‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน

‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]

Bangkok Shophouses หนังสือภาพสีน้ำที่ทำให้คุณรักตึกแถวในเมืองเก่าจาก Louis Sketcher

เวลาไปเดินเล่นย่านเมืองเก่า คุณเคยตกหลุมรักตึกไหนเป็นพิเศษจนต้องยกมือถือขึ้นมาเก็บภาพเอาไว้ไหม? Bangkok Shophouses คือหนังสือรวมภาพวาดสีน้ำตึกแถวในเมืองเก่ากรุงเทพฯ ผลงานของ ‘หลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา’ นักวาดภาพเมือง (Urban Sketcher) เจ้าของเพจ Louis Sketcher ที่อยากเล่าเรื่องเมืองผ่านภาพวาดจากดินสอ, ปากกา, สีน้ำ และลายเส้นของเขา เพื่อให้คุณได้เห็นกรุงเทพฯ ในอีกมุมมองหนึ่ง และอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนออกเดินทางตามรอยตึกแถวที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ หรือมองหาตึกโปรดในมุมมองของตัวเองสนุกขึ้น  หลุยส์เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นในการทำหนังสือเล่มนี้มาจากที่เขาเรียนสถาปัตย์ และชอบตึกเก่าอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยเห็นใครทำหนังสือแบบนี้เพื่อเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ในมุมนี้มาก่อน ประจวบกับได้เห็นหนังสือ Tokyo Storefronts ของ Mateusz Urbanowicz ที่รวบรวมผลงานภาพวาดตึกแถวและหน้าร้านในญี่ปุ่นของตัวเองเอาไว้ จึงเป็นแรงผลักดันให้หลุยส์ทำโปรเจกต์นี้อย่างจริงจังมากขึ้น เขาเลือกเล่าเรื่องราวของ Shophouse หรือที่เราเรียกกันว่าตึกแถวและอาคารพาณิชย์ มักจะใช้เป็นทั้งที่พักอาศัยและค้าขาย ในย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ เพราะเป็นพื้นที่ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ตั้งแต่เทเวศร์ เยาวราช ฝั่งธนฯ วังหลัง ไปจนถึงท่าดินแดง นอกจากจะสเก็ตช์ภาพตึกแถวแล้ว ยังสอดแทรกมุมมอง Cityscape และจุดเด่นของแต่ละย่านเข้าไปด้วย  หลุยส์ตั้งใจจะให้คนอ่านได้สัมผัสเสน่ห์ที่แตกต่างกันไปในแต่ย่านเหมือนที่เขาได้เจอมา จึงเล่าเรื่องราวอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ พื้นที่นั้นเข้าไปด้วย เช่น […]

บ้านทดลอง Home Isolation เมื่อโควิดอาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน

ตัวเลขที่ฉุดไม่อยู่ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ จนเกิดมาตรการเสริมแก้วิกฤติที่เรียกว่า Home Isolation หรือการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านทางเลือก และทางรอดใหม่ แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ตัวเลขน่าสนใจอยู่ที่ผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ซึ่งนับเป็น 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่สามารถทำการพักรักษาตัวอยู่บ้านด้วยการทำ Home Isolation ได้ หากทุกคนที่ติดเชื้อสามารถกักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ปัญหาเตียงไม่พอทุเลาลงอย่างมาก จนเกิดคำถามที่ว่า หากโควิดไม่ใช่โรคเดียวที่เราต้องทำ Home Isolation ถ้าในอนาคตมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก บ้านที่เราอาศัยอยู่ควรมีหน้าตาแบบไหน คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากชวนทุกคนไปจินตนาการบ้านทดลองภายใต้กฎเหล็กของ Home Isolation อย่างสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา อยู่ห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร หรือห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ถ้าเรายังอยากอยู่ด้วยกันเหมือนปกติ รูปแบบการอยู่อาศัยของเราจะเป็นอย่างไรหากเราต้องอยู่กันแบบนี้ตลอดไป หากพูดว่าเราอาจจะต้องทำการ Home Isolation ตลอดไป ภาพในหัวคงจะเหมือนหนัง Sci-Fi Dystopia ที่ชวนเศร้าใจไม่น้อย เราคงจะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน ใช้ชีวิตในโลกภายนอกด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย […]

Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด

Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]

ปลดล็อกเตียงทอง! เปลี่ยนพื้นที่เมืองเป็น ‘โรงพยาบาลสนาม’

ขอปลดล็อกสกินเตียงทอง ระดมไอเดียออกแบบโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจในฝัน หยิบพื้นที่ในเมืองที่น่าสนใจ แปลงโฉมเป็นศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราว แบบฉบับ Urban Sketch

รถเมล์ไทยหลังโควิด-19

แม้เครื่องบินจะหยุดชะงักเมื่อโรคระบาดมา แต่เชื่อว่าคนไทยเองยังจำเป็นต้องเดินทางอยู่ ดังนั้นรถสาธารณะอย่าง ‘รถเมล์’ ยังคงขายดีอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการจะคำนึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นความสะอาด และความปลอดภัย เราเลยลองจินตการดีไซน์รถเมล์ไทยหลังโควิด-19 มาให้ดูกัน แล้วเพื่อนๆ ล่ะ อยากให้รถเมล์ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบไหนกันบ้าง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.