ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน
.
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน
.
ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิล
จึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
.
โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆ
เพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม
.
ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว
.
โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% ซึ่งการทอผ้าห่ม 1 ผืนต้องใช้ขวดพลาสติก 38 ขวด ตลอด 2 ปีตั้งแต่เริ่มโครงการ ผลิตผ้าห่มไปแล้ว 4 แสนผืน เท่ากับลดปริมาณขวดพลาสติกที่เป็นขยะไปได้ถึง 15.2 ล้านขวด
.
ในปีนี้ โครงการไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ไทยเบฟส่งมอบผ้าห่มให้พี่น้องในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด 228 อำเภอ เป็นจำนวน 2 แสนผืน ซึ่งหากนับรวมตลอด 22 ปี ก็มีการส่งมอบผ้าห่มไปแล้ว 4.4 ล้านผืน
.
และนอกจากการช่วยเหลือเรื่องผ้าห่มแล้ว ไทยเบฟยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ให้ยั่งยืน ด้วยการโอกาสด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านกีฬา พร้อมกิจกรรมสันทนาการที่มอบความสุขในทุกๆ ครั้งที่ลงพื้นที่แจกผ้าห่มอีกด้วย เพราะหัวใจหลักซึ่งเป็นความตั้งใจของไทยเบฟคือ การให้ที่ “มากกว่าความอบอุ่น คือการสร้างสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
.
โครงการนี้นับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสองอย่างได้ในคราวเดียวกัน คือการบรรเทาความเดือนร้อนของผู้ประสบภัยหนาว ในขณะเดียวกันก็นำขยะขวดพลาสติกที่มีอยู่มากมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งช่วยลดทั้งพลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดโลกร้อน และทำให้โลกของเราน่าอยู่มากขึ้นด้วย
RELATED POSTS
Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย
เรื่อง
พัฒนา ค้าขาย
We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]
‘reBAG’ ขอพลาสติกยืดคืนกลับมารีไซเคิลกับแคมเปญจากไปรษณีย์ไทย X TPBI หย่อนฟรี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขา
เรื่อง
Urban Creature
สำหรับใครที่เป็นนักช้อปออนไลน์ คงคุ้นเคยกับการรีไซเคิลกล่องพัสดุ แต่สำหรับซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกอื่นๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพวกมันก็รีไซเคิลได้เช่นกัน เพื่อสานต่อโครงการ Green Hub ที่ก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับแคมเปญ reBOX ที่ช่วยรีไซเคิลกล่อง ซอง และกระดาษไม่ใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 137,000 กิโลกรัมในปี 2566 ‘บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด’ จึงร่วมมือกับ ‘บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)’ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทำแคมเปญ ‘reBAG’ ขึ้น จุดประสงค์คือการชวนทุกคนเก็บรวบรวมซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วส่งคืนกลับมารีไซเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะฝังกลบ ลดโอกาสเกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสามารถวนถุงใบใหม่กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม แค่รวบรวมแล้วนำไปหย่อนหรือดรอปที่ ‘กล่องรับของโครงการ reBAG’ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขาทั่วประเทศฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ดูประเภทถุงและฟิล์มพลาสติกที่รับรีไซเคิลและสาขาที่ตั้งของกล่องรับของโครงการ reBAG เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Won
นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ
เรื่อง
Urban Creature
น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4
‘Waste War’ บอร์ดเกมสอนแยกขยะแบบง่ายๆ ที่ทั้งสนุกและได้เรียนรู้เรื่องรีไซเคิลไปพร้อมกัน
เรื่อง
Urban Creature
การแยกขยะ เป็นการกระทำหนึ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ยั่งยืนได้ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่าการแยกขยะมีวิธีที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไป ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘KongGreenGreen’ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะมานาน ร่วมมือกับ ‘ไจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ‘Qualy’ ในการทำ ‘Waste War’ บอร์ดเกมที่จะทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และนอกจากจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแล้ว ยังสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของขยะอีกด้วย ก้องเล่าให้เราฟังว่า บอร์ดเกมนี้เป็นการต่อยอดเนื้อหาจากช่อง KongGreenGreen ที่ต้องการทำให้การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และทำตามได้จริง ผ่านหลักคิดที่ว่า ‘แค่เราปรับเพียงนิดหน่อยก็ช่วยโลกได้มาก’ ซึ่งเอกลักษณ์ของช่องคือ การแนะนำวิธีการแยกขยะเบื้องต้น การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ ผ่าน The Recycle Series รายการที่นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กระป๋องที่ถูกใช้งาน จนผ่านกระบวนการรีไซเคิลต่างๆ กลับมาเป็นกระป๋องที่สามารถนำมาบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง นอกจากนั้น ด้วยความที่เขายังเป็นผู้นำกระบวนการเวิร์กช็อปเรื่องแยกขยะตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่สนใจเรื่อง Zero Waste ทำให้ต้องคิดเกมหรือกิจกรรมเพื่อที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้ไปด้วย ก้องจึงนำเอาประสบการณ์จากการทำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้เป็นบอร์ดเกมชิ้นนี้ ที่แม้จะดูเป็นสื่อการสอนที่ดี แต่ก็อยากให้เป็นเกมที่เล่นได้ยามว่าง เพราะ Waste War […]