บางครั้งสิ่งที่เราไม่ต้องการคือความโชคดี Grains & Grams และ Kalm Village ร่วมกันนำเสนอ 24 Camels นิทรรศการเชิงทดลองที่จำลองสถานการณ์ทางโลกและสิ่งที่คุณไม่มีทางรู้ผ่านการสร้างเก้าอี้
.
ทราย-อัจฉริยา โรจนะภิรมย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kalm Village เท้าความถึงที่มาของนิทรรศการครั้งนี้ให้ฟังว่า เกิดขึ้นจาก 12 Camels ซึ่งเป็นนิทรรศการทดลองของ Grains & Grams ที่ให้ศิลปินและนักออกแบบมาต่อเก้าอี้จำนวน 12 ตัว โดยให้แต่ละทีมเตรียมวัสดุมารวมกัน ก่อนจะให้โปรแกรมสุ่มให้แต่ละทีมนำวัสดุที่ได้ไปประกอบเป็นเก้าอี้หรือม้านั่งเดียวขึ้นมา ซึ่งแต่ละทีมจะไม่มีทางทราบเลยว่าตนเองจะได้วัสดุอะไรไปสร้างผลงาน
.
“ทรายเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ไปทำงานนี้ แล้วมีโอกาสได้คุยกันกับทาง Grains & Grams ว่าอยากให้เป็น Travel Exhibition ซึ่งเราดูแล Kalm Village อยู่แล้วก็เลยเสนอว่าให้มาจัดที่นี่ได้ แต่ไหนๆ มาเชียงใหม่ทั้งทีก็อยากชวนพี่ๆ นักออกแบบและศิลปินที่เชียงใหม่มาร่วมกันทำเก้าอี้เพิ่มขึ้นมาอีก 12 ตัว ก็เลยกลายเป็น 24 Camels โดยใช้เงื่อนไขเดียวกัน”
.
หลังจากเปิดตัวไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ทรายเผยว่าผลงานของศิลปินชาวเหนือมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจาก 12 Camels มาก เพราะมีอัตลักษณ์ทางวัสดุและวิธีการนำเสนอที่ชัดเจน มีกลิ่นอายของโฟล์กหรือการใช้สัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่แต่ละคนไม่เคยเห็นผลงานของกันและกันมาก่อน
.
สำหรับผู้ที่อยากทราบว่าเอกลักษณ์ของศิลปินและนักออกแบบชาวเหนือเป็นแบบไหน ก็สามารถเดินทางไปชมนิทรรศการ 24 Camels ได้ที่ Kalm Village ตั้งแต่วันนี้ – 11 มิถุนายน เวลา 9.30 – 18.30 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
.
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยวอย่าลืมไปเที่ยวชม Kalm Village ที่เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่รวบรวมศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรมเข้าไว้ด้วยกัน มีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้องสมุดชุมชนที่เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม รวมถึงแกลเลอรีและโซนร้านขายของที่เป็นการร่วมงานกับช่างฝีมือในการคิดค้นโปรดักต์ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้นผ่านสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ด้วย
.
