LATEST

Acousticity | Purpeech รักรออยู่ไม่ไกล Live Session @Whattheduck

‘บ้าน’ สถานที่ที่หลายคนอยู่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และคงมีหลายครั้งที่เราอาจต้องห่างไกลจากบ้านหลังเดิมด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะออกมาเพื่อเดินตามความฝันเช่นเดียวกับวงดนตรี ‘Purpeech’ ที่ห่างไกลจากเชียงใหม่และต้องย้ายมาบ้านหลังใหม่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดเพลงที่เล่าเรื่องราวการไกลบ้านของพวกเขาอย่างเพลง ‘รักรออยู่ไม่ไกล’ Urban Creature เลยชวน Purpeech มาบรรเลงเพลงที่ ‘What The Duck’ บ้านหลังใหม่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ไกลบ้านจนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา พร้อมทั้งคุยถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหลังย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้

ต๊ะ วสกร กับของอาถรรพ์ที่กำลังจะหายไป

“คำว่า ‘อาถรรพ์’ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ถ้าเรามองมันเป็นของอาถรรพ์ เราก็จะไม่กล้าไม่ยุ่งกับมัน แต่ถ้ามองว่ามันคือของสะสมมันก็จะเป็นแค่ของชิ้นหนึ่ง” Urban Creature พาไปคุยกับ ‘ต๊ะ-วสกร เชาวน์พีระพงศ์’ หรือ ‘ต๊ะของอาถรรพ์’ นักสะสมของอาถรรพ์ หนึ่งในนักเล่าเรื่องผีจาก The Ghost Radio ว่านอกจากเรื่องราวหลอนๆ ของของสะสมที่ไม่เหมือนใครอย่าง สมุดข่อย หุ่นกระบอกโบราณ และผ้ายันต์ต่างๆ แล้ว ของสะสมเหล่านี้ยังมีมุมมองอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง

แปรรูปโกโก้ในโรงงานช็อกโกแลต Infinite Cacao | The Professional

‘โกโก้’ เครื่องดื่มหวานๆ ที่หลายคนอาจโปรดปราน แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นรสชาตินี้ โกโก้ถูกแปรรูปมาสารพัดวิธีเพื่อให้นำมาชงกินได้ง่ายในทุกวัน ขณะเดียวกัน ระหว่างทางการแปรรูปก็มีส่วนที่ต้องทิ้งตามรายทางไปอย่างเปล่าประโยชน์ “โกโก้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ มันจะกลายเป็นช็อกโกแลตให้เราจริงๆ แค่ห้าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราแกะผลสดออกมา มันจะมีเมล็ดข้างในอยู่ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือคือเปลือกเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ มันยังเหลือขยะอีกหลายๆ ส่วนที่เรายังไม่ได้ต่อยอดหรือยังไม่เห็น” Urban Creature คุยกับ ‘อาร์ม-ปฤญจ์ นิพัทธโกศลสุข’ เจ้าของโรงงานช็อกโกแลต ‘Infinite Cacao’ ในจังหวัดระยอง ผู้ซึ่งมองว่าโกโก้สามารถแปรรูปได้ทุกส่วนและต่อยอดไปได้อย่างไม่รู้จบ

เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต

Acousticity | Copter คืนนี้ไปส่ง Live Session @ซอยนานา

นานาที่หลายคนนึกถึง อาจเป็นซอยในย่านสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีของเหล่านักดื่ม แต่จริงๆ ยังมีอีกหนึ่งซอยนานาในย่านเยาวราชที่บรรยากาศดีและมีบาร์ Specialty ค็อกเทลมากมายไม่แพ้กัน “เวลาเรา Hang out กันเสร็จแล้ว ก็อาจจะมีมุมที่เจอคนถูกใจหรือว่าอยากจะทำความรู้จักต่อ และเมื่อเรารู้จักกันแล้วก็จะมีความเป็นห่วงเขา เราเลยลองถามเขาดูว่า คืนนี้เขากลับยังไง ให้เราไปส่งไหม” วันนี้รายการ Acousticity พา ‘Copter’ ศิลปินจากค่าย @BOXX Music เจ้าของเพลงดัง ‘เธอบอกว่าฉันไม่ดี’ มาเล่นเพลง ‘คืนนี้ไปส่ง’ ท่ามกลางแสงสีจากซอยนานา ก่อนบอกลาและเข้านอนด้วยกัน

พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน

เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat

‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้

พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround

‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ

SEE MORE


SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.