รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชนสูงถึง 380,000 ตัน/ปี แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ถูกนำกลับรีไซเคิลอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนที่เหลือก็จะปะปนไปกับขยะมูลฝอยอื่นๆ รอการฝังกลบ และปล่อยสารเคมีอันตรายอย่างปรอท ตะกั่ว ดีบุก สะสมต่อไปในห่วงโซ่อาหาร
ดังนั้น AIS และไปรษณีย์ไทยจึงจับมือกันสร้างโครงการ ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่จะช่วยให้เราจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขยะอันตรายจะถูกนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลแบบ ‘Zero Landfill’ หรือการรีไซเคิลแบบไม่มีการฝังกลบเลย
ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับฝากทิ้ง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ สำหรับคนที่สนใจก็นำเจ้าพวกนี้ใส่กล่องพร้อมกับเขียนหน้ากล่องว่า ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มอบให้บุรุษไปรษณีย์ที่แวะเวียนมาส่งจดหมายแถวบ้านได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
RELATED POSTS
วิธีลดขยะที่ง่ายเหมือนปอกกล้วย GoneShells บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่สามารถปอกเพื่อกินหรือละลายน้ำได้
เรื่อง
Urban Creature
หนึ่งสิ่งที่เป็นความท้าทายของการผลิตสินค้าในยุคนี้คือ การคำนึงถึงปัจจัยเรื่องความยั่งยืนและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการรีไซเคิลจะดูเป็นกระบวนการที่ง่ายที่สุดก็ตาม แต่กว่าบรรดาวัสดุจากแพ็กเกจจิ้งจะไปถึงขั้นตอนรีไซเคิลได้ ก็ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ ทั้งการทิ้งขยะให้ถูกประเภท การแกะฉลาก หรือแม้แต่การแยกฝาขวดออก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้น ถ้ามีขวดหรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้เองโดยที่ไม่ต้องผ่านการรีไซเคิลและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็คงจะช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ ‘Tomorrow Machine’ สตูดิโอจากสวีเดนจึงร่วมมือกับบริษัทน้ำผลไม้อย่าง ‘Eckes Granini’ และ ‘Brämhults’ ในการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ ‘GoneShells’ ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เพื่อลดภาระการรีไซเคิล รวมไปถึงลดขยะพลาสติกอีกด้วย โดยตัวขวดนี้ทำมาจากมันฝรั่งที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นวัสดุใสคล้ายพลาสติก เมื่อดื่มน้ำผลไม้จนหมด ผู้บริโภคสามารถกำจัดขวดได้ด้วยการละลายน้ำทิ้งหรือจะกินเลยก็ได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของพืชผักและผลไม้ เช่น มันฝรั่ง ส้ม และกล้วย ที่ต้องปอกเปลือกภายนอกออกก่อนจึงจะกินได้ และไม่ต้องเป็นห่วงว่าขวดที่บรรจุน้ำและโดนน้ำจะทำการย่อยสลายตัวเองทันที เพราะขวดจะพร้อมเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายก็ต่อเมื่อปอกเปลือกหรือทำการลอกบรรจุภัณฑ์ออกเหมือนเวลาแกะเปลือกส้มและนำไปแช่ไว้ในน้ำ จากนั้นปฏิกิริยาตามธรรมชาติจะเริ่มทำให้ขวดค่อยๆ ละลายและหายไปได้เอง Sources :DesignTAXI | bit.ly/3YU1XQNDieLine | bit.ly/3IgOTOmGoneShells | goneshells.com
ส่องโครงการกรีนๆ จาก เซ็นทรัล รีเทล ศึกษากลยุทธ์ วิธีการเป็นองค์กร Green & Sustainable Retail ที่แรกของไทย
เรื่อง
Urban Creature
เป็นไปได้ไหมที่ค้าปลีกขนาดใหญ่จะเป็นองค์กรที่ Green & Sustainable ได้ หลายคนอาจรู้จัก เซ็นทรัล รีเทล ในแง่มุมของค้าปลีกที่มีทั้ง ห้างเซ็นทรัล ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ท็อปส์ ไทวัสดุ และร้านค้าเฉพาะทางต่างๆ เรามักนึกถึงเป็นตัวเลือกแรกเวลาไปช้อปปิง แต่ความจริงแล้ว เซ็นทรัล รีเทล ยังเป็น ‘Green & Sustainable Retail’ องค์กรค้าปลีกที่แรกของไทยที่คิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการทำงาน เพราะมีเป้าหมายที่ตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2593 เซ็นทรัล รีเทล จึงคิดทำโครงการกรีนๆ และสร้างความยั่งยืนออกมามากมายทั้ง จริงใจ Farmers’ Market, Love the Earth, ขวดเปล่า ไม่สูญเปล่า และ Journey to Zero ตัวอย่างเหล่านี้คือโครงการที่เซ็นทรัล รีเทล คิดจริง ทำจริง ใช้กลยุทธ์ CRC ReNEW ที่เกิดขึ้นจากการนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development […]
FUL โซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา นวัตกรรมที่อุดมด้วยสารอาหาร และกระบวนการผลิตที่ช่วยลดก๊าซ CO2