ติดตามนิทรรศการ 24 Camels หรือ Kalm Village และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Kalm Village
RELATED POSTS
แผ่นเสียงจากขวดพลาสติกรีไซเคิล 100% ที่ผลิตโดย ‘Coldplay’ วงดนตรีรักษ์โลก ขับเคลื่อนวงการเพลงอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
เรื่อง
Urban Creature
‘Coldplay’ คือวงดนตรีป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเดินหน้ารณรงค์เรื่องความยั่งยืนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพราะพวกเขาตระหนักว่า นอกจากการสร้างสรรค์ดนตรีที่ดีให้ผู้ฟัง การดูแลโลกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ล่าสุด Coldplay นำอัลบั้มเก่าทั้งหมด 9 ชุด กลับมาวางขายอีกครั้งในรูปแบบ ‘EcoRecord’ ที่ผลิตแผ่นไวนิลใสในอัลบั้มขึ้นจากเม็ดพลาสติกที่แปรรูปจากขวดพลาสติกรีไซเคิลใช้แล้วทั้งหมด 9 ขวดต่อ 1 แผ่นเสียง แผ่นไวนิลรูปแบบใหม่นี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการผลิตแผ่นไวนิลรูปแบบเก่า นอกจากนี้ พวกเขายังรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดคอนเสิร์ตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งการใช้สายรัดข้อมือรีไซเคิลที่ใช้ซ้ำได้เมื่อจบคอนเสิร์ต ชวนแฟนคลับเดินทางมาชมคอนเสิร์ตด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน ทั้งยังสนับสนุนการปลูกป่าร่วมกับโครงการ One Tree Planted จากการปลูกต้นไม้ตามจำนวนบัตรเข้าชม เรียกได้ว่า Coldplay ไม่เพียงสร้างสรรค์เพลงที่มีความหมายต่อผู้ฟัง แต่ยังใส่ใจโลกที่มีความหมายต่อคนทุกคนอีกด้วย Sources : Carbon Credits | tinyurl.com/mr47h8tdCNA lifestyle | tinyurl.com/4j5me5seกรุงเทพธุรกิจ | tinyurl.com/4j922sca
ชวนไปเพ่งพิศ 10 พิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับการันตีจากโครงการ Museum STAR
เรื่อง
ภัทชณิดา ธัญญเจริญ
‘พิพิธภัณฑ์’ เป็นเสมือนกุญแจเปิดสู่โลกกว้าง กระตุ้นความคิดและจินตนาการผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นรูป รส สัมผัส กลิ่น เสียง โดยที่ทุกอย่างได้รับการจัดเรียงและคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว และแต่ละคนเองคงมีพิพิธภัณฑ์ติดดาวในดวงใจที่จะไปกับเพื่อนหรือคนเดียวก็เอนจอยและเพลิดเพลินทุกครั้ง ไม่ว่าจะไปชมนิทรรศการ ไปสำรวจพื้นที่ หรือไปใช้เวลาพักผ่อนสบายๆ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นก็คงดีไม่น้อยถ้าเราจะได้ลองไปเยี่ยมเยียนมิวเซียมแห่งใหม่ๆ เผื่อได้สถานที่ชุบชูใจเพิ่มเติมมาไว้ในลิสต์อีก เพื่อเป็นอินโทรสู่ซีรีส์คอนเทนต์ที่ Urban Creature ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และ Museum Thailand จึงอยากชวนผู้อ่านมารู้จักกับลิสต์ 10 พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลโครงการ Museum STAR กันก่อนที่จะไปทัวร์แต่ละแห่งอย่างลงลึก พร้อมรับรู้เบื้องหลังการดำเนินงานผ่านถ้อยคำของตัวแทนมิวเซียมในบทสัมภาษณ์คอลัมน์ One Day With… 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC’ คือ Art Center เคียงคู่กรุงเทพฯ และพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมตัวของชาววัยรุ่นสยาม ซึ่งไม่เคยว่างเว้นจากนิทรรศการหมุนเวียนนับร้อยที่กระจายตัวทั่วทุกชั้นตั้งแต่ชั้น 1 – 9 อีกทั้งยังมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา […]
ตามหาสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องที่ชอบด้วย ‘Anitabi’ แผนที่ชี้พิกัดโลเคชันในอนิเมะ ให้ออกไปตามรอยตัวละครคนโปรดได้ทุกที่ทั่วโลก
เรื่อง
Urban Creature
