องค์การอนามัยโลกประกาศ ความเหงาอาจไม่เท่าอวกาศ แต่อันตรายเท่าสูบบุหรี่ 15 มวน

ถือเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหนุ่มสาวขี้เหงา เมื่อ ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ประกาศยกให้ ‘ความเหงา’ เป็นปัญหาน่ากังวลด้านสาธารณสุขของโลก ก่อนหน้านี้ความเหงามักถูกมองเป็นเพียงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ WHO หันมาให้ความสนใจภัยเหงามากขึ้น และตัดสินใจตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศให้จัดการกับความเหงาในฐานะภัยคุกคามด้านสุขภาพ เนื่องจากภาวะล็อกดาวน์ที่ทำให้เกิดการชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ระดับความเหงาของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยการวิจัยพบว่า การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลานานเป็นอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน จนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีความเสี่ยงร้ายแรงเทียบเท่าผู้ที่มีโรคอ้วนและผู้ที่ออกกำลังกายน้อย Murthy ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 จากทั้งหมดทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความเหงา และความเหงาเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่อาจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบในเวลาต่อมาได้มากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับความเหงาเท่านั้น แต่มีวัยรุ่นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ที่กำลังประสบกับภาวะนี้ และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจเกิดภาวะเครียดจนมีแนวโน้มที่จะไม่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นำไปสู่ปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการว่างงานในอนาคต พูดได้ว่า ความเหงาอาจเป็นภัยที่กำลังคุกคามสุขภาพและสังคมอย่างเงียบๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รัฐควรเริ่มมองหาวิธีรับมืออย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความเหงาจะลุกลามเป็นวงกว้างในสังคม Sources :Global News | t.ly/1OmGgPeople | t.ly/O4NXzThe Guardian […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.