#MeToo จากแฮชแท็กติดเทรนด์ สู่การพัฒนาแอปฯ ช่วยเหลือ คนทุกเพศที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน

#MeToo เป็นแฮชแท็กส่งเสียงการไม่ยอมจำนนของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในโลกออนไลน์ว่า “คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ฉันก็ตกเป็นเหยื่อ และพวกเราจะสู้ไปพร้อมๆ กัน”  แม้หลายปีมานี้ หลายประเทศจะเริ่มตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว แต่ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศก็ยังไม่หมดไป Neta Meidav ผู้ก่อตั้ง Vault บริษัทเทคโนโลยีที่สนับสนุนการปฏิวัติวัฒนธรรมในองค์กรให้น่าอยู่มากขึ้น และ Ariel Weindling นักกฎหมายในแคลิฟอร์เนีย จึงสร้างสองแอปพลิเคชันของตัวเองที่ช่วยรายงาน และช่วยเหลือ ‘ทุกเพศ’ ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในบริษัท Vault เป็นแอปพลิเคชันในประเทศอังกฤษ สำหรับให้พนักงานในบริษัท Vault ร้องทุกข์เมื่อเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งหากเหยื่อต้องการปกปิดตัวตน ก็สามารถส่งเอกสารหรือหลักฐานให้กับฝ่ายบริหารของบริษัทผ่านแอปฯ โดย Meidav ได้แรงบันดาลใจในการสร้างแอปฯ จากประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดในวัย 20 ของเธอ NotMe เป็นแอปพลิเคชันแรกในแคลิฟอร์เนียที่สามารถรายงานความประพฤติของพนักงาน ซึ่งใช้ได้ในทุกๆ บริษัท ไม่ว่าจะส่งอีเมล วิดีโอ หรือข้อความ ก็สามารถอัปโหลดผ่านแพลตฟอร์มแบบเรียลไทม์ โดยข้อมูลจะแจ้งไปยังบริษัททันที ซึ่ง Weindling ยืนยันอีกว่า แอปฯ ของเขาการันตีเรื่องความปลอดภัย เมื่อส่งเรื่องร้องเรียนแล้วจะไม่มีใครตามตัวคุณได้แน่นอน การใช้แอปพลิเคชันเฝ้าระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศในองค์กร เป็นเพียงหนึ่งหมุดหมายที่ตอกย้ำความเชื่อมั่น และความปลอดภัยให้กับพนักงานในบริษัทมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะทำให้ปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศหมดไปจริงๆ คือจิตสำนึกความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนควรมี […]

#หญิงเองก็ลำบาก ฟังเสียงผู้หญิงทั่วโลกที่ต้องการมีชีวิตที่เท่าเทียมและปลอดภัย

ข้อใดต่อไปนี้ คือเหตุการณ์ที่คุณเคยเจอในชีวิตก. เดินห่อไหล่เพราะกลัวโดนมองหน้าอกข. ถ่ายทะเบียนรถให้เพื่อนหรือครอบครัว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินค. โดนคนแปลกหน้าแซว อย่าง ‘ไปไหนจ๊ะ’ ‘คนสวย’ ‘อยู่แถวไหน’ง. เจียดเงินซื้อข้าวเพราะต้องซื้อผ้าอนามัยจ. ถูกทุกข้อ คำถามข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงจำนวนนับไม่ถ้วนต้องพบเจอในแต่ละวัน หรืออาจต้องเผชิญมาทั้งชีวิต ถึงแม้บางคนอาจมองว่าเป็น ‘เรื่องเล็ก’ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งเหล่านี้สร้างความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต และความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการออกมาส่งเสียงจากการโดนกดทับของสังคม ซึ่งพวกเธอไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ตัวเองมีสิทธิเหนือคนอื่น แต่ต้องการใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียม และไม่ให้ลูกหลานต้องเผชิญกับสิ่งที่พวกเธอเคยเจอ Where Is My Name? – ผู้หญิงอัฟกันไร้สิทธิในการมีตัวตนในสังคม ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานไม่มีสิทธิ์เปิดเผยชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ไร้ชื่อพวกเธอ เพราะข้อห้ามอันคร่ำครึของชาวอัฟกันที่เมื่อใครพูดชื่อพี่สาว น้องสาว ภรรยา และแม่ในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ จนผู้หญิงต้องใช้นามสมมติเวลาไปพบคนแปลกหน้า รวมถึงการไปพบแพทย์ด้วย อีกทั้งกฎหมายอัฟกานิสถานอนุญาตให้มีชื่อแค่ ‘พ่อ’ ในใบแจ้งเกิดเท่านั้น ทำให้ผู้หญิงอัฟกันกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำแคมเปญออนไลน์ที่ชื่อว่า #WhereIsMyName เพื่อทวงคืนสิทธิในการมีตัวตนของพวกเธอกลับคืนมา #FreePeriods #Saveผ้าอนามัย – ราคาที่ต้องจ่ายเพียงเพราะ ‘มีประจำเดือน’ ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนต้องควักเงินจ่ายทุกเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ทำให้ต้องใช้ผ้าอนามัยซ้ำๆ หรือใช้วัสดุทดแทน ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย หลายประเทศจึงมีการเรียกร้องให้ผ้าอนามัยเป็นรัฐสวัสดิการ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.