Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

ลงชื่อ ‘พ.ร.บ.สิทธิมนุษยชนของผู้เรียน’ ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย

ถูกตีจนไม้หัก ตัด-กล้อนผมจนเสียความมั่นใจ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ไม่เปิดกว้างในการหาความรู้ ระเบียบจัดแต่ห้ามตั้งคำถาม ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ตรงของใครหลายคนที่ผ่านระบบการศึกษาของประเทศไทยมาไม่มากก็น้อย หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยเห็นจากหน้าข่าวสารกันอยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการแก้ไข ไม่ว่าจะเรียนจบไปกี่ปีก็ยังชวนให้เกิดความสงสัยว่าทำไมสถานศึกษาไทยซึ่งควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเปิดกว้างกลับเป็นสถานที่ที่ละเมิดสิทธิของนักเรียนอยู่เสมอ จะเป็นอย่างไรถ้าอย่างน้อยๆ มีกฎหมายเพื่อรับประกันสิทธิ-เสรีภาพ และสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนจริงๆ – และนี่คือจุดประสงค์ของร่าง ‘พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน’ ที่เสนอโดยกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ ในวันเด็ก 9 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ร่าง พ.ร.บ.นี้ประกอบด้วย 3 หมวดหลักได้แก่ สิทธิมนุษยชนของผู้เรียน สภาพแวดล้อมและสวัสดิภาพ และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ทั้งหมดตั้งเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีสิทธิ-เสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก รวมถึงด้านสุขภาพจิตที่ข้อเสนอร่างกฎหมายระบุให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำปรึกษาเพียงพอต่อผู้เรียน รวมทั้งตัวกฎหมายตั้งใจเพิ่มส่วนร่วมในการตัดสินใจเวลาออกกฎระเบียบต่างๆ ของโรงเรียนได้ ประเด็นเหล่านี้อาจจะไม่ใช่แค่ปัญหาของนักเรียน-ผู้เรียนในระบบการศึกษาไทยเท่านั้น แต่ปัญหานี้เรื้อรังมานานและต้องการแรงสนับสนุนจาก ‘ผู้ใหญ่’ ที่ไม่มากก็น้อยผ่านการศึกษาในระบบของไทยกันมาทั้งนั้น ร่วมกันลงชื่อสนับสนุนและอ่านร่างกฎหมายฉบับเต็มประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่ : https://www.badstudent.co/

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

ชวนดูการออกแบบ 7 หอพักนักศึกษาทั่วโลก ที่คิดเพื่อคนอยู่ ดีต่อใจ ไม่ใช่ห้องรูหนู

หอพักนักศึกษาประเทศอื่นหน้าตาเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากของบ้างเรากันนะ ชวนดู 7 การออกแบบหอพักนักศึกษาทั่วโลก

FYI

คุยกับน้องฝึกงาน: เลือก ‘งานที่ฝัน’ หรือ ‘งานที่ทำให้อยู่รอด’

ชวนน้องฝึกงานรุ่นที่ 4 ของ Urban Creature ทั้ง 3 คนมาล้อมวงคุยถึงความกดดันต่างๆ ที่ต้องแบกไว้บนบ่า และเส้นทางการทำงานในวันข้างหน้าที่เรียกว่าเปรียบได้กับถนนซึ่งโรยด้วยเสี้ยนหนาม

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.