EAT

อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน โปรเจกต์เชื่อมชาวปกาเกอะญอกับคนเมืองผ่านวัตถุดิบบนดอย

บนดอยกับในเมือง ห่างกันหลายกิโลเมตร คนปกาเกอะญอกับคนเมือง ห่างกันระยะไกล คนปกาเกอะญอเชื่อว่า ถ้าได้กินข้าวกับใครถือว่าเป็นญาติกัน “อ่อเส๊อะเก๊อะเม” แปลว่า กินข้าวด้วยกัน มา มากินข้าวด้วยกันเถอะ หิวแล้ว จั๊ม-ณัฐดนัย ตระการศุภกร แห่ง Little Farm in Big Forest หนุ่มปกาเกอะญอผู้เป็นศูนย์กลางสื่อสารวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอด้วยวัตถุดิบในป่าใหญ่ เขาจากบ้านป่าไปทำงานการตลาดในเมืองกรุงฯ แล้วเลี้ยวกลับบ้านมาพัฒนาชุมชนที่มีของดีเป็นวัตถุดิบ แต่เติมไอเดียนิด ผสมแนวคิดการตลาดหน่อย โชว์จุดเด่นของ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขุนแปะ บ้านขุนแม่หยอด บ้านขุนวิน และบ้านแม่ลาย ลงบนโปรเจกต์ ‘อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน’ ที่ส่งวัตถุดิบจากไร่หมุนเวียนในป่าใหญ่สู่โต๊ะอาหารคนเมืองโดยฝีมือของคนปกาเกอะญอ  บางบ้านเก่งครีเอทีฟนำฮ่อวอ (มินต์) มาทำผงโรยข้าว บางบ้านยืนหนึ่งเรื่องพืชสมุนไพร บางบ้านมีหัวด้าน Social Enterprise สอนเด็กๆ สร้างโปรดักต์พึ่งพาตัวเอง หรือบางบ้านช่างปรับตัว จำลองไร่หมุนเวียนในสวนเล็กๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ซึมซับวิถีชีวิตปกาเกอะญอง่ายขึ้น มากกว่าเปิดออเดอร์จำหน่ายวัตถุดิบรสมือคนปกาเกอะญอให้คนเมือง CF โดยมีคนปกาเกอะญอขับรถไปส่งถึงหน้าบ้าน ยังเป็นการส่งต่อวิถีชีวิตของคนปกาเกอะญอให้คนเมืองได้เข้าใจมากขึ้น ผ่านโต๊ะอาหารที่ยาวจากภาคเหนือสู่ภูมิภาคอื่นๆ 01 กลับบ้านเล็กในป่าใหญ่ […]

เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง

ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]

น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต

“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน”  ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ  อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]

แคร์เก่ง อินเก่ง จนเหนื่อย ชวนค้นความรู้สึก “ทำไมบางคนถึงแคร์ทุกคนบนโลก”

ด็อกมี (แสดงโดย พัคมินยอง) จากซีรีส์ Her Private Life เบื้องหน้าเป็นภัณฑารักษ์ แต่เบื้องหลังเป็นติ่งเกาหลีที่ปิดบังความลับไม่ให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงานรู้ เพราะกลัวโดนไล่ออกและถูกนินทา อนึ่งเธอแคร์สายตาเจ้านายและคนในสังคม ซอดัลมี (แสดงโดย ซูจี) จากซีรีส์ Start-Up โกหกพี่สาวและแม่แท้ๆ ที่ทิ้งเธอไปตั้งแต่เด็กว่ามีแฟนหล่อ รวย เป็นเจ้าของธุรกิจ และการงานมั่นคง ทว่าความจริงเป็นเพียงเรื่องแต่ง เพราะอยากให้ครอบครัวมองว่าเธอโชคดี อนึ่งเธอแคร์สายตาครอบครัว อิมจูกยอง (แสดงโดย มุนกายอง) จากซีรีส์ True Beauty ทิ้งระยะห่างกับแฟน เพราะไปรู้ว่าเพื่อนสนิทของเธอแอบชอบแฟนตัวเอง แต่สาวเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร จึงเก็บมาหน้านิ่วคิ้วขมวดเครียดคนเดียวที่บ้าน พลางให้แฟนสงสัยอีกว่าเธองอนอะไรกันแน่ อนึ่งเธอแคร์สายตาเพื่อนจน ‘เกินนนนนน’ ไป และลืมแคร์ความรู้สึกตัวเอง 3 ซีรีส์เกาหลีข้างต้นเป็นซีรีส์ที่สนุก ลุ้น ฟิน ได้ด้วยพล็อต นักแสดง และซาวนด์ประกอบ แต่ระหว่างทางกว่าจะถึงจุดไคลแมกซ์ หลายครั้งก็ต้องทุบหมอนตอนดูอยู่หลายครั้งเพราะคาแรกเตอร์นางเอ๊กนางเอกที่ ‘แคร์ทุกคนบนโลก’ แต่ ‘ไม่แคร์ตัวเอง’ ถูกใส่พานมาประเคนให้คนดูเอาใจช่วยและเผลอพูดใส่จออยู่เนืองๆ ว่า “ทำไมแคร์ทุกคนขนาดนี้” “ไม่แคร์บ้างก็ได้” […]

เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ ฝันที่เป็นได้ของ นร.แพทย์ออทิสติกไทยใน UK ซึ่งประเทศไทยให้ไม่ได้

ฟ้า-เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ เป็นออทิสติกตั้งแต่เกิด อยู่นอร์เวย์ 2 ปี อเมริกา 4 ปีครึ่ง และสหราชอาณาจักร 4 ปี  หนีมาจากไทย แต่ไม่ได้เกลียดไทย แค่พาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีความสุข กำลังเรียนสิ่งที่ชอบ (ปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์) ทำสิ่งที่รัก (วิจัยมะเร็งลำไส้ มะเร็งในเด็ก และมีแพลนทำอาชีพผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์) มีงานอดิเรกที่เข้าขั้นคลั่งรัก (เดินสวนสาธารณะ ชมสวนพฤกษศาสตร์ และปลูกผักสวนครัว) มีเพื่อน (ที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ไทย) และมีแฟนสาวที่กำลังจะแต่งงานในไม่ช้า (ยินดีด้วยค่ะ!) สาวไทยในสหราชอาณาจักรคนนี้พูดกับฉันด้วยภาษาไทยบ้านเกิดปนภาษาอังกฤษบ้านปัจจุบันว่า สิ่งที่กล่าวข้างต้นคือชีวิตที่โชคดี ส่วนชีวิตที่โชค (ไม่ค่อย) ดีในฐานะบุคคลออทิสติกกลับอยู่ที่ไทย เพราะถูกบุลลี่ ด่า ทำร้ายร่างกาย มองว่าเป็นโรคจิต ไม่มีเพื่อนสักคน และไร้สิทธิ์ไร้เสียง ‘ฟ้า’ วันนี้เป็นฟ้าหลังฝนที่มองเห็นศักยภาพและเสียงของตัวเองจนไม่อยากเป็นท้องฟ้าให้ผู้อ่านอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วผ่านไป แต่หวังยืนบนก้อนเมฆกลางผืนฟ้าใหญ่เพื่อบอกทุกคนว่า ถ้าคนออทิสติกได้รับโอกาสและการสนับสนุนอย่างเท่าเทียม แสงเจิดจรัสที่ชื่อว่า ‘ศักยภาพ’ จะส่องประกายมากพอให้ทำตามความฝันได้โดยไม่ต้องหยุดแค่ ‘เพียงฝัน’ 01 ออทิสติกคือความพิการ “ที่สหราชอาณาจักรตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง” “ตอนนี้สิบโมงเช้าแล้วค่ะ สวนสาธารณะแถวบ้านเพิ่งมีหงส์มาอยู่ด้วย ตื่นเต้นมาก” “ชีวิตช่วงนี้มีความสุขไหม” […]

อนาคตประเทศที่ไม่พึ่งคุกกี้เสี่ยงทายของ ‘แคน นายิกา’ จากอดีตไอดอลสู่นักการเมือง

คุยกับแคนถึงชีวิตเส้นทางไอดอลที่เริ่มขึ้นเพราะอยากทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม และล่าสุดกับบทบาท ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ วัย 23 ปี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงประเทศ

