เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต

พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน

เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat

‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้

พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround

‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ

มองหนังฮ่องกงผ่านเลนส์ผู้กำกับร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงภาพจำที่มีต่อหนังฮ่องกงแนวกังฟูอย่าง ‘Ip Man’ หรือหนังโจรกรรมแอ็กชันอย่าง ‘Police Story’ ภาพจำในอดีตเหล่านี้หลายๆ ครั้งก็เป็นกับดักที่ทำให้ผู้ชมทั่วโลกมองไม่เห็นถึงความหลากหลายของหนังฮ่องกงเช่นกัน “ในช่วงยุค 80 – 90 ผู้สร้างหนังในฮ่องกงเปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง การสร้างผลงานจะออกมาคล้ายๆ กัน แต่ในสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มักสนใจการสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องรอบตัว ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่” Urban Creature คุยกับ ‘HO Miu-ki’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Love Lies และ ‘Nick CHEUK’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Time Still Turns the Pages สองผู้กำกับหนังฮ่องกงร่วมสมัยจากเทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 ถึงอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงในยุคปัจจุบันว่ามีปัญหาอะไร การหาทุนทำหนังในประเทศมีมากพอหรือไม่ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างจากสมัยก่อน เทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์ ‘House Samyan’ (ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์) ติดตามข่าว […]

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

DRINKS ON ME เว็บไซต์บาร์ทิพย์ฮีลใจ

เมื่อเรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด เหงา หรือเศร้า หลายๆ คนคงมีการระบายความรู้สึกที่แตกต่างกันไป บางคนอาจไปออกกำลังกายให้เหงื่อออกแทนน้ำตา บางคนอาจไปดื่มเพื่อให้ลืมเธอในแต่ละวัน แต่สุดท้ายความรู้สึกนี้อาจไม่หายไปตราบที่เรายังไม่ได้พูดระบายมันออกมา จะดีกว่าไหมหากเราระบายความรู้สึกเหล่านี้แล้วไม่ต้องกลัวว่ามันจะดูไม่ดีหรือกระทบความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว drinksonme.live คือเว็บไซต์ที่จะพาคุณไปคุยกับคนแปลกหน้า พร้อมเสียงเพลงและบรรยากาศราวกับอยู่ในบาร์ เริ่มต้นบทสนทนาด้วยค็อกเทลที่บอกความรู้สึกของตัวเราในวันนี้ พร้อมสกินแต่งตัวน่ารักๆ อีกมากมายให้เราได้เลือกสรร อีกทั้งได้เริ่มมีการขยับจากการคุยในบาร์ทิพย์กลายเป็นกิจกรรมการคุยกับคนแปลกหน้าในบาร์จริงทุกๆ เดือน เพื่อที่จะได้มารีเฟลกซ์ความรู้สึกของตัวเองหรือฮีลใจกันและกัน “ทำไมการคุยกับคนไม่รู้จักกันมันถึงฮีลใจกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ อันนี้เป็นฟีดแบ็กที่คนบอกเรามาหลังจากเข้าอีเวนต์ตลอด” Urban Creature คุยกับ ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ถึงที่มาที่ไปของเว็บไซต์ และความสำคัญของการฮีลใจที่เราอาจทำไม่ได้ด้วยตัวเองก็ลองให้คนแปลกหน้าเข้ามาช่วยเรา

Le Petit Restaurant ภัตตาคารอาหารที่เชฟให้น้อยแต่คนก็ยังมา

ในวัยเด็กที่ทุกคนเล่นจำลองสิ่งต่างๆ เช่น เล่นขายของ เล่นเป็นหมอรักษาคนไข้ หรือเล่นทำครัว ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็กนี้อาจเลือนหายไปเมื่อเราโตขึ้นมาแล้วไม่ได้ประกอบอาชีพนั้น ‘Le Petit Restaurant’ คือร้านอาหารที่เชฟให้น้อยแต่คนก็ยังมา เพราะร้านนี้ชวนให้ทุกคนมาเปิดประสบการณ์การเล่นทำอาหารในวัยเด็กอีกครั้ง แต่ยิ่งพิเศษไปกว่าเดิมเมื่อการทำอาหารนี้เล็กจิ๋วยิ่งกว่าที่เราเคยเล่นในวัยเด็ก อีกทั้งยังสามารถทำอาหารออกมาแล้วกินได้จริงอีกด้วย Urban Creature คุยกับ ‘พลอยดาว ธีระเวช’ เจ้าของร้าน Le Petit Restaurant ถึงความเป็นมาของภัตตาคารอาหารจิ๋วที่อาจไม่ได้ทำให้อิ่มท้อง แต่สิ่งที่ได้กลับไปคือความรู้สึกและประสบการณ์ที่แต่ละคนจะได้รับแตกต่างกันไปตามวัย

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.