Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040

นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]

‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.