Y จีน ? สาววายเต็มเมือง แต่ทำไมจีนยังคงปิดกั้น

ชวนทุกคนมาหาคำตอบ ว่าทำไมชาวจีนถึงชอบดูซีรีส์วาย ทั้งยังผลิตสื่อออกมามากมายแม้รัฐจะแบนก็ตาม

‘103paper’ กระดาษเหลือทิ้งเกิดใหม่เป็นของแต่งบ้าน

จากความประทับใจสมัยเรียนที่ศิลปากรของ วิทยา ชัยมงคล ถูกสานต่อเป็นแบรนด์รักษ์โลก 103paper ที่ยกระดับวงการดีไซน์ไทยให้เป็นที่ยอมรับ

RAY Thesis Exhibition ธีสิสปล่อยของยุคโควิดของชาวโฟโต้อาร์ตเชียงใหม่

Urban Showcase พื้นที่เล็กๆ ที่จะให้น้องนิสิตนักศึกษามาโชว์ผลงานแบบไม่จำกัดมหาวิทยาลัย เพื่อให้สปอตไลท์ได้ส่องไปถึงความสามารถของทุกคนมากยิ่งขึ้น

ZAAP กับการเผชิญ COVID-19 ของคนอีเวนต์

บาส-เทพวรรณ คณินวรพันธุ์ CEO และผู้ก่อตั้ง ZAAP ออร์แกไนเซอร์แถวหน้าของไทยที่ผ่านงานใหญ่ๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Single Festival, Waterzonic, G19, S2O, บางกอก FEST ฯลฯ ในวันที่อุตสาหกรรมอีเวนต์ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ทำให้งานต่างๆ ถูกยกเลิกทั้งหมด ZAAP ต้องปรับตัวตามสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งการทำงาน วิธีการคิด และเป้าหมายของทีมในระยะสั้น สำหรับ บาส-เทพวรรณ ในฐานะ CEO วัย 29 ปี สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือการยอมรับความจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมว่าเราจะต้องผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันให้ได้ “ความยากที่สุดของคนทำอีเวนต์ คือไม่รู้ว่าวิกฤตนี้มันจะจบเมื่อไหร่” ในวันที่วงการอีเวนต์ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ที่เป็นเสมือนพายุคลื่นลูกใหญ่ จนทำให้เหล่าวัยรุ่นไม่ได้ออกไปสนุกสุดเหวี่ยงที่ไหน ซึ่งถือเป็นฤกษ์ไม่งามยามไม่ดี แต่เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้คุยกับ พี่บาส-เทพวรรณ คณินวรพันธุ์ แห่ง ZAAP ถึงเบื้องหลังคนทำอีเวนต์ และการปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก หลายคนคงรู้จักพี่บาสในฐานะปาร์ตี้บอยชื่อดังที่เคยผิดหวังจากการจัดอีเวนต์ครั้งแรกเมื่อสมัยที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนั้นเขาได้เป็นทูตของมหาวิทยาลัย และได้มีโอกาสจัดงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วมใหญ่ แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้าง เพราะจากการจัดงานในครั้งนั้น ทำให้เขาต้องมีหนี้ติดตัวเกือบล้านบาท เขาใช้การจัดปาร์ตี้เพื่อลบล้างหนี้ที่เกิดขึ้น […]

พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2

“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต  ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]

Craft it on แบรนด์คราฟต์จากของเหลือใช้ของ อร อรสา ผู้เปลี่ยนโลกหลังเกษียณให้เด็กลง

แบรนด์สุดคราฟต์ของ แม่อร-อรสา วัย 62 ปี ที่หยิบจับสิ่งของเหลือใช้รอบตัวมาเย็บปักถักร้อยจนกลายเป็นสินค้าแสนอบอุ่น

1 3 4 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.