เพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกผ่านการดีไซน์

รู้หรือเปล่าว่า ไม่ว่าจะเป็นพระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น ต่างก็เป็นผลงานของแบรนด์ ‘Qualy’ กันทั้งนั้น! ว่าแต่จุดเริ่มต้นของ Qualy ที่หยิบจับเอาพลาสติกรีไซเคิลมาออกแบบเป็นของใช้ดีไซน์สวยงามที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว จนครองใจคนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีได้ยังไง ตามไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ของแบรนด์ Qualy ที่ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ในคลิปนี้

เมืองที่เราอยู่เป็นแบบไหน? | Urban Creature

ในมุมมองของคุณ เมืองของเราเป็นเมืองแบบไหน เมืองของคนรุ่นใหม่ เมืองสีเขียว เมืองแห่งความวุ่นวาย หรือเมืองแห่งการเดินทาง Urban Creature ชวนทุกคนมา Wrap up มุมมองของเราที่มีต่อเมืองแห่งนี้ และหวังว่ามันจะช่วยให้ทุกคนอยากทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ‘Let’s make a better city for better living.’

ชีวิตคนต้องปรับเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และยังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตรอบตัว รวมถึงการโยกย้ายถิ่นฐานจากปัญหาที่ว่านี้ ที่เราทุกคนต้องเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางออก “ผลกระทบจาก Climate Change จะกระทบต่อลูกหลานเราอย่างหนัก ในอนาคตเราอาจจะอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครไม่ได้อีกแล้ว ถ้าเรายังไม่ทำอะไรสักอย่าง” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ถึงสาเหตุหลักของการเกิด Climate Change รวมถึงผลกระทบที่เกิดกับสภาพแวดล้อมและสังคม จนถึงขั้นมีผู้อพยพและผู้ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สร้างความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป

ต๊ะ วสกร กับของอาถรรพ์ที่กำลังจะหายไป

“คำว่า ‘อาถรรพ์’ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ถ้าเรามองมันเป็นของอาถรรพ์ เราก็จะไม่กล้าไม่ยุ่งกับมัน แต่ถ้ามองว่ามันคือของสะสมมันก็จะเป็นแค่ของชิ้นหนึ่ง” Urban Creature พาไปคุยกับ ‘ต๊ะ-วสกร เชาวน์พีระพงศ์’ หรือ ‘ต๊ะของอาถรรพ์’ นักสะสมของอาถรรพ์ หนึ่งในนักเล่าเรื่องผีจาก The Ghost Radio ว่านอกจากเรื่องราวหลอนๆ ของของสะสมที่ไม่เหมือนใครอย่าง สมุดข่อย หุ่นกระบอกโบราณ และผ้ายันต์ต่างๆ แล้ว ของสะสมเหล่านี้ยังมีมุมมองอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง

แปรรูปโกโก้ในโรงงานช็อกโกแลต Infinite Cacao | The Professional

‘โกโก้’ เครื่องดื่มหวานๆ ที่หลายคนอาจโปรดปราน แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นรสชาตินี้ โกโก้ถูกแปรรูปมาสารพัดวิธีเพื่อให้นำมาชงกินได้ง่ายในทุกวัน ขณะเดียวกัน ระหว่างทางการแปรรูปก็มีส่วนที่ต้องทิ้งตามรายทางไปอย่างเปล่าประโยชน์ “โกโก้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ มันจะกลายเป็นช็อกโกแลตให้เราจริงๆ แค่ห้าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราแกะผลสดออกมา มันจะมีเมล็ดข้างในอยู่ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือคือเปลือกเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ มันยังเหลือขยะอีกหลายๆ ส่วนที่เรายังไม่ได้ต่อยอดหรือยังไม่เห็น” Urban Creature คุยกับ ‘อาร์ม-ปฤญจ์ นิพัทธโกศลสุข’ เจ้าของโรงงานช็อกโกแลต ‘Infinite Cacao’ ในจังหวัดระยอง ผู้ซึ่งมองว่าโกโก้สามารถแปรรูปได้ทุกส่วนและต่อยอดไปได้อย่างไม่รู้จบ

เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต

พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน

เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้

การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat

‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้

Acousticity | WANYAi ความทรงจำที่ยังหายใจ Live Session @BACC

ใครที่ไปเดินเล่นแถวสยามบ่อยๆ น่าจะเคยเห็นหรือได้ยินเสียงเพลงจากวงดนตรีเปิดหมวก ที่มาโชว์ความสามารถทั้งร้องทั้งเล่นให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมารับฟังกัน บ่อยครั้งที่นี่คือสถานที่จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งเสียด้วยซ้ำ สยามในปัจจุบันจึงเป็นเหมือนศูนย์รวมของนักดนตรีและศิลปินหลากหลายรุ่น วันนี้ Urban Creature พา ‘แว่นใหญ่’ มาย้อนความหลังผ่านเพลง ‘ความทรงจำที่ยังหายใจ’ ที่บริเวณหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ ในรายการ Acousticity ที่จะชวนศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง อันอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน

เรียนดำน้ำกับครูหุย Dive Potato ชวนคนเมืองสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเล

การได้ดำลงไปในน้ำทะเลลึกเพื่อชมสภาพแวดล้อมที่หาดูไม่ได้บนพื้นดิน เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์มหัศจรรย์ นอกจากได้พักผ่อนแล้วยังถือว่าเป็นกีฬาที่สร้างความท้าทาย เพราะต้องใช้ความสามารถทั้งระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อที่ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน “ในฐานะที่เป็นครูสอนดำน้ำ ทะเลเป็นออฟฟิศ ฉะนั้นเราต้องรักษาออฟฟิศของเราให้สวยงามอยู่เสมอ” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘เนตรนภา ยิ่งกิจภิญโญ’ หรือ ‘ครูหุย’ PADI Course Director หญิงเพียงไม่กี่คนในประเทศไทย ที่จะมาเล่าถึงแรงบันดาลใจสู่การเป็นครูสอนดำน้ำที่ Dive Potato เพื่อส่งต่อความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป

‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.