การท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board : STB) ชวนคนไทยร่วมส่งคลิปเล่าเรื่องราวสุดประทับใจเมื่อครั้งไปเที่ยวสิงคโปร์ตามสไตล์ของคุณ ผ่านกิจกรรม ‘สิงคโปร์รีวิวเว่อร์’ ชิงรางวัลตุ๊กตาน้องเมอร์ลีไซซ์ยักษ์สุดน่ารักไปนอนกอดให้หายคิดถึงการไปเที่ยวต่างประเทศกัน
นอกจากนี้การท่องเที่ยวสิงคโปร์ยังได้เชิญ 3 บล็อกเกอร์ชื่อดัง ว่านไฉ จากอาสา พาไปหลง, มิ้นท์ จาก I Roam Alone และ เมอา จาก I’m Mayyr-Blog มาเป็นเมนเทอร์ แชร์เทคนิค แนะเคล็ด (ไม่) ลับในการทำคลิปท่องเที่ยว โดยติดตามชมคลิปของ 3 เมนเทอร์ได้ที่ https://www.facebook.com/VisitSingaporeTH/ ดูจบแล้วอย่าลืมเอาเทคนิคต่างๆ มาทำรูปหรือคลิปเก่าๆ ของเราให้ปังใหม่ไม่แพ้ใคร
สำหรับใครที่สนใจร่วมสนุกกับกิจกรรมนี้ ก็แชร์คลิปของตัวเองลงช่องทางใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram YouTube TikTok หรือ Social Media อื่นๆ อย่าลืมตั้งค่าเป็นสาธารณะพร้อมติดแฮชแท็ก #SingapoReimagine #สิงคโปร์รีวิวเว่อร์ แล้วส่งมาที่ http://bit.ly/3oW53AZ ร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2564 หรือถ้าสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/VisitSingaporeTH
RELATED POSTS
ตามหาสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องที่ชอบด้วย ‘Anitabi’ แผนที่ชี้พิกัดโลเคชันในอนิเมะ ให้ออกไปตามรอยตัวละครคนโปรดได้ทุกที่ทั่วโลก
เรื่อง
Urban Creature
ความใฝ่ฝันหนึ่งของคนที่รักการดูหนังหรือซีรีส์คงเป็นการออกไปท่องโลกเพื่อตามรอยสถานที่ที่เป็นเซตติ้งในเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่จริงให้ไปตามรอยทั้งนั้น แต่ใช่ว่าสายอนิเมะจะไม่อยากไปเยี่ยมชมสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องโปรดสักหน่อย แต่พอเป็นลายเส้นที่วาดขึ้นมาแล้ว บางสถานที่ก็อาจจะดูยากไปหน่อยว่าต้นฉบับที่แท้จริงของโลเคชันนี้คือที่ไหน ทว่าปัญหานี้จะหมดไปเมื่อมีเว็บไซต์ ‘Anitabi’ ที่จะพาทุกคนออกไปท่องโลกตามรอยอนิเมะเรื่องโปรดได้ถูกที่ เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่รวบรวมสถานที่ต่างๆ บนโลกให้เหล่าคนรักอนิเมะได้ปักหมุดกันว่า ทริปต่อไปเราจะไปตามรอยการ์ตูนเรื่องไหนบ้าง โดยตัวแผนที่จะขึ้นเป็นไอคอนตัวละครของแต่ละเรื่อง หรือถ้าตามหาเรื่องที่อยากไปตามรอยไม่เจอ ก็แค่พิมพ์ชื่ออนิเมะที่เราชื่นชอบ จากนั้นตัวเว็บไซต์จะพาเราไปยังจุดต่างๆ ของเรื่องเพื่อเลือกสถานที่ที่ต้องการไปตามรอยได้ ถึงแม้ว่าแผนที่นี้จะไม่ได้มีรายละเอียดลงลึกเรื่องสถานที่ครบทุกเรื่องทุกตอน แต่เราเชื่อว่ามีเยอะมากพอจนจัดเป็นทริปตามรอยอนิเมะได้อย่างแน่นอน ที่แน่ๆ มีโลเคชันของการ์ตูนยุคใหม่เรื่องดังๆ อย่าง Haikyu!!, Jujutsu Kaisen หรือ Demon Slayer ให้ไปตามเก็บแน่นอน ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์กันก่อนได้ที่ tinyurl.com/anitabi
BREEZZE Market ตลาดแนวใหม่ที่รวมตลาดสด พื้นที่สาธารณะ และสวนขนาดเล็กเอาไว้ด้วยกัน
เรื่อง
Urban Creature
