Juvenile Justice : ซีรีส์อาชญากรเด็กที่ตั้งคำถามว่า เราพยายามเพื่ออนาคตของชาติมากพอหรือยัง?

เด็ก คือ ผ้าขาวบริสุทธิ์ เด็ก คือ ความหวังของชาติ เด็ก คือ อนาคต เด็ก คือ สมบัติอันล้ำค่าของโลก คือคำกล่าวที่เราเห็นกันจนเกร่อ  แต่ถ้าเด็กเหล่านั้น             คือผู้ลงมือสังหารเด็กอายุ 9 ขวบที่ไม่เคยรู้จักหรืออาฆาตแค้นกันมาก่อน จากนั้นจึงลงมือชำแหละและอำพรางศพอย่างโหดเหี้ยม             คือผู้ทุจริตในการสอบครั้งใหญ่ เป็นสาเหตุให้เด็กๆ ในชั้นเรียนที่เหลือต้องเผชิญผลกระทบมหาศาลจนอาจถึงขั้นอนาคตดับ             คือผู้ที่หลอกลวง รุมกระทำชำเราเด็กหญิงผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ พร้อมถ่ายคลิปไว้ข่มขู่ แถมมองเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก และพูดถึงมันด้วยสีหน้าขบขันไม่รู้ร้อนรู้หนาว             คือผู้ที่กระทำผิดซ้ำซากโดยไม่มีทีท่าสำนึกผิดและไร้วี่แววที่จะปรับปรุงตัวเป็นคนที่ดีของสังคมแม้จะโดนลงโทษและได้รับโอกาสหลายต่อหลายครั้ง             เราจะยังเห็นด้วยกับข้อความสี่บรรทัดแรกของบทความนี้อยู่ไหม?             ไม่ว่าคำตอบของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร เราอยากจะชวนคุยต่ออีกสักนิดหนึ่งว่า             เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?             และ สังคมของเรากำลังจะพาเด็กๆ เหล่านี้ไปไหนต่อ? นี่เป็นคำถามที่ Juvenile Justice ซีรีส์ Courtroom Drama เนื้อหาเข้มข้นจากเกาหลีใต้จะพาคนดูขบคิดและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน Juvenile Justice เล่าเรื่องของ ชิมอึนซอก (รับบทโดย คิมฮเยซู) ผู้พิพากษาศาลเยาวชนที่มากับความมุ่งมั่นแรงกล้าที่จะตัดสินและลงโทษเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสม ยุติธรรม และพร้อมจะทำทุกทางให้ผู้กระทำผิดได้สำนึกถึงความผิดบาปที่ตนได้กระทำ แม้ผู้กระทำผิดที่เรากำลังพูดถึงจะเป็นเยาวชนก็ตามเพราะว่า “ฉันเกลียดเยาวชนที่กระทำผิด”  ชิมอึนซอกกล่าวเอาไว้ในตอนแรกของซีรีส์ *หลังจากนี้เป็นการเปิดเผยเนื้อหาส่วนหนึ่ง […]

Squid Game : หรือชีวิตคนจนจะเป็นได้แค่ของเล่นของคนรวย?

