รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

ตามติดชีวิตไม่สร้างขยะ 1 วัน ฉบับสองสาวชาว Zero Waste

“เป็นไปได้จริงหรือที่คนเราจะสามารถใช้ชีวิตหนึ่งวัน 
โดยไม่สร้างขยะเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ??” นี่คือสิ่งที่เราสงสัยมาตลอดเมื่อได้ยินคนพูดถึงการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste หรือการใช้ชีวิตโดยสร้างขยะศูนย์ชิ้นในแต่ละวัน ในระยะหลังเราได้ยินแนวคิดการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste มากขึ้น สลับกับข่าวปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีให้เห็นรายวัน ตามมาด้วยคำถามมากมายอย่างความเป็นไปได้ที่แนวคิดนี้จะทำได้จริง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนทุกอย่างจะเอื้ออำนวยให้การดำเนินชีวิต ทิ้งร่องรอยการสร้างขยะได้ทุกเมื่อ

แจกสูตร ‘โมเดลเมือง Zero Waste’ ฉบับ Akira Sakano ฮีโร่สาวผู้พลิกโฉมเมืองปลอดขยะ

ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกแก้ไม่ตกคือ ‘ขยะ’ ที่พอกพูนจนกลายเป็นภูเขากองโต ปีที่แล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 1.64% โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% นอกจากตัวเลขที่เราเห็น ยังมีขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.