‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย

การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]

กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

ตามรอยการเดินทางกว่าจะเป็น ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตหน้างอคอหักที่พาทุกคนไปตกหลุมรักแม่กลอง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในอวกาศอันเวิ้งว้าง มียานอวกาศจากดาว ‘แมกแมกเคอเคอเรลเรล’ อันไกลโพ้นลอยตุ๊บป่องมุ่งหน้าสู่โลกมนุษย์ เพื่อสำรวจทรัพยากรบนดาวเคราะห์อันอุดมสมบูรณ์ บนยานอวกาศคือสิ่งมีชีวิตหน้างอ คอหัก ที่เพ่งดูแผนที่โลกอย่างตั้งใจ เจ้าเอเลียนไล่สายตาอย่างช้าๆ บนแผนที่โลกเพื่อหาจุดหมายในการสำรวจ ทันใดนั้นมันก็สะดุดเข้ากับจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเล็กๆ ติดอ่าวไทยในภาคกลางของไทยที่มีรูปร่างเขตแดนเล็กปุ๊กปิ๊ก ขาเล็ก หัวใหญ่ หน้าตาเหมือนพ่อตัวเองไม่มีผิด หัวใจเต้นรัว ดวงตาเบิกโพลง เจ้าเอเลียนรู้ตัวทันทีว่า นี่แหละ คือจุดหมายในการสำรวจของมัน ไม่รอช้าให้เสียเวลา เอเลียนหน้างอผละสายตาออกจากแผนที่ หันขวับไปจับจ้องที่กระจกหน้ายาน สองมือกำพวงมาลัยแน่น เหยียบคันเร่ง นำยานอวกาศพุ่งตรงลงมาที่จังหวัดสมุทรสาคร นี่คือเรื่องราวของ ‘ปาป้า-ทูทู่’ ตัวละครน่ารักน่าหยิกที่ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยหวังว่าสักวันมันจะกลายเป็นมาสคอตของจังหวัด สร้างสีสันให้เมือง เหมือนอย่างจังหวัดคุมาโมโตะในญี่ปุ่น ที่มีหมีคุมะมงอันโด่งดังเป็นมาสคอตประจำตัว ถึงจะหน้าตาเหมือนปลาทูไม่มีผิด แต่ทั้งคู่บอกว่า ที่จริงแล้วปาป้า-ทูทู่คือการรวมตัวกันของเอเลียนหน้าตาเหมือนปลาทูแม่กลองชื่อ ‘ปาป้า’ และหุ่นยนต์สีเหลืองตัวเล็กเหมือนกลองบนหัวชื่อ ‘ทูทู่’ ภารกิจของปาป้า-ทูทู่คือการซอกแซกสำรวจจังหวัดสมุทรสงคราม และแบ่งปันของดีของเด็ดในจังหวัดมาให้ทุกคนได้ชื่นชมกัน ซึ่งเรื่องราวการเดินทางของปาป้า-ทูทู่ก็ถูกบันทึกลงในเพจ ‘Plaplatootoo’ ที่ทั้งสองคนช่วยปลุกปั้นกันขึ้นมา ในวันนี้ ปาป้า-ทูทู่เป็นชื่อที่รู้จักกันดีของคนแม่กลองรวมถึงคนไทยจำนวนไม่น้อย แถมเคยนั่งแท่นเป็นมาสคอตประจำ […]

เปิดตัวเลขการถ่ายหนัง ปี 2566 ในไทย จุดหมายของกองถ่ายทั่วโลก

จะว่าไปประเทศไทยของเรานั้นเนื้อหอมไม่เบา เพราะแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนติดโผเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนมากที่สุดอยู่ตลอด ต้องขอบคุณอาหารแสนอร่อยและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลากหลายที่มัดใจนักท่องเที่ยวรอบโลกไว้อยู่หมัด แต่ใช่ว่าประเทศไทยจะดึงดูดแต่นักท่องเที่ยว เพราะกองถ่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ มิวสิกวิดีโอจากนานาประเทศก็เลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการถ่ายทำ ยกตัวอย่าง ซีรีส์ King the Land จากเกาหลีใต้ที่พาเที่ยวกรุงเทพฯ แบบจัดเต็ม ซีรีส์สายลับ The Sympathizer ที่เนรมิตเมืองหาดใหญ่เป็นไซ่ง่อนยุคสงครามเย็น หรือที่ผ่านไปไม่นานกับมิวสิกวิดีโอ Supernova สุดปั่นจากสี่สาว aespa ที่ยกกองมาขายขำกันถึงเมืองไทย คอลัมน์ City by Numbers วันนี้เลยชวนมาดูสถิติกันหน่อยว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยดึงดูดกองถ่ายจากต่างประเทศได้มากแค่ไหน โดยอ้างอิงจากสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2566 จากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) งบลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทุบสถิติ จากสถิติปีที่ผ่านมา มีกองถ่ายภาพยนตร์เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยจำนวนกว่า 466 เรื่อง มีงบประมาณลงทุนสูงกว่า 6,602 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย โดย 5 ประเทศที่ลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยสูงที่สุดคือ 1) สหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนถ่ายทำกว่า 3,184 ล้านบาท2) […]

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

แลกเปลี่ยนไอเดียดีไซน์เพื่อโลกที่ดีกว่า ในงาน Golden Pin Salon Bangkok 2024 16 พ.ค. 67 ที่ AUA Language Center

แลกเปลี่ยนไอเดียดีไซน์เพื่อโลกที่ดีกว่า กับดีไซเนอร์ชั้นนำในงาน Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2024 ‘Design Perspectives x Golden Pin Salon’ เป็นกิจกรรมจากเวทีการประกวด Golden Pin Design Award ของไต้หวัน ที่เชิญชวนนักออกแบบที่คว้ารางวัล Golden Pin Design Award มาแชร์ประสบการณ์การทำงานและไอเดียการออกแบบของตัวเอง กิจกรรมนี้เคยตระเวนจัดมาแล้วในเมืองต่างๆ ในเอเชีย ตั้งแต่ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ มาเก๊า กัวลาลัมเปอร์ คราวนี้ก็ถึงทีของชาวกรุงเทพฯ ที่จะได้แลกเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบจากดีไซเนอร์เอเชียชั้นนำ สำหรับงาน Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2024 ครั้งนี้ เป็นงานที่จัดร่วมกันระหว่าง art4d นิตยสารด้านสถาปัตยกรรมและงานออกแบบของไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยการออกแบบไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute) เจ้าของเวทีการประกวด […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.