เรื่อง
Urban Creature
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มโซดาก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อบริษัทสัญชาติดัตช์ผลิตโซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา ที่อัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมในการผลิตที่รักษ์โลก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศด้วย ‘Ful’ คือแบรนด์โซดาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ต้องการ ‘ปลดล็อกพลังอันน่าทึ่งของสาหร่ายขนาดเล็ก’ เพราะส่วนผสมหลักที่ Ful ใช้คือ ‘สาหร่ายสไปรูลินา (Spirulina)’ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สีฟ้าของโซดาจึงมาจากธรรมชาติทั้งหมด ปราศจากการแต่งสี นอกจากสาหร่ายสไปรูลินาจะทำให้โซดา Ful มีสีสัน ดูสนุก และน่าดื่มยิ่งขึ้น สาหร่ายขนาดจิ๋วชนิดนี้ยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ด้วย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจัดอยู่ในสาหร่ายสายพันธุ์ Platensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด และยังเป็น ‘สุดยอดอาหาร’ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี 2 รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระอย่างคลอโรฟิลล์ด้วย แม้ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลินาจะถูกยอมรับในกลุ่มคนที่กินอาหารเสริมอยู่แล้ว ทั้งในรูปแบบผงและรูปแบบเม็ด แต่การที่ Ful นำสาหร่ายประเภทนี้มาเป็นส่วนประกอบหลักของโซดา ช่วยให้เจ้าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อีกจุดขายของโซดา Ful ก็คือความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Ful มีกระบวนการผลิตที่เรียกว่า ‘การรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Recycling)’ เนื่องจากการเจริญเติบโตของสาหร่ายสไปรูลินาต้องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงจะผลิตสารอาหารและออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศได้ ดังนั้น […]
นักวิทย์ฯ สร้างต้นไม้ประดิษฐ์ดักจับ CO2 ไม่เปลืองพลังงาน คาดเป็นทางออกที่ยั่งยืน
เรื่อง
Urban Creature
หลังการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลมานานหลายร้อยปี คาร์บอนไดออกไซด์ได้สะสมในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ลำพังการลดการปล่อยมลพิษอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงมองว่าการดูดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลดการสะสมในชั้นบรรยากาศได้ แต่ก็มีข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือประสิทธิภาพยังไม่มากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน และกินพลังงานมากอย่างเหลือเชื่อในการดูดซับมลพิษเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน ต้นไม้ก็ต้องการเวลามหาศาลที่จะเติบโตและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งความสามารถในการดูดซับก็อาจไม่เพียงพอ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (ASU) จึงเสนอให้ใช้ ‘Mechanical Tree’ หรือต้นไม้กล ในการดูดซับคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศโดยตรง Klaus Lackner ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมของ ASU และผู้อำนวยการของ Center for Negative Carbon Emissions จึงวางแผนที่จะสร้างเครื่องดักจับคาร์บอนที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยต้นไม้ที่ว่านี้จะดูเหมือนกองแผ่นเสียงขนาดยักษ์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่บรรจุตัวโน้ตและเสียงเพลง แต่เคลือบด้วยวัสดุดักจับคาร์บอน เมื่ออากาศหมุนเวียนผ่านแผ่นเสียงเหล่านั้นก็จะเก็บคาร์บอน ลงไปจนเต็ม ก่อนจะจุ่มลงในถังซึ่งใช้ไอน้ำในการปล่อยคาร์บอนที่บรรจุไว้ออกมาแล้วเก็บไว้ในถังอีกต่อหนึ่ง “การใช้ความชื้นทำให้เราสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึงครึ่งหนึ่งของการดักจับอากาศโดยตรง และส่วนที่เหลือเราก็เลือกที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน” Klaus ยังมองว่าการดักจับอากาศโดยตรงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่เราไม่ควรพึ่งพาวิธีการนี้เพียงอย่างเดียว และมองว่าการที่บริษัทดักจับคาร์บอน จำหน่าย Carbon Offset หรือการชดเชยคาร์บอนในราคา 500 – 1,000 เหรียญฯ ต่อตัน เป็นราคาที่สูงเกินไป หลังจากนี้ Klaus […]