer ทั้งนั้น เป็นโอกาสอันดีที่ผมได้มาทำซีรีส์นี้ เพราะส่วนตัวผมเองก็อยากรู้จักกับ Warhammer อยู่แล้วว่ามันคืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และเล่นยังไง ผมตัดสินใจติดต่อ ‘พี่กร-ณกร ศรีสมวงษ์’ แห่ง Legendary Wargame ให้มาช่วยแนะนำ Warhammer […]

Game 02 : Pokémon Trading Card Game

มีเรื่องหนึ่งที่ผมฝังใจมาตั้งแต่เด็กคือ ผมเห็นเครือญาติพี่ๆ น้องๆ ของฝั่งแม่ผมล้อมวงเล่นเกมผ่านเครื่อง Game Boy กัน ซึ่งเกมนั้นคือเกม Pokémon ตัวผมเองอยากเล่นมากๆ จนรวบรวมความกล้าเข้าไปขอพ่อซื้อตลับเกม แต่ปรากฏว่าพ่อผมปฏิเสธ เพราะกลัวผมจะติดโปเกมอนจนไม่เป็นอันเรียน สิ่งที่ได้กลับมาคือความผิดหวัง เมื่อผมเข้าสู่วัยทำงาน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำก็เป็นหน้าที่ที่เราต้องดูแลตัวเองอย่างเต็มตัว ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโปเกมอนจึงเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่ผมซื้อด้วยเงินเก็บของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา เกมภาคใหม่ๆ ซึ่งรวมถึง Trading Card Game ด้วย หากพูดถึงบริบทสังคมต่างก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ภาพของซุ้มหมากรุกเริ่มน้อยลง แต่ภาพของคนที่ไปห้างสรรพสินค้า ร้านการ์ด หรือสถานที่ต่างๆ ที่ใช้เวลานั่งได้นานๆ พร้อมกับพกสำรับการ์ดประจำตัวมาดวลกันเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ครั้งนี้ผมเดินทางลัดเลาะเส้นรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มาที่ร้าน Nx Gallery ลาดพร้าว 78 เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ Trading Card Game ที่เน้น Pokémon Trading Card Game กับ ‘พี่แอ๊ม-ภัทรพงศ์ สายตระกูล’ เจ้าของร้านการ์ด Nx Gallery หรือที่เรารู้จักในฐานะนายกสมาคมการ์ดเกมไทย และ […]

Game 01 : Board Game

สำหรับผม ปีนี้ผ่านไปไวจนตั้งตัวแทบไม่ทัน แต่ทุกๆ ช่วงเวลาสิ้นปี ผมมักจะนึกทบทวนอยู่เสมอว่า เราได้ใช้เวลาที่ผ่านไปอย่างมีคุณภาพแล้วหรือยัง และได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง หากยังไม่ได้รับอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ผมก็มักหาอะไรบางอย่างที่ยังไม่เคยทำมาลองทำในช่วงเวลานี้เสียเลย หนึ่งในนั้นคือการทำบันทึกรวบรวมกิจกรรมต่างๆ ที่ผมสนใจอย่างกิจกรรม Tabletop เพื่อตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ลองพบเจอสิ่งใหม่ๆ และอาจเป็นประโยชน์ในเชิงข้อมูลแก่เพื่อนๆ ที่อยากหาอะไรใหม่ๆ ให้ตัวเองทำหรือเปิดประสบการณ์สนุกๆ ในช่วงสิ้นปีนี้ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน หากเราพูดถึงกิจกรรม Tabletop มันจะจำแนกประเภทได้หลากหลายมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Card Game, War Game, Dice Game แต่เชื่อได้เลยว่าสิ่งที่ทุกคนรู้จักกันดีและนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ Board Game อย่างแน่นอน แล้วบอร์ดเกมคืออะไร ความสนุกอยู่ที่ตรงไหน คำถามเหล่านี้ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครตอบได้ดีเท่ากับ ‘พี่วัฒน์-วัฒนชัย ตรีเดชา’ นายกสมาคมบอร์ดเกมประเทศไทย Round One ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างไม่เกรงใจ ผมนั่งอยู่ในร้านบอร์ดเกม DICE CUP จุฬาฯ ซอย 5 พร้อมกับพี่วัฒน์ ก่อนจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามว่าด้วยเส้นทางการเข้าสู่โลกบอร์ดเกมของคนตรงหน้า “เมื่อก่อนพี่ทำงานเป็นครีเอทีฟเบื้องหลังรายการทีวี มันจะไม่เหมือนกับที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ช่วงก่อนทีวีดิจิทัลจะมีเวลาว่างเยอะ เพื่อนๆ ก็เอาบอร์ดเกมมาเล่น พี่ก็ดูเพื่อนๆ […]