ในโลกอุดมคติ “ความเท่าเทียม” คงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของใครหลายคน โลกที่แม้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขในบัญชีอาจมีไม่เท่ากัน แต่คุณค่าความเป็นคนไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใคร น่าเศร้าที่สิ่งนี้ยังเป็นได้เพียงอุดมคติ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เราได้เห็นการที่คนมากมายถูกจัดวาง วาดภาพ หรือกดทับให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนที่อยู่ชั้นลำดับล่างของฐานเศรษฐกิจ จนก็ต้องอยู่อย่างเจียม จนก็เพราะขี้เกียจ ไม่พยายาม เป็นคนไม่ดี เอาแต่สบาย จนก็ต้องอยู่อย่างคนจน หรือดีสุดก็เป็นเพียงเครื่องรองมือรองเท้าของคนรวย บางครั้งการกดทับหรือบังคับขืนก็อาจเป็นไปอย่างแนบเนียน หรือเป็นเพียงทัศนคติคำพูดเหยียดหยามแต่โลกใน “Squid Game” ซีรีส์กระแสแรงแห่งบ้าน Netflix จากประเทศเกาหลีใต้ คือโลกที่จับคนชายขอบไร้ทางไปในสังคมเข้ากรง มาเล่นเกมเพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งจากตัวเกม และจากนรกในชีวิตประจำวันที่พวกเขาต้องอาศัยอยู่ให้ได้เห็นกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ และถึงอารมณ์ สเตจเซตอัปสีสันสดใสไฮโปรดักชัน แอบหยอดเอเลเมนต์ของวัยเยาว์ให้เข้ากับธีมเกม เจ้าหน้าที่ในชุดสีชมพูช็อกกิ้งพิงก์พร้อมหน้ากากสกรีนรูปทรงสามแบบที่บ่งบอกถึงชนชั้นภายใน ความหวาดระแวงระหว่างกันอันนำไปสู่การเผยความดำมืดในจิตใจมนุษย์ เงินรางวัลที่มากเกินกว่าชั่วชีวิตของใครหลายคนจะกล้าแม้แต่ฝันถึง และเกมแบบเด็กๆ ที่การก้าวพลาดไม่ใช่แค่เข่าถลอกหรือได้แผลฟกช้ำ แต่หมายถึงความตายแบบศพไม่สวย ยิงเป็นยิง ตลอดเรื่องคือมหกรรมละเลงเลือดแบบที่คำอ้อนวอนใดๆ ก็ไม่อาจดังไปกว่าเสียงปืน เหล่านี้คือองค์ประกอบที่ทำให้ Squid Game เป็นซีรีส์ Survival Horror ที่ถึงเครื่องและตอบโจทย์ในแง่การกระตุ้นอะดรีนาลีนในกายให้หลั่งไหล เอาใจช่วย เห็นใจ เกลียดชัง สาปส่งตัวละครหลากสีสันหลายสันดาน แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีคอนเทนต์ที่รวบรวม “ช่องโหว่” ทั้งรายละเอียดที่ไม่สอดคล้อง ลอจิกที่ไม่ค่อยน่าซื้อสักเท่าไหร่ […]

เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน : สำรวจและเข้าใจ ม.112 ผ่าน INTRODUCTION TO NO.112

คุณคิดว่าตัวอักษร 153 ตัวทำอะไรได้บ้าง? อาจจะนึกออกยากสักหน่อย เราเลยอยากยกข้อความหนึ่งให้เห็นภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” สำหรับคนที่อ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ ข้อความเหล่านี้คือเนื้อหาของ ‘กฎหมายมาตรา 112’ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ กฎหมายหมิ่นเบื้องสูง กฎหมายหมิ่นฯ หรือชื่อใดๆ ก็ตามที่แต่ละคนจะสะดวกเรียก หากสื่อความหมายเดียวกัน ไม่นานมานี้ กระแสการพูดถึงกฎหมายมาตรา 112 นี้ลุกลามและเข้มข้นเคียงคู่ไปกับความร้อนระอุทางการเมืองที่ซัดกระหน่ำมากขึ้นทุกวัน  อาจเพราะมีผู้คนมากมายถูกตีตราต้องโทษ ไปจนถึงจองจำด้วยกฎหมายนี้ ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะความผิดแผกแปลกเพี้ยนของการตีความและการบังคับใช้ ที่หลายๆ ครั้งดูเป็นการตั้งใจปิดปากคนที่พูดเรื่องที่คนส่วนหนึ่งไม่อยากได้ยิน  อาจเพราะชุดตัวอักษรที่มีความยาวเพียง 2 บรรทัดเมื่อถูกพิมพ์ลงบนกระดาษ และสั้นกว่าหลายๆ สเตตัสเฟซบุ๊ก หรือทวีตในทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือกดขี่ ทำร้ายและทำลายชีวิตของใครหลายๆ คนอย่างไม่อาจหวนคืน เมื่อสิ่งที่เคยหลบซ่อนและตั้งอยู่บนที่สูงถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม การทำความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ดังนั้นแล้ว ทาง iLaw จึงจัดทำหนังสือ Introduction to No.112 : 12 คำถามเพื่อทำความเข้าใจกฎหมายอาญา […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.