ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เวิร์กจริงไหม

ในแต่ละสัปดาห์ กว่าหลายคนจะผ่านพ้น 5 วันทำงานไปได้ก็แทบจะไม่เหลือเรี่ยวแรง ร่างกายเหนื่อยล้าแบบสุดๆ จนอดใจรอวันหยุดสุดสัปดาห์แทบจะไม่ไหว แต่ช่วงวันหยุด 2 วันก็ผ่านไปไวเหลือเกิน ยังไม่ทันจะเคลียร์งานบ้าน พักผ่อนให้หายเหนื่อย ก็ต้องกลับไปสู่วงจรการทำงานอีกแล้ว หากสัปดาห์ไหนมีวันหยุดพิเศษเพิ่มมาให้อย่างน้อย 1 วัน ก็รู้สึกเหมือนโชคหล่นทับ เพราะรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจได้ชาร์จพลังจนเต็ม พร้อมสู้งานในสัปดาห์ต่อไปอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว แล้วถ้าได้ทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน ทุกสัปดาห์ และยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม จะช่วยให้เราพร้อมสู้งานกว่านี้ไหมนะ เชื่อว่าในปัจจุบันหลายคนคงจะเริ่มตระหนักถึง Work-life Balance หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและชีวิตส่วนตัวมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกใจที่คนยุคใหม่จะมองว่า การทำงานโดยมีวันหยุดเพียง 2 วัน/สัปดาห์นั้นไม่ตอบโจทย์และไม่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนหรือลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เลย หลายคนและหลายองค์กรคงเคยนึกถึงการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเมื่อวันทำงานลดน้อยลงแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะยังมีเท่าเดิมไหม หรือหากจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลดลงจะมีผลต่อรายได้หรือเปล่า แนวคิดการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์นี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า สรุปแล้วมันเวิร์กสำหรับสังคมการทำงานจริงๆ หรือไม่ หลายประเทศทั่วโลกทดลองลดวันทำงาน ประเด็นการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์โควิด-19 หลายองค์กรก็ต้องปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ […]

พนักงานสิงคโปร์เกินครึ่ง ยอมรับว่ากำลังเบิร์นเอาต์ และงานไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดอีกต่อไป

รายงานฉบับใหม่จาก Employment Hero ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคล ได้สอบถามพนักงานชาวสิงคโปร์ 1,005 คน เกี่ยวกับการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็แสดงให้เห็นเลยว่า 62 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงานแดนลอดช่องกำลังประสบกับภาวะหมดไฟ งานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ยังระบุว่า พนักงาน 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามี Work Life Balance แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีนัก เรียกว่าสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานอยู่ในขั้นปริ่มๆ เท่านั้น ซึ่งหลักที่ทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาต์ของผู้ทำการวิจัย มาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการทำงานและกระทบกับสุขภาพจิตด้วย พนักงาน 43 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลกระทบในทางลบต่ออาชีพการงาน ขณะที่ 68 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาค่อนข้างเครียดเรื่องการเงิน และมีพนักงาน 65 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่าระดับความเครียดของพวกเขาในที่ทำงานสูงขึ้นมากจากผลกระทบของโควิด-19 อาการหมดไฟในการทำงานไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และส่งผลกระทบกับงานที่ทำโดยตรง ผลวิจัยบอกว่าพนักงาน 42 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าสภาวะหมดไฟทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และคนทำงานที่ปราศจาก Work Life Balance มีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟถึง 52 เปอร์เซ็นต์ และพนักงานที่ผลงานส่วนตัวไม่ดีและไม่มีเวลาสำหรับชีวิตมิติอื่น ก็จะสร้างวงจรของความเหนื่อยหน่ายและความเครียดที่หนักกว่าเดิมด้วย สถิติที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนายจ้างคือ 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานยอมรับว่า อาชีพของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกอีกต่อไป แต่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.