Liberation ความงดงามของการหลุดพ้น

ท่ามกลางกระแสสังคมที่เร่งรีบและวุ่นวาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกคนหลงลืมการสำรวจตัวตน ความรู้สึก และเรื่องใกล้ตัวในชีวิต ทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งกับโลกอีกต่อไป กลายเป็นเรื่องช่างไร้ความหมายและปล่อยให้เวลาหลุดลอยไปเพียงวันต่อวัน Liberation เป็นผลงานภาพถ่ายที่เกิดจากการบันทึกชีวิตประจำวัน และใช้ช่วงเวลาหลงเคลิ้มไปกับสิ่งเล็กๆ ผ่านการสำรวจสิ่งสวยงาม-ผุพัง เพื่อปลดปล่อยตัวตนจากความเป็นมนุษย์และธรรมชาติ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มักเชื่อมโยงและผูกพันอยู่กับเราอย่างแยบยล บางปรากฏการณ์ธรรมชาติมักสื่อสารออกมาจากเรื่องราวธรรมดาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด พืชพรรณ หรือสิ่งมีชีวิต พวกเขามักแสดงตัวตนเพื่อพึ่งพาและดูดซับพลังงานที่มนุษย์ละทิ้ง และมนุษย์ก็พึ่งพาสิ่งเหล่านี้เช่นกัน ก่อนที่ทุกอย่างจะสูญสลายและหายไปในที่สุด สภาวะปกติของการรับรู้ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นช่างเบาบางและไม่ละเอียดอ่อน ความหมายของความต้องการบางอย่างถูกแทนที่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นจุดใหญ่มากพอที่จะบดบังความสุนทรีย์ในชีวิต Liberation จึงเป็นผลงานที่อยากส่งต่อให้กับผู้คนที่หลงลืมความหมายอะไรบางอย่าง จะได้ลองหยุดเพื่อสำรวจเรื่องราวเล็กน้อยในชีวิตอีกครั้ง เริ่มต้นเชื่อมโยงและสร้างความหมายใหม่ให้กับตัวเอง หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Animal on Street ส่องสัตว์ในเมือง

ทุกๆ เช้าที่เราตื่นขึ้นมาดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ ท่ามกลางความวุ่นวาย ภาพของท้องถนนที่การจราจรติดขัด หรือแม้กระทั่งมลภาวะทางอากาศ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความห่อเหี่ยวใจไม่ใช่น้อย  บ่อยครั้งที่มีโอกาสเดินสำรวจเมืองในพื้นที่ต่างๆ เราสังเกตว่า นอกจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในพื้นที่อยู่อาศัยของเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว หรือนก การมองดูพฤติกรรมและความน่ารักของสัตว์เหล่านั้น ช่วยทำให้ความเครียดของเราลดลง และเติมพลังให้มีแรงทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น ประหนึ่งเป็นกำลังใจของคนที่รักสัตว์ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive ตุลาคม 2567