ในยุคที่เวลาเราอยากซื้อของอะไรก็มักจะนึกถึงการซื้อออนไลน์ก่อนเป็นอย่างแรก ส่งผลให้พื้นที่ซื้อขายรูปแบบเดิมๆ อย่างตลาดต้องเริ่มปรับตัว BREEZZE Market คือตลาดที่ตั้งอยู่ในย่าน Jiaochuan ของเขต Zhenhai เมือง Ningbo จังหวัด Zhejiang ประเทศจีน ตั้งใจปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เคยซบเซาให้พัฒนาขึ้น ผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง หลังจากสำรวจแล้วพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นผู้สูงอายุและผู้อยู่อาศัยที่ย้ายถิ่นฐาน ความต้องการหลักของพวกเขาจึงเป็นการจับจ่ายซื้อของควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ทำให้ได้พบปะผู้คน ตลาดแห่งนี้จึงควบรวมการใช้งานพื้นที่ตลาด สวนสาธารณะขนาดเล็ก และพื้นที่สาธารณะไว้ด้วยกัน แนวคิด ‘การเชื่อมต่อ’ เป็นแกนหลักของโครงการนี้ ไม่เพียงแต่การเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างสถาปัตยกรรมใหม่กับชุมชนเดิม แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าและผู้อาศัย โดยได้แรงบันดาลใจจากตลาดชนบทในวัยเด็กที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างอิสระ แล้วนำมาปรับใช้กับบริบทเมือง เพื่อสร้างพื้นที่ที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ต่างจากตลาดในเมืองทั่วไปที่มักจัดเป็นล็อกๆ ดูแยกกันอยู่ ด้วยเหตุนี้ BREEZZE Market จึงมุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ค้าเลือกเวลาและสถานที่ขายของได้เอง ช่วยลดระยะห่างทั้งทางกายภาพและจิตใจระหว่างลูกค้ากับแม่ค้า ผ่านแนวคิด ‘ทางเข้าหมู่บ้าน’ ที่ทำให้ถนนกลายเป็นพื้นที่ส่วนรวมที่ผู้อยู่อาศัยสามารถจับจ่ายซื้อของ ทานอาหาร พบปะเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่นั่งพักผ่อนกลางแดด โครงการนี้มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่ากว่า 770 ตารางเมตร และพื้นที่สาธารณะกว่า 1,000 ตารางเมตร โดยปรับปรุงพื้นที่จากอาคารสีเทาดูมืดหม่นให้ดูสะดุดตามากขึ้นด้วยสีสันสวยงาม รวมถึงเปลี่ยนถนนทั้งสายให้เดินสะดวกและดูดีขึ้น การปรับปรุงนี้มีแนวคิดสำคัญคือ การใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยใช้ส่วนประกอบสำเร็จรูปถึง […]
Wintercircus แปลงโฉมโรงละครสัตว์เก่าในเบลเยียม ให้กลายเป็นฮับใหม่ของเทคโนโลยีและวัฒนธรรม
เรื่อง
Urban Creature
เมืองเกนต์ ประเทศเบลเยียม คือที่ตั้งของ ‘Wintercircus’ โครงการออกแบบภายในขนาด 4,830 ตารางเมตร ที่ชุบชีวิตอาคารอายุกว่า 125 ปี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของคณะละครสัตว์และต่อมาเป็นโรงรถ ให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา โปรเจกต์นี้เป็นฝีมือของสตูดิโอออกแบบ OYO Architects ที่ปรับปรุงภายในของ Wintercircus ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีมากกว่า 30 แห่ง โดยยังคงรักษาโครงสร้างดั้งเดิมที่แข็งแรงเอาไว้ หลักใหญ่ใจความของการออกแบบคือ เปลี่ยนเวทีละครสัตว์เดิมบริเวณใจกลางอาคารให้กลายเป็นห้องโถงอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการใช้งาน เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การจัดนิทรรศการศิลปะไปจนถึงคลาสออกกำลังกาย