บางครั้งสิ่งที่เราไม่ต้องการคือความโชคดี Grains & Grams และ Kalm Village ร่วมกันนำเสนอ 24 Camels นิทรรศการเชิงทดลองที่จำลองสถานการณ์ทางโลกและสิ่งที่คุณไม่มีทางรู้ผ่านการสร้างเก้าอี้
.
ทราย-อัจฉริยา โรจนะภิรมย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kalm Village เท้าความถึงที่มาของนิทรรศการครั้งนี้ให้ฟังว่า เกิดขึ้นจาก 12 Camels ซึ่งเป็นนิทรรศการทดลองของ Grains & Grams ที่ให้ศิลปินและนักออกแบบมาต่อเก้าอี้จำนวน 12 ตัว โดยให้แต่ละทีมเตรียมวัสดุมารวมกัน ก่อนจะให้โปรแกรมสุ่มให้แต่ละทีมนำวัสดุที่ได้ไปประกอบเป็นเก้าอี้หรือม้านั่งเดียวขึ้นมา ซึ่งแต่ละทีมจะไม่มีทางทราบเลยว่าตนเองจะได้วัสดุอะไรไปสร้างผลงาน
.
“ทรายเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ไปทำงานนี้ แล้วมีโอกาสได้คุยกันกับทาง Grains & Grams ว่าอยากให้เป็น Travel Exhibition ซึ่งเราดูแล Kalm Village อยู่แล้วก็เลยเสนอว่าให้มาจัดที่นี่ได้ แต่ไหนๆ มาเชียงใหม่ทั้งทีก็อยากชวนพี่ๆ นักออกแบบและศิลปินที่เชียงใหม่มาร่วมกันทำเก้าอี้เพิ่มขึ้นมาอีก 12 ตัว ก็เลยกลายเป็น 24 Camels โดยใช้เงื่อนไขเดียวกัน”
.
หลังจากเปิดตัวไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ทรายเผยว่าผลงานของศิลปินชาวเหนือมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจาก 12 Camels มาก เพราะมีอัตลักษณ์ทางวัสดุและวิธีการนำเสนอที่ชัดเจน มีกลิ่นอายของโฟล์กหรือการใช้สัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่แต่ละคนไม่เคยเห็นผลงานของกันและกันมาก่อน
.
สำหรับผู้ที่อยากทราบว่าเอกลักษณ์ของศิลปินและนักออกแบบชาวเหนือเป็นแบบไหน ก็สามารถเดินทางไปชมนิทรรศการ 24 Camels ได้ที่ Kalm Village ตั้งแต่วันนี้ – 11 มิถุนายน เวลา 9.30 – 18.30 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
.
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยวอย่าลืมไปเที่ยวชม Kalm Village ที่เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่รวบรวมศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรมเข้าไว้ด้วยกัน มีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ห้องสมุดชุมชนที่เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม รวมถึงแกลเลอรีและโซนร้านขายของที่เป็นการร่วมงานกับช่างฝีมือในการคิดค้นโปรดักต์ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้นผ่านสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ด้วย
.
ติดตามนิทรรศการ 24 Camels หรือ Kalm Village และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Kalm Village
RELATED POSTS
ร่วมเป็นอีกเสียงช่วยเปลี่ยนเมืองกับ 13 เรื่องเบื้องต้นครอบคลุม ‘งาน เงิน คน’ ที่ กทม.ขอฟังเสียงคนกรุงผ่านร่าง พ.ร.บ.กรุงเทพฯ
เรื่อง
Urban Creature
รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ.กรุงเทพฯ ฉบับเดิมนั้นใช้มานานตั้งแต่ พ.ศ. 2528 หรือเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว และเพื่อแก้ปัญหาให้ทันสมัย ตรงจุดมากขึ้น กทม.จึงเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปเป็นแนวทางแก้ไข พ.ร.บ.นี้ ซึ่งหลังเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เพียง 4 วัน ก็มีผู้เข้าร่วมกว่า 10,000 เสียงแล้ว เว็บไซต์ กทม. 2528 เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็น และโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอจากปัญหา 13 เรื่องเบื้องต้น เพื่อนำไปเป็นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ และนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 3 ประเด็นหลักอย่าง ‘งาน เงิน คน’ ประเด็นแรก งานหรืออำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะเงื่อนไข ปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยงานภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 เป้าหมายที่จะดำเนินภารกิจภายใต้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเพื่อพัฒนากรุงเทพมหานคร เงิน คือรายได้และงบประมาณ ส่วนคนหรือโครงสร้างการบริหารราชการ ทั้งหมดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเมือง นอกจากจะเป็นประชามติ รับฟังความคิดเห็นปัญหาเมืองๆ ของชาวกรุงเทพฯ แล้ว เว็บไซต์นี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมปัญหาที่คนกรุงให้ความสำคัญ รวมถึงทำให้รู้ว่าเราไม่ใช่คนเดียวที่มองว่าประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหา เพราะยังมีเพื่อนชาวเมืองอีกกว่า 9,000 คนที่เห็นว่าปัญหาทางเท้า […]
Hakata อาณาจักรขนส่งสาธารณะที่รวมทุกการเดินทางไว้ในที่เดียว
เรื่อง
ปณิตา พิชิตหฤทัย
