เปิดตัวเลขการถ่ายหนัง ปี 2566 ในไทย จุดหมายของกองถ่ายทั่วโลก

จะว่าไปประเทศไทยของเรานั้นเนื้อหอมไม่เบา เพราะแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนติดโผเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนมากที่สุดอยู่ตลอด ต้องขอบคุณอาหารแสนอร่อยและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลากหลายที่มัดใจนักท่องเที่ยวรอบโลกไว้อยู่หมัด แต่ใช่ว่าประเทศไทยจะดึงดูดแต่นักท่องเที่ยว เพราะกองถ่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ มิวสิกวิดีโอจากนานาประเทศก็เลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการถ่ายทำ ยกตัวอย่าง ซีรีส์ King the Land จากเกาหลีใต้ที่พาเที่ยวกรุงเทพฯ แบบจัดเต็ม ซีรีส์สายลับ The Sympathizer ที่เนรมิตเมืองหาดใหญ่เป็นไซ่ง่อนยุคสงครามเย็น หรือที่ผ่านไปไม่นานกับมิวสิกวิดีโอ Supernova สุดปั่นจากสี่สาว aespa ที่ยกกองมาขายขำกันถึงเมืองไทย คอลัมน์ City by Numbers วันนี้เลยชวนมาดูสถิติกันหน่อยว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยดึงดูดกองถ่ายจากต่างประเทศได้มากแค่ไหน โดยอ้างอิงจากสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2566 จากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) งบลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทุบสถิติ จากสถิติปีที่ผ่านมา มีกองถ่ายภาพยนตร์เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยจำนวนกว่า 466 เรื่อง มีงบประมาณลงทุนสูงกว่า 6,602 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย โดย 5 ประเทศที่ลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยสูงที่สุดคือ 1) สหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนถ่ายทำกว่า 3,184 ล้านบาท2) […]

‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?

แม้ ‘ซีรีส์วาย’ จะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันซีรีส์วายได้กลายมาเป็นซีรีส์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถครองใจผู้ชมทั้งจอแก้วและโลกออนไลน์ได้อย่างอยู่หมัด โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศต่างก็พูดถึงตัวซีรีส์และนักแสดงจนติดเทรนด์กันอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนทั่วไปมองว่านี่คือหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในปัจจุบัน อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในและนอกประเทศ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘Y Economy’ แต่ซีรีส์วายจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ฟังดูดีมีเพียงแง่บวกของประเทศเราได้จริงๆ ใช่ไหม เพราะในอีกมุมหนึ่ง สื่อประเภทนี้ก็เข้ามาสร้างผลกระทบไม่น้อยให้อุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเรา จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้วซีรีส์วายกำลังเป็นสื่อที่ทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยอยู่กันแน่ หนังเรียก ‘เกย์’ แต่ซีรีส์เรียก ‘วาย’ เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมเราถึงเรียกภาพยนตร์ที่มีตัวเอกเป็นชายรักชายว่า ‘หนังเกย์’ แต่พอเป็นซีรีส์ที่มีนักแสดงนำรูปแบบเดียวกันกลับเรียกว่า ‘ซีรีส์วาย’ ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพยนตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็น ‘รักแห่งสยาม’ ‘พี่ชาย My Hero’ หรือ ‘My Bromance’ ต่างฉายในช่วงเวลาที่คำว่า ‘วาย’ ยังไม่เป็นที่พูดถึงและใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงบริบทของสังคมไทยก็ยังไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศมากนัก แตกต่างจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงในรูปแบบซีรีส์ที่ใช้นักแสดงหลักเป็นเพศชายในประเทศไทยครั้งแรกอย่าง ‘Love Sick The Series’ ที่มีการดัดแปลงบทละครจากนิยายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกเรียกระหว่างกลุ่มนักอ่านและนักเขียนด้วยกันเองว่า ‘นิยายวาย (Y)’ ซึ่งย่อมาจากศัพท์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า Yaoi […]

เบื้องหลังความเปล่งประกายของวงการ K-POP ที่เต็มไปด้วยความจริงอันยากจะยอมรับ

‘เกาหลีใต้’ คือหนึ่งในประเทศที่ตลาดเพลงเติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนสำคัญเกิดจากอุตสาหกรรม ‘เคป็อป (K-POP)’ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 327,000 ล้านบาท) สื่อบันเทิงประเภทนี้กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่เคป็อปจะกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้อย่างทรงพลัง เคป็อปก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกจากแนวดนตรีที่มีเมโลดีฟังง่าย สนุกสนาน ฟังครั้งแรกก็ติดหู พร้อมกับการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง และเป๊ะแบบสุดๆ ไม่เพียงเท่านั้น ‘ศิลปินเคป็อป’ หรือ ‘ไอดอลเคป็อป’ ยังมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น น่าหลงใหล และมีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่เบื้องหลังของวงการที่หลายคนมองว่าสมบูรณ์แบบนั้นอาจไม่ได้น่าชื่นชมเหมือนภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ขอพาไปสำรวจหลากหลายด้านมืดของวงการเคป็อป ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทำให้ผู้เยาว์เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพิษและอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งศิลปินและแฟนคลับทั่วโลก Promise Youสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน ช่วงเวลาก่อนไอดอลเคป็อปไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่มจะเปิดตัวในฐานะศิลปินสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ‘เดบิวต์’ พวกเขาต้องผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมเทรนนิงในฐานะ ‘เด็กฝึก’ หรือ ‘เทรนนี’ ของค่ายเพลง เพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างหนักหน่วง ทั้งการเต้น การร้องเพลง การแสดง ฯลฯ ภายใต้ตารางกิจวัตรประจำวันและกฎที่เข้มงวด […]

‘Soft Power’ เกมรุกที่บุกความคิดคนแบบซอฟท์ ๆ

‘Soft Power’ แนวคิดที่ทุกประเทศใช้ดึงดูดความสนใจให้ผู้คนคล้อยตาม จนสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทุกประเทศใช้ผลักดันบ้านเมืองของตัวเองให้ดีขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.