‘เหมือนได้จับโปเกมอน’ คือความรู้สึกของผมเวลาได้สแนปรูปสิ่งของไทยๆ ดีไอวายสไตล์ #ดีไซน์เค้าเจอ อาจจะอ่านแล้วดูตลกๆ แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ นะ เวลาเจอสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่น่าสนใจทุกครั้ง ยิ่งถ้าเจอชิ้นที่รู้สึกว้าวมากๆ ก็ยิ่งเหมือนเราได้จับโปเกมอนตัวหายาก แม้ว่าผมจะเคยแชร์เคล็ดลับในการออกตามหาสิ่งของเหล่านี้หลายครั้งแล้วในคอลัมน์นี้ แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อได้ลงเดินหาในสถานที่จริงๆ มันก็อาจไม่ง่ายดังกล่าว หาเจอบ้างไม่เจอบ้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าสำหรับผมเอง นอกจากจะต้องมีสายตาที่ดีแล้ว การจะพบเจอสิ่งของออกแบบไทยๆ พวกนี้ได้ อาจต้องใช้โชคชะตาประมาณหนึ่งด้วย แล้วมันคล้ายจับโปเกมอนยังไง คือ 1) เราต้องมีความพยายามและออกตามจับ (ด้วยสายตา) คล้ายต้องลงไปในพงหญ้าแบบในเกม 2) ในแต่ละพื้นที่เองก็อาจมีสิ่งของคล้ายๆ กันที่สามารถเจอได้ในบริเวณเดียวกัน คล้ายเป็นโปเกมอนท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะโชคดีได้เจอตัวที่มีความเฉพาะมากๆ ที่หาที่อื่นไม่ได้ เหมือนเจอโปเกมอนหายากนั่นเอง ผมไม่ได้จะบอกว่าการมีอยู่ของสิ่งของออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบนี้ คือโปเกมอนแบบตรงไปตรงมา 100 เปอร์เซ็นต์นะ เพราะโลกความเป็นจริงนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยการกดปุ่มเหมือนเกม แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ลักษณะการปรากฏตัวของสิ่งของเหล่านี้มีอารมณ์ที่คล้ายๆ กัน มันเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและปัญหาหลายๆ อย่างตรงนั้นเป็นตัวกำหนด และถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากฝีมือผู้คนตรงนั้นอย่างเฉพาะตัว แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ เราสามารถเข้าใจและเรียนรู้ที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง กลับมาที่เนื้อหาหลักของคอลัมน์นี้ ผมได้คัดสรรภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ผมตามจับจากสถานที่ต่างๆ มาแบ่งปันให้ทุกท่านได้รับชมกันอีกครั้งเช่นเคย ซึ่งหากใครจับภาพสิ่งของแนวๆ นี้ได้เหมือนกับผม ก็ติด […]

BKK in pieces ธีสิสซีนของคนทำงานออกแบบผู้สนใจเมือง นำเสนอของดีไซน์ไทยๆ ผสมผสานกับความสนุกของกราฟิก

ความชอบในสิ่งพิมพ์ การสังเกตและอธิบายสิ่งธรรมดารอบตัว และการตั้งคำถามเรื่องอะไรคือสุนทรียภาพแบบไทยๆ นำมาสู่การทำ BKK in pieces ธีสิสจบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของ ‘ชิตวัน เพชรรัตน์’ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น หนังสือที่เธอกำลังอ่านชื่อ ‘The Beauty of Everyday Things’ โดย Soetsu Yanagi ก็ทำให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งของพาเราสืบสาวไปหารากวัฒนธรรมที่สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร “ในหนังสือมีส่วนที่กล่าวถึง Fundamental Principle ของการชงชา (Chabi) ไว้ว่า ‘As fortune would have it, it was not an intellectual concept, but rather consisted of concrete objects that acted as intermediaries…’ “กล่าวคือ ด้วยการมีอยู่ของสิ่งที่จับต้องได้อย่างสำนักชา ทางเดินในสวน […]

Good Times in Chon Buri ห้วงเวลาพิเศษในเมืองชลบุรี

ในวันที่ร่างกายต้องการทะเล แต่วันหยุดมีน้อย สถานที่แรกที่เรานึกถึงคือ ทะเลบางแสนหรือพัทยา เพราะใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวก อีกอย่างคือเราชอบเสน่ห์ความโรแมนติกของทะเลแถบชลบุรีที่ตอนเย็นพระอาทิตย์ตกสวย และล่าสุดกับจุดอันซีนที่เรานั่งเรือไปดูวาฬบรูด้าในทะเลบางแสน เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ไปชลบุรีกี่ทีก็ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

1 2 3 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.