‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

ความเ-ี่ยนไม่เคยหายไป เสวนากับสองผู้กำกับ จาก ‘Doctor Climax ปุจฉาพาเสียว’

เรื่องเซ็กซ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป และการเข้าถึงเรื่องเพศก็ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการปรึกษาปัญหาเรื่องเพศ ที่เราสามารถหาคำตอบและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน “เซ็กซ์เป็นเรื่องส่วนตัวระดับปัจเจกบุคคลไปถึงครัวเรือน แต่ก็สามารถสะท้อนภาพของสังคมได้ด้วย” Urban Creature ชวนคุยประเด็น ‘เสว’ กับ ‘คงเดช จาตุรันต์รัศมี’ และ ‘ไพรัช คุ้มวัน’ สองผู้กำกับจากซีรีส์ ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการหยิบประเด็นเรื่องเพศอันแสนจัดจ้านที่ถกเถียงในสังคมไทยยุค 70 ที่แม้ว่าเรื่องราวในซีรีส์จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีบางอย่างที่ยังร่วมสมัยในสังคมยุคปัจจุบัน

ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาชีพบันดาลบ้านตามสั่งลูกค้า

การจะสร้างบ้านสักหนึ่งหลังต้องใช้ทักษะจากหลายสาขาอาชีพ ทั้งสถาปนิกในการออกแบบตัวอาคาร และวิศวกรที่ต้องดูแลโครงสร้าง รวมถึงช่างก่อสร้าง ทั้งช่างระบบไฟและช่างประปา ซึ่งการก่อสร้างจะดำเนินไปได้รวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น หากมีหนึ่งคนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและแก้ปัญหารวมได้ทั้งหมด “ผู้รับเหมา คำว่าเหมาไงครับ เหมาหมด เหมาทุกอย่าง เหมาทั้งความรับผิดชอบ ความสบายใจของลูกค้า และความเป็นอยู่ของลูกน้อง” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘อ๊อฟ-ปราโมทย์ ทิพย์แสง’ ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานมาอย่างยาวนาน โดยผู้รับเหมาต้องคอยกำกับดูแลงานสร้างทั้งหมด วางแผนการใช้วัสดุและกำหนดตารางงานให้เสร็จตามกำหนด ดูแลความเป็นอยู่ของคนงาน เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด

ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE

การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ

รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์

“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า

“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

ไฮป์ขั้นสุด! บุกเวทีมวยปล้ำไทย

The Rock, Cody Rhodes, Wrestlemania XL สามชื่อที่กำลังมาแรงสุดๆ ของวงการมวยปล้ำ ทำให้คนไทยหลายคนพร้อมใจกันเริ่มหรือกลับมาดูมวยปล้ำกันอย่างสนุกสนาน Urban Creature ขอชวนทุกคนกลับไปดูบรรยากาศติดขอบเวที SETUP Thailand Pro Wrestling ค่ายมวยปล้ำไทยที่เดินทางมาไกล จากปล้ำบนเบาะเล็กๆ จนถึงวันที่มีคนดูจุสถานที่ และมีนักมวยปล้ำเบอร์ต้นๆ ของโลกอย่าง Zack Sabre Jr. และ EL Phantasmo ที่แฟนมวยปล้ำญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างรู้จัก เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ และปล้ำโชว์ร่วมกับไลน์อัปนักมวยปล้ำไทยที่อยู่ร่วมกันบนเวทีได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร ปัจจุบันมวยปล้ำไทยมีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก และได้มีการส่งยอดฝีมือไปแสดงฝีมือในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะค่ายยักษ์ใหญ่ของทั้งญี่ปุ่นและอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มวยปล้ำไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากใครมีโอกาสต้องมาสัมผัสด้วยตาตัวเอง

เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

คุยเบื้องหลังหนังธีสิสเด็กฟิล์ม กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’

การจะทำหนังสักเรื่องให้ออกมามีคุณภาพ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ นักแสดง คนเขียนบท ไปจนถึงทีมโปรดักชัน กระบวนการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจึงต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แม้แต่หนังสั้นนักศึกษาของเอกภาพยนตร์ที่มีต้นทุนสูงขึ้นทุกปี Urban Creature ชวนมาสนทนาประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’ อาจารย์เอกภาพยนตร์ คณะไอซีที ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยพูดถึงเบื้องหลังการศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์ ที่ไม่ใช่แค่สอนทำหนัง แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการกับทุนสร้างให้พอดีและสอดคล้องกับคุณภาพของหนังที่ฉาย โดยที่อาจารย์ไม่ต้องกำหนดขอบเขตความคิดของนักศึกษาเพื่อที่จะลดต้นทุนในการสร้างหนังสั้น ตามไปฟังเบื้องหลังการเรียนของเด็กฟิล์มในบทสัมภาษณ์นี้

ย้อนความทรงจำย่านเมืองเก่า ผ่านลายเส้นของ Siradasue นักวาดเว็บตูน

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เติบโตขึ้น วิถีชีวิตของคนในย่านเมืองเก่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป บ้างเหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ แต่ภาพในอดีตก็ถูกสะท้อนออกมาในลายเส้นการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์ของ ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ เจ้าของผลงานใน LINE WEBTOON เรื่อง Blooming Days และ Moonlight Serenade “ตอนที่เขียนการ์ตูนเรื่องหนึ่งออกมา โบว์เขียนเพราะอยากนำเสนอภาพจำของย่านเมืองเก่าที่สวยงาม เพื่อที่คนอ่าน อ่านแล้วต้องรู้สึกอยากมาลองสัมผัสบรรยากาศแบบที่เห็นในการ์ตูนสักครั้ง” ผลงานของโบว์เป็นการหยิบเอาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม อาคารสถานที่จริง จากความทรงจำและภาพปัจจุบันที่เธออาศัยอยู่ ทำให้การ์ตูนของเธอเป็นอีกสื่อที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้คน เพื่อให้คนอ่านได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสบรรยากาศในอดีตและมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีความตั้งใจว่าการ์ตูนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอ่านรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าเอาไว้

แชร์ร้านซ่อมของใช้ประจำวันผ่าน ‘วนวน’

“อยากซ่อมเสื้อผ้า ซ่อมของใช้ แต่ไม่รู้ว่าแถวบ้านมีร้านไหนบ้าง” ปัญหาที่คนเมืองหลายคนต้องเจอเมื่อของใช้ในชีวิตประจำวันเสียหรือพัง แม้จะอยากสนับสนุนการใช้ซ้ำและลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น แต่การหาร้านซ่อมใกล้บ้านที่ถูกใจก็ยากเสียเหลือเกิน Urban Creature พาไปรู้จัก ‘วนวน’ แพลตฟอร์มที่อยากชวนทุกคนมาแชร์ร้านซ่อมเด็ดๆ ที่ประทับใจ ให้คะแนน รีวิวการให้บริการ และส่งต่อให้คนที่อยากใช้ของซ้ำๆ วนๆ เพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ หนึ่งในสมาชิกของ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ปัจจุบัน วนวน อยู่ในช่วงทดลองผ่านทางเว็บไซต์ wonwonbyreviv.com โดยมีร้านซ่อมเสื้อผ้าที่ผู้พัฒนาเลือกมาแนะนำกว่าร้อยร้าน โดยคาดหวังฟีดแบ็กจากคนเมืองเพื่อเปิดให้ทุกคนใช้งานได้เต็มรูปแบบเร็วๆ นี้

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.