โพควา โปรดักชั่น สื่อปกาเกอะญอที่ปรับทัศนคติคนเมืองด้วยเรื่องจริงจากปากคนชาติพันธุ์

‘โอ-ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี’ หนุ่มปกาเกอะญอวัย 28 แห่ง โพควา โปรดักชั่น สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนชีวิตคนชาติพันธุ์ ที่เขาเขียน ถ่าย อัด ทำ ‘คนเดียว’ จะบอกคุณให้รู้ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และโอต้องการอะไร

เคี้ยว กลืน หัวเราะ บอกรัก ‘เสียงบำบัด’ ศาสตร์คลายเศร้า

ชวนรู้จักศาสตร์ ‘เสียงบำบัด’ คลายทุกข์ บำรุงหัวใจ ด้วยวิธีกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว กอดตัวเอง บอกรัก ส่งเสียงฮัม หัวเราะ หรือเคาะกลางอกตอนร้องไห้ ที่ช่วยเปลี่ยนวันแย่ๆ ให้เป็นวันที่ดีขึ้น และเรียกสติกลับมารักตัวเองได้อีกครั้ง

EAT

LOAF-LAY โดนัทตำราญี่ปุ่นฝีมือคนสองวัยที่ใช้วัตถุดิบทั่วโลก

LOAF-LAY แบรนด์โดนัทตำราญี่ปุ่นที่ใช้วัตถุดิบทั่วโลกตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือยันเกษตรกรไทย ของคนสองรุ่น ระหว่าง แม่จอย-จิตรลดา ศิริหงษ์ ที่อีก 3 ปีจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เวลาหยิบอะไรเข้าปากจะคิดถึงสุขภาพก่อนเสมอ กับลูกเจนวายทั้งสอง ทะเล-อรรถวีร์ พรใจหาญ และ ยาหยี-ธีรกานต์ ศิริหงษ์ ที่ชอบทำอาหาร และมีขนมหวานเป็นของโปรดอันโอชะ

คู่พ่อ-ลูก เซียนเกมที่ย่อรัฐสวัสดิการลงบนบอร์ดเกม

The Welfare คือบอร์ดเกมที่ให้ผู้เล่นจำลองเป็นคนที่ได้รับรัฐสวัสดิการ และไม่ได้รับรัฐสวัสดิการในประเทศไทยว่ามันต่างกันสุดขั้วอย่างไร โดยมี อาจารย์ต้น-เดชรัต สุขกำเนิด และ แดน-แดนไท สุขกำเนิด สองพ่อลูกจากกลุ่ม Deschooling Game ที่รักบอร์ดเกมพอๆ กับประชาธิปไตยเป็นผู้สร้างสรรค์

A.R.M.Y x ร้านรถเข็น ติ่งเกาหลีฟื้นชีวิตแม่ค้าตัวเล็ก

ป้ายโฆษณาสุขสันต์วันเกิดศิลปินที่รักของต่ิงเกาหลีในยุคนี้ ไม่ได้ทำเพื่อโปรโมตหรือสนับสนุนศิลปินอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพลังในการช่วยเหลือคนตัวเล็กๆ ที่เดือดร้อนในวิกฤตอันยากลำบากนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ‘อาร์มี่ (A.R.M.Y.)’ หรือชื่อเรียกแฟนคลับวง BTS ได้ร่วมทำโปรเจกต์ดีๆ ช่วยเหลือผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ด้วยการติดป้ายฟิวเจอร์บอร์ดสุขสันต์วันเกิด ‘วี หรือ คิม แทฮยอง’ หนึ่งในสมาชิกวง BTS หน้ารถเข็นของพ่อค้า-แม่ค้าขายลูกชิ้นแทนป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขาในช่วงโควิด

“อย่าทำให้เสียงของนักข่าวหายไป” หทัยรัตน์ พหลทัพ บ.ก. The Isaan Record กับเสียงที่ส่งเพื่อแลกสังคมที่ดี

หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการสำนักข่าว The Isaan Record ที่ละทิ้งความกลัวเพื่อบอกว่าเสียงของนักข่าวสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง

1 2 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.