ความใฝ่ฝันหนึ่งของคนที่รักการดูหนังหรือซีรีส์คงเป็นการออกไปท่องโลกเพื่อตามรอยสถานที่ที่เป็นเซตติ้งในเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่จริงให้ไปตามรอยทั้งนั้น แต่ใช่ว่าสายอนิเมะจะไม่อยากไปเยี่ยมชมสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องโปรดสักหน่อย แต่พอเป็นลายเส้นที่วาดขึ้นมาแล้ว บางสถานที่ก็อาจจะดูยากไปหน่อยว่าต้นฉบับที่แท้จริงของโลเคชันนี้คือที่ไหน ทว่าปัญหานี้จะหมดไปเมื่อมีเว็บไซต์ ‘Anitabi’ ที่จะพาทุกคนออกไปท่องโลกตามรอยอนิเมะเรื่องโปรดได้ถูกที่ เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่รวบรวมสถานที่ต่างๆ บนโลกให้เหล่าคนรักอนิเมะได้ปักหมุดกันว่า ทริปต่อไปเราจะไปตามรอยการ์ตูนเรื่องไหนบ้าง โดยตัวแผนที่จะขึ้นเป็นไอคอนตัวละครของแต่ละเรื่อง หรือถ้าตามหาเรื่องที่อยากไปตามรอยไม่เจอ ก็แค่พิมพ์ชื่ออนิเมะที่เราชื่นชอบ จากนั้นตัวเว็บไซต์จะพาเราไปยังจุดต่างๆ ของเรื่องเพื่อเลือกสถานที่ที่ต้องการไปตามรอยได้ ถึงแม้ว่าแผนที่นี้จะไม่ได้มีรายละเอียดลงลึกเรื่องสถานที่ครบทุกเรื่องทุกตอน แต่เราเชื่อว่ามีเยอะมากพอจนจัดเป็นทริปตามรอยอนิเมะได้อย่างแน่นอน ที่แน่ๆ มีโลเคชันของการ์ตูนยุคใหม่เรื่องดังๆ อย่าง Haikyu!!, Jujutsu Kaisen หรือ Demon Slayer ให้ไปตามเก็บแน่นอน ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์กันก่อนได้ที่ tinyurl.com/anitabi
BREEZZE Market ตลาดแนวใหม่ที่รวมตลาดสด พื้นที่สาธารณะ และสวนขนาดเล็กเอาไว้ด้วยกัน
เรื่อง
Urban Creature
ในยุคที่เวลาเราอยากซื้อของอะไรก็มักจะนึกถึงการซื้อออนไลน์ก่อนเป็นอย่างแรก ส่งผลให้พื้นที่ซื้อขายรูปแบบเดิมๆ อย่างตลาดต้องเริ่มปรับตัว BREEZZE Market คือตลาดที่ตั้งอยู่ในย่าน Jiaochuan ของเขต Zhenhai เมือง Ningbo จังหวัด Zhejiang ประเทศจีน ตั้งใจปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เคยซบเซาให้พัฒนาขึ้น ผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง หลังจากสำรวจแล้วพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นผู้สูงอายุและผู้อยู่อาศัยที่ย้ายถิ่นฐาน ความต้องการหลักของพวกเขาจึงเป็นการจับจ่ายซื้อของควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ทำให้ได้พบปะผู้คน ตลาดแห่งนี้จึงควบรวมการใช้งานพื้นที่ตลาด สวนสาธารณะขนาดเล็ก และพื้นที่สาธารณะไว้ด้วยกัน แนวคิด ‘การเชื่อมต่อ’ เป็นแกนหลักของโครงการนี้ ไม่เพียงแต่การเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างสถาปัตยกรรมใหม่กับชุมชนเดิม แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าและผู้อาศัย โดยได้แรงบันดาลใจจากตลาดชนบทในวัยเด็กที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างอิสระ แล้วนำมาปรับใช้กับบริบทเมือง เพื่อสร้างพื้นที่ที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ต่างจากตลาดในเมืองทั่วไปที่มักจัดเป็นล็อกๆ ดูแยกกันอยู่ ด้วยเหตุนี้ BREEZZE Market จึงมุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ค้าเลือกเวลาและสถานที่ขายของได้เอง ช่วยลดระยะห่างทั้งทางกายภาพและจิตใจระหว่างลูกค้ากับแม่ค้า ผ่านแนวคิด ‘ทางเข้าหมู่บ้าน’ ที่ทำให้ถนนกลายเป็นพื้นที่ส่วนรวมที่ผู้อยู่อาศัยสามารถจับจ่ายซื้อของ ทานอาหาร พบปะเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่นั่งพักผ่อนกลางแดด โครงการนี้มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่ากว่า 770 ตารางเมตร และพื้นที่สาธารณะกว่า 1,000 ตารางเมตร โดยปรับปรุงพื้นที่จากอาคารสีเทาดูมืดหม่นให้ดูสะดุดตามากขึ้นด้วยสีสันสวยงาม รวมถึงเปลี่ยนถนนทั้งสายให้เดินสะดวกและดูดีขึ้น การปรับปรุงนี้มีแนวคิดสำคัญคือ การใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยใช้ส่วนประกอบสำเร็จรูปถึง […]