PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย

เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์

หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน  จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก  ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี  “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]

P.Sherman The Enjoyable Ground เปลี่ยนตึกร้างให้เป็นที่แฮงเอาต์สำหรับคนฝั่งธนฯ

ถ้าทุกคนได้เห็นภาพตรงหน้าอย่างที่เราเห็น ต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในอาคารเก่าย่านอรุณอมรินทร์ ที่เคยเป็นตึกร้างมาก่อน เพียงแค่เลี้ยวเข้าซอยอรุณอมรินทร์ 39 ทั้งภาพของคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตในลานสเก็ตทรงโค้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่ มีร้านอาหารและคาเฟ่รายรอบ พร้อมผู้มาใช้บริการที่นั่งกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ บรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงอาหารของไฮสกูลต่างประเทศที่มีโต๊ะวางเรียงรายให้เลือกนั่งได้ตามใจ ไหนจะเสียงเพลงที่เปิดขับกล่อมช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ และโซนจัดแสดงศิลปะที่มีศิลปินคอยชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน  อมร สุนทรญาณกิจ ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ยิ่งเซอร์ไพรส์เราไปอีก เมื่อเขาบอกว่าก่อนหน้าจะเป็นลานเซิร์ฟสเก็ตอินดอร์สุดเก๋อย่าง P.Sherman The Enjoyable Ground ที่นี่เคยเป็นโรงงานเย็บผ้าของครอบครัวสุนทรญาณกิจมาก่อน แต่หลังญาติๆ ย้ายออกไปตั้งโรงงานอยู่นอกเมือง ตึกแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมามากกว่าสิบปี  พอมรดกถูกส่งต่อมาให้สถาปนิกอย่างอมร เขาจึงเริ่มคิดอยากรีโนเวตตึกแห่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเก่า เปลี่ยนตึกร้างเป็นลานเซิร์ฟสเก็ต “เพราะที่บ้านพี่น้องทุกคนมีธุรกิจกันหมดเลย ตอนแรกผมเลยกะจะรีโนเวตทำเป็นออฟฟิศ เปิดชั้นล่างให้เช่าทำร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือคาเฟ่เล็กๆ ให้พนักงานในออฟฟิศมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที พอดีกับตอนโควิด เซิร์ฟสเก็ตค่อนข้างดัง เราก็ไปเริ่มเล่นด้วย พอเล่นๆ ไปเริ่มสนุก จริงจัง เลยเริ่มชวนเพื่อนมาเล่นกันที่นี่” พื้นที่ชั้นสองของตึกร้างถูกใช้งานอีกครั้งเป็นสนามอินดอร์สำหรับเล่นเซิร์ฟสเก็ตช่วงหน้าฝน ส่วนลานหน้าอาคารก็ถูกใช้เป็นสถานที่แฮงเอาต์ที่เขาและเหล่าเพื่อนๆ จะพกเก้าอี้แคมป์ปิ้งมานั่งกินดื่มให้หายเหนื่อย  ตอนนั้นเองที่อมรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ของพื้นที่ คิดรีโนเวตปรับปรุงพื้นให้เหมาะกับการเล่นมากขึ้น และชวนน้องชายมาเปิดคาเฟ่ทำเป็นพื้นที่รองรับเพื่อนๆ ชาวเซิร์ฟสเก็ต  “ตอนที่คิดจะทำ มันเริ่มมีลานสเก็ตเกิดขึ้นเยอะ ยิ่งเราอยู่ในซอยอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้อยู่รอดต่อไปยาก เพราะถึงเซิร์ฟสเก็ตจะถูกบรรจุเป็นกีฬาไปแล้วยังไงก็ไม่มีทางหายไปร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ากระแสเซิร์ฟสเก็ตก็คงไม่ได้อยู่ไปนานขนาดนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดทางธุรกิจเราเลยลองจับโมเดลมาร์เก็ตแบบที่อเมริกา […]

ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ

หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย  การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ  สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน  สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร  ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม  ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม  ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.