Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

นักศึกษาฝรั่งเศสปิ๊งไอเดีย เปลี่ยนหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วเป็น ‘ล้อสเก็ตบอร์ด’ แก้ปัญหาขยะบนท้องถนน

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ‘หมากฝรั่ง’ ที่เราหยิบขึ้นมาเคี้ยวเล่นเพลินๆ แล้วคายทิ้งเมื่อหมดรสหวานนั้น ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 50 ปี Hugo Maupetit และ Vivian Fischer สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดจะช่วยดูแลความสะอาดของถนนอย่างยั่งยืน จึงเกิดไอเดียนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปรรูปเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ไอเทมที่กำลังฮิตกันอยู่ตอนนี้ พวกเขาบอกว่าเป็นการนำหมากฝรั่งที่เป็นขยะบนท้องถนนกลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง  วิธีการคือนำกระดานไปติดทั่วเมืองและในพื้นที่มีคน ทุกคนสามารถนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปะไว้ ทุกๆ สัปดาห์หมากฝรั่งเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและส่งไปที่โรงงานเพื่อผสมพวกมันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แล้วเอาไปขึ้นรูป ทำเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ขยะชิ้นเล็กๆ ใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน Source : Yanko Design | https://bit.ly/3rUuzIw 

ไลฟ์สไตล์กรีน ‘ชุดชั้นในเก่าที่รีไซเคิลไม่ได้’ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน เพียงส่งไปบริษัทกำจัดขยะ N 15

หากใครต้องการทิ้งกางเกงใน ชุดชั้นใน เสื้อกล้าม หรือถุงเท้าที่มีสภาพเก่าจนบริจาคไม่ไหว สามารถนำไปบริจาคได้ที่ ‘N 15 Technology’ บริษัทกำจัดของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

‘โค้ก’ ถูกจัดอันดับว่าเป็นผู้สร้างขยะพลาสติกอันดับ 1 ของโลกสามปีซ้อน

จากรายงานขององค์กร “Break Free from Plastic” ที่ได้ทำการตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2020 โดยใช้อาสาสมัคร 14,734  คน ใน 55 ประเทศทั่วโลก พบว่า ปี 2020 สามารถเก็บขยะพลาสติกได้ 346,494 ชิ้น ซึ่งกว่า 63% มีตราสินค้าผู้บริโภคอย่างชัดเจน ตามรายงานระบุว่า แบรนด์ที่พบขยะพลาสติกมากที่สุดคือ “โค้ก” ซึ่งนับจำนวนได้มากกว่า 13,834 ชิ้น จาก 51 ประเทศ รองลงมาเป็น “เป๊ปซี่” 5,155 ชิ้น จาก 43 ประเทศ และ “เนสท์เล่” 8,633 ชิ้น จาก 37 ประเทศ ในขณะที่โค้กได้แจ้งว่า ในขณะนี้กำลังดำเนินงานอย่างหนักเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2030 […]

ความพยายามต้องไม่สูญเปล่า #คัดค้านนำเข้าขยะพลาสติก

#คัดค้านการนำเข้าขยะพลาสติก คือแคมเปญจากองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม ‘SOS Earth’ ที่ขอพลังจากทุกคนร่วมถ่ายรูป ชูป้าย และติดแฮชแท็ก รณรงค์ยกเลิกนโยบายการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ และสนับสนุนการจัดการขยะอย่างเหมาะสม

‘Flotsam’ เกมสร้างเมืองจาก ‘ขยะ’ หนทางรอดในวันที่น้ำท่วมโลก

ทำความรู้จักกับเกมน้องใหม่ ‘Flotsam’ ที่มีเอกลักษณ์ด้วยความน่ารัก สดใส แตกต่างจากเกมสร้างเมืองลอยน้ำรุ่นพี่อย่าง Buoyancy ที่นอกจากต้องเอาชีวิตรอดในโลกที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแล้ว เรายังต้องบริหารและสร้างเมืองจากขยะเพื่อรองรับผู้รอดชีวิตไปพร้อมๆ กัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.