ถือเป็นการผสมผสานองค์ประกอบร่วมสมัยและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกันภายในอาคาร ด้วยการหยิบเอาไม้และแสงไฟโทนอุ่นมาใช้ในการออกแบบ เพื่อเสริมเข้ากับเหล็กและคอนกรีตเดิมของโครงสร้าง ทำให้เกิดสมดุลระหว่างความทันสมัยและความอบอุ่นของพื้นที่ประวัติศาสตร์ ทำให้ Wintercircus กลายมาเป็นพื้นที่ที่รวมเอาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของผู้คนไว้ภายใต้หลังคาเดียวกัน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ประกอบการ นักวิจัย นักศึกษา ผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านดิจิทัล และประชาชนทั่วไป Sources : ArchDaily | t.ly/0_ZnD Wintercircus | www.wintercircus.be/en
ออกแบบ ‘Hawker Center’ แบบไทยๆ แก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย คืนพื้นที่ทางเท้าที่หายไป
เรื่อง
ชิดชนก โปร่งสูงเนิน
‘ไทยแลนด์ดินแดนสตรีทฟู้ด’ หนึ่งในอัตลักษณ์ของไทยที่เลื่องลือกันไปทั่วโลก ทว่าเบื้องหลังก็มีปัญหาคลาสสิกมากมายที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข อย่างที่รู้กันว่า กรุงเทพฯ กับหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาคาราคาซังมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งการล้ำเส้นทางเท้า กีดขวางทางสัญจร ความสกปรกจากน้ำทิ้งและเศษซากจากการประกอบอาหารหรือตั้งร้าน รวมถึงสุขอนามัยของผู้บริโภค ปัจจุบันกรุงเทพฯ นำ ‘Hawker Center’ โมเดลศูนย์อาหารจัดระเบียบร้านของสิงคโปร์มาปรับใช้บ้างแล้ว แต่ก็เจอทางตันและข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่ไม่เอื้อต่อการจัดสรร การควบคุมมาตรฐาน ทุนสนับสนุน ไปจนถึงการคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของสตรีทฟู้ดแบบไทยๆ ส่งผลให้ประเด็นหาบเร่แผงลอยเป็น Love-Hate Relationship ที่อยู่คู่คนกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ถึงอย่างนั้น การแก้ไขปัญหาก็ไม่ควรเป็นการขับไล่ร้านเหล่านั้นออกไปเพื่อเป็นการตัดจบ แต่ควรเป็นประเด็นขบคิดว่า เราจะทำอย่างไรให้ทางเท้ากลับมาเป็นทางเท้าเหมือนเดิม ในขณะเดียวกันก็ไม่กระทบการทำมาหากินของเหล่าผู้ประกอบการ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ‘Hawker Center แบบไทยๆ’ สีสันจัดจ้านตามแบบฉบับสตรีทฟู้ดไทยที่ขมวดจบทุกปัญหา เสนอทางออกที่หลายฝ่ายจะแฮปปี้ คืนทางเท้าที่ดีให้นักสัญจรทางเท้าทุกท่าน อีกทั้งยังคงความเป็นสตรีทฟู้ดอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของไทย ขอให้ทางเท้ามีทางให้เท้าเดิน อย่างแรกร้านค้าต้องรู้ก่อนว่า ตรงไหนบ้างที่ห้ามตั้งร้านหาบเร่แผงลอย ปัจจุบันเทศกิจกำหนดว่า บริเวณที่ห้ามจำหน่ายสินค้าเด็ดขาดคือทางเท้าแคบที่กว้างไม่ถึง 2 เมตร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทางเท้าที่ดีควรมีความกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 2 เมตร แต่ประเทศไทยเองยังมีหลายพื้นที่ที่ทางเท้าแคบและไม่ได้มาตรฐาน เมื่อมีหาบเร่แผงลอยมาตั้งร้านอีกจึงเกิดปัญหาซ้ำซ้อนตามมา ถ้าไปดูกรณีของไต้หวันจะพบว่า […]