คน เรือ โยง คือคำนิยามที่เราใช้เรียกอาชีพ ‘นายท้ายเรือกล’ คนขับเรือลำเล็กที่คอยยึดโยงเรือลำใหญ่มีให้เห็นจนชินตาที่แม่น้ำเจ้าพระยา และภาพคนเรืองโยงยังมีให้เราเห็นผ่านเรื่องเล่าในความทรงจำของพ่อผู้เคยเป็นนายท้ายเรือกลสมัยยังหนุ่มแน่น เราชอบโมเมนต์การจีบกันของพ่อและแม่มากที่สุด
เรื่องราวของหนุ่มเรือทรายกับสาวเรืออิฐคือสิ่งที่น่ารักที่สุด พ่อเล่าเคล้าคลอไปกับบรรยากาศของเรือโยงที่ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จนเมื่อเราโตมาได้เป็นช่างภาพเลยอยากกลับมาหวนคืนความทรงจำอีกครั้งผ่านเลนส์กล้อง
“น้ำขึ้นหลับ – น้ำลงล่อง”
“น้ำบอกเวลา ไม่ใช่นาฬิกา” ใช้ชีวิตบนน้ำแบบไม่มีจอดพัก
“ชีวิตที่ลำบากแต่ลูกต้องสบาย” คำพูดติดปากของคนเรือ..เราเลือกไม่ได้แต่สิ่งที่เราทำได้แค่ส่งลูกให้เรียนสูงๆ
“1 เที่ยว = 1 สัปดาห์กว่า” ถึงจะอยู่ที่หมายก็ยังต้องรอ
“ใช้เวลา 1 วันเต็มในการลงสินค้า(หรืออาจจะมากกว่า)”
“ชีวิตที่เหมือนสบาย..แต่จริงๆ ลำบากก็เหนื่อยสุดๆ” อาชีพที่ไม่ต้องการให้ลูกหลานสานต่อความลำบาก
“ความรู้ไม่สำคัญเท่าประสบการณ์” ด้วยอันตรายที่เกิดขึ้นได้ง่ายจึงต้องยอมห่างครอบครัวเพื่อให้คนข้างหลังสบายที่สุด
“ความชำนาญบนความเสี่ยง”
“การหลับตานอนขณะเรือล่องเป็นไปได้ยากเพราะไม่รู้ว่าข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น”
เพื่อปรับเปลี่ยนแผนตามสถานการณ์ต่อการเดินทาง
“ความปลอดภัยขึ้นอยู่กับนายท้ายเรือกลเท่านั้น”
“มาตราน้ำคือนาฬิกาสำหรับคนเรือ ระยะเวลาถึงที่หมายจึงไม่แน่นอน”