‘ฮากาตะ’ ถ้าได้ยินชื่อนี้แล้วคิดถึงอะไรกันบ้าง กลิ่นหอมกรุ่นของราเม็งน้ำซุปกระดูกหมู ตลาด Christmas Market ย่านช้อปปิงขนาดใหญ่ที่เดินซื้อของเชื่อมต่อกันได้ไม่สะดุด หรือสถานีชื่อดังที่ถ้าอยากท่องเที่ยวในภูมิภาคคิวชูให้ครบๆ สักครั้งต้องใช้สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อ และหากใครเคยได้ยินเรื่องที่รัฐบาลไทยสนใจรวมขนส่งสาธารณะไว้ในที่เดียวเพื่อให้การเดินทางในไทยไร้รอยต่อ โมเดลที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นต้นแบบก็คือ ฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง คอลัมน์ City in Focus จึงขอชวนทุกคนมาดูย่านที่ทำให้การเดินทางด้วยรถ ราง บัสเป็นเรื่องง่าย แสนสบาย เชื่อมต่อรถ-ราง-บัส ในพื้นที่เล็กๆ ของฮากาตะแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบไปด้วยศูนย์รวมการเดินทางทั้งบัส แท็กซี่ รถไฟฟ้าใต้ดิน ชินคันเซ็น และรถไฟ JR โดยเหมาะทั้งสำหรับการเดินทางในเมืองฟุกุโอกะเอง และเดินทางออกไปต่างเมือง ไม่ว่าจะโตเกียว นาโกยา หรือไปดู World Expo ที่โอซากาก็ยังได้ นอกจากสถานีกลางนี้จะรวบรวมทุกการเดินทางเอาไว้แล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีฮากาตะยังมีความพิเศษตรงที่สถานีนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฟุกุโอกะ ในระยะที่ไปถึงพื้นที่สำคัญๆ ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด เช่น หากจะไปช้อปปิงที่แหล่งวัยรุ่นอย่างเทนจินก็ห่างเพียง 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 5 นาทีเท่านั้น หรือจะไปสนามบินก็ใช้เวลาเพียง 2 สถานีเช่นเดียวกัน โดยปกติด้วยความยิ่งใหญ่ของรถยนต์ ราง […]
ชวนไปชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน พร้อมการแสดงศิลปวัฒนธรรมและหนังกลางแปลง กับงานเฉลิมฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 23 – 27 เม.ย. 68 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เรื่อง
Urban Creature
หากใครยังไม่เคยสัมผัสกับการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ครั้งนี้ถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จะเปิดให้เข้าชมช่วงค่ำคืนกับกิจกรรม ‘Night at The Museum ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘ใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์’ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 27 เมษายน พ.ศ. 2568 นี้ ทุกคนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในส่วนของ Night at The Museum โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 16.00 – 20.00 น. นอกจากนี้ ทางกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังจัดกิจกรรมนำชมในหัวข้อ ‘รัตน์ฯ แรกเริ่ม : ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์’ ในวันที่ 23 – 27 เมษายน พ.ศ. 2568 และหัวข้อ ‘ชีวิต (แรก) กรุง : วิถีชีวิตคนต้นกรุงรัตนโกสินทร์’ ในวันที่ […]
คุณก็เป็นได้นะ ฮีโรน่ะ Bangkok Keepers เหล่าฮีโรพลังวิเศษ เล่าเรื่องเมืองหลวงที่ส่งต่อเรื่องราวและความสำคัญของคนทำงานขับเคลื่อนเมือง
เรื่อง
Urban Creature
“ถึงจะเป็นคนกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิด แต่พอมาทำโปรเจกต์นี้ก็ได้รู้ว่าเราไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับกรุงเทพฯ เลย เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยตั้งใจดูเมืองของเรา” ‘ซัน-ชาคร ขจรไชยกูล’ เจ้าของ SUNTUDIO ผู้จบจากภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ Character Design วาดภาพประกอบและงานปั้นโมเดล เล่าถึงตนเองกับชีวิตในกรุงก่อนเริ่มต้นทำโปรเจกต์ Bangkok Keepers จุดเริ่มต้นของเหล่าฮีโร โปรเจกต์ Bangkok Keepers เริ่มต้นจากการเป็นธีสิสที่ซันมีความสนใจเรื่องเหล่าซูเปอร์ฮีโรมาตั้งแต่เด็กๆ ประจวบเหมาะกับช่วงนั้นเป็นเวลาที่ Marvel กำลังดังพอดี เขาจึงลองมาคิดว่าถ้าไทยมีฮีโรจะเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งตัวซันเองไม่ได้อยากตีความไปทางความเป็นไทยแบบดั้งเดิมเพราะมีคนทำกันเยอะแล้ว เลยอยากเล่นกับความเป็นไทยในรูปแบบอื่นๆ ที่ใกล้ตัวมากกว่าอย่างฮีโรกรุงเทพฯ หลังจากได้โจทย์ฮีโรกรุงเทพฯ ซันก็มาต่อยอดว่าสิ่งหรือบุคคลที่เหมาะกับการเป็นฮีโรของเมืองเราคือ พี่ๆ พนักงานทำความสะอาดของกรุงเทพฯ ทั้งพนักงานกวาดถนน พนักงานเก็บขยะ และพนักงานสูบสิ่งปฏิกูล เพราะเป็นกลุ่มอาชีพที่เหมือนดั่งฮีโรช่วยเหลือเมืองแต่กลับถูกมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง สามฮีโรยอดนักดูแลเมือง ฮีโร 3 ตัวที่ซันอยากเล่าภายใต้โปรเจกต์นี้คือ Sweeprine ฮีโรสาวกวาดถนน ซึ่งเป็นฮีโรตัวแรกที่ออกแบบ เธอเป็นคนกวาดถนนที่โดนสารเคมีบางอย่างเข้าจนทำให้มีพลังวิเศษ สามารถสะสมความร้อนจากการทำงานกวาดถนนกลางแดดทั้งวันแล้วปล่อยกลับออกมาเป็นเปลวไฟได้ ตัวที่สองคือ The Plunger Man ฮีโรสูบส้วมรุ่นลุง […]